- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 03 October 2017 16:34
- Hits: 1212
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในประเทศ ส่งสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง ดัน SET ทะลุแนวต้าน 1678-1681 จุด และมีโอกาสแตะ 1700 จุดเร็วขึ้น แต่ SET น่าจะสลับหมุนเวียนจากหุ้นแพงมาหุ้นถูก/Laggards เน้น 1) Domestic Play โรงพยาบาล (BCH, LPH) ค้าปลีก (BJC) สื่อสาร (THCOM, INTUCH) บันเทิง (VGI) และ 2) Global Play พลังงาน (PTTEP, BANPU) และส่งออก (HANA, GFPT) Top picks VGI ([email protected]) และ HANA(FV@B53) ยังมี upside และได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....กลุ่มพลังงาน – ธ.พ. หนุน SET บวกกว่า 15 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค ดัชนีสามารถทะลุแนวต้าน 1681 จุด ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดของปีที่ 1689 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อตัวลงเล็กน้อยและปิดตลาดที่ 1688.64 จุด เพิ่มขึ้น 15.48 จุด หรือ 0.93% มูลค่าการซื้อขายกว่า 6.2 หมื่นล้านบาท หลายกลุ่มฯ ปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะหุ้น Big Cap ในกลุ่มพลังงาน และกลุ่ม ICT ที่ฟื้นตัวจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว รวมถึงหุ้นในกลุ่มค้าปลีกและธนาคารพาณิชย์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มพลังงาน-น้ำมัน PTT, PTTEP เพิ่มขึ้น 2.45% และ 1.40% กลุ่มปิโตรฯ-โรงกลั่น IRPC, PTTGC, TOP เพิ่มขึ้น 2.38%, 2.92% และ 1.62% กลุ่มโรงไฟฟ้า RATCH, GPSC, LANNA, CKP, BCPG เพิ่มขึ้น 0.47%, 2.16%, 0.75%, 1.69% และ 4.66% ตามลำดับ ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มพลังงานที่เพิ่มขึ้นคือ ESSO 1.48%, TPIPP 0.66% และ SUPER 0.77%
นอกจากนี้ ยังเห็นการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ทั้ง KBANK เพิ่มขึ้น 0.48%, BBL เพิ่มขึ้น 1.34%, SCB เพิ่มขึ้น 1.31% และ KTB เพิ่มขึ้น 1.06% กลุ่มค้าปลีก โดย CPALL เพิ่มขึ้น 1.87%, ROBINS 1.55%, MAKRO 0.72% และ BEAUTY 3.13% แม้ราคาปัจจุบันใกล้เต็ม Fair Value ของปี 2560 แต่ด้วยอัตราการเติบโตที่มีนัยฯ ต่อเนื่อง ทำให้เรายังเลือกเป็น Top pick ของกลุ่มค้าปลีก โดย Fair value ปี 2561 อยู่ที่ราคา 20 บาท
อีกกลุ่มทีปรับขึ้นคือกลุ่ม ICT โดยผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ทั้ง TRUE และ DTAC เพิ่มขึ้น 1.64% และ 2.19% ตามลำดับ แต่ฝ่ายวิจัยแนะนำ THCOM และ INTUCH ที่ราคายัง laggard กลุ่มฯ อยู่มาก
ประเมินแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ ดัชนีน่าจะสามารถขยับกรอบขึ้น เพื่อทดสอบแนวต้านเป้าหมายถัดไปที่ 1700 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1680 จุด
เงินเฟ้อกระเตื้อง แต่ยังต่ำและหนุนคงดอกเบี้ยนโยบายจนถึงกลางปีหน้า
กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย. ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 คือ 0.86%yoy จาก 0.32%ในเดือน ส.ค. สาเหตุหลักมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 8.15%yoy, ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 2.1% หลังจากรัฐปรับภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่เมื่อ 16 ก.ย.2560 และสินค้าอาหารสดบางรายการพลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรก อาทิ ผักสด 4.6% แต่ ข้าว, แป้ง และไข่ ยังหดตัวราว 2.46% และ 2.9% ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ม.ค.- ก.ย. ขยายตัว 0.59%yoy แต่อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ทำให้คาดว่า กนง. น่ายังยืนดอกเบี้ยในรอบการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งของปี (พ.ย.และ ธ.ค.) และคาดยืนดอกเบี้ยไปจนถึงกลางปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น มิใช่แต่เพียงภาคการส่งออกแต่การลงทุนโดยรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง – ยาว
