- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 07 July 2017 18:34
- Hits: 7285
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
วิเคราะห์ตลาดและแนวโน้ม
กลุ่มพลังงานฉุดดัชนีฯ
เมื่อวานดัชนีหุ้นไทยลงแรงผิดคาด ตามหุ้นน้ำมันที่ลงแรงผิดคาด วันนี้แนะขายตัดขาดทุน PTTEP ออกจาก
พอร์ตระยะสัปดาห์/รายวัน อิงรายงาน Morgan Stanley ออกรายงานปรับลดสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบ Brent
และ West Texas ลงอีกครั้ง โดยเบรนท์ สิ้นปี 2017 ปรับลงเหลือ $50.5 จาก $57.5 (ต่อบาร์เรล) และ
1Q18-2Q18 ปรับลงจาก $57.5-$55 เหลือ $52.5 โดยคาดราคาน้ำมันจะไปเริ่มฟื้นตัวช่วงสิ้นปี 2018 มาอยู่
ที่ $57.5 ภายใต้แนวโน้มการขุดเจาะน้ำมัน US shale ที่เพิ่มขึ้นมาตลอด จนจุดคุ้มทุนในการผลิต (WTI)
ลดลงอย่างมีนัยยะ ขณะที่คาด OPEC จะกลับมาผลิตเท่าเดิมภายใน 1Q18 (ไม่สามารถยืดเวลา ลดกำลัง
ผลิตต่อไปได้อีก) และ MS ปรับลดคาดการณ์กำไร PTT ปี 2017-18 ลง -4% และ -9% ตามลำดับ ส่วน
PTTEP ปรับกำไรปี 2017-18 ลง -1% และ -19% ตามลำดับ (และ TP ลงจาก 127 เหลือ 110 บ.)
วันนี้คาด ดัชนียังไม่พ้นแนวโน้ม ลง ต่อจากเมื่อวาน คาดกรอบ 1,560-1,575 จุด ซึ่งระยะสัปดาห์เป็นไปตาม
คาด คือ Buy on dips เพียงแต่การลง พบลงแรงบางตัวผิดไปจากคาด และ ดูแนวโน้มไม่น่ารีบาวด์กลับเร็ว
ต้อง Stop loss ออกไปก่อน คาดแนะกลุ่ม Defensive และหุ้น Mid to small cap play
สำหรับ สัปดาห์นี้ เราคาดกรอบ 1,565-1,590/1,600 จุด แนะนำให้ รอหุ้นลง เป็นโอกาสในการเลือกซื้อ
สะสม ปรากฎว่าลงจริง แต่ซื้อหุ้นบางตัวไปอาจผิดทาง เช่น น้ำมัน เดินเรือ PTTEP PSL แนะ รีบาวด์มาขาย
ตัดขาดทุนไปก่อน ส่วนแนวโน้มสัปดาห์หน้า คาดตลาดยังคง Rotation เข้าพักในกลุ่ม Defensive
ปลอดภัยตัวใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้า, มือถือ, หุ้นปันผลสูง และ เล่นหุ้น Mid to Small Cap
หุ้นแนะนำวันนี้ เล่น Mid to Small Cap play ระหว่างรอตลาดปรับฐาน
ECF แนวรับ 4.04 บ.ต้าน 4.20 Stop loss 4
MONO แนวรับ 3.76 ต้าน 4 Stop loss 3.60
รายงานวันนี้
รายงาน MS วันนี้ ปรับสมมติฐานราคาน้ำมัน WTI ลงมาอยู่ที่ $48 ใน 2H17 จากเดิม $55 และ $50
สำหรับปี 2018 โดย MS มองว่าการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้ส่งผลกระทบ
ต่อระดับ Inventory มาก ซึ่งยังคงยืนอยู่ในระดับสูง หากจะหนุนให้ราคาน้ำมัน WTI ยืนเหนือ $50 ได้
OPEC-12 จะต้องมีการปรับลดกำลังการผลิตลงอีก 200-300 kb/d และขยายเวลาข้อตกลงการผลิตออกไป
ถึงสิ้นปี 2018 ซึ่ง MS มองว่ามีโอกาสเกิดยาก ซึ่งหาก OPEC ไม่มีการปรับสมดุลตลาด ราคาน้ำมันจะเป็น
ปัจจัยกดดันให้เกิดการปรับสมดุลขึ้น ซึ่งน่าจะมาจากฝั่งของ US shale MS มองราคาน้ำมัน WTI ควรอยู่ใน
ระดับ $46-50
MS มีกาปรับประมาณการกำไรของ PTTEP ลง 1% ในปี 2017 และ 19% ในปี 2018 สะท้อนประมาณการ
ราคาน้ำมันที่ต่ำลง และ THB/USD ที่แข็งค่า MS แต่ยังแนะนำ Overweight
MS ยังมีการปรับประมาณการกำไรของ PTT ปี 2017-19 ลง 3-9% สะท้อน THB/USD ที่แข็งค่า และส่วน
แบ่งกำไรที่ต่ำลงจาก PTTEP ตามมุมมองราคาน้ำมันที่ปรับลดลง แต่มีการปรับราคาเป้าหมายขึ้น 7% มาที่
440 บาท สะท้อนภาระหนี้สินที่ต่ำลง (จากการขายสินทรัพย์)
COM7 ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาจากการถูก sell-on-fact หลังจากที่มีการประกาศ M&A บจก.บัฟ เรามอง
เป็นโอกาสที่ดีในการ “ซื้อสะสม” เพื่อรอปัจจัยหนุน(1) การเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.
