WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 


กลยุทธ์การลงทุน
  กระแสลงทุนภาครัฐชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ และดัชนีชี้นำการลงทุนเอกชนที่ดีขึ้น เช่น ราคาเหล็กเส้น ยอดขายปูน เป็นต้น ล้วนหนุนเศรษฐกิจไทยเติบโต 3.5% ปีนี้ และ 4% ปีหน้า บวก ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย ซึ่งน่าจะเป็นการสลับขายตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ SET มีโอกาสทดสอบ 1625 จุด กลยุทธ์ฯ เน้นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ ชอบ WHA([email protected]), SCC(FV@B620) Top pick UNIQ(FV@B25) ลงทุนระยะสั้นหุ้นเหล็กที่ยังLaggards TSTH, BSBM


ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย : กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ สลับมาหนุนตลาดปิดบวก
  ตลาดหุ้นในภูมิภาคผันผวนไร้ทิศทาง โดยหุ้นไทย ยังปรับพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่ก็แกว่งตัวในกรอบแคบๆ ก่อนจะปิดที่ 1620.42 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 1.31 จุด หรือคิดเป็น 0.08% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นเป็น 5.03 หมื่นล้านบาท โดยแรงหนุนมาจากกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี นำโดยหุ้น Market Cap. ขนาดใหญ่อย่าง PTT เพิ่มขึ้น 0.75% ตามด้วย PTTGC เพิ่มขึ้น 1.33% และ IRPC 1.71% รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้า ทั้ง CKP เพิ่มขึ้น 1.16%, EA เพิ่มขึ้น 1.36%, GPSC เพิ่มขึ้น 2.56% ขณะที่ GUNKUL ปรับเพิ่มขึ้น 0.99% ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหุ้นที่ราคายัง Laggard เพราะมีโครงการที่พร้อมรับรู้รายได้ และ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หนุนกำไร 2H60 เติบโตได้โดดเด่น ส่วนอีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้น คือ กลุ่ม ICT ทั้ง TRUE, DTAC JAS และ THCOM เพิ่มขึ้น 3.51, 2.20, 1.86 และ 1.35 % ตามลำดับ
  หุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นแรง ยังคงเป็นหุ้นน้องใหม่อย่าง ทริพเพิล ไอ (III) ปิดที่ 10.10 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3.06% รวมถึงมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นตลอด 3 วันที่ผ่านมา ทำให้มีโอกาสเข้าข่ายเกณฑ์ Cash Balance ราคาจึงมีโอกาสปรับฐานช่วงสั้น และอีกหุ้นร้อนแรง คือ ASIAN วานนี้ราคาขึ้นไปชน ceiling ก่อนที่จะปิดที่ 19.10 บาท ปรับขึ้นกว่า 28.19% มูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นกว่า 2.78 พันล้านบาท


  สำหรับกลุ่มที่กดดันตลาดมากสุดคือ ธนาคารพาณิชย์ โดยเป็นการปรับตัวลดลงแทบทั้งกลุ่มฯ ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการขึ้นเครื่องหมาย XD โดย BAY ลดลง 0.50 บาท (-1.31%) แต่จ่ายปันผล 0.40 บาท, BBL ลดลง 2.50 บาท (-1.34%) แต่จ่ายปันผล 2.00 บาท และ KKP ลดลง 2.00 บาท (-2.82%) เท่ากับปันผลที่จ่าย 2.00 บาท ขณะที่หุ้น ธ.พ. ใหญ่อื่นๆ ในกลุ่มก็ปรับลดลงเช่นเดียวกันนำโดย KTB, TMB, KBANK ลดลง 0.54, 0.85 และ 0.98 % ตามลำดับ
  ทิศทางตลาดฯ วันนี้ ยังคงเป็นไปตามแนวโน้มเดิม คือ แกว่งตัวในกรอบแคบ และความกังวลในเกาหลีเหรือ แต่การที่หนุนไทยยัง laggards และ ต่างชาติ สลับขายหุ้นแพง มายังหุ้นถูก ซึ่งไทยน่าจะอยู่ในข่ายดังกล่าว จึงคาดว่าดัชนีมีโอกาสทดสอบ 1625 จุด โดยแนวรับอยู่ที่ 1618 จุด


