- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 20 July 2017 16:03
- Hits: 16657
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว แต่เริ่มยืนได้ที่แนวรับ 33.5-33.6 บาทต่อเหรียญฯ ถือว่ายังกดดันกำไรหุ้นส่งออก (ชิ้นส่วนฯ และเกษตร-อาหาร) ขณะที่แรงขายรับงบ 2Q60 รายหุ้นยังมีอยู่ จึงกดดันให้ SET แกว่งตัวในกรอบ 1570-1585 จุด Top picks เลือก BEAUTY([email protected]) และวันนี้ เพิ่ม BANPU(FV@B24) ราคาหุ้นยัง Laggard เทียบกับราคาถ่านหินที่ฟื้นตัวกว่า 16.8% ในช่วง 2 เดือน และเชื่อว่าราคาหุ้นได้สะท้อนคดีความหงสา แม้โอกาสชนะ/แพ้ 50:50
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...ฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 3 วัน
วานนี้ SET Index เริ่มฟื้นตัว โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.33 จุด หรือ 0.28 % หลังจากปรับลดลงติดต่อกัน 3 วัน แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 3.6 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด คือ หุ้น IPO อย่าง BGRIM ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า SPP รายใหญ่ในประเทศ โดยมีมูลค่าซื้อขายหนาแน่นที่สุดในตลาดฯ กว่า 4.3 พันล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 12.4% ของมูลค่าซื้อขายของหุ้นทั้งตลาดฯ) หนุนให้ราคาปรับขึ้นมากว่า 5.63% รองลงมาคือ หุ้น BANPU มีมูลค่าซื้อขายสุทธิกว่า 1.8 พันล้านบาท ซึ่งราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน น่าจะสะท้อนปัจจัยลบกรณีที่อยู่ระหว่างการรอคดีหงสา ขณะที่ราคาถ่านหินได้ฟื้นตัวต่อเนื่องกว่า 16.8% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
หุ้นที่หนุนตลาดมากที่สุด คือ กลุ่ม ICT ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.01% หนุนให้ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.65 จุด ได้แก่ DTAC, INTUCH, ADVANC และ TRUE เพิ่มขึ้น 4.15%, 1.70%,1.35% และ 0% ตามลำดับ และกลุ่มพลังงาน แม้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.20% แต่หนุนให้ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.43 จุด อาทิ BGRIM, TOP, BCP และ BANPU เพิ่มขึ้น 5.63%, 4.35%,3.01% และ 2.48% ตามลำดับ
ตรงข้ามหุ้นลดลงแรง ส่วนใหญ่ยังเป็นหุ้นที่มี Market Cap ขนาดกลาง-เล็ก เช่น EMC, DIGI ปรับตัวลดลง 9.09%, 6.25% ตามลำดับ ตามมาด้วยหุ้นกลุ่มเหล็ก อย่าง GJS และ GSTEL ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีก 6.25% และ 5.56% เนื่องจากประเด็นจากประเด็นการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการเพิ่มทุนและโครงการแปลงหนี้เป็นทุน ส่วนหุ้น JMT แม้วานนี้จะปรับตัวลดลง 4.17% แต่ฝ่ายวิจัยฯเชื่อว่าราคาหุ้นยังมีโอกาสเดินหน้ากลับมา outperform จากศักยภาพการเติบโตของธุรกิจในอนาคต อีกทั้งกำไรสุทธิ 2Q60 คาดว่าเติบโตแรง รับรู้รายได้จากหนี้ StandChart เร็วและดีเกินคาด
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐดีต่อ..ของไทยยอดขายรถยนต์ฟื้นจากในประเทศ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุดยังกระเตื้องขึ้น โดยยอดขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (Building permit) เดือน มิ.ย กลับมาขยายตัวหลังจากที่ลดลง 3 เดือนติดต่อกัน ราว 7.4%mom อยู่ที่ 1.25 ล้านหลัง สอดคล้องกับยอดเริ่มก่อสร้างบ้านใหม่ (Housing start) ในเดือนเดียวกัน กลับมาขยายตัวหลังจากที่หดตัวไปถึง 3 เดือนติดต่อกัน ราว 8.3%mom อยู่ที่ 1.21 ล้านหลัง แต่ขัดแย้งเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ล่าสุดอยู่ที่ 1.6%yoy จาก 1.9% ในเดือน พ.ค. แต่าสูงกว่า ดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% หนุน Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯอีก 1 ครั้งราว 0.25% ในการประชุมที่ยังเหลืออีก 4 ครั้งในปีนี้
