WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
  ปีนี้ตลาดหุ้นไทย upderperform เพื่อนบ้าน จนทำให้ P/E ต่ำสุด และเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น จากส่งออก และการลงทุนเอกชนที่กลับมาบวก ล้วนหนุนตลาดหุ้นกลาง-ยาว กลยุทธ์ฯ ให้ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง กำไรเด่นใน 2H60 และเติบโตปีหน้า (MTLS, VGI, IRPC, JWD, ERW) หรือปันผลสูง (MCS, HANA, KKP, LH) Top picks ERW([email protected]) และ HANA(FV@B53) กำไรเด่นใน 2H60 และได้ประโยชน์จากเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่า

 

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย..HANA ฟื้นตัว จากเงินบาทอ่อนค่าและเข้าสู่ High Season
  ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวสลับในแดนบวก-ลบตลอดวัน ก่อนที่จะขยับขึ้นมาปิดในแดนบวกได้เพียงเล็กน้อย 0.19 จุด ที่ 1573.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.57 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังคงฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะลดความร้อนแรงลง โดย KBANK ขยับขึ้น 1.54% ส่วน SCB และ TISCO ปรับขึ้น 0.70 และ 0.34 % ตามลำดับ ส่วนกลุ่มพลังงาน ที่ปรับขึ้นจะกระจุกตัวในหุ้นพลังงานทดแทน คือ SUPER, GUNKUL, BPP ปรับขึ้น 5.65, 2.54, 0.97% ตามลำดับ ส่วน BANPU ขยับขึ้น 2.41%
  หุ้นในกลุ่มอื่นที่ปรับขึ้นเด่นคือ คือ AMARIN ปรับขึ้น 7.58% J ปรับขึ้น 7.02% AS ปรับขึ้น 6.88% และ HANA ปรับขึ้น 5.23% ซึ่งเชื่อว่ามาจากเงินบาทที่อ่อนค่า จากที่ไทยขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน รวมถึงยอดส่งออกเข้าสู่ฤดูกาลส่งออกใน 3Q60
       ตรงข้ามกับกลุ่มที่ปรับลง คือ กลุ่มอสังหาฯ คือ PACE ลดลงแรง 5.98% เชื่อว่ายังเป็นความกังวลต่อปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ส่วน LH และ PSH ลดลง 3.92% และ 2.19% เพราะการขึ้นเครื่องหมาย XD จ่ายปันผลหุ้นละ 0.4 บาท และ 0.57 บาท กำหนดจ่ายเงินฯ 6 ก.ย. และ 8 ก.ย. นี้ ตามลำดับ หุ้นอื่นๆ ที่ปรับลงแรง คือ AMANAH ลด 14.55% และ RS ลด 4.83%
  โดยรวมตลาดฯ น่าจะให้น้ำหนักต่อปัจจัยในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นการฟื้นตัวของภาคการค้าระหวางประเทศ และ การลงทุนเอกชนที่ฟื้นตัวครั้งแรกในรอบหลายไตร แต่อาจจะกดดันจาก ผลการตัดสินคดีรับจำนำข้าวในวันที่ 25 ส.ค. ทำให้ดัชนียังคงแกว่งผันผวนในกรอบ 1568 – 1575 จุด

 

ส่งออกสดใส แต่ขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรก กดดันให้เงินอ่อนค่า
  การค้าระหว่างประเทศของไทย เดือน ก.ค.60 ยังสดใส คือ ยอดส่งออก(X)ในรูปดอลลาร์ขยายตัว 10.5%yoy ที่ 1.88 หมื่นล้านเหรียญ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 (vs. สกุลบาท 6.55% ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า) สินค้าส่งออกดีขึ้น คือ เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร อาทิ ข้าว , ผักผลไม้สดแช่แข็งกระป๋องแปรรูป, ยางพารา, ไก่สดแช่แข็ง และน้ำตาลทราย ซึ่งเพิ่มติดต่อกัน 9 เดือน และอุตสาหกรรม อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ และ ผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มติดต่อกัน 5 เดือน
  ตลาดส่งออกที่ขยายตัว คือ จีน, สหรัฐ, ญี่ปุ่น ,เวียดนาม เพิ่มติดต่อกันตั้งแต่ต้นปี และตลาดที่พลิกกลับมาขยายตัว อาทิ อังกฤษ, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินา ตรงข้ามตลาดส่งออกที่หดตัวคือ ซาอุดิอาระเบีย หดตัวตั้งแต่ต้นปี, ออสเตรเลียที่หดตัวเป็นเดือนที่ 3 และฮ่องกงหดตัวเป็นเดือนแรก


