- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 18 September 2017 15:54
- Hits: 2462
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนีมีโอกาสปรับฐานหลังทะลุ 1650 จุด แต่ด้วย Fund Flow ทยอยสะสมกว่าช่วง 2 สัปดาห์ผ่านมา จากเหตุผลที่หุ้นไทยถูกในเชิง P/E และเศรษฐกิจที่มีสัญญาณฟื้นตัวตามลำดับ จึงทำให้หันไปใช้ดัชนีเป้าหมายปี 2561 โดยอิง EPS และ P/E 16 เท่า อยู่ที่ 1766 จุด และเพิ่มน้ำหนักลงทุนเป็น 60% ของเงินลงทุนเป็นจากเดิม 50% เลือกหุ้น Laggards THCOM(FV@B24), INTUCH([email protected]) และ PTTEP(FV@B116) เป็น Top picks
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....กลุ่ม ร.พ. ฟื้น และ Fund Flow ไหลเข้าต่อเนื่อง
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยยังแกว่งตัวในบวก-ลบ แต่สามารถปิดที่ 1660.53 จุด เพิ่มขึ้น 1.43 จุด หรือ 0.09% พร้อมมูลค่าการซื้อขายกว่า 7.01 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าเกิดจาก แนวโน้มการฟื้นตัว เศรษฐกิจของประเทศที่มีสัญญาณบวกเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยัง Laggard โดยมี Expected P/E ต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค หนุน Fund Flow ไหลเข้าต่อเนื่อง วันศุกร์ ซื้อสุทธิ 4.2 พันล้านบาท
ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มโรงพยาบาลกลับมาฟื้นทั้งกลุ่ม นำโดย CHG เพิ่มขึ้น 4.10%, BDMS เพิ่มขึ้น 2.44%, VIBHA เพิ่มขึ้น 2.19% รวมถึง BCH เพิ่มขึ้น 2.04% ตอบรับกับประเด็นบวกจากประกันสังคมปรับเพิ่มค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล ทำให้ค่าบริการจากประกันสังคมที่ BCH จะได้รับเพิ่มขึ้นจากเดิม 10% โดยไม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ผลประกอบการในการในงวด 2H60 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้งส่วนของ WMC และโรคระบาดที่มาพร้อมกับฝนซึ่งเร็วกว่าปกติ หนุนให้กำไรปีนี้ยังเติบโต 14.5% และยังเหลือ upside อีกกว่า 13%
ตามมาด้วย กลุ่มพลังงาน นำโดยหุ้นนำมันคือ PTT เพิ่มขึ้น 0.49% และโรงไฟฟ้า EGGO, RATCH และ GLOW เพิ่มขึ้น 1.72%, 0.45% และ 0.29% ตามลำดับ และหุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นได้โดดเด่น คือ NOK ทำราคา new high ในรอบ 8 เดือน ปิดที่ 5.20 บาท เพิ่มขึ้น 8.79% ปิดท้ายด้วยหุ้นน้องใหม่ในตลาด MAI คือ ICN ปิดที่ 4.62 บาท พุ่งขึ้นกว่า 151% จากราคา IPO 1.84 บาท
ตรงกันข้ามหุ้นที่ปรับลดลงคือค้าปลีกนำโดย BJC ลดลง 3.33%, BIG ลดลง 2.08%, KAMART ลดลง 1.82% และ HMPRO ลดลง 1.79% ตามด้วยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ KBANK ลดลง 1.83%, KKP ลดลง 1.10% และ BAY ลดลง 0.65%
แนวโน้มตลาดวันนี้เชื่อว่าดัชนีที่น่าจะแกว่งตัวขึ้นต่อ แม้อาจจะมีการปรับฐานระหว่างวันบ้าง เนื่องจากดัชนีหุ้นไทยขึ้นมา 6.3% จากระดับ 1561 เมื่อ 11 สิงหาคม หรือ ราว 7.6% จาก 1542 จุดเมื่อสิ้นปี 2559 แต่ถือว่าตลาดหุ้นยัง laggards จึงคาดว่ามีโอกาสฟื้นตัวต่อโดยมีแนวต้าน 1675 จุด และ ภาพในระยะ 1-3 เดือนยังเป็นบวกต่อ (อ่านรายละเอียด Investment Strategies 15 ก.ย. 2560)
ยุโรป/อังกฤษ มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ vs เอเชียคง/ลดดอกเบี้ยถึงปีหน้า
