- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 02 August 2017 18:06
- Hits: 909
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังแกว่งตัว 1570-1585 จุด ตามแรงขายรับงบ 2Q60 หุ้น real sector แต่เพราะใกล้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ให้สะสมหุ้นปันผลเด่นโดยเฉพาะ KKP Div Yield 8% (TCAP, LH, GLOW) และยังชอบ BANPU (FV@B24) ยังขึ้นน้อย เทียบกับราคาถ่านหินฟื้นตัวกว่า 27% ใน 2 เดือน และ BEAUTY([email protected]) เป็น Growth stock เติบโตตามกระแสรักษ์สุขภาพ คาดกำไรงวด 2Q60 เติบโต 40%yoy เลือก COM7([email protected]) เป็น Top pick เป็น Growth stock
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย..หุ้นพลังงานและปิโตรเคมี ช่วยหนุนตลาด
วานนี้ มูลค่าการซื้อขายกลับมาเบาบางอีกครั้งเพียง 3.9 หมื่นล้านบาท โดยดัชนีแกว่งตัวในแดนลบเกือบทั้งวัน แต่ช่วงท้ายก็มีแรงซื้อเข้ามาในกลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มพลังงาน หนุนดัชนีขึ้นมาสู่แดนบวกได้ ปิดที่ 1576.45 จุด เพิ่มขึ้น 0.37 จุด โดยหุ้นปิโตรเคมีที่หนุนดัชนีมากสุด คือ PTTGC ปรับขึ้น 1.74% ส่วน IVL ขยับขึ้นไม่มากนักเพียง 0.67%
กลุ่มเกษตร-อาหาร ก็ปรับขึ้นได้ดีเช่นกัน นำโดย GFPT ขึ้นถึง 2.59% ขณะที่คาดการณ์ 2Q60 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10.5% qoq และ 23.1% yoy จากราคาไก่ในประเทศเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณส่งออกเนื้อไก่จะทรงตัวสูงต่อเนื่องจากงวด 1Q60 หนุนให้ gross margin ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 16.0% และเชื่อว่าแนวโน้มยังสดใสงวด 3Q60 ซึ่งคาดจะเติบโต 16.5% qoq และ 11.6% yoy จากช่วง high season และคาดผลประกอบการปีนี้เติบโต 17.7%yoy และปีหน้าโตอีก 7.4%
ตรงข้ามกลุ่มที่ปรับลดลงแรง คือกลุ่มวัสดุก่อสร้าง นำโดย VNG ลดลง -2.52% เนื่องจากคาดหมายว่า 2Q60 ผลการดำเนินงานอาจไม่สดใสอย่างที่เคยคาดไว้ คาดลดลง 29%YoY ผลจากภาวะฝนตกยาวนานในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้ต้นทุนเศษไม้ปรับตัวสูงขึ้น หักล้างผลบวกจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ทำให้ฝ่ายวิจัยต้องปรับประมาณการกำไรปีนี้ลง 14% และ Fair Value ลดลงจาก 16.20 บาท เหลือ 14.00 บาท โดยผลการดำเนินงานน่าจะเห็นการฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q60 ซึ่งเป็น High Season เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม คาดปีนี้ กำไรสุทธิหดตัวลง 8% ส่วน SCC ลดลง 1.19%
และกลุ่มรับเหมาฯ ยังอยู่ในภาวะปรับฐาน โดย PYLON และ SEAFCO ผู้รับเหมาฐานราก ปรับลง 3.40% และ 2.61% ตามลำดับ ตามด้วยผู้รับเหมารายใหญ่ CK, ITD, UNIQ, STEC ลดลง 1.75%, 1.52%, 1.11% และ 0.97% ตามลำดับ
โดยภาพรวมตลาดวันนี้ แนวรับบริเวณ 1570 จุด น่าจะยังทำงานได้ดี เนื่องจากวานนี้ดัชนีลงมาทดสอบบริเวณดังกล่าวก็ดีดตัวกลับขึ้นไป ทำให้การปรับฐานไม่น่าลงลึก แต่ upside ก็มีไม่น่าจะไกลเช่นกันเนื่องจากมูลค่าการซื้อขายกลับมาเบาบางตามเดิม ประเมินการเคลื่อนไหว SET วันนี้ในกรอบ 1570 - 1585 จุด
