WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  ความผันผวนค่าเงินโลก มาจากปัญหาการเมืองในสหรัฐเป็นหลัก แต่เชื่อเงินบาทน่าจะยืนเหนือ 34 บาท/ดอลลาร์ หลังทำจุดต่ำสุดรอบ 2 ปี ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณฟื้นตามยอดขายรถยนต์ที่ดีใน 4M60 (หนุน AH, SAT, STANLY และ ธ.พ. รายย่อย KKP, TCAP) และ PTTEP ได้ sentiment เชิงบวกอีกครั้ง รัฐอาจใช้อำนาจพิเศษสั่งให้กลับมาผลิต เพราะรัฐกลัวสูญเสียรายได้ SET จึงยังแกว่งตัว 1560-1574 จุด Top picks KKP([email protected]) และ MAJOR(FV@B38)

 

ต่างประเทศมุ่งไปที่เสถียรภาพการเมืองในสหรัฐ กดดัน Dollar อ่อนค่า
ปัจจัยต่างประเทศในวันนี้ มี 3 ประเด็นที่จะทราบผลวันนี้ แต่เชื่อว่าตลาดได้รับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง :
  1.) ผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบาย 0% (ติดต่อจาก มี.ค. 2559) และคง QE ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรจนถึงสิ้นปีนี้ (รวม 34 เดือน มี.ค. 2558–ธ.ค. 2560 เม็ดเงินรวม 2.29 ล้านล้านยูโร หรือคิดเป็น 65.4% ของวงเงิน QE สหรัฐ) และหลังจากนี้น่าจะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ (1.4% เดือน พ.ค.) และอัตราว่างงาน (9.3% ต่ำสุดในรอบ 12 ปี) มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องในหลายประเทศ โดยเฉพาะเยอรมัน ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
  2.) ผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เชื่อว่านางเทเรซ่า เมย์ฯ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน จะได้เสียงข้างมาก และสามารถเดินหน้าออกจากอังกฤษฯ (สอดคล้องกับผลสำรวจ วันที่ 1-2 มิ.ย. ยังคงคาดว่า พรรคอนุรักษ์นิยม ของ นางเทเรซ่า เมย์ฯ แม้จะได้คะแนนเสียงนำราว 42% แม้ลดลงต่อเนื่องจาก 48% (ผลสำรวจ วันที่ 2-3 พ.ค.) ชนะพรรคแรงงาน ที่คะแนนขยับขึ้น จาก 29% ที่ 38% ช่วงเวลาเดียวกัน
  3.) เสถียรภาพทางการเมืองในสหรัฐ กับความมั่นคงในตำแหน่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับ การให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐ ของอดีตผู้อำนวยการ FBI นายเจมส์ โคมีย์ ผู้ซึ่งเข้าไปตรวจสอบ ความไม่โปร่งใส ทีมหาเสียงของนายทรัมป์ (อาจสมรู้ร่วมคิดกับรัสเซีย) และ ได้ถูกประธานาธิบดี ทรัมป์ปลดออกจากตำแหน่งและการสืบสวน เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยภาพรวมกดดันความเชื่อมั่นต่อ ค่าเงิน Dollar แม้ได้อ่อนค่าแล้วราว 5.5%ytd ตรงกันข้ามกับ หนุนค่าเงินคู่ค้าหลักอยู่ในทิศทางแข็งค่า แต่น่าจะเริ่มชะลอการแข็งค่า หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องนับจากต้นปี (เงินยูโร และเงินปอนด์ แข็งค่าแล้ว 7.6%ytd และ 4.6%ytd ตามลำดับ) และเช่นเดียวกันเงินเอเซียแข็งค่าทุกสกุล แต่สำหรับเงินบาทเชื่อว่าน่าจะยืนเหนือ 34 บาทต่อดอลลาร์ได้หลังจากทื่ทำจุดต่ำสุดในรอบ 2 ปี

 

ยอดขายรถยนต์ฟื้นตัวชัดเจน หนุนเศรษฐกิจไทยกระเตื้อง: KKP
  แหล่งข่าวจาก ประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ปี 2560 ครั้งที่ 34 (Motor Expo)ประเมินว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2560 จะเติบโต 10-15%yoy อยู่ที่ราว 8.4 แสนคัน เทียบกับในปี 2559 ติดลบ 9.3% โดยน่าจะได้รับแรงหนุน จากสิ้นสุดโครงการรถคันแรก และการเปิดตัวรถรุ่นใหม่กระตุ้นความต้องการเปลี่ยนรถ ทั้งนี้หากพิจารณายอดขายรถยนต์(ม.ค.-เม.ย.) อยู่ที่ราว 2.73 แสนคัน (32.5%ของคาดการณ์ทั้งปี 2560) ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (AH, SAT, STANLY) และรวมถึงหุ้นกลุ่มเช่าชื้อที่มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์