ซึ่งตลาดคาดจะมีกระแสตอบรับอย่างดีมากจากผู้บริโภค และ Morgan Stanley คาดจะหนุนให้ยอดขาย
iPhone ของ Apple ทั่วโลกเติบโตได้ถึง 38% (2) ผลประกอบการ 2Q17 คาดโต 30%YoY แข็งแกร่ง จาก
Organic growth ตามส่วนแบ่งในตลาด Smartphone ที่หนุน SSSG ให้เติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรม (3)
โอกาสที่เราและตลาดปรับกำไรขึ้น หลัง (COM7+SYNEX+กลุ่ม MITSUI) จัดแถลงแผนธุรกิจให้ความ
ชัดเจน โดยเรายังอยู่ระหว่างรอข้อมูลเพิ่ม เพื่อปรับกำไรขึ้น จากการรวมกำไรของ บัฟ เข้ามาในงบฯ ในช่วง
2H17 และ Synergy ระยะยาว เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 14.50 บาท
BTS เรามองว่า FY17/18 จะเปลี่ยนภาพการเติบโตของ BTS จากโครงการเดินรถสายใหม่ที่จะทยอยเข้า
มา เริ่มต้นที่สายสีเขียวใต้ ซึ่งเริ่มเปิดสถานีแรกไปแล้วในช่วง เม.ย. ที่ผ่านมา และคาดจะรันเต็มทั้งสายในปี
2018 สายต่อมาเป็นสายสีเขียวเหนือ คาดจะเริ่มเปิดสถานีแรกกลางปี 2019 และรันเต็มในปี 2020
หลังจากนั้นก็เป็นคิวของสายสีชมพูและเหลืองที่คาดจะเปิดในปี 2020 สำหรับประเด็นความกังวลสายสี
ชมพู/เหลืองที่จะประสบปัญหาเดียวกันกับสายสีม่วง เรามองว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากความหนาแน่นของ
ประชากรและสภาพการจราจรในพื้นที่สายสีชมพู/เหลืองมีค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นเป้าหมายจำนวนผู้ใช้
ของบริษัท 1.99 แสนคน/วัน สำหรับสายสีชมพูและ 1.95 แสนคน/วัน สำหรับสายสีเหลือง มีโอกาสสูงที่จะ
เป็นไปตามเป้า โดยรวมเรามีการรวมทั้ง 4 สายเข้าในประมาณการ และปรับกำไร FY17 ขึ้น 8% และปรับ
กำไรในระยะยาวขึ้นเฉลี่ย 53% ซึ่งจะหนุนให้ FY16/17-20/21 CAGR เร่งตัวขึ้นมาที่ 35% จาก 19% เรา
ปรับราคาเป้าหมายขึ้นจาก 10.50 บาท เป็น 11.70 บาท และคงคำแนะนำ ซื้อ
TKN ราคาหุ้นที่ลงมาประมาณ 5% ตั้งแต่ต้นเดือนเพราะตลาดค่อนข้างกังวลผลประกอบการใน 2Q17 เรา
มองเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ โดยระดับราคาที่เหมาะสมอยู่ที่ Bt20.40 ซึ่งคิดเป็นระดับค่าเฉลี่ยระยะยาว
PE ที่ 31 เท่า สำหรับกำไร 2Q17 เราประเมินไว้ที่ 185 ล้านบาท ทรงตัว YoY แต่เพิ่มขึ้น 8% QoQ ซึ่งต่ำ
กว่าที่เราประมาณการไว้ก่อนหน้า 10% จากยอดขายในประเทศที่ชะลอตัวกว่าที่คาด โดยรวมเรามีการปรับ
ลดประมาณกำไรทั่งปีลง 4% มาอยูที่ 904 ล้านบาท และปรับราคาเป้าหมายลงมาอยู่ที่ 30.25 บาท (จาก
30.50 บาท) เพื่อสะท้อนยอดขายในประเทศที่คาดว่าจะลดลงมากกว่าที่เราได้คิดไว้ เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ
BANPU กรณีคดีฟ้องร้องของกลุ่มงานทวี มูลค่า 3.1 หมื่นล้านบาท ปัจุบันอยู่ในการพิจารณาของศาลฏี
กา คาดจะรู้ผลในช่วงเดือน ก.ย. ปีนี้ เราประเมินผลกระทบเบื้องต้นหากบริษัทแพ้คดี และต้องทยอยจ่าย
ค่าเสียหาย 10-15 ปี จะกระทบต่อราคาเป้าหมายของเรา 3.6 บาทต่อหุ้น
หุ้นมีข่าว/ประเด็น
(*/-) BANPU เผยธุรกิจถ่านหินของ BANPU ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ใน
ภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในขณะนี้ เนื่องจากการขายถ่านหินในจีนไม่ได้พึ่งพาระบบราง / แต่ยังคง
ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน คดี “งานทวี” ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา ซึ่งเราคาดว่าอายุ
ความที่กำลังจะครบ 3 ปี คำตัดสินน่าจะอยู่ประมาณเดือน กย.ปีนี้ กรณีแย่สุด คือแพ้คดีแล้วต้องตั้งสำรอง
คาดกระทบต่อมูลค่าเหมาะสม ราว 3.6 บาท ต่อหุ้น (ที่มา อินโฟเควส /ทันหุ้น)
