- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 19 August 2014 16:41
- Hits: 2231
บล.เคเคเทรด : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
SET มีโอกาสขึ้นทดสอบ 1550 จุดอีกครั้ง
SET View
แนวโน้ม วันนี้ SET มีโอกาสแกว่งตัวขึ้นทดสอบ 1550 จุด อีกครั้ง มองกรอบการเคลื่อนไหววันนี้ที่ 1535-1550 จุด (1) สภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP 2Q57 กลับมาโต +0.4% YoY ดีกว่าตลาดคาดไว้ที่ +0.3% และฟื้นจาก -0.5% ใน 1Q57 เศรษฐกิจช่วง 2H57 ก็มีโอกาสโตมากกว่าตลาดคาดเช่นกัน (2) เมื่อวานสนช.ผ่านงบประมาณปี 58 และ 21 ส.ค.จะมีวาระเลือกนายกรัฐมนตรีต่อ จิตวิทยานักลงทุนในประเทศยังคงเป็นบวก และ (3) ดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนปิดบวกกว่า 175 จุด และตลาดหุ้นยุโรปปรับขึ้น 0.8 -1.7%
ความเสี่ยง: (1) ตลอดถึงสิ้นเดือนนี้มีหุ้นเกือบ 100 ตัวจะขึ้น XD คาดราคาหุ้นบางตัวจะปรับลดลงตามเงินปันผลจ่าย (2) SET ปัจจุบันที่ 16.5xPE’57 ค่อนข้างตึงตัว ยังมองความเสี่ยงทางลงของ SET ที่ระดับต่ำกว่า 1497 จุด (16xPE’57) ในระดับ 2 สัปดาห์ (3) Geopolitical Risk โดยเฉพาะกรณีรัสเซีย-ยูเครนที่กดดันตลาดหุ้นยุโรป หากคลี่คลายได้ก็อาจมีแรงขายทำกำไรหุ้นใน EM เช่นไทยเพื่อกลับไปซื้อหุ้นยุโรปซึ่ง Underperform อยู่มากกว่า 20% นับจากต้นปี (4) การประชุม FOMC 17 ก.ย. นอกจากเฟดจะปรับลด QE ลงอาจมีการปรับมุมมองต่อนโยบายอัตราดอกเบี้ย
กลยุทธ์การลงทุน ระยะ 1-2 วัน SET ยืนเหนือ 1530 จุด เลือกเก็งกำไร (1) Top Daily Pick - SRICHA (มูลค่างานในมือและงานใหม่ที่เพิ่งได้คาดผลักดันให้ผลประกอบการ 2H57 เติบโตดีต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสได้งานใหม่ช่วงครึ่งปีหลัง) และ RS (แจกคูปองกล่องทีวีดิจิตอลเริ่มต้นเดือนหน้า มีโอกาสกำไร 2H57 ดีกว่าคาดจากการขายกล่อง Sunbox)
(2) Technical Pick MDX UKEM KBANK CPF BBL
(3) Theme play หุ้น Domestic play และท่องเที่ยว (BGH CENTEL ERW SCB THAI) ที่จะเติบโตตาม GDP ในช่วง 2H57, กลุ่มส่งออก (CPF GFPT PSL TUF) จะเข้าสู่ฤดูกาลสูง ตัวเลข GDP 2Q57 เมื่อวานยืนยันการฟื้นตัวของภาคส่งออก และกลุ่มนิคม (AMATA HEMRAJ) คาดกระแส FDI ไหลกลับหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
Macro Talk
นายแบงค์ไปทำอะไรที่ Jackson Hole
วันพฤหัสที่ 21 ถึงเสาร์ที่ 23 ส.ค.นี้จะมีการจัดประชุมนายธนาคารกลางประเทศสำคัญที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นทุกปีในเดือนส.ค. ที่เมือง Jackson Hole รัฐไวโอมิง (Wyoming) แต่ละปีจะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจและทิศทางอัตราดอกเบี้ย และปีนี้ประธานเฟดนาง Yellen จะขึ้นกล่าวคำปราศัยในวันศุกร์ ซึ่งนักลงทุนเริ่มคาดว่าจะมีการประเมินพลวัตรของตลาดแรงงานในสหรัฐ และอาจมีถ้อยคำนำไปสู่การตีความถึงการเปลี่ยนท่าทีเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐหลังสิ้นสุดการทำ QE ในเดือนต.ค.นี้ อีกนัยหนึ่งนักลงทุนกังวลว่าอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) เร็วกว่าที่คาดไว้ (กลางปี 58)
ความเห็นของเรา
เชื่อว่าจะไม่มีถ้อยคำที่มีนัยสำคัญเชิงนโยบาย และหลังการจัดประชุมครั้งนี้จะไม่มีนัยต่อตลาดการเงินโดยเฉพาะตลาดหุ้นทั่วโลก ด้วยเหตุ
1) ไม่ใช่การประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อกำหนดนโยบายแต่อย่างใด เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม
2) แม้แต่การแถลงผลการประชุม FOMC ของเฟดเองตั้งแต่ปี 55 ได้นำวิธีการที่เรียกว่า Forward Guidance มาใช้ กล่าวคือเป็นถ้อยแถลงที่ผ่านการกลั่นกรองจากผู้เข้าร่วมประชุม (Committee) ไม่ใช่ท่าทีส่วนตัว เป็นการบอกสาธารณะว่าเฟดจะทำอะไรกับโยบายการเงินภายใต้เงื่อนไขอย่างไร เช่นช่วงปลายปี 56 ต่อเนื่องต้นปี 57 เฟดแถลงถึงการคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำจนอัตราว่างงานลดระดับลงเหลือ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อถึงระดับ 2% แต่ไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยเมื่อถึงระดับดังกล่าว
3) ท่าทีนาง Yellen ในช่วงที่ผ่านมาสามารถแสดงความเห็นภายใต้หลักการของ Forward Guidance ได้เป็นอย่างดี สิ่งที่นอกเหนือไปจากที่ประชุมมักจะกล่าวในทำนองว่าต้องรอข้อมูลเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นตัวชี้นำ (incoming data)
4) สถิติช่วง 7 ปีที่ผ่านมาตลาดดาวโจนส์มักตอบสนองในช่วงบวกวันที่มีการประชุมแต่ไม่มีนัยหลังจากนั้น ตลาดหุ้นไทยมีผลลัพธ์ไม่แน่นอน
5) งานวิจัยของ BofA Merrill Lynch พบว่าผลการประชุมตั้งแต่ปี 49-55 ไม่มีความสัมพันธ์เชิงสถิติต่อตลาดการเงิน (วัดโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี)
สรุป หากมีแรงขายทำกำไร (panic) ในตลาดหุ้นอันเนื่องมาจากความวิตกจากปัจจัยดังกล่าว จะเป็นโอกาสสำหรับการเข้าลงทุนระยะสั้น ในทางกลับกันหากตลาดหุ้นขึ้นแรงก็ควรเป็นโอกาสขายทำกำไร
หมายเหตุ: แม้แต่รายงานการประชุมครั้งก่อน (Minutes of FOMC on 29-30 July) ที่คาดจะเปิดเผยในคืนวันพรุ่งนี้เรามองว่าไม่มีนัยเช่นเดียวกันภายใต้นโยบาย Forward Guidance เนื่องจากเป็นข้อมูลเก่า