- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 05 October 2017 17:46
- Hits: 2894
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
นับจากนี้เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะเข้าสู่ช่วงปรับฐานและยังเผชิญแนวต้าน 1,700 จุด แม้เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวและยังหนุนตลาดหุ้นไทยช่วงที่เหลือปีนี้และปีหน้า แต่น่าจะเป็นจังหวะการปรับพอร์ตขายทำกำไรรายหุ้นที่แพง เช่น หุ้น โรงกลั่น (ESSO, BCB, TOP), AOT เป็นต้น กลยุทธ์เลือกหุ้น Laggards โรงพยาบาล (LPH) ค้าปลีก (BJC) สื่อสาร (THCOM, INTUCH) บันเทิง (VGI) และ พลังงาน (PTTEP) และส่งออก (HANA, GFPT, VNG) Top picks เลือก VGI ([email protected]) และ SCC(FVB620) 70% ของกำไรมาจากปิโตรเคมี แต่ราคาหุ้น Laggards มากเมื่อเทียบกับ PTTGC
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.... หุ้นกลุ่มขนส่งและอาหาร กดดันตลาด
วานนี้ตลาดหุ้นไทย เดินหน้าต่อพร้อมกับทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1698 จุด สอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านหลายแห่ง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ยกเว้นตลาดหุ้น อินเดีย และจีน ที่ย่อตัวหลังทำจุดสูงสุดใหม่ อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงขายทำกำไร และปิดตลาดติดลบ 1687.77 จุด ลดลง 2.20 จุด หรือ 0.13% มูลค่าการซื้อขาย 6.05 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ที่บริเวณ 1700 จุด เป็นแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา จึงเห็นแรงขายทำกำไรออกมาเมื่อดัชนีขึ้นไปใกล้บริเวณดังกล่าว
กลุ่มฯ ที่ปรับลดลง คือ กลุ่มขนส่ง นำโดย AOT ลดลง 1.27% และ BEM ลดลง 1.25% เช่นเดียวกับหุ้นสายการบินลดลงแทบทั้งสิ้น คือ THAI ลดลง 1.08% AAV ลดลง 0.76% และ NOK ลดลง 1.14% ตามด้วยกลุ่ม ร.พ.ซึ่งยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะ BH ลดลงแรงกว่า 2.33% และหุ้นน้องใหม่ WPH ที่เพิ่งเข้าซื้อขายในตลาดฯ เมื่อวาน ปิดที่ 4.02 บาท ลดลง 3.83% กลุ่มอาหาร MINT ลดลง 1.20% และ CPF ลดลง 1.85% อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังคงชื่นชอบ CPF หนุนจากแนวโน้มธุรกิจสุกรในประเทศเวียดนามงวด 2H60 ฟื้นตัว จากราคาสุกรที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ supply เริ่มทยอยลดลง ส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการครึ่งปีหลังเติบโตขึ้นชัดเจน
ตรงข้ามกับกลุ่มฯ ที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 0.47% ตามด้วย IVL ปรับเพิ่มขึ้นโดดเด่นกว่า 3.49% หลังจากมีการเข้าซื้อกิจการผลิตเส้นใยสำหรับยางรถยนต์ DuraFiber ในประเทศ (100%) ช่วยต่อยอดสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) ตามกลยุทธ์ขยายฐานธุรกิจ
เชื่อว่าการไปถึง 1700 จุด ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพัก เนื่องจากแรงขายที่ค่อนข้างหนักวานนี้ ทำให้ภาพรวมตลาดฯ ยังคงอยู่ในภาวะพักตัว-ปรับฐาน ประเมินแนวรับของวันนี้ที่ 1680 จุด
ความเสี่ยงยุโรป เพิ่มขึ้นจากปัญหาในสเปน
ปัจจัยต่างประเทศที่ควรให้น้ำหนักการเปลี่ยนแปลงตัวประธาน คือ นางเจเน็ต เยลเลน ที่จะครบวาระ 31 ม.ค. 2561 ซึ่งตลาดคาดว่าผู้ที่มีโอกาสมากสุด นายเควิน วอร์ช ซึ่งเป็นอดีตคณะกรรมการ Fed และมีแนวคิดการใช้นโยบายการเงินตึงตัว (ได้รับการทาบทามจากประธานาธิบดีแล้ว) แต่คาดว่าการผลักดันการดอกเบี้ยสหรัฐยังมีความเสี่ยง แม้ Fed ให้แนวทางว่ามีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้อีก 1 ครั้งในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้ (สอดคล้องผลสำรวจ Bloomberg ที่คาดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย ในรอบการประชุม พ.ย. และ ธ.ค. มีราว 12.4% และ 73.4% ตามลำดับ) แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนช่วง 3Q60 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐสะดุด สะท้อนจากยอดจ้างงานภาคเอกชน (ADP employment) ใน ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ ต.ค. 59 เหลือ 1.35 แสนราย จาก 2.28 แสนรายใน ส.ค.