เงินเฟ้อไทยยังต่ำ แต่เงินบาทที่แข็งเพราะมีเกินดุลการค้าและเงินเข้าหุ้น
กระทรวงพาณิชย์ไทยเผยอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. พลิกกลับมาเป็นบวกอีกครั้งแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ คือ ขยายตัว 0.17%yoyจาก -0.05% ในเดือน มิ.ย. จาก -0.04% เดือน พ.ค. ทำให้เฉลี่ย ม.ค-ก.ค. ขยายตัว 0.6% โดยปัจจัยหนุนอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้มาจากสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม คือ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 3.40%yoy , หมวดบันเทิง การศึกษาเพิ่มขึ้น 0.68% และยาสูบ , เครื่องดื่มมีแอลกออลล์ เพิ่มขึ้น 0.11% ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลล์ เพิ่มขึ้นจาก ราคาอาหารนอกบ้าน 1.27% เครื่องประกอบอาหาร 1.1% และเครื่องดื่มไม่มีแอลกออลล์ 0.78% ยกเว้นสินค้าอาหารสดที่ยังหดตัว อาทิ ผักและผลไม้สด -4.6%yoy ไข่และผลิตภัณฑ์นม -2.76% และข้าว ,แป้ง -2.47% ต่อเนื่องจากฐานปี 2559 ที่อยู่ในระดับสูงจากผลกระทบของภัยแล้ง
เงินเฟ้อที่ต่ำนี้เป็นการตอกย้ำให้การประชุม กนง. ยังต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย หรือคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% ตามเดิม(ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย.2558) ถือเป็นการช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวล่าช้าอีกประเด็นนึง แต่เป็นที่สังเกตว่าเงินบาท ยังมีแนวโน้มแข็งค่าราว 7.01%ytd อยู่ที่ 33.28 บาทเทียบดอลลาร์ (แข็งค่าสุดในรอบเกือบ 2 ปี) เกิดจากไทยเกินดุลการค้าติดต่อกันถึง 26 เดือน และ Fun flow ที่ไหลเข้าทั้งตราสารหนี้เป็นหลัก ซึ่งสวนทางกับตลาดหุ้นที่ยังมีแรงขายสลับซื้อต่อเนื่อง เพราะเม็ดเงินจะไหลไปสู่ประเทศที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจน
เงินดอลลาร์ ยังอ่อนค่า สะท้อนโอกาสขึ้นดอกเบี้ยปีนี้น้อยลง
ฝั่งสหรัฐ การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุด ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวช่วงสั้น กล่าวคือ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสถาบัน ISM เดือน ก.ค. ลดลงครั้งแรกหลังจากขยายตัว 2 เดือนติดในก่อนหน้า เช่นเดียวกับฝั่งภาคการบริโภค พบว่า ยอดขายรถยนต์สหรัฐ ในเดือนเดียวกัน หดตัว 7%yoy อยู่ที่ 1.42 ล้านคัน (ลดลง 2 เดือนติดต่อกัน) สอดคล้องกับยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐลดลงติดต่อกัน 3 เดือน บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะผ่านการฟื้นตัวสูงสุด โดยต้องติดตามตลาดแรงงานในวันที่ 4 ส.ค. จะมีการรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร(เดือน ก.ค. คาดไว้ 1.83 แสนราย ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั้งปี 1.9 แสนราย) ซึ่งน่าจะหนุนให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกับที่ 4.3% -4.4% จาก 4.4% ในเดือน มิ.ย. (กระเตื้องจาก 3.3% ในเดือน พ.ค.)
ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐยังคงชะลอ 4 เดือนติด โดยล่าสุดเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 1.6%yoy แต่เมื่อเทียบกับ ดอกเบี้ยฯ ที่ 1.25% ทำให้ช่องว่างดอกเบี้ยหักเงินเฟ้อแคบลง เชื่อว่ามีโอกาสที่ Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจของ Bloomberg คาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือมีโอกาสน้อยลงคือรอบ ก.ย และ พ.ย. มีโอกาสราว 5.6% และ 10.3% และรอบ ธ.ค. โอกาสขึ้นมากที่สุดเหลือเพียง 41.8%) กดดันให้เงินดอลลาร์ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าราว 9.1% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดอยู่ที่ 92.76 จุด (อ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 15 เดือน)
ตรงข้ามกับเงินยูโรเทียบดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อเนื่องราว 12.4% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเชื่อว่ายุโรปจะเป็นอีกประเทศที่จะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐผ่านการขึ้นดอกเบี้ย หรือลด QE แต่คาดว่าค่อยเป็นค่อยไป หลังจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรปยังขยายตัวต่อเนื่อง (อัตราเงินเฟ้อ 1.3%yoy VS. ดอกเบี้ยฯ 0%) แต่คาดว่าจะปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป สถานการณ์เช่นนี้หนุนให้เงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นยุโรปต่อเนื่อง
เงินทุนต่างชาติยังไหลออกจากภูมิภาครวมถึงไทยอย่างต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าราว 106 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีไต้และไต้หวัน มูลค่ากว่า 60 ล้านเหรียญ และ 20 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดในกลุ่ม TIP เริ่มจาก ฟิลิปปินส์ ขายสุทธิกว่า 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) อินโดนิเซีย 5 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทย 14 ล้านเหรียญ หรือ 469 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ขณะที่สถาบันในประเทศสลับมาซื้อสุทธิเล้กน้อย 612 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.75 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 2.43 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 โดยมูลค่ารวม 3 วันทำการที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.26 หมื่นล้านบาท)
เดือน ส.ค. ดัชนียังถูกกดดันจากการขายรับงบ 2Q60 และฤดูกาลจ่ายปันผลระหว่างกาล
ในช่วง 1 เดือนนับจากนี้ คาด SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรอบจำกัด เนื่องจากต้องเผชิญต่อแรงขายทำกำไรของผลประกอบการ 2Q60 ที่เริ่มทยอยรายงานในกลุ่ม Real sector ไปบ้างแล้ว และในไตรมาส 2 ส่วนใหญ่จะเป็นช่วง Low Season ของหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มรับเหมาฯ, ค้าปลีก เป็นต้น เนื่องจากมีวันหยุดยาวหลายวัน และฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติ รวมถึงผลประกอบที่ต่ำกว่าคาดของหุ้นกลุ่ม ธ.พ. นอกจากนี้ยังเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลการจ่ายปันผลระหว่างกาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้กับผู้ถือหุ้น (ช่วงต้นเดือน ส.ค. – ต.ค. 60) โดยจากสถิติในช่วงเดือน ส.ค. – ต.ค. ย้อนหลัง 5 ปี พบว่า มีเม็ดเงินที่นำมาจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น กดดัน SET Index ปรับตัวลงเฉลี่ยกว่า 0.86% หรือคิดเป็นผลกระทบต่อ SET Index ปัจจุบัน 13.50 จุด โดยเฉพาะเดือน ส.ค. กดดัน SET Index ปรับตัวลงเฉลี่ยถึง 0.54% หรือ 8.58 จุด (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง)
ผลกระทบของเงินปันผลระหว่างกาลที่ประกาศจ่ายในปี 2555-59 กดดัน SET Index
สำหรับปี 2560 นี้ บริษัทจดทะเบียนเริ่มประกาศจ่ายปันผลเดือน ส.ค. ไปแล้ว 22 บริษัท ซึ่งคิดเป็น 14.8% (เทียบกับจำนวนบริษัทช่วงเดียวกันของปี 2559 ที่จ่ายปันผล 148 บริษัท) กดดันให้ SET Index ปรับตัวลดลงราว 3.3 จุด เช่น ADVANC ประกาศจ่าปันผล 3.51 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 7 ส.ค. 60 กดดัน SET Index ลดลงราว 1.05 จุด, PTTEP ประกาศจ่าปันผล 1.5 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 8 ส.ค. 60 กดดัน SET Index ลดลง 0.61 จุด เป็นต้น
สรุป SET ยังต้องเผชิญกับปัจจัยกดดันที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัยฯยังคงชื่นชอบและแนะนำให้ลงทุนในหุ้นปันผลเด่น KKP, TCAP และ LH รวมถึงหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการ 2Q60 สดใส และมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่าง COM7 และ BANPU
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636