WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KTBบล.เคทีบี (ประเทศไทย) : Technical Daily 
  
ภาพตลาดวันวาน
    ดัชนีเปิดตลาดปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย พร้อมขยับทำจุดสูงสุดของวันที่ 1712.52 จุด เพิ่มขึ้น 4.99 จุด แกว่งตัวผันผวนสลับขึ้นลงยืนทั้งแดนบวกและลบ ก่อนที่ช่วงบ่ายเผชิญแรงขายแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมกดดัชนีไหลลงแรงทำจุดต่ำสุดของวันที่ 1681.00 จุด ลดลง 26.53 จุด ส่งผลให้กรอบการเคลื่อนไหวทั้งวันอยู่ที่ 31.52 จุด  ทั้งนี้หุ้นที่มี Impact ต่อการปรับตัวลงของดัชนีได้แก่ GL, AOT, PTT, SCC, PTTGC, KBANK, PTTEP, IVL, CPALL, ADVANC, KKP, CPN ก่อนดัชนีจะทำปิดที่ 1683.43 จุด ลดลง 24.10 จุด (-1.41%) มูลค่าการซื้อขาย 79,755 ล้านบาท
ภาพตลาดวันนี้
    ดัชนีวานนี้ปรับฐานแรงอย่างน่าตกใจ หลุด 1700 จุด ลงทำ Low ที่ 1681 จุด ซึ่งเป็นการลงมาถึง 2 ใน 3 ของรอบขาขึ้นล่าสุด (1657-1729) และเป็นบริเวณเดียวกับ EMA 5 สัปดาห์ พร้อมกับปิดที่ใกล้จุดต่ำสุดของวันที่ 1683 จุด ส่งผลให้กราฟแท่งเทียนที่เตือนในเชิงลบเป็นวันที่ 3 ทำให้ภาพขาขึ้นเดิมที่เคยมีความแข็งแกร่ง คาดหวังการขึ้นไป 1735 จุดนั้นคงต้องพับไว้ก่อน จนกว่าดัชนีจะหาจุดของการปรับฐานจบ อย่างไรก็ตามภาพระยะสั้นดัชนีมีโอกาสดีดกลับแต่ยังอยูในกรอบที่จำกัด แนวต้าน 1692-1702 จุด และแนวรับ 1664-1674 จุด
 
แกว่งตัวผันผวน –  ระยะสั้นมีโอกาสดีดกลับ แต่ยังหาจุดจบของการปรับฐานไม่เจอ
   Support 1665 // 1650  จุด        Resistance 1720 // 1735  จุด
พรรณนภา เขมะสุรัตน์
Technical Analyst
เลขทะเบียน : 060110
Tel  02- 6481124
Email: [email protected]
 
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : Morning Bell 20/10/60
 
" มีปัจจัยถ่วง เสี่ยงรั่งขายก่อนเข้าวันหยุด "
          ทิศทางตลาดหุ้นไทย : คาดดัชนีฯ มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากการขายทำกำไรและลดความเสี่ยงของนักลงทุน ....  ด้วยความอ่อนไหวของข่าวในเชิงลบ เนื่องจากดัชนีฯ (ราคาหุ้น)ปรับขึ้นมามาก  จากกำไรของหุ้นกลุ่มธนาคารต่ำกว่าเป้าและการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ของ PTTEP และตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวอีกครั้ง ..... ตลาด ต่างประเทศ วานนี้ มีความกังวลต่อการเมืองของสเปนเข้ามา เป็นตัวกระตุ้นให้นักลงทุนกลับมาขายหุ้นอีกครั้ง ตลาดหุ้นเอเซีย สัปดาห์นี้ต่างเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาดหุ้นไทย เพียงแต่ดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้นลงมากกว่า น่าจะเป็นผลจากการปรับพอร์ตของนักลงทุนในตลาด หลังดัชนีฯของตลาดหุ้นภูมิภาคนี้ปรับขึ้นมาก .... ปัจจัยในประเทศ การายงานผลประกอบการหุ้นกลุ่มธนาคาร 3Q ออกมาต่ำกว่าที่เราคาด 3.3% และตัวเลขส่งออก (ไม่รวม น้ำมัน-ทองคำ) ที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลงสองเดือนติดต่อกัน (ก.ย.+6.0% YoY) รวมถึงการตั้งด้อยค่าของ PTTEP นั้น จะเป็นปัจจัยเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทย
          กลยุทธ์การลงทุน : การพลิกกลับมาลบของตลาด ตามด้วยแรงขายนักลงทุนต่างประเทศ 3 วันติดต่อกัน ส่งสัญญาณลบต่อหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามาก และยังไม่มีสัญญาณวกตัวกลับของดัชนีฯ  เราปรับคำแนะนำจาก "ถือ" เป็นลดการถือหุ้นขนาดใหญ่ลงบางส่วน ในตัวที่เสี่ยงต่อการขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ (ตัวเลข NVDR Trading 3 วันที่ผ่านมา หุ้นที่ถูกขายมากที่สุด 5 ลำดับแรก คือ SCC, PTT, ADVANC,CPN, SCB)  และไปรอซื้อเมื่อดัชนีฯเริ่มยืนได้ แนวรับถัดไปของ SET Index คือ 1670-74 จุด ....  หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางและเล็ก รวมทั้งหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลในเกณฑ์ดี  เรามองว่า อาจเป็นที่พักเงินหรือราคาปรับสูงขึ้นได้ในสภาพตลาดเช่นนี้
          หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ประจำวัน : สำหรับหุ้นที่เราคาดว่าอาจได้รับความสนใจจากนักลงทุนในวันนี้ อาทิ  SAT, COL, CPALL, JMT, RS*
         