กระแสปรับเพิ่ม GDP เป็นหนุนต่อตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น
กระแสการปรับเพิ่ม GDP Growth ของไทยคาดว่าจะเกิดต่อเนื่องนับจากนี้ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) นำร่องปรับเพิ่ม GDP ปีนี้เป็น 3.8% จากเดิม 3.5% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ Consensus และ ASPS คาดที่ 3.5%) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเกือบทุกสัญญาณขยายตัวชัดเจน โดยเฉพาะภาคส่งออกที่สดใส ล่าสุดเดือน ส.ค.ขยายตัว 13.2%yoy สูงสุดในรอบ 4 ปี 7 เดือน (เฉลี่ย ม.ค.-ส.ค. โต 8.9%) และลงทุนเอกชนที่ฟื้นตัว นอกจากดัชนีชี้นำที่ดีขึ้นคือ ยอดขายปูนซิเมนต์ในประเทศ ในเดือนเดียวกันขยายตัว 6.1%yoy (สูงสุดในรอบ 17 เดือน) แล้ว พบว่ายังมีเม็ดเงินลงทุนเอกชนรอบใหม่ สะท้อนจากยอดการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI สิ้นสุด มิ.ย. 2560 สูงถึง 3 แสนล้านบาท เพิ่มจากงวด 1Q60 ที่มียอดเพียง 6 หมื่นล้านบาท และ 46% ของยอดเงินที่ขอ BOI ทั้งหมด เป็นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม S curve และ New S curve ปัจจัยเหล่านี้ล้วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อเอกชนให้เดินหน้าลงทุนเอกชน ซึ่งถือเป็นเครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวที่ 3 ควบคู่กับการส่งออกและการลงทุนภาครัฐ
สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เชื่อว่าปีนี้ GDP Growth ไทย มีโอกาสโตมากกว่าที่คาด 3.5%yoy เป็นไปได้และจะไปแตะที่ 4% ในปี 2561 yoy ซึ่งสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และอินเดีย ยกเว้นจีน ที่เศรษฐกิจอาจจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวอีกครั้งในปีหน้า (หลังจากผ่านการขยายตัวอย่างรุนแรงในหลายปีที่ผ่านมา) ล้วนเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนต่อตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป
อัตราการว่างงานยุโรปยังทรงตัว ปัญหาในรายประเทศยังมีอยู่
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรป ยังส่งสัญญาณฟื้นตัว เห็นได้จากอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. ยังทรงตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ที่ 9.1% (ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ มิ.ย. 2552 แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง) โดยพบว่ามี 6 ประเทศ ที่ยังมีอัตราว่างงานเกินค่าเฉลี่ยดังกล่าวคือ กรีซ อัตราการว่างงานสูงสุด 21.1% รองลงมาคือ สเปน 17.1% , อิตาลี 11.2%, โครเอเชีย 10.9%, ไซปรัส 10.7% และ ฝรั่งเศส 9.8% ทั้ง 3 ประเทศคือ กรีซ อิตาลี และสเปน เป็นประเทศใน PIIGC ที่มีปัญหาหนี้สาธารณะสูงในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยุโรป 1.5%yoy เทียบกับอัตราดอกเบี้ย 0% ทำให้คาดหมายว่า ECB น่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามหลังสหรัฐ โดยน่าจะเกิดขึ้นในปี 2561 หลังจากโครงการ QE เสร็จสิ้นในเดือน ธ.ค. (ซื้อสินทรัพย์เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร ช่วง เม.ย.2560–ธ.