WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TRINIบล.ทรีนีตี้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

Today Selection >> ANAN, ERW, IRPC


Stock S R Comment
ANAN 5.20 5.40 ยอด backlog รอโอน 2H60 กว่า 1.63 หมื่นล้านบาท
ERW 5.80 6.10 รับอานิสงค์นักท่องเที่ยวเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง หนุน margin
IRPC 5.95 6.15 แนวโน้มไตรมาส 3 ฟื้นตัวชัดเจน ด้วยแรงหนุนจาก spread ที่ดีขึ้น

 

BoT under huge pressure
      Swap: จับตาความเคลื่อนไหวของอัตรา Swap rate 1 ปีของไทยอีกครั้ง หลังล่าสุดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ 1.1% สอดคล้องกับการปรับตัวลงของ Bond yield 2 ปีของไทยที่ล่าสุดอยู่เพียงแค่ 1.34% เท่านั้น ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5%


      มุมมองของเรา: ถึงแม้ธปท.จะออกมาให้เหตุผลถึงการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นในช่วงหลังว่ามีสาเหตุหลักมาจาก Supply การออก Bond ที่ลดลง แต่เรามองว่า Demand ที่เข้ามาเก็งกำไรในตราสารหนี้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของกนง.ในช่วงถัดไป ซึ่งยังคงถูกกดดันอย่างหนัก หลังจากเงินเฟ้อปรับตัวอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน พร้อมทั้งเงินบาทอยู่ในระดับที่แข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค


Real yield: โดยจากการพิจารณาด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริงที่หักด้วยเงินเฟ้อ พบว่าล่าสุดประเทศไทยอยู่เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากอินเดียและอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ และจึงเป็นที่มาที่ทำให้ Fund flow ไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เรามองว่าในเชิงทฤษฎี ก็พอจะมีช่องให้กนง.สามารถปรับลดดอกเบี้ยได้


Risk of lower rate: อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ เราเข้าใจต่อเหตุผลของกนง.เป็นอย่างดี เนื่องจากการลดดอกเบี้ยอาจนำมาสู่ 1) การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งล่าสุดอยู่ในระดับที่สูงอยู่แล้ว และ 2) พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทน (Search for yield) ในสภาวะดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเสถียรภาพทางระบบการเงินได้


Play along: ถึงแม้เรายังคงมองว่ามีโอกาสไม่มากที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 27 กันยายนนี้ (มองโอกาสอย่างมากเพียงแค่ 50% เท่านั้น) แต่เราเชื่อว่านักลงทุนในตลาดบางส่วนจะหันมาให้น้ำหนักกับประเด็นดังกล่าวมากขึ้น อย่างน้อยจนถึงวันประชุมดังกล่าว ด้วยเหตุนี้มองกลุ่มหุ้นประเภท Rate-sensitive และกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า อาจเป็นกลุ่มที่น่าสนใจสำหรับการเก็งกำไรระยะสั้นในช่วง 2 สัปดาห์นี้ อาทิ


1) กลุ่มค้าปลีก เลือกกลุ่ม Consumer staples ที่ไม่อิงกับรายได้ของเกษตรมากนัก เช่น CPALL, BJC
2) กลุ่มอสังหาฯ เลือก ANAN, AP จากแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นกว่ากลุ่ม
3) กลุ่มเช่าซื้อ เลือก S11 เนื่องจากได้ประโยชน์จากโครงการ EEC ของภาครัฐ
4) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เลือก HANA เนื่องจากเป็นตัว Hedging ที่ดี หากเงินบาทกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง
5) กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เลือก CPF, TU จาก Earnings momentum ในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องปีหน้าที่ดีขึ้น
กลยุทธ์การลงทุน: ยังคงให้น้ำหนักสำคัญกับ Valuation ของ SET Index ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้นยังไม่เห็นสัญญาณการปรับประมาณการ EPS ขึ้นในตลาด ด้วยเหตุนี้ ณ ระดับดัชนีเหนือ 1600 จุดยังคงแนะนำถือเงินสดในระดับสูงกว่าปกติ แต่หากจำเป็นต้องลงทุน มองกลุ่มหุ้นปลอดภัยได้แก่ กลุ่ม Laggard เช่น กลุ่มส่งออก และ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง


1) กลุ่ม Export-oriented ที่น่าจะได้ประโยชน์หากเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าในช่วงถัดไป ได้แก่ CPF, TU, HANA
2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่น่าจะได้ประโยชน์จากโครงการลงทุนภาครัฐที่มีความชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ CK, STEC, UNIQ, SEAFCO
3) กลุ่มที่สามารถเก็งกำไรในระยะ 2 สัปดาห์ข้างหน้าจากแรงกดดันในการลดดอกเบี้ยของกนง. ได้แก่ CPALL, BJC, ANAN, AP, S11
แนวรับ 1,635 แนวต้าน 1,650

 

บทวิเคราะห์วันนี้
PYLON (ถือ ราคาเป้าหมาย 12.80 บาท) ปี 60 ไม่สดใสนัก งานใหม่น้อยกว่าคาด แต่จะกลับมาเติบโตได้ในปี 61

 

Today's Event
SSTPF XD 0.2725 บาท
SUSCO XD 0.02 บาท
THRE XD 0.05 บาท
PCA เปลี่ยนชื่อย่อเป็น PLANET

นักวิเคราะห์ :
ณัฐชาต เมฆมาสิน, CFA, FRM (ID: 31379) E-mail: [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!