หุ้นแนะนำทางเทคนิค :  PSL, SAT, SMIT                   
          * เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
บทวิเคราะห์และความเห็นข่าวสำคัญ
(0) BBL: :กำไรสุทธิใน 3Q17 เป็นไปตามที่เราและตลาดคาด
(0) KBANK : กำไรสุทธิ 3Q17 มากกว่าที่เราคาด 6% แต่เป็นไปตามที่ตลาดคาด
(+) HMPRO : คาดกำไรสุทธิ 3Q17 เพิ่มขึ้นYoYและQoQ  ฟื้นตัวและแนวโน้มปี 2018 ยังเติบโตได้ดี
(+) LPH : คาดกำไรปกติ 3Q17 ทำ New High เป็นหุ้นที่ยัง Laggard อยู่ของกลุ่ม
(-) PTTEP : ชะลอโครงการ ออยล์ แซนด์ ในประเทศแคนาดา บันทึกด้อยค่าสูงถึง 550 ล้านเหรียญสหรั
(-) SCB : กำไรสุทธิใน 3Q17 ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ถึง 16%
(0) UTP : คาดกำไรสุทธิ 3Q17 เติบโต +121% YoY, +32% QoQ
 
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด                                                                 
          ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (18 ต.ค.)  ปิดที่ระดับ 1,683.43 จุด ลดลง 24.10 จุด หรือ -1.41% มูลค่าการซื้อขาย 79,755.23 ล้านบาท ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตาม Dow Jones Future ซึ่งภาพต่างประเทศมีความกังวลด้านการแยกตัวของแคว้นกาตาลุญญาในสเปน และผลประกอบการหุ้นกล่มธนาคาร
          ตลาดหุ้นต่างประเทศ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่  23,163.04 จุด เพิ่มขึ้น 5.44 จุด หรือ +0.02% ตลาดหุ้นสามารถรีบาวด์กลับขึ้นมาได้ จากกระแสการแต่งตั้งนายเจอโรม พาวเวล ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หลังจากที่ตลาดหุ้นโดนแรงกดดันจากแรงเทขายหุ้นแอปเปิลหลังยอดขาย iPhone8 ทำได้น้อยกว่าคาด .... แต่ด้าน Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง -0.63% ปิดที่ระดับ 389.11 จุด
          ปัจจัยต่างประเทศ: ตัวเก็งประธาน Fed คนใหม่เปลี่ยนเป็นนายพาวเวล, ติดตามความกังวลในสเปน นักลงทุนยังคงติดตามการเลือกประธาน Fed คนใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น โดยปัจจุบันการตัวเต็งคนใหม่คือนายเจอโรม พาวเวล ซึ่งมีลักษณะเป็น "Central Monetarist" อยู่สายกลางไม่เอียงไปทางนโยบายผ่อนคลายหรือนโยบายเข้มงวด ซึ่งจะสนับสนุนนโยบายของทรัมป์เช่น การปรับลดภาษีได้มากกว่า .... ด้านการแยกตัวของแคว้นกาตาลุญญาในสเปน ติดตามนายมาริอาโน ราฮอย นายกรัฐมนตรีสเปน เตรียมจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ เพื่อหารือถึงเรื่องการยึดอำนาจบริหารจากแคว้นกาตาลุญญา
          ปัจจัยในประเทศ : ระวังการขายทำกำไรของต่างชาติ, ความกังวลจากการตั้งด้อยค่าของ PTTEP, ส่งออกไม่รวมน้ำมันกับทองเพิ่มขึ้นน้อยลง, งบกลุ่มแบงก์ออกมาต่ำกว่าคาด ต่างชาติมีมูลค่าเป็นขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สามติดต่อกัน และมีมูลค่าสูงถึง 2,743ล้านบาท สูงที่สุดในรอบเดือน สะท้อนถึงกระแสเงินจากต่างชาติที่เริ่มมีการชะลอตัว …. ประเด็นการตั้งด้อยค่าของ Oil Sand ในประเทศแคนาดา คาดว่าจะตั้งด้อยค่าสูงถึง 1.82 หมื่นล้านบาท โดยเรามองว่าจะเกิดผลกระทบที่ประมาณ 3-4% ของราคาหุ้นหรือ 4.6 บาทต่อหุ้น ส่งผลลบต่อกำไรตลาด 3Q17 ที่ประมาณ 2.5-3 หมื่นล้านบาท (รวม PTT) ส่งผลให้ P/E ตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 เท่า  .... แม้ส่งออกโดยรวมจะปรับตัวขึ้น +12.2% มากกว่าที่คาดว่จะเติบโต +10.8% แต่หากไม่รวมน้ำมันกับทองคำ ส่งออกจะเติบโตเพียง +6% เท่านั้น ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน .... วานนี้ แบงก์ขนาดใหญ่ได้แก่ BBL และ SCB รายงานผลประกอบการออกมาต่ำกว่าคาด ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดตลาด .... กลุ่มธนาคารทุกตัวจะส่งงบการเงินภายในสัปดาห์นี้ วันนี้จะเป็นหุ้น KBANK (KTBST คาดกำไรสุทธิ -17.6% YoY, -0.5% QoQ),  KKP (KTBST คาดกำไรสุทธิ -21.4% YoY, +12.1% QoQ), KTB (KTBST คาดกำไรสุทธิ -5.2% YoY, +153.6% QoQ)
 