ขณะที่ยุโรป ประเด็นความเสี่ยงทางการเมืองยังมีอยู่ หลังจาก Brexit คือปัญหาการเมืองในสเปน หลังจากการทำประชามติในแคว้นกาตาลุญญา ซึ่งมีเมืองหลวงคือ บาร์เซโลน่า เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา สรุปว่า 90% ของประชาชนลงมติแยกตัวออกจากสเปน แต่รัฐบาลสเปนไม่ยอมรับการลงประชามติดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสเปน และได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานที่การลงประชามติ จนเกิดการปะทะ ทั้งนี้ปัจจุบันขนาดเศรษฐกิจสเปน ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของสหภาพยุโรป หรือ ราว 7.5% รองจาก อิตาลี 11% , ฝรั่งเศส 14% อังกฤษอันดับ 2 ราว 17% และ เยอรมันใหญ่สุดราว 20% ขณะที่แคว้นกาตาลุญญา ถือได้ว่าเป็นแคว้นที่มีสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสเปน กล่าวคือ เงินลงทุนจากต่างชาติ(FDI)อยู่ในแคว้นนี้/ปีราว 29.2% ของ FDIทั้งประเทศ มีการส่งออกคิดเป็น 25.6% ของการส่งออกรวมทั้งประเทศ และรายได้/หัวประชากร (GDP per capita) เป็นอันดับ 2 ของสเปนราว 2.86 หมื่นยูโร/คน รองจาก มาดริดที่ 3.2 หมื่นยูโร/คน
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของ อิตาลี (Italexit) ที่จะเลือกตั้งในงวด 1Q61 หลังจากคะแนนความนิยมของพรรคฝ่ายค้าน หรือ พรรค5SM (ซึ่งมีแนวคิดจะออกจากยุโรป) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนขึ้นสูสีกับรัฐบาลล่าสุดอยู่ที่ (27.3% ต่อ 27%) ทำให้ยังถือเป็นประเด็นความเสี่ยงที่ยังต้องให้น้ำหนัก
บรรยากาศการปรับเพิ่ม GDP หนุนหุ้นไทยกลาง-ยาว
บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยยังสดใส ผลจากกระแสการทยอยปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) นำร่องปรับเพิ่ม GDP ปีนี้เป็น 3.8% จากเดิม 3.5% และ ล่าสุดภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรม, สมาคมธนาคารไทย และ สภาหอการค้าไทย ได้ปรับเพิ่ม GDP เช่นกันเป็น 3.7-4% จากเดิม 3.5%
ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเกือบทุกสัญญาณขยายตัวชัดเจน โดยเฉพาะภาคส่งออกที่สดใส ล่าสุดเดือน ส.ค.ขยายตัว 13.2%yoy สูงสุดในรอบ 4 ปี 7 เดือน (เฉลี่ย ม.ค.-ส.ค. โต 8.9%) และลงทุนเอกชนที่ฟื้นตัวสะท้อนจากยอดการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI สิ้นสุด มิ.ย. 2560 สูงถึง 3 แสนล้านบาท เพิ่มจากงวด 1Q60 ที่มียอดเพียง 6 หมื่นล้านบาท และ 46% ของยอดเงินที่ขอ BOI ทั้งหมด เป็นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม S curve และ New S curve
การปรับเพิ่ม GDP Growth ของหลายๆสำนักเริ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ Consensus และ ASPS คาดปี 2560 ที่ 3.5% ทำให้เชื่อว่าสำนักอื่นๆที่คาดการณ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมีโอกาสที่จะทยอยปรับเพิ่มในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมถึง ASPS แม้ปี 2561 คาด GDP Growth ไทยจะแตะที่ 4% แต่ยังต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (แต่การเติบโตต่อเนื่องสอดคล้องกับ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และอินเดีย)
ราคาน้ำมัน ถูกกดดันจากกำลังการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งจาก OPEC และสหรัฐฯ