ค. 2560) แต่การขึ้นดอกเบี้ยน่าจะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกยุโรปยังมี ความเสี่ยงทางการเมืองในบางประเทศสมาชิก ล่าสุด สเปน มีปัญหาทางการเมืองภายใน กล่าวคือ แคว้นกาตาลุญญา (เมืองหลวงคือ บาร์เซโลน่า) ได้จัดทำประชามติเพื่อแยกตัวออกเป็นเอกราชจากประเทศสเปน เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา แต่รัฐบาลสเปนไม่ยอมรับกับการลงประชามติดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสเปน และได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานที่การลงประชามติ จนเกิดการปะทะกันและอิตาลี (Italexit) ที่จะเลือกตั้งในงวด 1Q61 หลังจากคะแนนความนิยมของพรรคฝ่ายค้าน หรือ พรรค5SM (ซึ่งมีแนวคิดจะออกจากยุโรป) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนขึ้นสูสีกับรัฐบาลล่าสุดอยู่ที่ (27.3% ต่อ 27%) ทำให้ยังถือเป็นประเด็นความเสี่ยงที่ยังต้องให้น้ำหนัก
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยมากสุดในภูมิภาค
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยเพียง 4 หมื่นเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) และเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 119 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานกว่า 23 วัน) และฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวัน 39 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยพบว่าซื้อสุทธิมากที่สุดในภูมิภาคราว 85 ล้านเหรียญ หรือ 2.86 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิอีก 1.05 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ดังนั้นหากมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่อง น่าจะช่วยหนุนให้ SET Index มีโอกาสเดินหน้าไปแตะ 1700 จุด ได้ไม่ยาก อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง 10 ปี (ไม่รวมเดือน ต.ค. 2553 ที่เกิดวิกฤต Subprime) พบว่า SET Index ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 2.07% และให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 7 ใน 9 ปี
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.40 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 890 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6)
มีโอกาสเห็น 1700 จุดเร็วขึ้น เน้นหุ้น Laggards
วานนี้ดัชนีขึ้นแรงมากจนทะลุแนวต้าน 1681 จุด การที่ดัชนีปรับขึ้นมาอย่างรวดเร็วเช่นนี้ทำให้มีโอกาสที่จะได้เห็น 1700 จุด เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะของการสลับหมุนเวียนกลุ่มฯ จากหุ้นแพงมาหุ้นถูก ซึ่งฝ่ายวิจัยได้คัดเลือกหุ้นที่ยัง laggards พร้อมทั้งมีแนวโน้มผลประกอบการ 3Q60 และ 2H60 เติบโตโดดเด่น โดยหุ้น Domestic ได้แก่
กลุ่มโรงพยาบาล : 3Q60 เป็นช่วง High Season ของกลุ่มโรงพยาบาล เนื่องจากในช่วง 3Q60 มีจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 9.21%yoy จากฤดูฝนในปีนี้ที่มาเร็วกว่าปกติ อีกทั้งกลุ่มโรงพยาบาลที่เปิดรับประกันสังคมอย่าง BCH, CHG, RJH และ LPH ยังได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มค่ารักษาพยาบาล ทั้งแบบเหมาจ่าย และกรณีกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมตามความรุนแรงของโรค (DRG) มีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. 60 รวมทั้งยังเพิ่มค่ารักษาทางทันตกรรมจากเดิม 600 บาท/ปี/คน เป็น 900 บาท/ปีต่อคน และมาตรการตรวจสุขภาพฟรีสำหรับผู้ประกันตน ที่คาดว่าจะเข้าสู่ฤดูการตรวจสุขภาพใน 2H60 ทำให้รายได้จากประกันสังคมมีโอกาสเติบโต 10% YoY
ขณะที่โรงพยาบาลระดับบนที่รับผู้ป่วยต่างชาติ อย่าง BH และ BDMS ได้รับอานิสงค์จากผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางที่กลับมามากขึ้น จากตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางใน 2 เดือนแรก ใน 3Q60 ที่เพิ่มขึ้น 9.65% YoY และทำ New High ในเดือนกรกฎาคม 2560 พร้อมกันนี้ยังพบว่ามีสัญญาณจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่มขึ้น คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการขยายวีซ่าของภาครัฐ และการรุกตลาดนักท่องเที่ยวจีนโดยเริ่มตั้งแต่การตรวจสุขภาพ ไปจนถึงการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต
โดยรวมทำให้เชื่อว่าใน 3Q60 หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลน่าจะกลับมา Outperform ตลาดได้อีกครั้ง ตามผลประกอบการที่มีทิศทางสดใส ฝ่ายวิจัยเลือก LPH เป็นหุ้น Top Pick ของกลุ่ม จากแนวโน้มผลประกอบการที่คาดว่าจะฟื้นตัวแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง สนับสนุนด้วยการเปิด Excellent Center ที่ช่วยเพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยเงินสด ประกอบกับ LPH จะมีกำไรจากการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จะโอนสิทธิและรับรู้กำไรพิเศษใน 4Q60 และ 1Q61 ประมาณ 53 และ 64 ล้านบาท ตามลำดับ โดย Upside ปัจจุบันที่มีอยู่ 33.7% และยังมี PEG ที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 1.9 เท่า แนะนำ “ซื้อ” ประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 2560 ตามวิธี DCF ที่ 11.30 บาท/หุ้น
กลุ่มค้าปลีก คาดว่า 5 ตุลาคม 2560 จะมีการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ของเดือน ก.ย. 2560 (โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) ซึ่งจากสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นโดยเฉพาะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งการลงทุนเอกชนข้างต้น การส่งออก และ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ ASPS เชื่อว่า CCI น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่พื้นตัว 0.8%ในเดือน ส.ค. 2560 มาจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สะท้อนจาก GDP Growth ในงวด 2Q60 3.7% เพิ่มจาก 3.5% ในงวด 1Q60
ทั้งนี้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของผู้ประกอบการในกลุ่มค้าปลีก-ค้าส่ง ซึ่งจากการสอบถามผู้ประกอบการถึงการเติบโตยอดขายสาขาเดิม (SSSG)ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เช่น BJC เดือน ก.ค. (SSSG) เพิ่มขึ้น 6% และเพิ่มขึ้นเดือน 10% ใน ส.ค. และ ก.ย. ทำให้งวด 3Q60 SSSG เติบโตเฉลี่ย 8-9% YoY เทียบกับที่หดตัว 15.2%YoY ใน 2Q60 ตามด้วย HMPRO คาด SSSG ในเดือน 3Q60 จะเพิ่มขึ้น 1-2%YoY จากหดลง 4.7% ใน 2Q60 CPALL เพิ่มขึ้น 1-2%YoY จากหดตัว 1%YoY ใน 2Q60 และ TNP คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 1-2%YoY จากเพิ่มขึ้น 0.1%YoY ใน 2Q60
ส่วนกลุ่มที่ยังทำได้ดี คือ BEAUTY คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 10-15%YoY จากเพิ่มขึ้น 20.8%YoY ใน 2Q60 และ COM7 คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 10%-15%YoY จากเพิ่มขึ้นราว 12%YoY ใน 2Q60
อย่างไรก็ตาม อาจจะยังมีบางรายที่ฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่ม อาทิ MAKRO และ ROBINS น่าจะมียอดขายสาขาเดิมหดตัวเท่าๆกันที่ราว 1%YoY แต่เป็นอัตราที่น้อยลงจากงวด 2Q60 คือ MAKRO ลดลง 1.4%YoY และ ROBINS ลดลง 2%YoY
CCI ถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสำคัยประการหนึ่ง ซึ่งน่าจะหนุนให้ยอดขายสาขาเดิมยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องในงวด 4Q60 เป็นไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ฟื้นตัวดังกล่าวข้างต้น
ด้วยเหตุนี้จึงชอบหุ้นที่มี SSSG กลับมาเติบโตเร็วกว่าผู้ประกอบการในกลุ่มเดียวกัน และกำไรที่ยังเติบโตโดดเด่นในปี 2560 ต่อเนื่องถึง 2561 แต่เนื่องจากราคาหุ้นส่วนใหญ่เกิน Fair Value ปี 2560 จึงให้มองข้ามไปใช้ปี 2561 อาทิ BEAUTY(FV@B20 ปี 2561 [email protected]) BJC(FV@B50, ปี2561 FV@B60), COM7 ([email protected] ปี2561 FV@B19) และเลือกเป็น Top picks
