- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 01 August 2017 17:06
- Hits: 740
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
ตัวเลขเศรษฐกิจกำลังพอดีอีกแล้ว
คาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบต่อไป หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดจากสหรัฐ จีน และญี่ปุ่น ยังระบุการขยายตัว แต่ด้วยอัตราชะลอลงตัวเลขเหล่านี้บ่งชี้ว่าพอเพียงกระตุ้นการว่าจ้างงาน แต่ไม่เร็วมากจนก่อให้เกิดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางแต่ละแห่งยังจะไม่เร่งลดการผ่อนคลายทางการเงิน ในขณะที่ความไม่แน่ใจว่า Trump จะผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนได้ ยังคงกดดันหุ้น ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดก็มีทั้งดีและไม่ดี สำหรับเดือน มิ.ย. ดัชนีอุตสาหกรรมกับการลงทุนภาคเอกชนยังลดลง แต่การบริโภคยังคงขยายตัว ธปท. คาด GDP ขยายตัว 3.3% ในไตรมาส 2 แต่จะเร่งขึ้นเป็น 3.7% ในครึ่งปีหลัง
หุ้นเด่นวันนี้ : TOP(ราคาปิด 85.75 บาท; NR; IAA consensus 94.00 บาท)
เราเลือก TOP เป็น Pick of the day โดยเราคาดการณ์ Outlook ของ TOP จะสดใสจาก 3 ธุรกิจหลักที่ดำเนินการอยู่คือโรงกลั่น ปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ และโรงไฟฟ้า SPP ในช่วงปี 2560-2562 เริ่มจากธุรกิจโรงกลั่นปัจจุบันค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้นมายืน 8 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และเราคาดการณ์ค่าการกลั่นเฉลี่ยช่วงไตรมาส 3/60 และ 4/60 ไว้ที่ 7.5 และ 8.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับครึ่งปีแรกอยู่ที่ 6.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากภาวะซัพพลายล้นตลาดของโรงกลั่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเริ่มถูกขจัดหมดไปบางส่วนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.60 ที่มีโรงกลั่นในจีนและญี่ปุ่นถูกปลดระวางไปจำนวนมาก เนื่องจากขาดประสิทธิภาพการผลิต ส่วนผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ ทั้งพาราไซลีน และเบนซีน มีสเปรดที่ดีขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะเบนซีน ซึ่งสเปรดเคยตกต่ำในระดับไม่เกิน 100 เหรียญฯ ต่อตัน กลับมีสเปรดดีขึ้นมาเป็น 200-300 เหรียญฯ ต่อตันในปีนี้อย่างผิดคาด เพราะผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของเบนซีนคือชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับมามีดีมานด์สูงขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
ส่วนโรงไฟฟ้า SPP เพิ่มกำลังการผลิตรวมจากเดิม 118 เมกะวัตต์ เป็น 420 เมกะวัตต์ ช่วงกลางปี 2559 ทำให้รับรู้กำไรเต็มที่ในปี 2560 มากกว่าปีก่อน lAA Consensus คาดการณ์ EPS ของ TOP ปี 2560-2561 ไว้ที่ 8.60 และ 8.40 บาทต่อหุ้น ค่า PER ค่อนข้างต่ำเพียง 9.9 เท่า ตลาดคาดกำไรสุทธิไตรมาส 2/60 ไม่สดใสเพราะมี Stock Loss จากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงในไตรมาส 2/60 แต่เชื่อว่าสถานการณ์เป็นช่วงสั้นและตลาดรับรู้ไปมากแล้ว และเราคาดว่าอาจจะต้องมีการปรับประมาณการกำไรในปี 2561 เพิ่มขึ้นหากค่าการกลั่นยืนได้ในระดับ 8 เหรียญสหรัฐฯ lAA consensus (เฉพาะรายที่ update ในเดือน ก.ค.) ให้ราคาเป้าหมายที่ 94 บาท ยังมี Upside อีก 9.6% Price Pattern ของ TOP ยังคงมีความแข็งแกร่งอย่างมากในแนวโน้มหลักที่เป็นขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ TOP บ่งบอกถึงการทำ New High โดยมีเป้าหมายแรกเพื่อทดสอบ High เดิมที่ 98 บาท และมีเป้าหมายการทำ New High ต่อไปอยู่ที่ 119.50 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ TOP มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 82 บาท (Resistance: 86.75, 87.75, 89.00; Support: 85.50, 84.50, 83.25)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมิ.ย. ปรับตัวลง 0.16% YoY และ 3.1% QoQ อยู่ที่ 111.76 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ตัวเลขที่ลดลงเกิดจากยอดส่งออกที่ลดลงในบางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน อย่างไรก็ตาม สศอ. คาดว่าความต้องการสินค้าที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตและจะช่วยกระตุ้นดัชนี MPl ในครึ่งหลังของปีนี้ได้ (บางกอกโพสต์)
การบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้นแต่การลงทุนลดลงในเดือนมิ.ย. ธปท.เผยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังลดลง 0.4% ต่อจากเดือนพ.ค. ซึ่งหดตัว 0.2% (บางกอกโพสต์)
คาดเศรษฐกิจเติบโตคงที่ในไตรมาส 2 และเร่งตัวในครึ่งปีหลัง ธปท.คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/60 จะอยู่ที่ระดับเดียวกับไตรมาส 1/60 ที่ 3.3% ก่อนจะเร่งตัวเป็น 3.7% ในครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของธนาคารที่คาดว่า GDP ทั้งปีจะอยู่ที่ 3.5% การเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะหนุนโดยการบริโภคภาคครัวเรือนที่ดีขึ้น และฐานที่ต่ำของจำนวนนักท่องเที่ยวในปีก่อนจากมาตรการควบคุมทัวร์ศูนย์เหรียญ (บางกอกโพสต์)