ทรัมป์ขู่จะใช้มาตรการกีดกันการค้า กับประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักกับเกาหลีเหนือ
  ต่างประเทศยังคงให้น้ำหนักผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป(ECB) วันพรุ่งนี้ คาดยังคงดอกเบี้ยนโยบาย ที่ 0%(ตั้งแต่มี.ค.2559) และคง QE ปัจจุบันเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร (ระยะเวลา เม.ย.2560 – สิ้นปีนี้) แต่ ECB น่าจะส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินตึงตัว โดยเริ่มจากการลด QE และตามด้วย ขึ้นดอกเบี้ยปีตามหลังสหรัฐในปีหน้า หลังจากเศรษฐกิจของยุโรปยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการว่างลดงเหลือ 9.1% (ต่ำสุดในรอบ 9 ปี) และอัตราเงินเฟ้อยุโรปยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย (เงินเฟ้อ ส.ค 1.5% yoy และดอกเบี้ย 0%) ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินยูโรเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ในทิศทางแข็งค่าตลอดช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา


  ขณะที่สหรัฐประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ(Fed) เริ่มมีน้ำหนักน้อยลง โดยคาดว่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า แต่น่าจะมุ่งไปที่ประเด็นการกีดกันการค้าจากสหรัฐกลับมาอีกครั้ง หลังจากสถานการณ์ตึงเครียดคาบสมุทรเกาหลี โดนต้นสัปดาห์ประธานาธิบดีทรัมป์ขู่จะออกมาตรการกีดกันการค้ากับประเทศที่ค้าขายกับเกาหลีเหนือ (มิได้ระบุว่าใช้วิธีใด) ทั้งนี้พบว่าประเทศที่เป็นคู่ค้าหลัก (X+M) ของเกาหลีเหนือ คือ จีนมากที่สุดราว 85%ของมูลค้าการค้ารวมของเกาหลีเหนือ (สินค้าหลักๆจีนส่งออกไปเกาหลีเหนือ มากสุดคือ สิ่งทอ รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์ ขณะที่ สินค้านำเข้าคือ สินแร่บุก, เครื่องนุ่งห่มรองเท้า และอาหาร) รองลงมาคือ อินเดียราว 3.31%,รัสเซียราว 1.34% และไทยเป็นอันดับ 4 ราว 1.29% (สินค้าหลักๆไทยส่งออกไปเกาหลีเหนือคือ สินแร่ดีบุก, ยางพารา, อาหารและผลไม้)


  ทั้งนี้เชื่อว่าหากสหรัฐออกมาตรการกีดกันการค้าน่าจะผ่านการขึ้นภาษีนำเข้า และน่าจะมุ่งไปที่จีน ซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก และได้ดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 40% ของขาดดุลการค้าของสหรัฐฯทั้งหมด และหากพิจารณาสินค้าที่จีนส่งออกไปสหรัฐ 3 ลำดับแรกคือ คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนเครื่องมือสื่อสาร (43.8% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (10.9%) และเหล็ก (5.7%)


  ขณะที่ไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐ เล็กน้อยราว 1.9% ของการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯทั้งหมด โดย สินค้าส่งออกไปสหรัฐหลักๆคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ (19.9%ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด) รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ยาง (9.36%)อัญมณีและเครื่องประดับ (4.8%) โทรทัศน์ และส่วนประกอบ(4.4%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (3.35%) เป็นต้น ขณะที่สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐหลักๆ คือ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบิน(13%ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด) รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า(9.9%) เคมีภัณฑ์ (9.4%) เป็นต้น
การดำเนินการใด ๆ กับจีน อาจจะกดดันให้สินค้านำเข้าของสหรัฐแพงขึ้น นั่นหมายถึงอัตราเงินเฟ้อจะขยับเร็วขึ้น ซึ่งทำให้ทรัมป์ อาจจะต้องใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากับจีนอย่างระมัดระวัง


กระแสประมูลรถไฟทางคู่หนุนตลาด ยังชอบ UNIQ มี upside สูงสุด
  วานนี้มีการประมูลแบบ E-Auction รถไฟทางคู่ช่วงประจวบฯ-ชุมพร จำนวน 2 สัญญา โดย สัญญา 1 ช่วงประจวบฯ – บางสะพานน้อย ระยะทาง 88 กิโลเมตร ราคากลาง 6,579 ล้านบาท ผู้เสนอราคาต่ำสุด คือ กิจการร่วมค้า KS-C ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เค.เอส.ร่วมค้า และ China Railway 11th Bureau Group Corporation Ltd. เสนอราคาที่ 6,456 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง ราว 1.7% ส่วนสัญญา 2 ช่วงบางสะพานน้อย – ชุมพร ระยะทาง 80 กิโลเมตร ราคากลาง 6,071 ล้านบาท ปรากฏว่า กิจการร่วมค้า STTP ซึ่งประกอบด้วย STEC และบริษัท ไทยพีค่อนและอุตสาหกรรม จำกัด เสนอราคาต่ำสุดที่ 5,992 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1.3%


  ในส่วนของงานประมูลที่เหลือ คือ วันที่ 7 ก.ย. 60 มี E-Auction รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-จิระ สัญญา 3 ( งานอุโมงค์) มูลค่า 9,399 ล้านบาท และช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 มูลค่า 10,147 ล้านบาท
  ทั้งนี้โดยภาพรวม ผู้รับเหมารายใหญ่ที่ชนะงานประมูลไปแล้ว 2 สัญญา คือ ITD ได้เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ สัญญาที่ 1 เช่นเดียวกับ STEC ได้เส้นทางนครปฐม-หัวหิน สัญญา 2 และเส้นทางประจวบฯ-ชุมพร สัญญา 2 ส่วน UNIQ ได้ไป 1 สัญญา คือ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 ขณะที่ CK ยังไม่ได้งาน จึงคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ CK รวมถึง UNIQ จะชนะงานประมูลมากกว่าผู้รับเหมารายอื่นๆ
  จึงเชื่อว่ากลุ่มรับเหมาฯ ยังมีกระแสหนุนตลาด จึงยังเลือก Top pick คือ UNIQ (FV@B25) ราคาหุ้นมี upside 34% มีจุดเด่นกว่ากลุ่มตรงที่ มีอัตรากำไรที่สูงสุด และมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรทีชัดเจนในช่วง 3 ปีจากนี้ (2560-2562) รองรับด้วย Backlog ในมือปัจจุบันที่มีมูลค่าสูง


ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขยับขึ้น แนะนำหุ้น Laggards TSTH, BSBM
  ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทั้งสหรัฐ ยุโรป และ เอเชีย นำโดยจีน และ อาเซียน ช่วยหนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขยับขึ้น เริ่มจากสินแร่เหล็กขยับขึ้นจากจุดต่ำสุดในเดือน ก.ค. ขึ้นมาที่ 77.83 เหรียญ ฯ ต่อตัน (เท่ากับจุดสูงสุดเมื่อ เม.ย. ที่ผ่านมา) ปรับตัวขึ้นมาเกือบ 40% ในช่วงกว่า 2 เดือน ถัดมาคือราคาถ่านหิน พิจารณาจากดัชนี BJC Index ขยับขึ้น 12% จาก 87.9 เหรียญฯ ต่อตัน ในเดือน ก.ค. มาที่ 98.9 เหรียญฯ ในเดือน ส.ค. หรือเพิ่มขึ้น 29.4% จากปลายปี 2559 และ ราคาน้ำมันดิบโลกที่ขยับขึ้นเหนือ 50 เหรียญ ฯ ต่อบาร์เรล ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดที่ระดับ 44 เหรียญ ต่อบาร์เรลเมื่อกลางปี 2560 หรือเพิ่มขึ้น เกือบ 18% ซึ่งล้วนเป็นเหตุสำคัญหนุนให้ดัชนีค่าระวางเรือเทกอง (PSL ทำธุรกิจเดินเรือเทกอง 100%) ขยับขึ้นกว่า 40% จากกลางปี 2560 จนถึงปัจจุบัน


