WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FSSบล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์วันนี้ >> เก็งกำไรเป็นรายตัว

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ปิดบวกได้พอสมควรหลังจากที่ปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนก่อน ได้รับแรงหนุนจากตัวเลข Caixin PMI ของจีนเดือน พ.ค. ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน รวมถึงราคาน้ำมันทีป่รับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวัน ขณะที่สถานะของนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นราว 400 ลบ. แต่ขายในตลาดฟิวเจอร์สและพันธบัตรรวมกันราว 700 ลบ.
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET มีโอกาสที่จะขยับบวกขึ้นต่อได้จากบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนข้างสดใส ดาวโจนส์ทำสถิติสูงสุดหนุนโดยกลุ่มการเงิน ส่วนราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 อีก 2.2% ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้คือตัวเลขเศรษฐกิจภาคแรงงานเดือน มิ.ย. ของสหรัฐฯ ส่วนฝั่งบ้านเราจะเริ่มประกาศผลประกอบการกลุ่มธนาคารตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เรายังเชื่อว่าตลาดมีโอกาสปรับขึ้นทดสอบระดับ 1,600 จุดได้อีกครั้งหากผลประกอบการไม่แย่ไปกว่าคาด
  กลยุทธ์ : แนะนำซื้อหุ้นที่คาดผลประกอบการ 2Q17 แข็งแกร่ง และได้ประโยชน์จากโครงการลงทุนภาครัฐ
  หุ้นเด่นเดือน ก.ค. : CK, HANA, IT, KBANK, MTLS

  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$62ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$43ล้าน และอินโดนีเซีย US$36ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลเข้า US$12ล้าน ขณะที่ไหลออกจากไต้หวัน US$39ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าตามตลาดหุ้นสหรัฐที่พุ่งขึ้นตามราคาน้ำมันดิบและความแข็งแกร่งของภาคธนาคาร

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> GFPT <<

คาดกำไร 2Q17 โต 10% Q-Q และ 22% Y-Y อยู่ที่ 465 ลบ. จากปริมาณไก่ส่งออกที่เพิ่มขึ้น 47% Y-Y และราคาอาหารสัตว์ที่ลดลง 12% Y-Y โดยคาดว่าจกำไรจะทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องใน 3Q17 ที่เป็น High Season
ไข้หวัดนกระบาดและปัญหาคอรัปชั่นในบราซิล ทำให้ความต้องการนำเข้าไก่คุณภาพจากไทยยังคึกคักต่อเนื่อง
ราคาพักฐานจนเริ่มนิ่ง และเริ่มมี Upside เมื่อเทียบกับราคาเป้าหมายที่ 21 บาท จึงแนะนำเก็งกำไรระยะสั้น