ยอดค้าปลีกไทยในครึ่งปีแรกต่ำกว่าประมาณการ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย (สคท.) เผยว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยเติบโต 2.81% ในครึ่งปีแรก 2560 ต่ำกว่าประมาณการที่ 3-3.2% แม้ว่าสาขาบริเวณเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองหลักการท่องเที่ยวอีก 2-3 จังหวัด จะมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งแต่สาขาในต่างจังหวัดยังคงมีกำลังซื้อลดลง (บางกอกโพสต์)
ต่างประเทศ :
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันจันทร์ ก่อนการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจหลายรายการรวมถึงรายงานการจ้างงานในเดือนก.ค. ที่มีกำหนดเผยแพร่ในวันศุกร์นี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 2.292% จากที่ระดับ 2.287% เมื่อวันศุกร์ (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐลงต่อเทียบกับสกุลเงินหลักเมื่อวันจันทร์ จากความกังขาที่แวดล้อมความเป็นไปได้ที่ปธน. ทรัมป์จะสามารถผลักดันวาระส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงการปฏิรูปภาษี ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. สู่ระดับ 92.786 (Reuters)
สหรัฐ :
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดผสมผสานเมื่อวันจันทร์ โดยดัชนีดาวโจนส์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากแรงหนุนของโบอิ้ง แต่ดัชนี S&P500 และดัชนีแนสแดคปิดลบ จากแรงขายหุ้นเฟซบุ๊ก อัลฟาเบทและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีตัวอื่น ๆ (Reuters)
ยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย.หลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 3 เดือน สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) ระบุว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเพิ่มขึ้น 1.5% อยู่ที่ 110.2 โดยที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% (Reuters)
ยุโรป :
หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นวานนี้ หนุนโดยผลการดำเนินงานของ HSBC ที่ออกมาดีเกินคาด รวมถึงการปรับตัวขึ้นของหุ้นอุตสาหกรรมเหมืองแร่หนุนโดยราคาทองแดงที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี อย่างไรก็ตาม หุ้นบริษัทยาสูบถ่วงตลาดหลังจาก FDA สหรัฐเสนอให้ลดสารนิโคตินในบุหรี่เพื่อให้โอกาสสูบแล้วติดน้อยลง (Reuters)
เอเชีย :
ภาคการผลิตญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราชะลอตัวในเดือนก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMl) ภาคการผลิตเดือนก.ค. ของญี่ปุ่นขั้นสุดท้ายอยู่ที่ระดับ 52.1 ซึ่งขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 แต่ต่ำกว่าในเดือนมิ.ย. ที่ 52.4 โดยที่เติบโตชะลอตัวมากที่สุดนับแต่เดือนพ.ย. ปีก่อนเนื่องจากยอดส่งออกชะลอตัว (lHS Markit)
ภาคการผลิตจีนเติบโตชะลอตัวในเดือนก.ค. ดัชนี PMl ภาคการผลิตของจีนอยู่ที่ระดับ 51.4 ในเดือนก.ค. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 51.7 แต่ยังยืนเหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างการขยายตัวกับการหดตัวเมื่อเทียบเป็นรายเดือน (Reuters)
ภาคบริการของจีนเติบโตชะลอตัวในเดือนก.ค. ดัชนี PMl ภาคบริการของจีนอยู่ที่ระดับ 54.5 ในเดือนก.ค. ปรับตัวลงจากในเดือนมิ.ย.ที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ระดับ 54.9 (Reuters)
ดัชนี PMI ภาคการก่อสร้างของจีนปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งอยู่ที่ 62.5 ในเดือนก.ค. จากที่ระดับ 61.4 ในเดือนมิ.ย. (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
น้ำมันปรับตัวขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 2 เดือนวานนี้ และนับเป็นเดือนที่ปรับตัวสูงสุดในปีนี้ หนุนโดยการคาดการณ์เรื่องมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่อภาคน้ำมันของเวเนซูเอลา อย่างไรก็ตาม หลังจากตลาดปิดทำการ สหรัฐประกาศว่ามาตรการคว่ำบาตรจะจำกัดเพียงที่ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโรของเวเนซูเอลาเท่านั้น ราคาเบรนท์เพิ่มขึ้น 0.3% อยู่ที่ 52.65 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปรับตัวขึ้น 1% อยู่ที่ 50.17 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (Reuters
ทองแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 7 สัปดาห์วานนี้ หนุนโดยดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ราคาทองคำตลาดจรจดลง 0.1% อยู่ที่ 1,267.4 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากที่วิ่งขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 1,270.98 ดอลลาร์นับตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. ราคาทองล่วงหน้าลดลง 0.1% อยู่ที่ 1,266.60 ดอลลาร์ (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 0-2680-5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 0-2680-5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 0-2680-5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 0-2680-5056
MISS. Veeraya Rattanaworatip (No.86645) Tel: 0-2680-5042