  นอกจากนี้ ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำ (อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.5% ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย.2558) ซึ่งจะช่วยรักษาต้นทุนและ Spread ของผู้ประกอบการดังกล่าว อาทิ KKP([email protected]) ซึ่งมีเน้นพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อมากสุดราว 62% โครงสร้างสินเชื่อรวม รองลงมา TISCO([email protected]) มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ 61% และ TCAP(FV@53) ราว 50% ขณะที่ BAY(FV@B43) มีเล็กน้อยราว 21% โดยชื่นชอบมากที่สุด Top pick คือ KKP([email protected]) นอกจากได้ประโยชน์จากมีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อรถดังกล่าวแล้ว ยังมีประเด็นบวกจากเป็นที่ปรึกษารับรู้รายได้ค่าที่ปรึกษาในการขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน(Thailand Future Fund หรือ TFF) เนื่องจากถือหุ้นโดย บล.ภัทร เกือบทั้งหมด 99.98% ราคาหุ้นยังมี upside 13.77% และ Dividend 8.7% และมี P/E 10.6 เท่า แนะนำเป็น Top pick หุ้นขนาดเล็ก

ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 5% หลังสต็อกน้ำมันเพิ่มครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์


  ราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวลดลงต่อเนื่องกว่า 11% ตั้งแต่การประชุมกลุ่ม OPEC ในวัน 25 พ.ค. 60 เป็นต้นมา โดยเฉพาะวานนี้สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ดิ่งลงมากว่า 5% มาอยู่ที่ 45.73 เหรียญฯต่อบาร์เรล นักลงทุนผิดหวังต่อยอดสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ณ 31 พ.ค. เพิ่มขึ้นกว่า 3.295 ล้านบาร์เรล และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์ สวนทางตลาดคาดว่าจะลดลง 3.464 ล้านบาร์เรล


นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกดดันด้าน Supply หลังสหรัฐฯถอนตัวจาก “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement เป็นข้อตกลงลดภาวะโลกร้อน) ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าจะหนุนให้จำนวนขุดเจาะและผลิตน้ำมันในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นหลังจากนี้ โดยล่าสุดทาง Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะ ในสหรัฐฯยังคงเพิ่มขึ้นอีก 11 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 733 แท่น นับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 20 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และสอดคล้องกับยอดผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ (EIA) สัปดาห์ก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาที่ 9.3 ล้านบาร์เรล เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2558
  ตามมาด้วยการตัดสัมพันธ์ทางการทูตต่อกาตาร์ของ 9 ประเทศ ซึ่งอาจกระทบต่อการทำสัญญาลดกำลังการผลิตน้ำมันในอนาคต ถือว่ากดดันต่อหุ้นน้ำมัน ทั้ง PTTEP(FV@B109) และ PTT (FV@B460) แต่อย่างไรก็ตามระยะสั้นมีข่าวบวกกลับมาหนุนหุ้นน้ำมันอีกครั้งดังจะพูดถึงในย่อหน้าถัดไป

 

PTTEP ได้แรงหนุนช่วงสั้น รัฐอาจใช้อำนวจพิเศษให้กลับมาผลิตในหลุม S1
  หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้เพิกถอนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ในการเข้าไปขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม ในเขต สปก. ส่งผลให้กรมเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานฯ และกระทบต่อการให้สัมปทานแก่ผู้ผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยมทุกรายเป็นการชั่วคราว รวมถึง PTTEP ที่มีโครงการ S1 ตั้งอยู่บนพื้นที่ สปก.เพียงบางส่วน (ดำเนินการโดยบริษัทย่อยที่ PTTEP ถือหุ้น 100%) กระทบต่อปริมาณขายสุทธิทุกผลิตภัณฑ์เฉพาะส่วนนี้ ราว 1.8 หมื่นบาร์เรลต่อวัน หรือ 6% ของปริมาณขายรวมของ PTTEP


ล่าสุด กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะรัฐจะได้รับผลกระทบ จากการนำส่งเงินภาษีเข้ารัฐที่ลดลง โดยหากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยกฎหมายปกติที่มีอยู่ ก็อาจจะพิจารณาใช้มาตรา 44 เพื่อเร่งหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ได้ภายใน 1-2 วันนี้ หากกลับมาผลิตได้อีกครั้ง จะดีต่อ PTTEP และอาจจะปรับเพิ่มประมาณกลับมาที่เดิมก่อนเกิดปัญหาอีกครั้ง
  กรณีนี้ ถือว่ามีความต่างจากกรณีของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งเกิดเป็นคดีความเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยกเลิกโครงการกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของ 20 โครงการ ในพื้นที่ สปก. ใน จ. นครราชสีมา และ ชัยภูมิ และ ในเวลาต่อมา กลางเดือน มี.ค. สปก. ได้มี คำสั่งให้ดำเนินการต่อได้ (อ่านรายละเอียดใน Market talk ฉบับวานนี้)

 

ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ยังขายไทย
  วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 139 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการซื้อสุทธิ 3 ประเทศนำโดยเกาหลีใต้ราว 145 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), ไต้หวันราว 15 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ราว 17 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) ในขณะที่ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศที่ต่างชาติขายสุทธิ คือ อินโดนิเซียราว 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 25 ล้านเหรียญ หรือ 855 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิราว 156 ล้านบาท


  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 6 พันล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายซื้อสุทธิราว 256 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!