ขณะที่วันนี้น่าจะให้น้ำหนักการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งคาด ECB น่าจะเริ่มเดินหน้าใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐ ขณะที่ BOJ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน จนกว่าจะ เม.ย. 61 ซึ่งจะเข้าสู่การเลือกตั้งนายก ฯ คนใหม่
ส่วนไทยวานนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เผยยอดขายรถในประเทศ มิ.ย. เพิ่ม 5%mom ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ 6.98 หมื่นคัน ทำให้ 1H60 เพิ่มขึ้น 11%yoy ที่ 4 แสนคัน เป็นผลจากกำลังซื้อในประเทศที่ดีขึ้น สวนทางกับยอดส่งออกรถยนต์ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง คือ มิ.ย. ลดลง 13% yoy อยู่ที่ 9.3 หมื่นคัน ลดลงติดต่อกัน 12 เดือน ทำให้ 1H60 หดตัว 10%yoy ที่ 5.4 แสนคัน มาจากตลาดส่งออก ตะวันออกกลางและยุโรป (สัดส่วนราว 20%) ฟื้นตัวล่าช้า ทำให้ยอดผลิตรถยนต์รวม มิ.ย. หดตัว 2.46%yoy และช่วง 1H60 หดตัว 4.27%yoy อยู่ที่ 9.5 แสนคัน
โดยภาพรวมแม้ยอดส่งออกในประเทศยังชะลอตัว แต่ยังถูกชดเชยจากตลาดในประเทศที่ขยายตัวดังกล่าว ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อหุ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับค่ายรถ โดยแนะนำ Selective Buy เลือกหุ้นที่ยัง Underperform กลุ่มฯ อาทิ IRC ([email protected]) ราคามี Upside 22% PER ต่ำสุดในกลุ่มยานยนต์ พร้อม Div yield 4.4% ตามด้วย SAT ([email protected]) Upside 14% มี PER 10.5 เท่า และคาด Div yield เกือบ 4% และ AH ([email protected]) แม้ราคาจะปรับขึ้นมาจน Upside จำกัด แต่ด้วยแนวโน้มกำไรเติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่มฯ จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ราคาหุ้น KTB, AEONTS น่าจะตอบรับนโยบายคุมสินเชื่อไม่มีหลักประกัน
นับตั้งแต่มีการเปิดเผยว่า ทางการมีนโยบายจะควบคุมการปล่อยสินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน พบว่า ราคาหุ้น non-bank ซึ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อกลุ่มนี้ได้ปรับตัวลดลงแรง เช่น KTC, AEONTS ลดลง 16.60% และ 11.11% ตามลำดับ จากจุดสูงสุดเมื่อปลายเดือน มิ.ย. จึงคาดว่าน่าจะสะท้อนเกณฑ์ใหม่ ที่จะเริ่มบังใช้ในปี 2561 โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นน่าจะเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ดอกเบี้ยรับที่จะหายไปทันที จากที่เคยกำหนดเพดานที่ 20% เหลือ 18% ของยอดคงค้าง
2. จำกัดการปล่อยสินเชื่อ จากเดิมสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน เป็นขั้นบันไดตามเงินเดือน คือ ได้สูงสุด 1.5 เท่า กรณีเงินเดือนไม่เกิน 3 หมื่นบาท เพิ่มเป็น 3 เท่า และ 5 เท่า หากเงินเดือนระหว่าง 3-5 หมื่นบาท และ 5 เท่า ตามลำดับ
3. สถาบันการเงินหรือ non-bank ที่ออกบัตรเครดิตหรือให้สินเชื่อบุคคลแก่ลูกค้ารายใด รายหนึ่ง รวมกันไม่เกิน 3 ราย