  ขณะที่การนำเข้า(M) ขยายตัว 18.5%yoy ที่ 1.9 หมื่นล้านเหรียญ (ในรูปเงินบาทเพิ่ม 14.2%) หลักๆคือที่ขยายตัวแรงคือ ทองคำเพิ่มขึ้นราว 385%yoy หมวดเพชร,อัญมณีเติบโต 8 เดือนติดต่อกัน, และสินค้าประเภทวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออก อาทิ เคมีภัณฑ์ขยายตัว 12 เดือนติดต่อกัน, น้ำมันดิบขยายตัว 11 เดือนติดต่อกัน, แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัว 12 เดือนติดต่อกัน
  เป็นที่สังเกตว่าในเดือน ก.ค. มีการนำเข้าเครื่องจักรกลไฟฟ้าและส่วนประกอบยังเพิ่มขึ้น15.63%yoy ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 จาก 15.7% ในเดือน มิ.ย. หลังจากหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สะท้อนได้ว่าเอกชนเริ่มมีการลงทุน และการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออก ทำให้เดือน ก.ค.60 ไทยกลับมาขาดดุลการค้าครั้งแรก เป็นเหตุผลหนึ่งที่หนุนให้เงินบาทต่อดอลลาร์ชะลอการแข็งค่าหรือกลับมาอ่อนค่า หลังจากที่แข็งค่าราว 7.48% นับตั้งแต่ต้นปี


  โดยภาพรวมทำให้ส่งออก และนำเข้าในรูปดอลลาร์ 1H60 เพิ่มเฉลี่ย 8.2%yoy และ 15.5%yoy ซึ่งทำให้ ASPS มีขยับคาดการณ์ (ส่งออก และ นำเข้า) ในปี 2560 เป็น (5.5% และ 9%) จากเดิม (2% และ 5.5%) ซึ่งยังคงส่วนต่าง 3.5% และปี2561 (2.5% และ 6%) และปรับลดสมมุติฐานค่าเงินบาทต่อดอลลาร์เฉลี่ยเหลือ 34 บาทในปี 2560 และ 2561 จากเดิม 35 บาทต่อเหรียญ เพื่อสะท้อนค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ทำให้โดยรวมยังคงคาดการณ์ GDP Growth ปี 2560 ที่ 3.5%yoyตามเดิม และในปี 2561 GDP Growth น่าจะเร่งขึ้นไปแตะ 4% อ่านรายละเอียด Econoomic Outlook วันศุกร์นี้

 

ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจาก สต็อกน้ำมันสหรัฐฯ ลดติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 8
  วานนี้ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯลดลง 3.33 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 8) ใกล้เคียงกับที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 3.45 ล้านบาร์เรล หนุนให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 1.21% มาอยู่ที่ 48.41 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2) อย่างไรก็ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันถูกจำกัดด้วยตัวเลขปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ล่าสุดยังคงเพิ่มขึ้นอีก 2.9 หมื่นบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.53 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. 2558 เป็นต้นมา รวมทั้งหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบสหรํฐฯที่ลดลงอีก 5 หลุมในสัปดาห์ล่าสุด (18 ส.ค.2560) มาอยู่ที่ 763 หลุม


อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยฯคาดว่าราคาน้ำมันในระยะยาวยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น ดังนั้นยังกลยุทธ์การลงทุนแนะนำหาจังหวะเข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัวสำหรับหุ้นน้ำมัน อย่าง PTTEP (FV@B116) และ PTT (FV@B460) ที่มีปัจจัยบวกเพิ่มจากการเตรียมนำร้านค้าปลีก “JIFFY” แทน “7 ELEVEN” ใน 6 ปีข้างหน้า รวมถึงยังชื่นชอบ BANPU(FV@B24) เนื่องจากราคาถ่านหินปรับตัวขึ้นทำ New High ต่อเนื่องได้ในรอบปี ล่าสุดอยู่ที่ 98.25 เหรียญฯ/ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ส.ค. 60) ซึ่งเป็นบวกต่อทั้งปัจจัยพื้นฐานและผลการดำเนินการของบริษัท


ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย แต่ยังขายไทย
  วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคด้วยมูลค่าเล็กน้อยเพียง 85 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยภาพรวมยังเป็นแรงซื้อต่อเนื่องของหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกคือ ไต้หวัน 16 ล้านเหรียญ และเกาหลีใต้ 109 ล้านเหรียญ ส่วนหุ้นในกลุ่ม TIP มีเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติซื้อสุทธิราว 27 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนฟิลิปปินส์ถูกสลับมาขายสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 10 วัน) และตลาดหุ้นไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิ 61 ล้านเหรียญ หรือ 2 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.78 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 3.89 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!