แม้วานนี้ราคาน้ำมันดิบโลกจะฟื้นตัวเล็กน้อย หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลงถึง 6.02 ล้านบาร์เรล ลดลงมากกว่าที่ตลาดฯคาดไว้ที่ 0.76 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามภาพรวมราคาน้ำมันดิบ WTI ตลอดทั้งสัปดาห์ยังคงลดลงกว่า 3.66% (wow) มาอยู่ที่ 49.98 เหรียญฯต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อตัวเลขกำลังการผลิตน้ำมันดิบประจำเดือน ก.ย.2560 ของกลุ่มโอเปก ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.37% (mom) มาอยู่ที่ 32.83 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นการกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง (หลังจากลดลงในเดือน ส.ค. 0.49% mom) โดยเพิ่มขึ้นจากประเทศสมาชิก อย่าง ซาอุดิอาระเบีย, คูเวต, ลิเบีย และไนจีเรีย เป็นต้น
เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่วานนี้เผยตัวเลขปริมาณการผลิตล่าสุดที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มาอยู่ที่ 9.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณการผลิตก่อนสหรัฐฯเกิดภัยธรรมชาติจากพายุ Harvey ยิ่งไปกว่านั้นตัวเลขส่งออกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ล่าสุดปรับตัวเพิ่มขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่ที่ 1.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน กดดันราคาน้ำมันดิบ WTI และส่งผลให้เกิดส่วนต่างของราคาน้ำมันดิบ WTI กับ Brent (Spread) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดอยู่ที่ 5.74 เหรียญฯ เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับตอนต้นเดือน ส.ค. ที่มี Spread เพียง 2.59 เหรียญฯเท่านั้น
อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยฯยังเชื่อว่าราคาน้ำมันในระยะยาวยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น แบบค่อยเป็นค่อยไป ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ดังนั้นจึงยังคงแนะนำหาจังหวะเข้าลงทุนในหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT (FV@B460) และ PTTEP (FV@B116) เมื่อราคาอ่อนตัวลง
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในกลุ่ม TIP ทุกแห่ง
วานนี้ตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออก ทั้งไต้หวันและเกาหลีใต้ หยุดทำการ และเกาหลีใต้จะหยุดทำการต่อเนื่องจนถึงวันที่ 9 ต.ค. แต่ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่งในกลุ่ม TIP ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 59 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกแห่ง คือ อินโดนิเซีย 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานกว่า 25 วัน), ฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และตลาดหุ้นไทยต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 31 ล้านเหรียญ หรือ 1 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 538 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศขายสุทธิ 5.54 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ขายสุทธิอีก 5.11 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8)
ดัชนียังไม่ผ่าน 1700 จุด ควรเริ่มปรับพอร์ตบ้าง
