- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 05 June 2017 16:59
- Hits: 909
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การก่อการร้ายในอังกฤษ กดดันความเชื่อมั่นเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก ส่วนในประเทศให้น้ำหนักรายหุ้น โดยเฉพาะที่มีโอกาสเข้าคำนวณ SET50-SET100 (RATCH, GFPT) ทำให้ SET ยังแกว่งตัว 1565-1574 จุด กลยุทธ์เน้นรายหุ้น ที่มีผลกำไรเด่นในช่วงที่เหลือของปีนี้ พร้อม P/E ต่ำ และเงินปันผล 4% (VNG, GFPT, HANA, AH, KKP) ยังเลือก Top pick KKP([email protected]) และ GFPT(FV@B21) มีโอกาสเข้าคำนวณ SET 100 สูง
เหตุก่อการร้ายในอังกฤษน่าจะกดดันค่าเงินปอนด์และตลาดหุ้นโลกช่วงสั้น
ช่วงค่ำวันเสาร์ที่ 3 มิ.ย. ตามเวลาในอังกฤษ (ตรงกับช่วงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 4 มิ.ย. ของไทย) มีเหตุก่อการร้ายในอังกฤษ โดยมีรถตู้เข้าพุ่งชนฝูงชนบริเวณสะพานลอนดอน และไล่แทงฝูงในบริเวณดังกล่าว จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และ บาดเจ็บอีก 48 ราย โดยกลุ่ม ISIS ได้ออกมาอ้างว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุดังกล่าว และครั้งนี้นับเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งที่ 3 หลังเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่เมืองแมนเชสเตอร์ เมื่อ 22 พ.ค. และคนร้ายขับรถชนผู้คนบนสะพานเวสต์มินสเตอร์ - ชนรั้วอาคารรัฐสภา และไล่แทงตำรวจ เมื่อ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา
แม้มีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นกลุ่ม ISIS แต่เหตุร้าย ทุกครั้ง มักจะก่อนหรือใกล้เคียงนก่อนเลือกตั้ง โดยอังกฤษ จะมีการเลือกตั้งนายกฯ ในวันที่ 8 มิ.ย. (และก่อนหน้าที่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อล่าสุด 20 เม.ย. 2560 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในฝรั่งเศส 8 พ.ค. 2560) อย่างไรก็ตาม นางเทเรซ่า เมย์ นายกฯ ยืนยันว่า จะไม่มีการเลื่อนการเลือกตั้ง แต่ได้ยกเลิกการหาเสียงชั่วคราววานนี้ และวันนี้จะกลับมาหาเสี่ยงอีกครั้ง จึงมิอาจปฎิเสธได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้น มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับการเมืองหรือไม่ เนื่องจากนางเทเรซ่าฯ ยังคงมีคะแนนนำในการเลือกตั้งรอบนี้ (แม้ล่าสุด คะแนนความนิยมจะลดลงมาและฝั่งคู่แข่ง คือ พรรคแรงงาน จะได้คะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนช่องว่างของคะแนนแคบลงก็ตาม) จะยังเดินนโยบายออกจากอังกฤษ ตามการทำประชาพิจารณ์ของประชาชน ซึ่งน่าจะมีผลต่อการกีดกัน ผู้อพยพเข้าประเทศ
เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น น่าจะกดดันต่อความเชื่อมั่นการลงทุนช่วงสั้น ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินปอนด์มีโอกาสอ่อนค่า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ (อ่อนค่าลง นับจากวันที่ 22 พ.ค. กว่า 1.03%) และอาจฉุดเงินยูโรให้อ่อนค่าลงเช่นกัน สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคเอเซียที่ยังคงแข็งค่า โดยเฉพาะเปโซฟิลิปปินส์ ส่วนเงินบาทของไทยเริ่มทรงตัว 34.05 บาทต่อเหรียญ หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องมานาน
World Bank ทบทวน GDP Growth รายประเทศ แต่โดยรวมยังกว่า IMF
ล่าสุด ธนาคารโลก(World Bank) ได้ทำการทบทวน GDP Growth รายประเทศ แม้จะคง GDP Growth โลก ปี 2560 ที่ 2.7%yoy ตามเดิม (เทียบกับ IMF คาด GDP Growth โลกปี 2560 ที่ 3.5%yoy) โดยเหตุผลการทบทวนรอบนี้ มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการผลิตทั่วโลกฟื้นตัวขึ้น อาทิ ยุโรป , จีน , สหรัฐ ขณะที่ภาคการค้ายังคาดขยายตัว และมีความกังวลประเด็นการกีดกันการค้าเริ่มน้อยลง ทั้งนี้การปรับเพิ่มและลดรายประเทศดังนี้ คือ
ประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่น ปรับเพิ่ม 0.6% ที่ 1.5%yoy , ยุโรป เพิ่ม 0.2% ที่ 1.7%yoy ขณะที่สหรัฐปรับลด 0.1% เหลือ 2.1%yoy ,
ประเทศแถบลาตินอเมริกา โดยรวมยังคงตามเดิม อาทิ เม็กซิโก และ อาร์เจนติน่า คงที่เดิมขยายตัว 1.8% yoy และ 2.7% yoy ตามลำดับ ยกเว้น บราซิล ปรับลด 0.2% เหลือ 0.3% yoy , ประเทศแถบตะวันออกกลาง อิหร่านปรับลด 1.2% เหลือ 4 % , ซาอุดิอาระเบียปรับลด 1% เหลือ 0.6%
