- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 26 September 2017 16:53
- Hits: 1124
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ฟื้นตัวโดยหุ้นใหญ่ พลังงานและธนาคารฯ และวันนี้มีโอกาสฟื้นตัวต่อ โดยอาจแตะจุดสูงสุดที่ทำไว้ล่าสุด 1678 จุด แรงหนุนจากหุ้นธนาคารจะเข้าสู่การทำ earnings preview ใน 3Q60 และหุ้นโภคภัณฑ์ (น้ำมัน และเหล็ก) เพราะราคาน้ำมันฟื้นตัวยืน 57 เหรียญฯ ในรอบเกือบ 2 ปี รวมถึงหุ้นกำไรเด่นงวด 2H60 (HANA, TSTH, BCH) Top picks คือ HANA (FV@B53) กำไรเข้าสู่ peak, PTTEP(FV@B116) และ TSTH ([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....หุ้นกลุ่มพลังงาน-ธ.พ. ฟื้น หนุนตลาดบวก
วานนี้ตลาดหุ้นไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ฟื้นและอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน สวนทางตลาดภูมิภาค ที่ปรับตัวลดลงทุกแห่ง และสามารถปิดที่ 1667.59 จุด ปรับตัวขึ้น 8.54 จุด หรือ 0.51% มูลค่าการซื้อขาย 5.05 หมื่นล้านบาท ได้แรงหนุนจาก หุ้น Big Cap. หลังจากปรับฐานเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว นำโดย พลังงาน ในกลุ่ม ปตท. คือ PTT เพิ่มขึ้น 1.48% และ PTTEP 1.13% ได้รับอานิสงส์ราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวทะลุ 55 เหรียญฯ และกำลังแตะ 57 เหรียญฯ สูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี รวมถึง BANPU ที่ laggard มากโดยเพิ่มขึ้น 2.30% ตามด้วยหุ้นปิโตรฯ-โรงกลั่น ทั้ง PTTGC, IRPC และ TOP เพิ่มขึ้น 1.28%, 1.61%, 0.27% ตามลำดับ และหุ้นโรงไฟฟ้า BCPG ร้อนแรงโดยเพิ่มกว่า 6.04% และ
อีกกลุ่มที่หนุนตลาดคือ หุ้นธนาคารฯ นำโดย KBANK เพิ่มขึ้น 1.46%, BBL 0.54%, TMB 1.64% และ SCB เพิ่มขึ้น 0.65% ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดทิศทางกำไรงวด 3Q60 ของ SCB มีแนวโน้มสดใส ตามขยายสินเชื่อรายใหญ่ หนุนกำไรสุทธิของปี 60-61 เติบโตกว่า 7.0% และ 7.6% ตามลำดับ ขณะที่ราคาหุ้นยัง laggard โดยราคา fair value ปี 2560 อยู่ที่ 178 บาท ยังมี upside 15%
สุดท้ายคือ หุ้น ICT ผู้ให้บริการมือถือคือ ADVANC เพิ่มขึ้น 1.31% และ TRUE เพิ่มขึ้นอีก 1.64% ปิดที่ 6.30 บาท ซึ่งเกิดจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน DIF จึงอาจจะได้รับกำไรพิเศษ อย่างไรก็ตามราคาหุ้น TRUE เกินมูลค่าพื้นฐานจึงแนะนำ Switch ไปยังหุ้นที่มี Upside สูงและราคายัง Laggard ในกลุ่มเดียวกัน คือ THCOM และ INTUCH
ตรงข้ามกลุ่มที่ปรับตัวลงสวนทางตลาดคือกลุ่มอสังหาฯ โดย CPN ลดลง 2.27% และ LH ลดลง 0.99% และกลุ่มโรงพยาบาล ทั้ง BH และ BDMS ลดลง 0.94%, 0.48% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดในวันนี้เห็นสัญญาณการฟื้นกลับมาแล้ว คาดดัชนีน่าจะกลับขยับกรอบขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1675-1680 จุด อีกครั้ง ส่วนแนวรับระหว่างวันอยู่ที่ 1660 จุด
Fed ให้น้ำหนักเรื่องเงินเฟ้อ กับการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น
ปัจจัยต่างประเทศในวันนี้ น่าจะให้น้ำหนักต่อการกล่าวสุนทรพจน์ของประธาน Fed หัวข้อ “Inflation ,Uncertainty and Monetary Policy” โดยน่าจะมุ่งไปที่เรื่องเงินเฟ้อ หลังจากที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นแตะ57 เหรียญฯ มีผลต่อการขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไป หลังจากการประชุม Fed ล่าสุด เดือน ก.ย. ได้ส่งสัญญาณจะปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในปีนี้ราว 0.25% และปีหน้าอีก 3 ครั้งราว 0.75% และปรับลดขนาดงบดุล (Balance Sheet) ในเดือน ต.ค. 2560 ลงราว 50% จากยอดสินทรัพย์ทั้งสิ้น 4.25 ล้านล้านเหรียญฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการ Fed สาขา New York และ Chicago ที่สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยฯ หนุนดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.49% หลังจากที่อ่อนค่าราว 10%ytd ขณะที่กดดันค่าเงินคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะเอเชียอ่อนค่า ดีต่อการส่งออก