เป็นเวลาเพียงเดือนเศษๆ เท่านั้น ที่ SET Index ทะลุผ่าน 1600 จุด และปรับขึ้นต่อเนื่องจนวานนี้เข้าใกล้ 1700 จุด แต่ช่วงท้ายมีแรงขายทำกำไรกดดัน ซึ่งเป็นการทยอย take profit หุ้นที่ปรับขึ้นมามากในช่วงดังกล่าว เช่นหุ้นโรงกลั่น BCP, ESSO, TOP หรือหุ้นส่งทางอากาศ เช่น AOT คาดว่าดัชนีน่าจะเข้าสู่ช่วงพักฐานอีกพัก โดยยังเผชิญแนวต้าน 1700 จุด จึงยังคงแนะนำลงทุนในหุ้น laggards เช่น SCC ซึ่งกำไรกว่า 70% มาจากปิโตรเคมีแต่หุ้นกลับไม่ฟื้นตัวตาม นอกจากนี้แนะนำให้เลือกหุ้นเป็นรายตัวที่ มีแนวโน้มผลประกอบการ 3Q60 และ 2H60 เติบโตโดดเด่น ตามที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ คือ
กลุ่มโรงพยาบาล : มีปัจจัยหนุนทั้งในระยะสั้น คือ 3Q60 เข้าสู่ช่วง High Season ตามฤดูกาล การปรับเพิ่มค่ารักษาของประกันสังคม (ทั้งแบบเหมาจ่าย และกรณีกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมตามความรุนแรงของโรค (DRG) มีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. 60 รวมทั้งยังเพิ่มค่ารักษาทางทันตกรรม) ผู้ป่วยตะวันออกกลางกลับมามากขึ้น (นักท่องเที่ยวตะวันออกกลางเพิ่มมากขึ้น) และโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดมากกว่าปกติ (ฤดูฝนในปีนี้ที่มาเร็วกว่าปกติ) และในระยะยาว คือ การเปิด Excellent Center การเพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยเงินสด การสร้างโรงพยาบาลใหม่ และการขยายหรือต่อยอดธุรกิจ โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยเคยแนะนำ เช่น BCH และ RJH ปรับขึ้นไปค่อนข้างมากจน upside เหลือเพียง 6.9 และ 2.7 % ตามลำดับ จึงแนะนำให้ลงทุนใน LPH ([email protected]) จากแนวโน้มผลประกอบการที่คาดว่าจะฟื้นตัวแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง สนับสนุนด้วยการเปิด Excellent Center ที่ช่วยเพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยเงินสด ประกอบกับ LPH จะมีกำไรจากการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จะโอนสิทธิและรับรู้กำไรพิเศษใน 4Q60 และ 1Q61 โดย Upside ปัจจุบันที่มีอยู่ 32.9% และยังมี PEG ที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 1.9 เท่า
กลุ่มค้าปลีก : คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ก.ย. 2560 ที่จะประกาศวันนี้น่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นโดยเฉพาะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งการลงทุนเอกชนข้างต้น การส่งออก และ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับการฟื้นตัวของผู้ประกอบการในกลุ่มค้าปลีก-ค้าส่ง โดยเฉพาะการเติบโตยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้ง BJC, HMPRO, TNP และกลุ่มที่ SSSG ยังโตต่อเนื่อง คือ BEAUTY และ COM7 คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 10%-15%YoY จากเพิ่มขึ้นราว 12%YoY ใน 2Q60 ยกเว้น MAKRO และ ROBINS น่าจะมียอดขายสาขาเดิมหดตัว แต่เป็นอัตราที่น้อยลง ทั้งนี้ คาดว่ายอดขายสาขาเดิมจะฟื้นตัวต่อเนื่องในงวด 4Q60 ต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ฟื้นตัวดังกล่าวข้างต้น จึงยังชอบหุ้นที่มี SSSG กลับมาเติบโตเร็วกว่าผู้ประกอบการในกลุ่มเดียวกัน และกำไรที่ยังเติบโตโดดเด่นในปี 2560 ต่อเนื่องถึง 2561 แต่เนื่องจากราคาหุ้นส่วนใหญ่เกิน Fair Value ปี 2560 จึงให้ข้ามไปใช้ Fair Value ปี 2561 อาทิ BEAUTY (FV’[email protected], FV’61@B20) BJC (FV’60@B50, FV’61@B60), COM7 (FV’[email protected], FV’61@B19)