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม : แนวโน้มท่องเที่ยวไทย 2H60 คาดสดใสต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวเลขเดือน ก.ค. 2560 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น 5% yoy และต่อเนื่อง 8.7% yoy ในเดือน ส.ค. ทำให้ 8M60 นักท่องเที่ยวต่างชาติรวมเพิ่มขึ้น 5% yoy ที่ 23.5 ล้านคน หนุนโดยนักท่องเทียวจีน และนักท่องเที่ยวรัสเซีย คาดภาพรวมการท่องเที่ยวไทย 2H60 โดยเฉพาะ 4Q60 จะเติบโตในอัตราเร่งมากขึ้น เนื่องจากปีก่อนมีฐานต่ำจากผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญฯ และช่วงไว้อาลัยเดือน ต.ค. ขณะที่ปีนี้ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญฯ คลี่คลายลง ทำให้ทั้งปี 2560 ประเมินยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมไว้ที่ 34.5 ล้านคน เติบโต 6% yoy สอดคล้องกับผลประกอบการของหุ้นกลุ่มฯ จะเติบโตเป็นขั้นบันไดอย่างน้อย 3 ไตรมาสนับจากนี้ คือ 3Q60 ต่อเนื่อง 4Q60 ที่เป็น High Season และ Peak Season ใน 1Q61 ฝ่ายวิจัยเลือก ERW (FV ปี 2560 @B6.50, ปี 2561 @B7.50) และ MINT (FV ปี 2560 @B46.00) เป็นหุ้นเด่นฯ จากแนวโน้มกำไรเติบโตมากสุด โดย ERW คาดปี 2560 คาดกำไรปกติเติบโต 38% yoy ส่วน MINT คาดปี 2560 กำไรปกติเติบโต 17%
กลุ่มบันเทิง : เม็ดเงินโฆษณาเดือน มิ.ย. – ก.ค. กระเตื้องขึ้น จากการเร่งโหมโฆษณาในช่วงก่อนที่จะเข้าสู่งานพระราชพิธีสำคัญในเดือน ต.ค. และเชื่อว่าเม็ดเงินโฆษณาน่าจะเพิ่มในอัตราเร่งในเดือน พ.ย. - ธ.ค. ทำให้เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมใน 4Q60 น่าจะฟื้นตัวจากงวด 4Q59 ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาปี 2560 คาดว่าจะหดตัวไม่ถึง 10% อย่างที่ประเมินกันไว้ ทั้งนี้ เชื่อว่า สื่อโฆษณานอกบ้านน่าจะได้รับผลกระทบเดือน ต.ค. ไม่มากนัก จึงยังชอบ VGI ([email protected]) ที่มีจุดแข็งจากการให้บริการสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้า BTS (60% ของรายได้รวม) และสื่อโฆษณากลางแจ้งที่หลากหลายและครบวงจร (ผ่านการถือหุ้น MACO 37%) หนุนผลประกอบการ 2H60 โดดเด่น ส่วนในปี 2561 จะได้รับแรงหนุนจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย (แบริ่ง – สมุทรปราการ) และในปี 2563 จากรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย (หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต), สายสีเหลือง และ สายสีชมพู ที่จะเสร็จพร้อมให้บริการ นอกจากนี้ ยังชอบ PLANB ([email protected]) จากสื่อนอกบ้านที่น่าจะมีแนวโน้มสดใสในงวด 2H60 เช่นกัน ส่วนปี 2561 จะเข้าประมูลงานโฆษณาบนรถประจำทางกับหน่วยงานราชการ ทั้งยังเป็นพันธมิตรกับบริษัทย่อยของ BEM ช่วยต่อยอดการเติบโตในอนาคตจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ นอกจากนี้ PLANB ยังได้สิทธิในการบริหารลิขสิทธิ์ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559 - 2563 คาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาทต่อไตรมาส หนุนรายได้โตต่อเนื่อง
Global Play : PTTEP, BANPU ยัง Laggards
ส่วนหุ้น Global ฝ่ายวิจัยยังชอบหุ้นน้ำมันอย่าง PTT (FV@B460) และ PTTEP (FV@B116) ที่ราคายัง Laggard กว่าราคาน้ำมันดิบโลกอยู่มาก โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นทั้ง PTT และ PTTEP ปรับตัวขึ้นมาเพียง 10.29% และ 3.16% เท่านั้น ขณะที่น้ำมันดิบโลกอย่าง Dubai ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 25.07% ขณะที่ยังมี upside อีกกว่า 10.5% และ 27.5% ตามลำดับ รวมถึงหุ้นถ่านหินอย่าง BANPU(FV@B24) นับจากต้นปีจนปัจจุบัน (ytd) ราคาหุ้นยังติดลบราว 8.3% สวนทางราคาถ่านหินปรับตัวขึ้น 31.3%ytd ขณะที่ราคาหุ้นยังมี upside 36%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636