WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การการลงทุน
     ตลาดหุ้นน่าจะลดผลกระทบจากค่าเงินโลกผันผวนน้อยลง เป็นการตอบรับ Fed ขึ้นดอกเบี้ยฯ ในการประชุม 13-14 มิ.ย. นี้ ส่วนในประเทศมีประเด็นหนุน ความคืบการประมูลงานภาครัฐ คือการก่อสร้างสาธารณูปโภค (UNIQ, CK) และโรงไฟฟ้าโซลาร์ราชการ (BCPG, GUNKUL ผ่านคุณสมบัติแล้ว) และ 14 มิ.ย. นี้ สหกรณ์ฯ จะประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติเพิ่ม กลยุทธ์สลับขายหุ้นที่มี upside จำกัด (TPIPP, EA, GFPT, HANA) มาซื้อ BCPG([email protected]) เพราะมีโอกาสปรับเพิ่ม Fair Value เพิ่มหากมีการประกาศผลชัดเจน และยังชอบ UNIQ([email protected])

ค่าเงินโลกลดความผันผวน เชื่อน่าจะสะท้อน Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
      วันแรกของการเข้าสู่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่างวันที่ 13-14 มิ.ย. นี้ ซึ่งมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% อยู่ที่ 1.25% สะท้อนดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-farm payrolls) เฉลี่ย ม.ค.-พ.ค.2560 ยังขยายตัวราว 1.62 แสนราย หนุนอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4.3% (ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2550 และต่ำกว่าเป้าที่ Fed วางไว้ที่ 4.5%) และฝั่งภาคการผลิต คือ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน แม้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) เริ่มทรงตัวหลังจากที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน
       ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่า Fed มีโอกาสที่จะขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้งใน 2H60 จากการประชุมที่เหลือ 4 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตามตัวแปรสำคัญที่จะบ่งชี้ว่า Fed จะขึ้นได้อีกกี่ครั้ง และเท่าใดนั้น ขึ้นกับทิศทางของอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดเดือน พ.ค.อยู่ที่ 2.2% (เทียบกับดอกเบี้ย 1%) หากอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า 2% โอกาสขึ้นดอกเบี้ยน่าจะขึ้นเพียงครั้งเดียว เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำมันดิบโลกเริ่มชะลอตัว โดยราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยเดือน มิ.ย.2560 ลดลง 4.5%mom อยู่ที่ 46.48 เหรียญฯ (เทียบกับเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ 50.46 เหรียญฯ)
     ขณะที่แนวโน้มค่าเงินโลกเริ่มผันผวนลดลง หลังจากดอลลาร์สหรัฐ กลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลคู่ค้าหลักๆ ของโลก ทั้งเงินปอนด์ ยูโร และเยน โดยเฉพาะเงินปอนด์ เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เริ่มกลับมาแกว่งตัว หลังจากอ่อนค่าอย่างมากสุดในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (อ่อนค่า 1.5%) เช่นเดียวกับค่าเงิน ยูโร แกว่งตัว แต่น่าจะมี downside จำกัด (โดยรวมอ่อนค่าราว 0.5% ตลอด 1 สัปดาห์) และเงินเยนที่แกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าเช่นกัน ดังปรากฎในภาพข้างต้น และเช่นเดียวกันเงินเอเซีย ชะลอการแข็งค่าหรืออ่อนค่า เริ่มจากเงินบาทเริ่มยืนเหนือ 34 บาทได้อย่างมั่นคง หลังจากทำจุดต่ำสุดในรอบ 2 ปี และภายหลังจากที่เงินบาทแข็งค่ามากถึง 5.5% นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) ขณะที่ค่าเงินในกลุ่ม TIP เริ่มแกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ

GUNKUL และ BCPG ผ่านคุณสมบัติโรงไฟฟ้าโซลาซ์ราชการแล้ว
       กระทรวงพลังงาน ยังคงเดินหน้าแผนการเปิดประมูลเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ โดยในปี 2560 มีการประกาศหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการโซลาร์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร เฟส 2 จำนวนไม่เกิน 219 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 1) หน่วยงานราชการจำนวนไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ 2) สหกรณ์ภาคการเกษตรจำนวนไม่เกิน 119 เมกะวัตต์ อายุโครงการ 25 ปี และจะได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT 4.12 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันหน่วยราชการมีเพียงองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) และมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของโครงการฯ
      ทั้งนี้กำหนดให้ผู้ที่ขอยื่นโครงการต้องมีสมบัติคือ เคยผ่านงานลักษณะนี้มาก่อน และมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง จึงทำให้มีผู้ประกอบการรายที่เข้าข่ายจำกัด ล่าสุด 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา อผศ. ได้ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการโซลาร์ราชการจำนวน 25 โครงการ รวมกำลังการผลิต 118 เมกะวัตต์ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมีผู้ประกอบการที่อยู่นอกตลาดฯ ส่วนในตลาดฯ ที่ผ่านการคัดเลือก ประกอบด้วย BCPG GUNKUL และ SUPER
??ในส่วนของโครงการโซลาร์สหกรณ์ภาคการเกษตรที่จะประกาศโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในวันที่ 14 มิ.ย.2560 นั้น หากมีพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการโซลาร์ราชการ กกพ. จะทำการจับสลากและประกาศผู้ชนะการประมูลในวันที่ 28 มิ.ย.2560 ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าทั้ง BCPG รวมถึง GUNKUL น่าจะมีโอกาสได้รับงานเพิ่มเติม ซึ่งยังไม่ได้รวมประเด็นดังกล่าวไว้ในประมาณการหุ้นในกลุ่มฯ จึงถือเป็น upside ที่คาดหวังได้ในอนาคต
??โดยฝ่ายวิจัยแนะนำ BCPG ([email protected]) จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าทุกๆ 5 เมกะวัตต์ ที่ BCPG เข้าลงทุนในโครงการดังกล่าว จะเพิ่มมูลค่าพื้นฐานราว 0.11 บาทต่อหุ้น อีกทั้งแนวโน้มกำไรที่เติบโตต่อเนื่องและชัดเจน และมี Expected PER ทยอยลดลงอย่างมีนัยฯเหลือเพียง 12.2 และ 9.1 เท่า ในปี 2560-61 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ นอกจากนี้ยังให้ DivYield ในระดับที่ดีเกือบ 4% ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีประเด็นบวกสนับสนุนจากความคาดหวังที่ว่าจะได้รับคัดเลือกเข้า SET100 รอบ 2H60 อีกด้วย

ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกแห่ง รวมถึงไทย


     แม้วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันชาติฟิลิปปินส์ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกว่า 603 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 47 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 10 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 ประเทศ ขายสุทธิ คือ ไต้หวันกว่า 456 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), เกาหลีใต้ 183 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) และไทย 10 ล้านเหรียญ หรือ 351 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิราว 875 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า)
     ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 8.62 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 527 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 โดยมีมูลค่าขายรวม 1.02 หมื่นล้านบาท)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!