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม : แนวโน้มท่องเที่ยวไทย 2H60 คาดสดใสต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวเลขเดือน ก.ค. 2560 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น 5% yoy และต่อเนื่อง 8.7% yoy ในเดือน ส.ค. ทำให้ 8M60 นักท่องเที่ยวต่างชาติรวมเพิ่มขึ้น 5% yoy ที่ 23.5 ล้านคน หนุนโดยนักท่องเทียวจีน และนักท่องเที่ยวรัสเซีย คาดภาพรวมการท่องเที่ยวไทย 2H60 โดยเฉพาะ 4Q60 จะเติบโตในอัตราเร่งมากขึ้น เนื่องจากปีก่อนมีฐานต่ำจากผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญฯ และช่วงไว้อาลัยเดือน ต.ค. ขณะที่ปีนี้ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญฯ คลี่คลายลง ทำให้ทั้งปี 2560 ประเมินยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมไว้ที่ 34.5 ล้านคน เติบโต 6% yoy สอดคล้องกับผลประกอบการของหุ้นกลุ่มฯ จะเติบโตเป็นขั้นบันไดอย่างน้อย 3 ไตรมาสนับจากนี้ คือ 3Q60 ต่อเนื่อง 4Q60 ที่เป็น High Season และ Peak Season ใน 1Q61 โดยวานนี้หุ้น ERW และ MINT เริ่มปรับฐาน จึงเป็นโอกาสในการเข้าสะสม โดย ERW (FV ปี 2560 @B6.50, ปี 2561 @B7.50) และ MINT (FV ปี 2560 @B46.00) มีแนวโน้มกำไรเติบโตมากสุด โดย ERW คาดปี 2560 คาดกำไรปกติเติบโต 38% yoy ส่วน MINT คาดปี 2560 กำไรปกติเติบโต 17%
กลุ่มบันเทิง : เม็ดเงินโฆษณาเดือน มิ.ย. – ก.ค. กระเตื้องขึ้น จากการเร่งโหมโฆษณาในช่วงก่อนที่จะเข้าสู่งานพระราชพิธีสำคัญในเดือน ต.ค. และเชื่อว่าเม็ดเงินโฆษณาน่าจะเพิ่มในอัตราเร่งในเดือน พ.ย. - ธ.ค. ทำให้เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมใน 4Q60 น่าจะฟื้นตัวจากงวด 4Q59 ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาปี 2560 คาดว่าจะหดตัวไม่ถึง 10% อย่างที่ประเมินกันไว้ ทั้งนี้ เชื่อว่า สื่อโฆษณานอกบ้านน่าจะได้รับผลกระทบเดือน ต.ค. ไม่มากนัก ฝ่ายวิจัยยังชอบ PLANB ([email protected]) จากสื่อนอกบ้านที่น่าจะมีแนวโน้มสดใสในงวด 2H60
ส่วนปี 2561 จะเข้าประมูลงานโฆษณาบนรถประจำทางกับหน่วยงานราชการ ทั้งยังเป็นพันธมิตรกับบริษัทย่อยของ BEM ช่วยต่อยอดการเติบโตในอนาคตจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และยังได้สิทธิในการบริหารลิขสิทธิ์ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559 - 2563 แต่วานนี้ราคาปรับขึ้นแรง จน upside เหลือเพียง 1.52% จึงแนะนำสลับไปลงทุนใน VGI ([email protected]) ที่มีจุดแข็งจากการให้บริการสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้า BTS (60% ของรายได้รวม) และสื่อโฆษณากลางแจ้งที่หลากหลายและครบวงจร (ผ่านการถือหุ้น MACO 37%) หนุนผลประกอบการ 2H60 โดดเด่น ส่วนในปี 2561 จะได้รับแรงหนุนจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย (แบริ่ง – สมุทรปราการ) และในปี 2563 จากรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย (หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต), สายสีเหลือง และ สายสีชมพู ที่จะเสร็จพร้อมให้บริการ และมี upside อีกกว่า 19.3%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636