ประเด็นสำคัญวันนี้
  (0) เงินเฟ้อต่ำ หนุนกนง.คงดอกเบี้ย เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. ลดลงเป็นเดือนที่ 2 จากราคาผักสดและผลไม้ที่ปรับลงจากฐานสูงในปีก่อนซึ่งมีภัยแล้ง และราคาน้ำมันดิบลดลง ทำให้เงินเฟ้อใน 1H17 อยู่ที่ 0.67% Y-Y แนวโน้ม 2H17 ขยับขึ้นตามราคาน้ำมันแต่คาดทั้งปียังต่ำ 0.9% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มิ.ย. ทรงตัวที่ 0.45% สะท้อนการบริโภคที่ยังอ่อนแอ และน่าจะทรงตัวตลอดทั้งปีเพราะการจับจ่ายที่ซบเซาจึงยากที่จะขึ้นราคาสินค้า ก.พาณิชย์ปรับเป้าเงินเฟ้อปีนี้ลงเหลือ 0.7-1.7% จาก 1.5-2.2% หนุนกนง.คงดอกเบี้ยที่ 1.5% ในการประชุมพุธนี้
  (0) KTB ที่ประชุมผู้ถือหุ้น AQ อนุมัติเพิ่มขึ้น PP หากนำเงินมาชำระหนี้คืน KTB จะบันทึกรายได้ดอกเบี้ยย้อนหลังเป็น One-time และบวกกลับรายการเงินสำรองฯที่เคยตั้งไปแล้วใน 3Q17 แต่คาด KTB จะนำไปหักกลบการตั้งสำรองฯพิเศษเพิ่มเติมหรือกรณี EARTH ผลทางอ้อมจึงช่วยผ่อนคลาย Credit cost หรือลด NPL มากกว่า คงราคาเป้าหมายที่ 24 บาท แนะนำซื้อลงทุน
  (0) SCB คาดกำไร 2Q17 ลดลง 4% Q-Q และ 10% Y-Y อยู่ที่ 1.15 หมื่นลบ. จากแรงกดดันของการปรับลดดอกเบี้ยทุกประเภท ต่างจากแบงก์อื่นที่ปรับลดเฉพาะ MRR ซึ่งคาดว่าจะกระทบ NIM ราว 0.12-0.15% ต่อปี สวนทางกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้ง Q-Q และ Y-Y จากการปรับปรุงระบบงานและพนักงาน เรายังคงประมาณการกำไรปีนี้ที่ 4.78 หมื่นลบ. (+0.4% Y-Y) และคงราคาเป้าหมายที่ 182 บาท แนะนำซื้อ แต่ชอบ KBANK มากกว่าสุดในกลุ่ม
  (-) TKN คาดกำไร 2Q17 อ่อนตัวลงหรืออย่างดีแค่ทรงตัวจาก 1Q17 ที่มีกำไร 171 ลบ. (2Q16 ทำได้ 185 ลบ.) โดยคาดรายได้ยังไม่โตเพราะตลาดส่งออกสะดุดจากการย้ายโรงงานใหม่ ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนอัตรากำไรขั้นต้นให้แผ่วลงด้วย ขณะที่ต้นทุนสาหร่ายเพิ่มขึ้นอีก 5%-7% แม้คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวใน 2H17 ที่เป็น High Season แต่ระยะสั้นถูกกดดันจากแนวโน้มกำไร 2Q17 ที่ไม่สดใส และราคาเต็มมูลค่าที่ 21 บาท จึงยังไม่แนะนำให้เข้าลงทุน

ปัจจัยที่ต้องติดตาม
5 ก.ค. - ไทย:กนง.ประชุม (คาดคงดอกเบี้ยที่ 1.5%)

- จีน:Caixin China PMI Composite (มิ.ย.)

- ยูโรโซน:Markit Eurozone Composite PMI (มิ.ย.)
6ก.ค. - ไทย:ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มิ.ย.)

- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (มิ.ย.)
7 ก.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร (มิ.ย.)
10 ก.ค. - จีน:อัตราเงินเฟ้อ (มิ.ย.)

- สิงคโปร์: 1Q17 GDP
12 ก.ค. - สหรัฐ: Fed Beige Book
13 ก.ค. - จีน:ดุลการค้า (มิ.ย.)

- เกาหลีใต้:ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
14 ก.ค. - สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (มิ.ย.),ยอดค้าปลีก (มิ.ย.)
20 ก.ค. - ไทย: ยอดส่งออกรถยนต์

(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนปิดบวก และ สามารถแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ โดยมีแรงซื้อนำเข้ามาในกลุ่มการเงิน และ พลังงาน อีกทั้ง ยังมีปัจจัยบวกจากดัชนี ISM ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด
(+) ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานตามการปรับขึ้นจากราคาน้ำมัน และ ตัวเลข PMI เดือนมิ.ย.ของจีนที่แข็งแกร่ง
(+) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดค่อนไปทางบวกตามทิศทางตลาดโลกที่ได้แรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
(0) ค่าเงินบาทเช้านี้ปรับตัว Sideway ในกรอบแคบ ล่าสุดเคลื่อนไหวแถว 33.97-34.00 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดบวก 1.03 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 47.07 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 8 และ นับเป็นการปรับขึ้นยาวนานสุดในรอบ 5 ปี สาเหตุหลักมาจากตัวเลขการผลิต และ แท่นขุดเจาะที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ตลาดจับตาปริมาณการผลิตของโอเปกเดือนมิ.ย.ที่ผลสำรวจระบุว่าจะเพิ่ม 0.28 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดลบ 23.10 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,219.20 ดอลลาร์/ออนซ์ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ซึ่งปัจจัยกดดันมาจากผลตอบแทนพันธบัตร และ ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!