WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASIAwealthบล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook

 

เกาหลีเหนือยั่วยุอีก
         คาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบวันนี้ หลังจากเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธเช้านี้ข้ามเกาะฮอคไกโดอีกแล้ว ทั้งๆที่เพิ่งโดนมาตรการลงโทศจากนานาชาติ อย่างไรก็ตามตลาดไม่น่าตอบสนองเชิงลบมากนัก หลังจากนักลงทุนเริ่มชินกับพฤติกรรมอันตรายของเกาหลีเหนือมาพอสมควรแล้ว กลับเป็นอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่พุ่งขึ้นแรงในเดือน ส.ค. ที่ทำให้ความน่าจะเป็นของการที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้อีกครั้งพุ่งสูงขึ้น ปัจจัยภายในประเทศวันนี้เป็นบวก จำนวนธุรกิจจดทะเบียนใหม่เดือน ส.ค. สูงสุดในรอบ 4 ปี สะท้อนความเชื่อมั่นภาคเอกชน เรื่องที่พูดกันมากเวลานี้ คือ มุมมองต่างระหว่าง ธปท. กับ กระทรวงการคลังเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งต่างฝ่ายก็มีผู้สนับสนุนมากมาย

 

หุ้นเด่นวันนี้: TCAP (ราคาปิด 47.50 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมายปี 60 ของ AWS 55.00 บาท)
       บมจ.ทุนธนชาต ยังเป็นหุ้นที่ Iaggard อยู่ ขณะที่มีมูลค่าที่ถูกและแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังที่สดใส ปัจจุบัน TCAP ยังซื้อขายกันที่อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีที่ถูกที่ 0.9 เท่า และเราคาดแนวโน้มกำไรของธนาคารจะเติบโตต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง หนุนโดยสินเชื่อที่ปรับตัวดีขึ้นและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net interest margin) ที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเราคาดกำไรสุทธิครึ่งหลังปี 60 จะเติบโต 6.2% YoY อยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท อีกทั้ง สินเชื่อของ TCAP ในช่วง 7 เดือนแรกปี 60 เติบโต 2.6% YoY และ 1% YTD และคาดจะเร่งตัวต่อ หนุนโดยอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัว การบริโภคในครัวเรือนที่ขยายตัว และสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้น

 

       เราคาดสินเชื่อปี 60 เติบโต 5% ซึ่งจะเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 4 ปี นอกเหนือจากนั้นแล้ว TCAP มีคุณภาพสินทรัพย์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage ratio) อยู่ที่ 143% เราคาดการณ์กำไรสุทธิจะเติบโต 10.9% ในปี 60 และ 5.9% ในปี 61 หุ้นดังกล่าวยังให้อัตราเงินปันผลตอบแทนค่อนข้างดีที่ 4.6% Price Pattern ของ TCAP ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง DaiIy & MonthIy Buy SignaI ซึ่งหาก Price Pattern ของ TCAP สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ได้เหนือ 47.50 บาท ก็จะทำให้ Price Pattern ของ TCAP กลับมาเกิด WeekIy Buy SignaI ครั้งใหม่ ซึ่งจะทำให้ Price Pattern ของ TCAP กลับมาเกิดความแข็งแกร่งในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) อย่างเต็มตัวในทุก Time Frame เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ TCAP ที่สามารถยืนเหนือเป้าหมายแรกที่ 40.25 บาทไปได้แล้ว จึงทำให้มีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 63.75 บาท ทั้งนี้ TCAP มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 46.50 บาท (Resistance: 47.75, 48.00, 48.25; Support: 47.25, 47.00, 46.75)


ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ:
ยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 15% YoY รวม 7,159 บริษัท นับเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 4 ปีโดยได้แรงหนุนจากจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น (บางกอกโพสต์ / ไทยโพสต์)
ธปท. ยืนยันไม่ได้รับแรงกดดันให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย แม้ความกังวลเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้กระทรวงการคลังเร่งเรียกร้องให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของไทยและเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจไม่ช่วยป้องกันเงินทุนไหลเข้าได้มากเท่าที่ควร (เดอะ เนชั่น)
กระทรวงการคลังเตรียมเพิ่มจำนวนของผู้ให้บริการสินเชื่อสำหรับรายย่อยระดับจังหวัด (pico-financing lenders) เป็น 200 รายภายในปีนี้จากเดิม 141 รายเพื่อให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่เป็นทางการและป้องกันการใช้บริการแหล่งเงินกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยสูง (บางกอกโพสต์)


ต่างประเทศ:
เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธเช้านี้ข้ามเกาะฮอกไกโดตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก ยกระดับความตึงเครียดหลังจากเกาหลีเหนือทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเกาหลีเหนือไม่คิดจะเปลี่ยนแผนหลังจากมีมาตรการคว่ำบาตรจากนานาชาติรอบใหม่ (รอยเตอร์)
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือน ทำให้นักลงทุนกลับมาเก็งกันมากขึ้นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือนธ.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอ้างอิงอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์สู่ระดับ 2.225% ก่อนจะถอยมาที่ระดับ 2.197% เพิ่มขึ้น 0.2 bps จากวันพุธ (รอยเตอร์)
จากภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐขณะนี้มีการคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงกว่า 50% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือนก.ค. หลังจากดัชนี CPI เดือนส.ค. ปรับตัวขึ้นมาก มีการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ และคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยแต่จะประกาศแผนลดการถือครองพันธบัตรมูลค่า 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (CME Group)
เงินเยนและฟรังก์สวิสแข็งค่าเช้าวันนี้ หลังเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธข้ามญี่ปุ่น ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าสู่ระดับ 109.55 เยนในการซื้อขายในตลาดเอเชียเช้านี้ และล่าสุดอยู่ที่ 110.05 เยน ปรับตัวลง 0.2% จากการซื้อขายในตลาดสหรัฐเมื่อวันพฤหัส ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงสู่ระดับ 92.508 จุด เมื่อวันพฤหัสเทียบกับเมื่อวันพุธที่ระดับ 92.406 จุด เช้านี้ดัชนี้ยืนอยู่ที่ระดับ 92.085 จุด (รอยเตอร์)


สหรัฐ:
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดผสมผสานเมื่อวันพฤหัส โดยราคาหุ้นโบอิ้งที่ปรับตัวขึ้นได้หนุนดัชนีดาวโจนส์ให้ปรับตัวขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนภาวะเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาด ซึ่งทำให้นักลงทุนกลับมาคาดการณ์ว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ฉุดให้ดัชนี S&P500 และแนสแดคปรับตัวลง (รอยเตอร์)
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐเร่งปรับตัวขึ้นในเดือนส.ค.มีสัญญาณเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นซึ่งอาจทำให้เฟดใช้นโยบายการการเงินตึงตัวต่อในปีนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) ปรับตัวขึ้น 0.4% MoM ในเดือนส.ค. หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค. ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือน และเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบรายปี โดยเพิ่มขึ้น 1.9% จากที่เพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนก.ค. นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และพุ่งขึ้น 1.8% เมื่อเทียบรายปี (รอยเตอร์)
จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสหรัฐลดลง 14,000 รายสู่ระดับ 284,000 รายในสัปดาห์ก่อน โดยยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 300,000 รายซึ่งแสดงว่าตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง เป็นสัปดาห์ที่ 132 ติดต่อกัน ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1970 นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 300,000 ราย (รอยเตอร์)


ยุโรป:
หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ หนุนโดยหุ้นกลุ่มพลังงานและค้าปลีก ขณะที่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่แข็งแกร่งกว่าคาดช่วยหนุนหุ้นที่มี exposure กับดอลลาร์สูง (รอยเตอร์)


เอเชีย:
ตัวเลขเศรษฐกิจในจีนออกมาต่ำกว่าคาด ด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้นปรับตัวดีขึ้นในเดือนสิงหาคม แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และ ยอดขายค้าปลีกออกมาน้อยกว่าคาด การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม 7.8% YoY ในเดือนสิงหาคม เทียบกับ 4.8% ในเดือนกรกฎาคม ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่ม 6.0% YoY ในเดือนสิงหาคม ซึ่งน้อยที่สุดในรอบ 9 เดือน เทียบกับการคาดการณ์ที่ 6.6% และของเดือนกรกฎาคมที่ 6.4% ด้านสินทรัพย์ถาวรเพิ่ม 7.8% YoY ตั้งแต่มกราคมถึงสิงหาคม ซึ่งถือว่าอ่อนแอที่สุดตั้งแต่ธันวาคมปี 1999 และ ปรับลดจาก 8.3% ในช่วง มกราคมถึงกรกฎาคม ด้านยอดค้าปลีกก็ไม่เป็นที่น่าพอใจนักโดยเพิ่ม 10.1% YoY ในเดือนสิงหาคม น้อยสุดในรอบ 6 เดือน และลดลงจาก 10.4% ในเดือนกรกฎาคม (รอยเตอร์)
ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่มออกมาย่ำแย่ที่สุดในรอบ 4 เดือนในเดือนกันยายนนี้ จากเดือนก่อนที่สูงสุดในรอบทศวรรษ ซึ่งตลาดก็คาดกันว่าจะปรับลดลง อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของสภาวการณ์ของโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นข้อมูลที่มาจากผลสำรวจของ Reuters/Tankan (รอยเตอร์)


สินค้าโภคภัณฑ์:
ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าลงและการคาดการณ์ว่าอุปสงค์จะเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 59 เซนต์ (+1.2%) อยู่ที่ 49.89 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 31 เซนต์ (+0.6%) อยู่ที่ 55.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุว่าภาวะน้ำมันล้นตลาดโลกจะเริ่มลดลง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในยุโรปและสหรัฐเพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตในโอเปกและผู้ผลิตนอกโอเปกลดลง นอกจากนี้ OPEC คาดความต้องการน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นในปี 61 ซึ่งบ่งบอกสัญญาณว่าตลาดทั่วโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
ทองวิ่งขึ้นเช้าวันนี้ หลังจากเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธเหนือญี่ปุ่นอีกครั้ง ราคาทองคำตลาดจรเพิ่มขึ้น 0.3% อยู่ที่ 1,333.06 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากแตะระดับต่ำสุดเมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ 1,315.71 ดอลลาร์ ราคาทองล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 0.6% อยู่ที่ 1,337.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (รอยเตอร์)

 

Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 0-2680-5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 0-2680-5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 0-2680-5077
Ms. Veeraya Rattanaworatip (No.86645) Tel: 0-2680-5042
Mr. Adisak Prombun (No. 14543) Tel: 0-2680-5056

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!