กนง. น่าจะยืนดอกเบี้ย 1.5% ถึงกลางปี 2561
ขณะที่ 27 ก.ย. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เชื่อยังคงยืนดอกเบี้ยฯ ที่เดิม 1.5% แม้เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุด ส.ค. 0.32%yoy (เฉลี่ย ม.ค.-ส.ค. อยู่ที่ 0.56%yoy) และสภาพคล่องส่วนเกินในระบบไทย ยังอยู่ในระดับสูงราว 4.4 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ดีโดยเฉพาะภาคการส่งออกที่สดใส ล่าสุด เดือน ส.ค. ขยายตัวถึง 13.2%yoy สูงสุดในรอบ 4 ปี 7 เดือน (เฉลี่ย ม.ค.-ส.ค 2560 โต 8.9%yoy เทียบกับ ม.ค.-ส.ค 2559 ที่ติดลบ 1.1%) และการลงทุนเอกชนที่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนสะท้อนจากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI สิ้นสุด มิ.ย. 2560 สูงถึง 3 แสนล้านบาท เพิ่มจากงวด 1Q60 ที่มียอดเพียง 6 หมื่นล้านบาท ทำให้มีความต้องการใช้เงินกู้ยืมจากระบบ เช่นเดียวกับการเดินหน้าลงทุนภาครัฐ จะทำให้เกิดการแย่งเงินออมในระบบ (Crowding – out effect) การลดดอกเบี้ยเล็กน้อย และอยู่ในระดับต่ำอยู่แล้วจึงมีผลต่อภาพรวมน้อย จึงคาดว่าจะยืนดอกเบี้ยจนถึงกลางปี 2561
น้ำมันดิบดูไบยืน 57 เหรียญฯ สูงสุดในรอบ 2 ปี หนุน PTTEP, PTT
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI, Dubai และ Brent ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3.08%, 3.21% และ 3.97% มาอยู่ที่ 52.22 เหรียญฯต่อบาร์เรล, 56.91 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ 59.12 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งสร้างจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 5 เดือน สำหรับ WTI และสูงสุดในรอบ 2 ปี สำหรับ Brent และ Dubai เชื่อว่าน่าจะมาจาก ปัญหา Over Supply ที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีหลายเหตุผล คือ
ผลการประชุมย่อยของกลุ่มโอเปก เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 60 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า แม้กลุ่มผู้ผลิตหลักจะรอดูสถานการณ์จนถึงเดือน ม.ค.61 จึงจะตัดสินใจว่าจะมีการขยายระยะเวลาในการลดกาลังการผลิตน้ำมันดิบ แต่มีบางประเทศให้ความเห็นว่าอาจจะมีการตัดสินใจในเรื่องนี้ เมื่อมีการประชุมอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย. 60 นี้ ขณะที่มีประเทศสมาชิกบางแห่ง เช่น ไนจีเรียได้มีการผลิตน้ำมันลดลงต่ำกว่าที่ตกลงกับกลุ่มโอเปกไว้ที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
จำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐในสัปดาห์ล่าสุด (22 ก.ย.2560) ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 อีก 5 หลุม สู่ระดับ 744 หลุม คาดความต้องการใช้น้ำมันน่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะทางฝั่งสหรัฐ ยุโรป และน่าจะตามด้วยประเทศกำลังพัฒนาอย่างเอเชีย ช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบโลกอีกแรง
ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนเป็นแรงส่งให้กับราคาน้ำมันดิบโลก จึงเป็นโอกาสในการลงทุนหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT (FV@B460) และ PTTEP (FV@B116) ที่ราคายัง Laggard กว่าราคาน้ำมันดิบโลกอยู่มาก โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นทั้ง PTT และ PTTEP ปรับตัวขึ้นมาเพียง 8.42% และ 3.46% เท่านั้น ขณะที่น้ำมันดิบโลกอย่าง Dubai ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 28.17% รวมถึงหุ้น BANPU(FV@B24) นับจากต้นปีจนปัจจุบัน (ytd) ราคาหุ้นยังติดลบราว 8% สวนทางราคาถ่านหินปรับตัวขึ้น 31.3%ytd ขณะที่ราคาหุ้นยังมี upside 34%
สินเชื่อ ธ.พ. ใน ส.ค. ฟื้น ตามเศรษฐกิจที่มีสัญญาณที่ดีขึ้น
ภาพของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว ล่าสุด ยอดสินเชื่อสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อหนี้ฯ) เดือน ส.ค. ของ ธ.พ. 10 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา มียอดคงค้างรวม 10.11 ล้านล้านบาท เติบโต 0.3% mom และ 3.0% yoy โดย BBL, KKP, TISCO, TCAP, SCB มียอดสินเชื่อสุทธิเติบโตกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ (ยกเว้น KTB ที่ลดลง) ทั้งนี้การเติบโตหลักๆ มาจากการเบิกใช้สินเชื่อของรายใหญ่ทั้งเงินทุนหมุนเวียน สินเชื่อเพื่อการลงทุน ทั้งรัฐและเอกชน เช่นเดียวกับสินเชื่อรายย่อย คือ กลุ่มเช่าซื้อรถยนต์-สินเชื่อทะเบียนรถยนต์
โดยรวมแม้ว่ายอดสินเชื่อในงวด 8M60 จะเพิ่มขึ้นเพียง 1.0%ytd และ 3.0% yoy แต่เชื่อว่าการเติบโตจะดีขึ้นตามลำดับในช่วงที่เหลือของปีนี้ ดังที่เห็นภาพในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา จึงทำให้ยังคงสมมติฐานการเติบโตสินเชื่อทั้งปี 2560 ที่ 5.7%
ส่วนของผลการดำเนินงาน 3Q60 คาดว่าจะขึ้นทำระดับสูงสุดของปี หนุนด้วยการเติบโตของสินเชื่อ รายได้ค่าธรรมเนียมฯ และ NIM ส่วนค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ จะเริ่มเห็นแนวโน้มที่ลดลงของกลุ่ม ธ.พ.ใหญ่ เนื่องจากได้ตั้งสำรองไปในงวด 1H60 มากแล้ว ทำให้คาดกำไรสุทธิปี 2560 จะเติบโต 2.8% แต่จะเพิ่มขึ้น 11.1% ในปี 2561 ขับเคลื่อนด้วยการเติบโตของสินเชื่อการลงทุนทั้งเอกชน และภาครัฐที่ชัดเจนขึ้นใน 2H60 ดังกล่าว โดยยังเลือก SCB(FV@B178), KBANK(FV@B233), TCAP(FV@B53) เป็นหุ้น Top picks
SCB (FV@B178) คาดกำไรสุทธิใน 3Q60 เติบโตตามสินเชื่อสุทธิที่จะเพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ จะเริ่มลดลงตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น คาดกำไรสุทธิปี 2560-61 จะกลับมาเติบโต 7.0% และ 7.6% จากทรงตัวในปี 2559 ราคาหุ้นมี upside ของราคา และ Div Yiedl กว่า 4%
KBANK (FV@B233) คาดกำไรสุทธิใน 3Q60 ฟื้นตัวจาก 2Q60 จากสินเชื่อที่ฟื้นตัวใน 2H60 บวกต่อ yield และ NIM ต่อเนื่อง ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง เพราะไม่ต้องตั้งสำรองพิเศษ ดังที่เกิดกับ EARTH ใน 2Q60 คาดกำไรสุทธิปี 2560-61 เติบโต 6.2% yoy และ 8.7% yoy แม้ราคาหุ้นที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้นกว่า 17% จากสิ้นปี 2559 แต่ยังเห็น upside กว่า 12% จากมูลค่าพื้นฐาน อีกทั้ง PBV ปี 2560 ที่แม้จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ แต่ยังใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ระดับเดียวกัน
TCAP (FV@B53) แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 3Q60 เติบโตต่อเนื่องจาก 2Q60 หนุนด้วยรายได้ธุรกิจหลัก สอดคล้องกับสินเชื่อ NIM และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ อีกทั้งยังค่าใช้จ่ายสำรองฯ ที่อ่อนตัวลง หลังตั้งสำรองฯ ไปมากที่ผ่านมา ขณะที่ effective tax rate ยังต่ำที่ 6-7% ผลประโยชน์จาก SCIB แต่คาดว่าจะสิ้นสุดในปี 2561 ทำให้กำไรสุทธิปี 2560 จะเติบโต 17% แต่จะลดลงเหลือ 12% ในปี 2561
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่อง แต่สลับมาซื้อไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่าราว 117 ล้านเหรียญ โดยยังขายเกือบทุกตลาดยกเว้น ไทย กล่าวคือ ขายสุทธิในตลาดไต้หวันและเกาหลีใต้ 115 ล้านเหรียญ และ 10 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้น TIP ยังคงขายสุทธิอินโดนีเซีย มูลค่าราว 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานกว่า 18 วัน) ยกเว้น ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเล็กน้อย มูลค่าราว 1.7 แสนเหรียญ และไทยต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 19 ล้านเหรียญ หรือ 627 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 726 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิเล็กน้อยเพียง 137 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 480 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636