ต่างประเทศในสัปดาห์นี้ให้น้ำหนัก การประชุมธนาคารกลางสำคัญ ๆ ของโลก แต่คาดว่ายังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว มีสหรัฐนำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว ตามด้วย แคนาดาและฮ่องกงขึ้นดอกเบี้ยฯ 2 ครั้ง ส่วน ยุโรปและอังกฤษส่งสัญญาณกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปีหน้า เนื่องจากเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าดอกเบี้ยฯ จากผลกระทบของค่าเงินที่อ่อนค่า หลังลงประชามติ Brexit ซึ่งสวนทางกับฝั่งประเทศในแถบเอเชียส่วนใหญ่ที่ยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยลดดอกเบี้ยหรือ คงดอกเบี้ยฯเป็นเวลานาน เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลง และสภาพคล่องที่ยังมีอยู่ในระดับสูงจากที่มีเงินทุนไหลเข้ามาตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ช่องว่าง ของดอกเบี้ยนโยบาย หัก เงินเฟ้อ ยังเป็นบวก ซึ่งทำให้บางประเทศลดดอกเบี้ยในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ รัสเซียลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ราว 0.5% เหลือ 8.5% ขณะที่ อินเดียและอินโดนีเซีย ลดดอกเบี้ยไปประเทศละ 1 ครั้งในปีนี้ สัปดาห์นี้การประชุมจะเริ่มจาก
19-20 ก.ย.ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คาดจะคงดอกเบี้ยฯ 1.25% ตามเดิม เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวในช่วง 3Q60 ล่าสุด ยอดค้าปลีก(Retail sales) เดือน ส.ค. พลิกกลับมาติดลบ 0.2%mom จากที่ 2 เดือนก่อนหน้าขยายตัว 0.3% ผลจากจากยอดขายรถยนต์ที่หดตัว 1.6% mom จากผลกระทบพายุเฮอริเคน Harvey พัดถล่มรัฐเท็กซัสและรัฐหลุยส์เซียนา และตามมาด้วยพายุเฮอร์ริเคน Irma พัดถล่มรัฐฟลอริดาในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้หากพิจารณาขนาด GDP สหรัฐ พบว่า รัฐเท็กซัสและฟลอริดาคิดสัดส่วนราว 8.76% ของ GDP ทั้งสหรัฐและ 5.02% ตามลำดับ (อันดับที่ 2 และที่ 4) ขณะที่เงินเฟ้อล่าสุด พุ่งขึ้น 1.9%yoy จาก 1.7%yoy ในเดือนก่อนหน้า แต่น่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราว ทำให้เชื่อว่า Fed ยังชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ โดยน่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง (สอดคล้องกับผลสำรวจ Bloomberg พบว่ามีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย ก.ย. และ พ.ย. ราว 0.0% และ 2.8% แต่ให้น้ำหนักการขึ้นถึง 43.4% ใน ธ.ค)
20-21 ก.ย.ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และคงวงเงิน QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ตั้งแต่ พ.ย. 2557 ควบคู่กับการรักษาเส้น Yield Curve สอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดจะยังคงนโยบายการเงินจนกว่าจะถึงเดือน เม.ย.2561 ซึ่งเป็นเวลาที่ นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ครบกำหนดวาระบริหารประเทศ
และ 21 ก.ย. และ 22 ก.ย การประชุมธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ตามลำดับ คาดยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิม
Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากสุดในภูมิภาค
แม้วันศุกร์ที่ผ่านมา ภาพรวมต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 60 ล้านเหรียญ แต่กลับเป็นการขายสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 43 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยไต้หวัน 35 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และอินโดนีเซีย 5 หมื่นเหรียญ ยกเว้นฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิ 9 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังคงให้น้ำหนักการลงทุนมากสุดในภูมิภาคกว่า 128 ล้านเหรียญ หรือ 4.22 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 2.74 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
และหากพิจารณา Fund Flow ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. ถึง ปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากกว่าตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคอย่างเห็นได้ชัด โดยกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยกว่า 350 ล้านเหรียญ หรือ 1.16 หมื่นล้านบาท (mtd) (รายละเอียดดังตารางทางด้านล่าง)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.43 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิ 2.37 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 11 วัน มูลค่ารวมกันกว่า 1.22 แสนล้านบาท)
ปรับดัชนีเป้าหมาย 12 เดือนข้างหน้าเป็น 1766 จุด อิง P/E ปี 2561
เมื่อช่วงสายของวันศุกร์ที่ผ่านมา สายงานวิจัยได้มีการปรับเพิ่มดัชนีเป้าหมายในระยะ 12 เดือนข้างหน้า โดยไปใช้ EPS ในปี 2561 ที่หุ้นละ 110.4 บาท และอิง PER เป้าหมายที่ 16 เท่า จะอยู่ที่ 1766 จุด พร้อมให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นจากเดิม 50% ของเงินลงทุนเป็น 60% เลือกหุ้น Top picks คือ THCOM, INTUCH, SCB, PTTGC, IRPC, PTT, HANA, GFPT, WHA และ BEAUTY ทั้งนี้เหตุผลของการปรับเพิ่ม เพราะดัชนีปัจจุบันได้ทะลุเป้าหมายของปี 2560 ไปแล้ว แต่เนื่องจากตลาดหุ้นไทยมีพัฒนาการเชิงบวกในหลายประเทศ ทั้งเศรษฐกิจของประเทศ กำไรตลาด และ fund flow ประกอบกับ เข้าใกล้จบงบ งวด 3Q60 ซึ่งปกตินักวิเคราะห์จะหมุนไปใช้ราคาหุ้นที่เหมาะในปีถัดไป หลังจากประกาศงบไตรมาส 3 ของทุกปี แต่เนื่องจากปัจจัยรอบด้านที่หนุน ทำให้ต้องปรับไปใช้ราคาที่เหมาะสมในปี หน้า ทั้งนี้ปัจจัยหนุนตลาด ได้แก่
เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก
คาดเศรษฐกิจไทย ปี 2561 จะเร่งขึ้นไปแตะที่ 4%yoy จาก 3.5% ในปีนี้ หนุนด้วยภาคส่งออกที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ตามมาด้วยการลงทุนก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐที่มีความคืบหน้า และการลงทุนเอกชน ที่มีสัญญาณที่ดีขึ้นนับจากนี้ ล้วนกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ทำให้ปี 2561 เครื่องจักรทางเศรษฐกิจทำงานเต็มที่ เป็นปีที่หนุนตลาดหุ้นไทยสดใส
กำไรหุ้นไทยยังมีแนวโน้มที่ดี แต่ตลาดหุ้นยัง laggards
งวด 1H60 บริษัทจดทะเบียนทำกำไรสุทธิรวม 5.13 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 51% ของประมาณการกำไรสุทธิรวมทั้งปี 2560 ที่ระดับ 9.9 แสนล้านบาท หรือ 101.36 บาท/หุ้น เติบโต 7.1% และน่าจะเติบโตอีกราว 8.9% ในปี 2561 ซึ่งเป็นอัตราที่ไล่เลี่ยกับตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ Expected P/E ปี 2561 จะลดลง เหลือ 15 เท่า จาก 16 เท่าปี 2560 ถือว่าต่ำสุดในภูมิภาค เป็นรองเพียงจีนเท่านั้น ขณะที่ตลาดหุ้นยังให้ผลตอบแทนน้อย แม้จากต้นปีถึงปัจจุบัน ขึ้นมา 7.5% แต่ยังถือว่า laggards ที่สุด จึงทำให้เห็นการสลับขายจากตลาดหุ้นที่ outperform มายังตลาดหุ้นที่ underperform อย่างไทยและจีน นับจากนี้
Fund Flow แค่พักในตราสารหนี้ระยะสั้น มีโอกาสไหลเข้าหุ้นไทยมากขึ้น
ในปีนี้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้มากกว่าตลาดหุ้น แต่เป็นการไหลเข้าในตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ในลักษณะของการพักเงิน โดยเชื่อว่ามีโอกาสไหลออกจากตราสารหนี้กลับเข้าสู่ตลาดหุ้นอีกครั้ง หากเห็นความชัดเจนของมาตรการการเงินเข้มงวด เกิดขึ้นในอังกฤษ, ยุโรป ตามหลังสหรัฐฯ โดยเริ่มเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องมานาน น่าจะถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Fund Flow สลับจากตลาดหุ้นแพงมาตลาดหุ้นถูก (อ่านรายละเอียด Investment Strategy 15 ก.ย. 2561)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636