(-) BAY เผย กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อควบคุมสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อ
ส่วนบุคคล ในเบื้องต้นมองว่าธนาคารจะไม่ได้รับผลกระทบในปีนี้ แต่จะมีผลกระทบเกิดขึ้นในปี 61 ทำให้
ธนาคารต้องปรับแผนการดำเนินงานเพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป เช่น รายได้ค่าธรรมเนียม และรายได้จาก
ดอกเบี้ย (ที่มา อินโฟเควส)
(+) TAPAC บริษัทมีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง โดยปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของ
บริษัทมาจาก ธุรกิจผลิต ประกอบและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนพลาสติกวิศวกรรม (Engineering Plastic Parts)
ให้กับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องเสียงรถยนต์ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่น
และยังมีกิจการที่อยู่ในสวีเดน ซึ่งเรามีบริษัทลูก 2 บริษัทคือ C4 Hus AB ประเทศสวีเดน ที่ประกอบธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ คือสร้างบ้านหรือคอนโดมิเนียมเพื่อขายให้คนสวีเดน โดยเราเข้าไปลงทุนในบริษัทนี้ในปี
2558 แต่ในช่วงแรกที่เข้าไปลงทุนมีสัดส่วนประมาณ 50.5% แต่ในช่วงปลายปี 2559 เราเพิ่มสัดส่วนการ
ลงทุนเป็น75% ซึ่งบริษัทนี้มีแนวโน้มการเติบโตที่ค่อนข้างสูงมากปัจจุบันมีโครงการที่ทำอยู่ในประเทศ
สวีเดนต่อเนื่อง ส่วนอีกบริษัทคือ C4 Assets AB ประเทศสวีเดน บริษัทนี้จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการถือครองแวร์
เฮาส์ และอาคารสำนักงานเพื่อให้เช่า
นอกจากนี้ บริษัทลูก บริษัท ซีโฟร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีโครงการที่จะเตรียมลงทุนใน
ประเทศไทย ปัจจุบันบริษัทกำลังรวบรวมที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern
Economic Corridor หรือ EEC ) (ที่มา อินโฟเควส)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(+) กนง.มีมติคงดอกเบี้ย 1.5% และ กนง. ปรับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไทยในปี 60
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.5% จากเดิมที่คาดไว้ 3.4% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจน
ต่อเนื่อง จากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีขึ้น และทำให้ กนง.ปรับเพิ่มคาดการณ์การส่งออกในปีนี้เป็น
5.0% จากเดิมที่คาดไว้เพียง 2.2% ส่วนการนำเข้าโต 10.9% จากเดิมที่คาดไว้ 7.2% ส่วนการลงทุน
ภาคเอกชนโต 1.7% ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 2.4% ขณะที่ในปี 61 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.7%
แต่การส่งออกอาจเติบโตได้เพียง 1.7% ซึ่งถือว่าลดลงจากในปีนี้ ขณะที่การนำเข้า โต 5.4% ลดลงจากปีนี้
เช่นกัน
(0/-) รายงานการประชุมเฟด (FOMC Minutes) ตลาดคาดเตรียมออกแผนลดงบดุล ในการประชุมเดือนนี้
หรือ กย.นี้ ซึ่งเร็วขึ้นกว่าคาดการณ์เดิม แต่ไม่คิดว่าจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยใน 3Q17 นี้
(+) ศุกร์ US Nonfarm payrolls มิย. คาด +179,000 จาก 138,000 US Unemplyment rate คาด
+4.3%, เยอรมนี Industrial production พค. คาด +0.2% จาก +0.8% m-m. US Industrial
production พค. คาด +0.3%จาก +0.2% m-m. มาเลเซีย ส่งออกเดือน พค. คาด +22.5% จาก
+20.6% y-y. ไต้หวัน ส่งออก เดือน มิย. คาด +8.9% จาก +8.4 (ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค