- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 01 September 2017 16:40
- Hits: 1338
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
จุดเริ่มต้นของ Fund Flow สลับจากตลาดหุ้นแพงมาตลาดหุ้นถูก ตลาดหุ้นไทยและจีนน่าจะได้ประโยชน์ ขณะที่การลงทุนเอกชนของไทยมีสัญญาณดีขึ้นมากตามลำดับ ทั้งที่ผ่าน BOI และใน EEC หนุนนิคมอุตสาหกรรม และวัสดุก่อสร้าง ระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า แต่ระยะสั้น SET ยังติด 1,620-1625 จุด กลยุทธ์ฯ ยังแนะนำสะสมหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานแกร่งราคาหุ้น Laggards (VGI, BANPU, GUNKUL) Top picks เลือก WHA([email protected]) และ SCC(FV@B620)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย : PTT, PTTGC ขึ้น XD แต่ราคาหุ้นหนุน SET ได้
วานนี้ SET Index อยู่ในแดนลบเกือบตลอดทั้งวัน ก่อนที่จะพลิกขึ้นมาอยู่ในแดนบวกได้ในช่วงท้ายของการซื้อขาย ปิดตลาดฯ เลขสวยที่ 1616.16 จุด เพิ่มขึ้น 2.82 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 5.3 หมื่นล้านบาท กลุ่มที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มค้าปลีก นำโดย BIG ปรับเพิ่มขึ้นถึง 9.04% ซึ่งในบทวิเคราะห์ Sium See วานนี้ได้แนะนำเป็นหุ้นเด่น Technical Buy Signal ด้วย ตามด้วย GLOBAL ปรับขึ้น 3.45% BJC ปรับขึ้น 2.60% และ COM7 ปรับขึ้น 2.33% ตามด้วยกลุ่มอาหาร นำโดย MALEE ปรับขึ้นถึง 5.88% ตามด้วย SORKON 3.82% และ CPF 2.83% เช่นเดียวกับกลุ่มบันเทิง WORK ปรับขึ้นแรงถึง 6.52% แต่เป็นเพียงการเก็งกำไรช่วงสั้นจากการถูกคัดเลือกเข้าคำนวณในดัชนี FTSE All Cap และ FTSE Small Cap มีผลวันที่ 15 ก.ย. นี้เท่านั้น ส่วน BEC ปรับขึ้นแรงเช่นกัน 6.13% RS ปรับขึ้น 4.76% และ PLANB ปรับขึ้น 2.63% ขณะที่กลุ่มพลังงาน หุ้นพลังงานทดแทนมาแรง นำโดย SUPER และ SOLAR ปรับขึ้น 4.69 และ 3.85 % ตามลำดับ ขณะที่ PTT วานนี้ขึ้น XD จ่ายปันผล 8 บาท แต่ราคาหุ้นลดลงเพียง 3 บาทเท่านั้น ส่วน PTTGC XD จ่ายเงินปันผล 1.75 บาท แต่ราคาปิดที่เดิม เท่ากับนักลงทุนได้เงินปันผลฟรี ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าแรงซื้อหุ้นใหญ่ยังมี
ตรงข้ามกับกลุ่มที่ปรับลดลงคือ กลุ่มขนส่ง โดยเฉพาะหุ้นเดินเรือ ทั้ง RCL PSL และ TTA ลดลง 6.75, 4.67 และ 1.08% ตามลำดับ อีกกลุ่มที่ลดลง คือ ธนาคารพาณิชย์ นำโดย KBANK TMB และ BBL ลดลง 1.95, 0.84 และ 0.81% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตาม momentum เชิงบวกที่เหลืออยู่จากการที่ดัชนีมีแรงซื้อดันกลับขึ้นมาในช่วงท้ายตลาดฯ วานนี้ ประเมินแนวรับ 1603 จุด ส่วนแนวต้านแรกที่ 1620 จุด และถัดไปที่ 1625 จุด
เงินเฟ้อยุโรปสูง มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรปยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อ สะท้อนจากอัตราการว่างงานเดือน ก.ค. ทรงตัว 9.1%yoy (ต่ำสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์ปี 2551แต่ยังสูงกว่าอัตราว่างงานปกติที่ 7.1%) และอัตราเงินเฟ้อยุโรป เดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นที่ 1.5%yoy จากที่ทรงตัว 1.3%yoy ติดต่อกัน 2 เดือน จากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 4.0%yoy จากเดิม 2.2% ในเดือนก่อนหน้า เทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยหักเงินเฟ้อราว -1.5% ตอกย้ำความเชื่อธนาคารกลางยุโรปน่าจะเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวผ่านการขึ้นดอกเบี้ยหรือ ลด QE ตามหลังสหรัฐ
ขณะที่ฝั่งสหรัฐ ประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยเริ่มมีน้ำหนักน้อยลง สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งที่เหลือน้อยมาก 1-3% รอบ ก.ย. และ พ.ย. และรอบธ.ค. เพียง 33% แต่นับจากนี้น่าจะให้นำหนักไปที่ประเด็นการขยายเพดานหนี้สาธารณะ คือ ล่าสุด เลขานุการกระทรวงการคลังสหรัฐประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ราว 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน่าจะส่งให้การพิจารณาร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้(Debt Ceiling)ที่กำหนด 19.