หากพิจารณาผลกระทบรายบริษัทพบว่าน่าจะได้รับผลกระทบจำกัด เริ่มจากกลุ่ม non-bank เพราะแม้มีการปล่อยสินเชื่อทั้งบุคคลและบัตรเครดิตรวมกันเกือบทั้ง 100% แต่คาดว่าการปล่อยสินเชื่อมีความระมัดระวังพอสมควร เช่น AEONTS ปล่อยไม่เกิน 2 เท่าของเงินเดือนอยู่แล้ว แต่ผลกระทบน่าจะมีผลต่อการเติบโตในระยะยาว ทำให้เป็นอุปสรรคในการขยายุรกิจเชิงรุก ขณะที่การแข่งขันโดยตรงกับธนาคารพาณิชย์จะมีมากขึ้น แต่ระยะสั้นถือว่าราคาหุ้นได้ลดลงตอบรับข่าวนี้แล้ว เช่นเดียวกับ KTC น่าจะได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน แม้ ASPS ไม่ได้ทำการศึกษา แต่ราคาที่ลดลงแรงดังกล่าวข้างต้นน่าจะสะท้อนข่าวลบไปแล้วเช่นกัน
และเช่นเดียวกับ ธ.พ. น่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล รวมกันคิดเป็นเพียง 8% ของสินเชื่อรวม และได้ชะลอการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้มาระยะหนึ่ง และมีนโยบายปล่อยสินเชื่อไม่ถึง 5 เท่าของเงินเดือน ซึ่งเน้นฐานลูกค้าระดับกลาง-บนที่มีฐานเงินเดือน 3-5 หมื่นบาทขึ้นไป อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า KTB, BAY น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มฯ เพราะมีสัดส่วนสินเชื่อประเภทนี้คิดเป็น 19% และ 11% โดย KTB เน้นสินเชื่อบุคคลที่เป็นข้าราชการ โดยหักยอดชำระหนี้ผ่านบัญชีเงินเดือน ซึ่งจะกระทบในกลุ่มที่มีฐานเงินเดือนต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ส่วน BAY มีฐานลูกค้าบัตร First Choice, Tesco Card ที่มีฐานเงินเดือนขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท หากพิจารณาราคาหุ้น KTB, BAY ยังไม่น่าสนใจ
ราคาน้ำมันฟื้นตัว หลังสต็อกน้ำมันสหรัฐฯ ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 1.55% มาอยู่ที่ 47.12 เหรียญฯต่อบาร์เรล (สร้างจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯปรับลดลงถึง 4.73 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลงเพียง 3.21 ล้านบาร์เรล รวมทั้งราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องกว่า 7.27% (YTD) มาอยู่ที่ 94.78 จุด (ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน)
นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังมีปัจจัยสนับสนุนอีก 2 ปัจจัย คือ 1.การส่งออกน้ำมันดิบของประเทศซาอุดิอาระเบียในเดือน พ.ค. 2560 ปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับ 6.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่ส่งออกราว 7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน เม.ย. 2560 และยังยืนยันเป้าหมายที่จะร่วมมือกับผู้ผลิตรายอื่นๆในการปรับลดปริมาณการผลิตทั่วโลกให้กลับสู่ภาวะสมดุล 2. อุปสงค์จากจีนที่เพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มกำลังการกลั่นในเดือน มิ.ย. 60 อยู่ที่ 11.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 2.09%)
นอกจากนี้นักลงทุนน่าจะรอติดตามการประชุมของรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันจาก 5 ประเทศของกลุ่มโอเปก โดยการประชุมจะจัดขึ้นที่ประเทศรัสเซีย ในวันที่ 24 ก.ค. 60 นี้ ซึ่งในการประชุมจะมีการเสนอมาตรการกระตุ้นราคาน้ำมันเพิ่มเติมหรือไม่
ด้วยปัจจัยบวกที่กล่าวมาข้างต้น จึงแนะนำหาจังหวะเข้าสะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT (FV@B460) และ PTTEP (FV@B116) แต่เนื่องจาก PTTEP ยังมีความเสี่ยงที่จากภาระที่อาจจะเกิดขึ้น กรณีที่ถูกฟ้องร้องจากอินโดนีเซีย จากโครงการมอนทารา ในออสเตรเลีย จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาย่อตัว เพราะเชื่อว่าระยะยาว PTTEP ยังสามารถทำธุรกิจต่อได้ และให้ swich มา BANPU(FV@B24) เนื่องจากราคาหุ้นยังมี upside สูง แม้มีคดีฟ้องร้องหงสา ที่รอคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งมีความเสี่ยง 50:50 เพราะได้ชนะคดีชั้นอุทธรณ์ แต่แพ้คดีศาลชั้นต้น
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค รวมทั้งไทย
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยยังซื้อสุทธิ 2 ตลาด คือ ไต้หวันและฟิลิปปินส์ที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 143 ล้านเหรียญ และ 3 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ขายสุทธิคือ เกาหลีใต้มูลค่าราว 29 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) อินโดนีเซียที่ยังถูกขายสุทธิต่อเนื่องกว่า 121 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12) และ ไทย สลับมาขายสุทธิราว 4 ล้านเหรียญ หรือ 120 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 250 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 5.1 พันล้านบาท ขณะที่ต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 663 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ฤดูกาลทำ Earnings Preview: HANA, PSTC, ERW, TPIPL
ยังคงมีการทำ Earning Preview ออกมาอย่างต่อเนื่อง วานนี้ HANA (FV@B57) ราคาฟื้นตัวหลังจากปรับลดลงไปแรงมาก โดยปัจจัยกดดันยังมาจากการแข็งค่าของเงินบาท ขณะที่คาดกำไรสุทธิงวด 2Q60 ลดลง 16.4% qoq (แต่เพิ่มขึ้นถึง 64.0% yoy) เพราะรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง แต่หากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานยังทรงตัวสูง ต่อเนื่องจากงวด 1Q60 และเพิ่มขึ้นถึง 53.3% yoy เนื่องจากเป็นช่วง high season โดยคาดลูกค้าต่างประเทศจะสต็อกสินค้ามากขึ้น รับแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชดเชย gross margin ที่อ่อนตัวลงเหลือ 15.7% เพราะผลกระทบจากเงินบาที่แข็งค่า โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2560 เติบโตถึง 40.9% yoy ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปี 2560 พบว่ายังเติบโตถึง 33.0% yoy HANA มีศักยภาพการเติบโตระยะยาว จากการปรับกลยุทธ์เน้นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (value added product) และการเดินเครื่องที่โรงงานลำพูน-2 และกัมพูชา เพิ่มขึ้น หนุนต่อ gross margin ปี 2560 เพิ่มขึ้นมาที่ 16.1% ขณะที่ยังคาดหวัง div yields ได้สูงกว่า 4%
ตามด้วย PSTC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 2Q60 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 36.5%qoq และ 313%qoq จากรายได้ค่าขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แม้ค่าใช้จ่ายจากการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้นก็ตาม และคาดการณ์กำไรสุทธิ 3Q60 เติบโตต่อเนื่องจาก 2Q60 โดยรวมลการดำเนินงานปี 2560 จะพลิกกลับมามีกำไรจากขาดทุนเมื่อปี 2559 แต่ยังมีความกังวลโครงการที่อยู่ Backlog 3 แห่งจะไม่สามารถผลิตเชิงพาณิชย์ตามแผน ซึ่งอาจทำให้ต้องปรับลดประมาณการ จึงให้ “Switch” ไป GUNKUL ([email protected]) และ BCPG ([email protected]) จากการเติบโตที่โดดเด่นและแน่นอนกว่าในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
SPALI ([email protected]) คาดกำไร 2Q60 เติบโตสูง 87% qoq แต่ลดลง 10.5% yoy จากฐานที่สูงในงวดปีก่อน เพราะกมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ โดยคาด 2Q60 มียอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) รวม 3.74 หมื่นล้านบาท รอโอนฯ 2H60 ประมาณ 1.03 หมื่นล้านบาท ชณะที่ยอดโอนฯ 1H60 รองรับรายได้ปีนี้คิดเป็นสัดส่วนสูง 81% ของเป้ายอดโอนฯ ทั้งปีที่ 2.45 หมื่นล้านบาท และสต๊อกคงเหลือขายในโครงการคอนโดฯ ที่สร้างเสร็จพร้อมโอนฯ มีอยู่ 6.7 พันล้านบาท โดยรวมคาดกำไรสุทธิ 5.54 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% yoy แต่ระยะสั้นยังกดดันจากการงดจ่ายเงินปันผล แต่แจก warrant แทน แต่ด้วยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง และผลกำไร 2H60 โดดเด่นกว่า 1H60 จึงแนะนำซื้อลงทุนระยะยาว
ตามด้วย ERW (FV@B6) แม้คาดว่า 2Q60 จะเป็นช่วงต่ำสุดของปี แต่กำไรสุทธิก็ยังเติบโตโดดเด่นถึง 119%yoy จากจำนวนนักท่องเที่ยวใน 2Q60 ที่เพิ่มขึ้น 7.6%yoy หนุนให้ธุรกิจโรงแรมมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น รวมกับการเปิดโรงแรมใหม่เพิ่ม ส่วน 2H60 คาดผลประกอบการเติบโตมากขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น และฐานที่ต่ำในช่วง 4Q59 โดยรวมคาดกำไรปกติปีนี้เติบโต 19% yoy โดยจะทยอยเติบโตขาขึ้นเป็นขั้นบันไดตั้งแต่ 3Q60 ถึง 1Q61 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season
TOP (FV@B78) คาด 2Q60 กำไรสุทธิลดลง 60%qoq จากการบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมันธุรกิจโรงกลั่น และบันทึกกำไรจาก Fx ลดลง เช่นเดียวกับค่าการกลั่นตลาดลดลง ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีก็ไม่สดใส โดย spread ธุรกิจอะโรเมติกส์ลดลง ส่วนแนวโน้ม 3Q60 กำไรจากการดำเนินงานปกติ น่าจะเห็นการอ่อนตัวลงจากงวด 2Q60 จากค่าการกลั่นที่เข้าสู่ช่วง low season รวมถึงธุรกิจอะโรเมติกส์คาด spread พาราไซลีนจะยังอยู่ในระดับต่ำ จาก supply ใหม่ของโรงงาน Reliance ทีอินเดีย และจะกดดันต่อเนื่องถึงปี 2561 โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2560 ลดลงถึง 35% จึงแนะนำ “switch” เข้าลงทุนใน IRPC ([email protected]) ที่คาดผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีน่าจะ outperform สุดในกลุ่มฯ
TPIPL ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 2Q60 จะมีผลขาดทุนสุทธิ 8 ล้านบาท จากการขาดทุนในธุรกิจปูนซีเมนต์ รวมทั้งผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมาก ขณะที่ธุรกิจโรงไฟฟ้ายังเติบโตดีและช่วยพยุงผลประกอบการไม่ให้ขาดทุนหนักต่อเนื่องถึง 3Q60 ทั้งนี้ ต้องรอลุ้นการอนุมัติจาก กฟผ. เพื่อทำสัญญาซื้อขายไฟจำนวน 90MW โดยสัญญาขายไฟฟ้าดังกล่าว ถือว่ามีนัยสำคัญอย่างมากต่อกำไรของ TPIPL เนื่องจากมีส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า 3.50 บาท/หน่วยเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งจะช่วยให้กำไรปี 2561 ของ TPIPL เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยรวคาดผลประกอบการจะดีขึ้นตั้งแต่ 2H60 ทั้งราคาปูนซีเมนต์ที่ขยับขึ้น Demand ที่เติบโตตามการเร่งรัดลงทุนภาครัฐ รวมไปถึงการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟ 90MW กับ EGAT ฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ให้ราคาเหมาะสม 3.06 บาท
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636