และประเทศเอเซีย ยังคง GDP Growth จีน และไทย ที่ 6.5% yoy และ 3.2%yoy ตามลำดับ แต่ปรับลด อินเดียและอินโดนีเซียลงประเทศละ 0.4% และ 0.1% เหลือ 7.2%yoy และ 5.2%yoy
และสหรัฐ ปลายสัปดาห์ที่แล้วมีการรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตร(Non farm payrolls) เดือน พ.ค. ยังเพิ่มขึ้น 1.38 แสนราย แม้ชะลอจาก 1.74 แสนรายในเดือน เม.ย. แต่ยังหนุนให้อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ 4.3%จาก 4.4% ในเดือน เม.ย.(ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2550 และต่ำกว่าเป้าที่ Fed วางไว้) ขณะที่ อัตราเงินล่าสุด อยู่ที่ 2.2%yoy ยังสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 1% ทำให้ตลาดคาดหวังว่า Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 2 ครั้งจากการประชุมที่เหลืออีก 5 ครั้งในปีนี้ การประชุม Fed ครั้งถัดไปสัปดาห์หน้า 13-14 มิ.ย. ผลสำรวจ Bloomberg คาดจะขึ้นดอกเบี้ยราว 0.25% เป็น 1.25% (ด้วยความน่าจะเป็น 89.7%) และครั้งถัดไปคือรอบ 19-20 ก.ย. อีก 0.25%
แม้ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทย แต่ยังคงขายตราสารหนี้ต่อเนื่อง
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 465 ล้านเหรียญ โดยซื้อทุกตลาดยกเว้นเพียงอินโดนีเซียที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ ตลาดที่ซื้อสุทธินำโดย เกาหลีใต้กว่า 370 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 62 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8), และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิราว 36 ล้านเหรียญ หรือ 1.2 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ทั้งนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เช้านี้ ทาง Bloomberg ยังไม่มีการอัพเดทข้อมูล ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 308 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
หากกลับมาดูทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.3 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 1.5 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยมีมูลค่าขายรวมกว่า 5.6 พันล้านบาท) กดดันให้ Bond Yield 10 ปี ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2.56% และเป็นการสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
เนื่องจากปัจจัยภายนอกยังไม่มีประเด็นหนุนใหม่ ๆ (การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ และ การประชุม Fed) นอกจากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ซึ่งคาดว่ายังมีน้ำหนักกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก อย่างไรก็ตามในประเทศมีปัจจัยหนุนเป็นรายหุ้นอย่างน้อย 2 ประเด็นคือ
1. หุ้นที่มีโอกาสเข้าคำนวณ SET50-SET100 ที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50, SET100 รอบ 2H60 ในรายงาน Quantitative Analysis วันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมานั้น สรุปมีรายชื่อหุ้นดังนี้
หุ้นทีมีโอกาสคัดเข้า-ออก SET50 ในรอบ 2H60 คือ
หุ้นที่คาดจะถูกคัดเข้า 7 บริษัท: BJC, EA, BPP, RATCH, MTLS, TISCO และ JAS
หุ้นที่คาดจะถูกคัดออก 7 บริษัท : PTG, THAI, BA, WHA, BCP, CK และ CENTEL (หุ้นสำรองอาจถูกคัดเข้า 5 บริษัทแรก : CENTEL, SAWAD, CK, BCP และ WHA)
หุ้นทีมีโอกาสคัดเข้า-ออก SET100 ในรอบ 2H60 คือ
หุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดเลือกเข้ามี 14 บริษัท: BJC, EA, BPP, RATCH, JAS, ESSO, GL, TICON, BCPG, KSL, WORK, STA, MEGA และ GFPT
หุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดออกมี 14 บริษัท:: IFEC, KAMART, TTW, SCN, RS, TTCL, SGP, THANI, ICHI, COM7, SAMART, STPI, LPN และ TTA (หุ้นสำรองอาจจะถูกคัดเข้า 5 บริษัทแรก : TTA, LPN, ANAN, MC และ PSL)