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ยอดหนี้สาธารณะล่าสุด ราว 19.97 ล้านล้านเหรียญฯ) ซึ่งรัฐสภาฯน่าจะอนุมัติผ่านเร็วกกว่ากำหนดการเดิม 29 ก.ย.2560 เนื่องจากต้องนำเงินไปช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเพื่อให้สามารถชำระหนี้ตามกำหนด (เงินประกันสังคม, ประกันสุขภาพ และเงินสมทบเกษียณอายุทหาร เป็นต้น) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Government Shutdown ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 1-16 ต.ค. 2556 ราว 16 วัน ระยะสั้นน่าจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ชะลอการอ่อนค่า หลังจากที่อ่อนค่าราว 9.4%นับตั้งแต่ต้นปี
การลงทุนเอกชนไทยยังมีสัญญาณ ฟื้นตัว หนุน WHA, SCC
เศรษฐกิจไทยยังมีสัญญาณบวกเนื่อง ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยดัชนีเศรษฐกิจเดือน ก.ค. พบว่ายังคงสดใส ทั้งการส่งออก และ การลงทุนเอกชน ต่อเนื่องจากงวด 2Q60 ซึ่งมียอดของ BOI สูงถึง 3 แสนล้านบาท ทั้งนี้ดัชนีชี้นำฝั่งลงทุนเอกชน ที่ฟื้นตัวชัดเจนคือ ยอดขายวัสดุก่อสร้างและพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง เดือน ก.ค. ขยายตัว 2 เดือนติดต่อกันที่ 0.6%mom และ 0.7%mom ตามลำดับ ถือว่าสอดคล้องกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ที่รายงานก่อนหน้า คือ ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน เดือน ก.ค.60 อาทิ เครื่องมือเครื่องจักร ขยายตัว 7.8% yoy(เพิ่มขึ้น 6 เดือนติดต่อกัน) และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนเดียวกันกลับมาขยายตัว 1.7%yoy จากราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น 9.4% ยกเว้นยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศที่หดตัวเล็กน้อย 0.5% ผลจากฤดูฝนตก
ในภาวะเช่นนี้ น่าจะดีต่อผู้ประกอบที่พัฒนาที่ดินขาย เพื่อการสร้างโรงงานอุตสาหรกรม (WHA, AMATA) และ Logistics (JWD) สำหรับนิคมฯ นั้นคาดว่า ผลบวกต่อยอดขาย หรือ บันทึกรายได้ต่องบการเงินน่าจะส่งผลในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า ซึ่งน่าจะเป็นปี 2561 เป็นที่ดีสำหรับหุ้นนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาราคาตลาดกับมูลค่าพื้นฐานในปี 2560 พบว่ามีเพียง
WHA ที่มี upside สูง ขณะที่ AMATA ราคาหุ้นน่าจะขึ้นตอบรับไปมาก คือ
WHA([email protected]) มีจุดเด่นที่มีธุรกิจหลากหลาย ทั้งนิคม (ซื้อ HEMRAJ) โลจิสติกส์ และ สาธารณูปโภค (โรงไฟฟ้า SPP) นักวิเคราะห์ ASP คาดว่ากำไรในงวด 2H60 จะโดดเด่นจากธุรกิจโรงไฟฟ้า (โรงไฟฟ้า GTS1 ซึ่ง COD ก.ค. นี้) และ ยังมี GTS2 และ GTS3 มีกำลังการผลิตรวมกันตามสัดส่วนการถือหุ้น 478.4 MW และ 4Q60 จะมีการขายสินทรัพย์เข้า REIT 4.8 พันล้านบาท โดยรวมกำไรสุทธปี 2560 จะเติบโต 5.5% มาอยู่ที่ 3058 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.21 บาท แต่เพิ่มแบบก้าวกระโดดเกือบ 40% มาที่ 4267 ล้านบาท หรือ 0.3 บาทต่อหุ้น ทำให้มี Exected P/E ลดลงจาก 15 เท่า เหลือ 10.6 เท่า เท่านั้น ขณะที่ AMATA ทำนิคมอุตสาหกรรมเช่นกัน แต่มีการกระจายไปสู่ต่างประเทศ ปี 2560 ประเมินกำไรไว้ที่ 1336 ล้านบาท หรือ กำไรต่อหุ้น 1.25 บาท เติบโต 11% แต่ ปี 2561 จะเติบโตในอัตราสูง 38.6% ใกล้เคียงกับ WHA แต่หากพิจารณาคาหุ้นของ AMATA ได้ปรับตัวขึ้นมากปิด 18.4 บาท และเกินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมในปี 2560 ที่ 17.50 บาท จึงแนะนำให้ switch จาก AMATA มายัง WHA
ธุรกิจปูนต้องยกให้ SCC (FV@B620) คาดแนวโน้มผลประกอบการ 2H60 จะใกล้เคียงกับ 1H60 ทำกำไรสุทธิได้ 53.6% ของประมาณการทั้งปี โดยแรงขับเคลื่อนหลักยังคงมาจากธุรกิจปิโตรเคมีจาก spread ผลิตภัณฑ์หลักยังทรงตัวในระดับสูง ทั้งยังมีปัจจัยขับเคลื่อนระยะยาวจากแผนการลงทุนปิโตรคอมเพล็กซ์ในเวียดนาม ขณะที่ธุรกิจปูนซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แม้ในครึ่งปีแรกจะไม่สดใสตามภาคก่อสร้างในประเทศที่ชะลอตัว แต่คาดหวังจะเห็นการฟื้นกลับมาได้ในปีหน้า จากสัญญาณเชิงบวกของการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาเติบโต นอกจากนี้ ในเชิง Valuation ยังมีระดับ Expected P/E ต่ำเพียง 10.5 เท่า ราคาหุ้นปัจจุบัน upside อีกกว่า 24% และคาดหวังเงินปันผลได้ 3.8% จึงแนะนำซื้อลงทุนระยะยาว
คาดมีเม็ดเงินใหม่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้นในเดือน ก.ย. 60
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 58 ล้านเหรียญ แม้มีอยู่ 2 ประเทศที่ถูกขายสุทธิ แต่แรงขายเริ่มเบาบางลงประกอบด้วย เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 32 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และอินโดนีเซีย 18 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศถูกซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 43 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ 56 ล้านเหรียญ หรือ 1.86 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตรงข้ามกับสถาบันฯที่ยังคงขายสุทธิ 1.8 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
สรุป Fund Flow ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า มีหลากหลายปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในภูมิภาค ทั้งความกังวลต่อความรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลี และความไม่แน่นอนของการเมืองสหรัฐ รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น กดดันให้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคในเดือน ส.ค. กว่า 2.26 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นเดือนที่มีแรงขายสุทธิมากในปีนี้ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อย (รายละเอียดดังตารางทางด้านล่าง)
อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของเดือน ส.ค. แรงขายหุ้นจากต่างชาติเริ่มเบาลง และมีแรงซื้อกลับมาในบางประเทศ โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย ซึ่งมีค่า P/E ต่ำสุดในภูมิภาค บวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี หนุนให้มีเม็ดเงินใหม่ไหลเข้าในตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ย. 60 นี้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถิติในอดีต ที่ต่างชาติมักจะซื้อสุทธิหุ้นไทยถึง 4 ใน 5 ปี ด้วยมูลค่าเฉลี่ยกว่า 6.01 พันล้านบาท รวมถึง SET Index มักจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกในเดือนนี้ถึง 3 ใน 5 ปีที่ผ่านมา และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 1.52%
Fund Flow สลับมาหุ้น Laggards: SCB, GUNKUL, UNIQ, COM7
ปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว 8 เดือน ในส่วนของตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเพียง 4.75% เท่านั้น เป็นผลตอบแทนที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค (ดังภาพด้านล่าง) ซึ่งก็เป็นไปตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่สูงเกือบ 20% ในปี 2559 ชนะตลาดหุ้นอื่นๆ ทั้งหมดที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ในปีนี้ตลาดหุ้นไทยจึง underperform กว่าอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตาม เห็นการสลับการลงทุนในประเทศที่ Outperform มายังประเทศที่ Underperform โดยเฉพาะเดือน ส.ค. เห็นการปรับลดลงของตลาดหุ้นอินเดีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ขณะที่ตลาดหุ้นที่ปรับขึ้น คือ ตลาดหุ้นจีน และ SET Index บวกกับ Valuation หลายตลาดค่อนข้างแพงแล้ว ยกเว้นตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นไทยที่ยังมีระดับ Expected P/E ต่ำสุดในภูมิภาค คือ 15.9 เท่า ในปี 2560 และจะลดลงเหลือ 14.7 เท่าในปี 2561 น่าจะดึงดูดให้ Fund Flow มีโอกาสไหลกลับเข้ามาในระยะถัดไป สอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนที่ยังเน้นหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานแกร่งที่ราคายัง Laggard กว่าตลาดฯ และมีแนวโน้มเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงเป็นหุ้นที่มีโอกาสฟื้นตัวแรงกว่าตลาดฯ (มีค่า Beta >1) ดังปรากฏในตารางถัดไป โดยเลือกหุ้น Top picks คือ UNIQ(FV@B25), GUNKUL([email protected]), COM7([email protected]), SCB(FV@B178)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636