  ส่วนราคาเหล็กเส้น (Rebar ในตลาด East Asia Import) ที่กระเตื้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือจากระดับ 494 เหรียญฯ ต่อตัน เดือน ก.ค. เป็น 552 เหรียญฯ ต่อตัน เป็นต้น หรือเพิ่มขึ้น 11.7% สอดคล้องกับราคาเหล็กเส้นในประเทศเดือน ส.ค. 60 ปรับตัวขึ้น 8.5% MoM มาอยู่ที่ 1.87 หมื่นบาท/ตัน เป็นการปรับขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน และเหล็กแผ่นในเดือน ส.ค. มีการเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน คือ ปรับขึ้น 7.7% MoM โดยได้รับแรงหนุนจาก 1) ความต้องการใช้เหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของการก่อสร้าง ทั้งซ่อมแซมหลังเหตุการน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ การลงทุนภาครัฐ และ 2) ราคาต้นทุนวัตถุดิสินแร่เหล็กเพิ่มขึ้น 3 เดือนติด โดยในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 16% MoM ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นเหล็ก TSTH([email protected]) และ BSBM([email protected]) โดยคาดว่าจะมีผลกำไรที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในงวด 3Q60 ขณะที่ราคาหุ้น TSTH และ BSBM ยัง laggards อยู่มาก แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากสินค้าโภคภัฑณ์มีความผันผวนสูง จะมีผลทำให้ผลการดำเนินงานในงวด 4Q60 มีความผันผวนสูง กลยุทธ์การลงทุนหุ้นเล็กจึงเหมาะสำหรับการลงทุนช่วงเวลาสั้น ๆ มากกว่าลงทุนยาว


ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี กดดันแรงซื้อหุ้นในภูมิภาครวมถึงไทยแผ่วลง
  วานนี้ความกังวลต่อความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีกดดันให้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2ด้วยมูลค่าราว 241 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ และเกาหลีใต้ 233 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 38 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ยกเว้นตลาดหุ้น 2 ประเทศ ยังซื้อสุทธิ แต่แรงซื้อแผ่วลง คือ ไต้หวัน 22 ล้านเหรียญ และไทย 11 ล้านเหรียญ หรือ 348 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 มีมูลค่ารวมกันกว่า 8.7 พันล้านบาท) ตรงกันข้ามกับสถาบันในประเทศที่ยังคงขายสุทธิ 1.72 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5)


  ในทางกลับกันความกังวลต่อความรุนแรงดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติหันไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ทองคำที่ปรับตัวขึ้นแรง โดยล่าสุดอยู่ที่ 1345 ดอลล่าร์/ออนซ์ (สูงสุดในรอบปี) รวมถึงทางด้านตราสารหนี้
  โดยวานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยต่อเนื่องสูงถึง 2.37 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) และหากพิจารณาให้ลึกลงไปพบว่า เป็นการพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้นกว่า 2.03 หมื่นล้านบาท (คิดเป็น 87.6% ของยอดซื้อตราสารหนี้ทั้งหมดในวานนี้) ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ยังคงปรับตัวลงเล็กน้อยและสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในปีนี้ที่ 2.4206%

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!