Stock in Focus
หุ้น                เหตุผล
     SAT(ราคาปิด 18.80)    SAT เป็นหุ้นที่ได้รับผลบวกตามภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในงวด 3Q17 ยอดการผลิตรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9% YoY และ 13% QoQ โดยเราคาดกำไรช่วง 3Q17 ที่ 195 ล้านบาท (+16% YoY, +45% QoQ)  ….  KTBST คาดกำไรสุทธิปี 2017 เติบโต +11% ที่ 672 ล้านบาท และเติบโตต่อเนื่องในปี 2018 ที่ 747 ล้านบาท (+11% YoY) …. (ราคาที่เหมาะสม โดย KTBST  ที่ 21.00 บาท)
COL(ราคาปิด 66.50)    เราแนะนำ COL ต่อเนื่องจากวันก่อน โดยมองว่า COL เป็นหุ้นอีกหนึ่งตัวที่จะมีผลประกอบการช่วง 3Q17 ออกมาดี เราคาดว่า COL จะรายงานกำไรสุทธิสำหรับช่วง 3Q17 ที่ 250 ล้านบาท (+236% YoY, +178% QoQ) จากคาดการณ์บันทึกกำไรพิเศษจากการขายหน่วยลงทุนที่ 129 ล้านบาท .... คาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ของ COL ที่ 627 ล้านบาท (+63% YoY) และ ปี 2018 ที่ 779 (+24.4%) .... (ราคาที่เหมาะสม โดย KTBST ที่ 73.00 บาท)
CPALL(ราคาปิด 68.25)    มองว่า CPALL ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดย SSSG ของ CPALL ปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งที่ประมาณ +2% YoY จากที่ติดลบ -1% ในช่วง 2Q17 โดยเราคาดกำไรช่วง 3Q17 ที่ 4,790 ล้านบาท (+16% YoY, +3% QoQ) ….  KTBST คาดผลประกอบการปี 2017 ที่ 18,867 ล้านบาท (+13% YoY) และคาดจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2018 ที่ 21,911 ล้านบาท (+16% YoY) …. (ราคาที่เหมาะสม โดย KTBST ที่ 79.00 บาท)
JMT(ราคาปิด 32.00)    มองว่า JMT เป็นอีกหนึ่งตัวที่คาดว่าผลประกอบการจะออกมาดีในช่วง 3Q17 โดยคาดว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิ 3Q17 อยู่ที่ 105 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 103.0% YoY ตามมูลหนี้ที่บริษัทซื้อมาบริหารเพิ่ม JMT มีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากแนวโน้มอัตราความสำเร็จ, อัตราค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น, รายได้จากการบริหารลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามมูลหนี้ที่บริหารสูงขึ้น และอัตราส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ลดลง และการย้าย J Fintech ซึ่งมีผลขาดทุนไปอยู่ใต้ JMART จะช่วยให้ JMT มีผลประกอบการที่ดีขึ้นมาก .... KTBST คาดผลประกอบการปี 2017 ที่ 420 ล้านบาท (+42% YoY) และคาดจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2018 ที่ 555 ล้านบาท (+13% YoY) .... (ราคาพื้นฐานโดย KTBST ที่ 38.00 บาท)
RS*(ราคาปิด 19.50)    RS จะได้ประโยชน์จากที่ กสทช. มีมติเห็นชอบลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง,โทรทัศน์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล …. คาดว่าช่วง 3Q17 RS จะสามารถเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ จากธุรกิจ Health&Beauty ที่เติบโตโดดเด่น …. Bloombergคาดปี 2017 จะพลิกกลับมามีกำไรที่ 246 ล้านบาท และคาดปี 2018 จะเติบโตสูงถึง +103% เป็นผลมาจากธุรกิจ Health&Beauty สามารถเติบโตโดดเด่นจากการขยาย SKU และช่อง 8 ที่คาดว่าจะกลับมาสู่จุดคุ้มทุน .... (ราคาเหมาะสมโดย Bloomberg ที่ 16.81 บาท)
 