กลยุทธ์ลงทุน เลือกหุ้นที่เข้า SET50 ให้ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริง ราว 1 เดือน และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ ได้รับผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 6.3% ด้วยความเป็นไปได้ถึงกว่า 75%หุ้นเด่นคือ BJC(FV@B50) และ RATCH(FV@B65) ขณะที่หุ้นที่เข้า SET100 แนะนำให้ซื้อลงทุนระยะสั้น ก่อนวันเข้าคำนวณราว 1 สัปดาห์ และขายในวันที่เข้าคำนวณ เนื่องจากให้ผลตอบแทนน้อยกว่า SET 50 คือราว 1.4% ด้วยความน่าจะเป็นราว 54% หุ้นเด่นคือ GFPT(FV@B21)
2. เน้นหุ้นกำไรเด่นงวด 2Q60-2H60 เริ่มจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานโดดเด่นในงวด 2Q60 และต่อเนื่องใน 2H60 อันเป็นช่วงฤดูกาล High Season ได้แก่
เกษตร-อาหาร ชอบ GFPT (FV@B21) มีความโดดเด่นมากสุดเนื่องจากราคาไก่ที่ปรับขึ้น
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แนะนำ HANA(FV@B57) จากการปรับ product mix และ กระจายความเสี่ยงด้านตลาดส่งออก เป็นเกราะป้องกันที่ดีเมื่อสหรัฐใช้มาตรการกีดกันทางการค้า
ค้าปลีก ยังชอบ BJC (FV@B50) ลดภาระด้านดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง และการ synergies กันกับ BIGC ช่วยหนุนผลประกอบการปีนี้เติบโตสูง
กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานทรงตัว ได้แก่
ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่เด่นนักในงวด 2Q60 แต่ AH (FV@B28) โดดเด่นสวนทางอุตฯ จากการใช้กลยุทธ์การซื้อกิจการในต่างประเทศเพื่อหนุนการเติบโตในอนาคต
สันทนาการและบันเทิง แม้สื่อโฆษณายังไม่ฟื้นตัวจากการแข่งขันรุนแรง แต่ WORK (FV@B73) โดดเด่น เหนือคู่แข่งขั้น ทั้งการมี contents และ ปรับกลยุทธ์ตลาดได้เร็ว
ธนาคารพาณิชย์ งวด 2Q60 มีแนวโน้มทรงตัว แต่จะเห็นการเติบโตน่าจะเกิดขึ้นในช่วง 2H60 จากการเกิดขึ้นของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หนุนความต้องการใช้สินเชื่อ ยังชอบ SCB (FVB@178) คาดกำไร 2Q60 ฟื้นตัวได้จากรายได้สินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ มีโอกาสลดลง
วัสดุก่อสร้าง งวด 2Q60 มีแนวโน้มทรงตัวจาก 1Q60 แต่จะเห็นการเติบโตน่าจะเกิดขึ้นในช่วง 2H60 จากการเกิดขึ้นของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หนุนความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ชอบ SCC (FV@B620) มีการกระจายความเสี่ยงหลายธุรกิจ และ VNG ([email protected]) ผลประกอบการฟื้นแรงใน 2Q60 จากการเข้าสู่ช่วงของ High Season อีกทั้งสายการผลิตสินค้าที่มี Margin สูง ก็จะเริ่มสร้างรายได้เข้ามาเต็มที่ตั้งแต่ 2Q60 เป็นต้นไป
กลุ่มที่คาดว่าจะมีผลการดำเนินงานชะลอตัวในงวด 2Q60 ได้แก่
กลุ่มพลังงาน : แนวโน้มของธุรกิจปิโตรเลียมและโรงกลั่น ในงวด 2Q60 อาจอ่อนตัวลง เนื่องจากเป็นช่วง low season และมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น แต่แนวโน้มระยะยาวคาดจะยังสดใสตามทิศทางราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีเสถียรภาพ ขณะที่ธุรกิจถ่านหินจะยังดีต่อเนื่องในงวด 2Q60 ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับกลุ่มโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ ภาพรวมกลุ่มจะกลับมาดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี โดยฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ PTT (FV@B460), PTTEP (FV@B116) และ IRPC ([email protected]) สำหรับลงทุนระยะยาว
กลุ่มโรงพยาบาล : ผลประกอบการงวด 2Q60 น่าจะยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีฐานผู้ป่วยอิงกับชาวตะวันออกกลางอย่าง BH และ ร.พ. ใหญ่ BDMS และ BCH ยกเว้น ร.พ. ขนาดเล็ก ที่มีเติบโตจากต้นทุนการเงินที่ลดลง และการเปิดส่วนต่อขยายใหม่ อย่าง LPH (FV@B11) , RJH (FV@B28)
กลุ่มท่องเทียว-โรงแรม : ผลประกอบการอ่อนตัวงวด 2Q60 ต่อเนื่องถึง 3Q60 ช่วง Low Season แต่จะกลับมาดีสุดในไตรมาสสุดท้ายของปีอีกครั้ง ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ ERW (FV@B6) คาดกำไรปกติปีนี้เติบโต 19%yoy โดดเด่นสุดในกลุ่มฯ และ MINT (FV@B46) จากการที่ทุกธุรกิจยังเห็นการเติบโตที่สดใส คาดกำไรปกติปีนี้เติบโต 17%
ธุรกิจสายการบิน : งวด 2Q และ 3Q60 จะเป็นช่วง Low Season เช่นเดียวกับ กลุ่มท่องเทียว-โรงแรม ขณะที่การแข่งขันระหว่างสายการบินยังรุนแรงกดดัน AAV, THAI และ BA
Derivative Team :
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636