Source: KTBST Research
Sector / Stock Updates
         (-) PTTEP, PTT ปตท.สผ.จะบันทึกรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ จากโครงการนี้เป็นจำนวน 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือราว 1.82 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี เรามองผลกระทบจากการตั้งด้อยค่านี้มีผลต่อกำไรสุทธิงวด 3Q-17 ที่จะรายงานในช่วงต้นเดือน พ.ย.  คือกำไรก่อนภาษี (EBIT) จะลดลงประมาณ  $550 ล้านเหรียญ(1.8 หมื่นล้านบาท)  หรือคิดเป็น 4.6 บาท/หุ้น และ PTT จะต้องรับรู้ในงบการเงินงวดนี้ด้วยเช่นกัน คือจะมีการรับรู้ตามส่วนของการถือหุ้น 65.29% ใน PTTEP คือ $359 ล้านเหรียญ (1.2 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็น 4.1 บาท/หุ้น
          (-) SCB SCB ประกาศกำไรสุทธิใน 3Q17 ออกมา 1 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 12% YoY และ 15% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 16% และ 15% ตามลำดับ จากการกลับมาตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2017-2018 ลง 6-8% ขณะที่แนวโน้ม NPL กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับ เรามีความกังวลประเด็นของ PACE ที่ SCB ยังไม่ได้มีการตั้งสำรองพิเศษเพิ่มเติม เราจึงปรับคำแนะนำลงเป็น "ถือ" จากเดิมที่ให้ "ซื้อ" และปรับ PBV ลงมาอยู่ที่ 1.46x เทียบเท่า -1SD ย้อนหลัง 5 ปี ได้มูลค่าเหมาะสมในปี 2018 อยู่ที่ 168 บาท
          (+) BBL  BBL ประกาศกำไรสุทธิใน 3Q17 ออกมาอยู่ที่ 8.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% YoY และ QoQ เป็นไปตามที่เราและตลาดคาด โดยการเพิ่มขึ้นมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นได้ดีจากธุรกิจกองทุนรวมและประกัน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวลดลงจากค่าใช้จ่ายทางด้าน IT ลดลง เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" มูลค่าเหมาะสมที่ 222 บาท เนื่องจาก BBL เป็นธนาคารที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากสินเชื่อรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการของภาค และคาดการเติบโตของกำไรสุทธิในปี 2018 ยังมี upside เพิ่มเติมจากการเป็นพันธมิตรกับ AIA ซึ่งเรายังไม่ได้รวมในประมาณการของเรา
          (0) KBANK KBANK ประกาศกำไรสุทธิใน 3Q17 อยู่ที่ 9.5 พันล้านบาท ลดลง 13% YoY แต่เพิ่มขึ้น 5% QoQ มากกว่าที่เราคาดไว้ 6% แต่เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมากกว่าที่เราคาดไว้ เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2017 ที่ 3.7 หมื่นล้านบาท (-8% YoY) เนื่องจากเรามองว่าแนวโน้มการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญจะยังคงกดดันให้ผลการดำเนินงานใน 4Q17 อยู่ แนะนำ "ถือ" มูลค่าเหมาะสมที่ 239 บาท อิง 1.5xPBV เทียบเท่า -0.5SD ย้อนหลัง 5 ปี
          (+) SAT  คาดกำไรสุทธิ 3Q17 ทำได้โดดเด่นที่ 195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% YoY และ 45% QoQ ตามภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในงวด 3Q17 ยอดการผลิตรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9% YoY และ 13% QoQ รวมถึงได้แรงหนุนจากยอดขายชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น เรายังประเมินกำไรสุทธิปี 2017 ที่ 672 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% YoY สำหรับกำไรสุทธิปี 2018 คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 11% YoY เป็น 747 ล้านบาท จากคาดการณ์ยอดการผลิตรถยนต์ในปี 2018 ที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นราว 5% - 6% YoY ประกอบกับ SAT ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จากลูกค้ารายใหญ่ที่จะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ 1Q18 เราปรับราคาเป้าหมายเป็นปี 2018 ที่ 21 บาท แนะนำ ซื้อ
          (0) UTP คาดกำไรสุทธิ 3Q17 ที่ 84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +121% YoY และ +32% QoQ  จาก 1) คาดการณ์กำลังการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น, 2) การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า co-generators ลดรายจ่ายไฟฟ้า, และ 3) การประหยัดภาษีจาก BOI ของไลน์การผลิตใหม่ ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2017 ที่ 318 พันล้านบาท (+66% YoY) โดยกำไรสุทธิ 9 เดือนแรกคิดเป็น 66% ของประมาณการทั้งปี แม้เราคาดการณ์บริษัทจะเติบโตได้ดีในช่วง 4Q17 แต่ UTP ยังมีประเด็นเรื่องการ ramp up กำลังการผลิตซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของ UTP ปรับคำแนะนำเป็น "ถือ" ด้วยราคาเหมาะสมเดิมที่ 9.00 บาท อิง P/E เฉลี่ย 1 ปีของ UTP ที่ 18.4 เท่า เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมามาก upside ปัจจุบันมีจำกัด
          (+) LPH คาดกำไรสุทธิ 3Q17 ของ LPH จะออกมาที่ 47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% YoY และ 39% QoQ และกำไรปกติที่ 49 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดใหม่ เติบโต 13% YoY และ 36% QoQ จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่มคนไข้ประกันสังคม และบริษัทย่อย AMARC ทำกำไรมากขึ้น และมองปีหน้าจะได้รับผลประโยชน์เต็มปีจากประกันสังคม ช่วยชดเชยการเปิดตึกใหม่ได้ อย่างไรก็ตามเราได้ปรับกำไรสุทธิสำหรับปี 2017 ลง 5% เนื่องจากรายได้ประกันสังคมเรื่องค่าภาระโรคเสี่ยงที่ได้รับลดลงใน 3Q17 คงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเหมาะสม 9.70 บาท (วิธี DCF) ด้วยมองว่า LPH ยังคงมี Laggard อยู่ จาก Forward PE ปี 2017 เพียงแค่ 36.3 เท่า
          (+) HMPRO คาดว่า HMPRO จะมีกำไรใน 3Q17 ที่ 1.19 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% YoY และ 5%QoQ ยอดขายของสาขาเดิมพลิกฟื้นขึ้นใน 3Q17 จากที่อ่อนตัวใน 2Q17 อีกทั้งใน 4Q17 จะเป็นช่วงที่การบริโภคอยู่ในระดับสูงตามเทศกาล และขยายสาขาได้ต่อเนื่อง บริษัทมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขยายสาขาโดยจัดสินค้าให้หลากหลายแต่ใช้พื้นที่น้อยลงเสริมด้วยการขายแบบออนไลน์  โดยมีการเปิดสาขาเพิ่มที่เชียงรายและมาเลเซีย รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนของ private brand ทำให้สามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้ดี เราคาดว่า กำไรจะเติบโตขึ้น 12% ในปี 2017 และ 14% ในปี 2018 หลังจากผ่านพ้นช่วงการบริโภคที่อ่อนตัว เราแนะนำ "ซื้อ" โดยประเมินราคาเป้าหมายโดย DCF ปี 2018 ที่ 13.1 บาท Upside 10%
Source: KTBST Research
        
 Analyst :  Mongkol Puangpetra
          License No: 001937  
          +662 648 1123
          [email protected]
          Nontapat Rushtasomboon
          License No: 081447  
          +662 648 1127
          [email protected]
OO1508

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!