WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
ยังไม่มีประเด็นหนุนใหม่ๆ ขณะที่การรายงานเงินเฟ้อไทยล่าสุด ชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่ IMF ปรับเพิ่ม GDP Growth ไทยจาก 3% เป็น 3.2% ไม่น่าแปลกใจ เพราะเดิมทำต่ำเกินไป จึงคาดดัชนีแกว่งตัว 1552-1566 จุด กลยุทธ์ยังให้น้ำหนักหุ้นที่มีผลกำไรเด่นใน 2Q60 และต่อเนื่องในงวด 2H60 พร้อมมี P/E ต่ำ และเงินปันผลอยู่ในระดับปานกลาง (VNG, GFPT, HANA, AH, KKP) วันนี้แนะนำ HANA(FV@B57) และ KKP([email protected])

 

เลือกลงทุนรายหุ้นที่เข้า/ออก SET50, SET100 เด่น BJC, RATCH และ GFPT
  ตามที่ฝ่ายวิจัยฯได้ประเมินเบื้องต้นรายชื่อหุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50, SET100 รอบ 2H60 ในรายงาน Quantitative Analysis วันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้มีข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณครบถ้วนแล้ว (1 มิ.ย. 2559 - 31 พ.ค. 2560) จึงได้ทบทวนรายชื่อหุ้นที่มีโอกาสถูกนำเข้าและคัดออกจาก SET50, SET100 รอบ 2H60 อีกครั้ง พบว่า รายชื่อหุ้นยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่รอบที่แล้ว แต่จะมีเพียงลำดับ Market Cap เฉลี่ยในช่วง 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค. 60) เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยสรุปมีรายชื่อหุ้นดังนี้


หุ้นทีมีโอกาสคัดเข้า-ออก SET50 ในรอบ 2H60 คือ
หุ้นที่คาดจะถูกคัดเข้า 7 บริษัท: BJC, EA, BPP, RATCH, MTLS, TISCO และ JAS
หุ้นที่คาดจะถูกคัดออก 7 บริษัท: PTG, THAI, BA, WHA, BCP, CK และ CENTEL
หุ้นสำรองอาจถูกคัดเข้า 5 บริษัทแรก: CENTEL, SAWAD, CK, BCP และ WHA
หุ้นทีมีโอกาสคัดเข้า-ออก SET100 ในรอบ 2H60 คือ
หุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดเลือกเข้ามี 14 บริษัท: BJC, EA, BPP, RATCH, JAS, ESSO, GL, TICON, BCPG, KSL, WORK, STA, MEGA และ GFPT
หุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดออกมี 14 บริษัท: IFEC, KAMART, TTW, SCN, RS, TTCL, SGP, THANI, ICHI, COM7, SAMART, STPI, LPN และ TTA
หุ้นสำรองอาจจะถูกคัดเข้า 5 บริษัทแรก: TTA, LPN, ANAN, MC และ PSL

 

สิ่งที่ควรรู้ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นเหล่านี้คือ
1. หุ้นที่ถูกคัดเข้า-ออก SET50 และ SET100 ดังกล่าว เรียงลำดับรายชื่อหุ้นตามโอกาสที่จะถูกคัดเข้า–ออก จากมากไปหาน้อย
2. รายชื่อหุ้นดังกล่าวยังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากผลลัพธ์สุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตลาดฯ เป็นสำคัญ
  กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่เข้าออก SET50 จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ควรซื้อก่อนเข้าคำนวณจริง ราว 1 เดือน และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ ได้รับผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 6.3% ด้วยความเป็นไปได้ถึงกว่า 75%
  ขณะที่กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่เข้า SET100 เนื่องจากให้ผลตอบแทนน้อยกว่า SET 50 คือราว 1.4% ด้ววความน่าจะเป็นราว 54% แต่ยังพอที่จะเก็งกำไรได้ โดยแนะนำให้ซื้อก่อนวันเข้าคำนวณราว 1 สัปดาห์ และขายในวันที่เข้าคำนวณ
  กลยุทธ์ให้เน้นเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง อย่าง BJC(FV@B50) และ RATCH(FV@B65) เพราะ มี Market Cap ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 16 และ 37 ของหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณ จึงคาดว่าจะเป็นเป้าหมายการลงทุนนักลงทุนสถาบัน และยังมีหุ้นที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง คือ GFPT(FV@B21) ซึ่งมีโอกาสเข้าคำนวณใน SET100 และแนวโน้มอุตสาหกรรมไก่ไทยเข้าสู่ช่วง high season ใน 2Q60 จากช่องทางระบายไก่ที่มากขึ้นจากตลาดสดไก่แช่แข็งส่งไปญี่ปุ่นและมาเลเซียในปี 2560
  โดยนักลงทุนสามารถติดตามอ่านรายละเอียดอื่นๆที่น่าสนใจ ทั้งกระบวนการคัดเลือกหุ้นเข้าออก SET50, SET100 ผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ รวมถึงหุ้นที่เข้าออก SET50 SET100 มีความสำคัญอย่างไร ได้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis ฉบับเต็มได้ภายในวันนี้

 

เงินเฟ้อไทยยังชะลอ ขณะ IMF ปรับเพิ่ม GDP ขึ้นแต่มีน้ำหนักตลาดน้อย
  เงินเฟ้อเดือน พ.ค. ยังคงชะลอตัวลง และต่ำกว่าคาดมาก กล่าวคือ กลับมา ติดลบ 0.04%yoy (ในรอบ 14 เดือน) จากที่ต่ำเพียง 0.38%yoy ใน เม.ย. (ชะลอตัวจาก 0.76 % ใน มี.ค. และ 1.4% ใน ก.พ. และ 1.55% ใน ม.ค. 2560) เพราะฐานเงินเฟ้อที่สูงในปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่ประสบปัญหาภัยแล้ง (อิทธิพลของปรากฎการณ์เอลนิโญ) ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน กดันผลผลิตทางการเกษตร และหนุนให้ราคาพืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น สะท้อนจาก ผักสดในเดือน พ.ค. ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (yoy) 26.56% ผลไม้สดลดลง 2.55%yoy ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลง 1.92%yoy และไข่ นมลดลง 1.46% ขณะที่สินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มยังเพิ่มขึ้น อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 4.99%yoy เคหสถาน (ค่าไฟฟ้า, ก๊าซหุงต้ม, ค่าเช่าบ้าน) เพิ่มขึ้น 0.64%yoy โดยภาพรวมเงินเฟ้อเฉลี่ย ม.ค.-พ.ค. 2560 อยู่ที่ระดับ 0.81%เทียบกับที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ตลอดปี 2560 ที่ 1.85% และ ASPS คาด1.98% อาจดูสูงเกินไป เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% อย่างไรก็ตามคงประมาณการเดิมไปก่อน โดยตัวแปรสำคัญในการปรับประมาณการคือ
  1. ราคาน้ำมันดิบ (คิดเป็นสัดส่วนราว 24% ของการคำนวณเงินเฟ้อ) ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล (ytd 52 เหรียญฯต่อบาร์เรล) แม้ยังห่างจากสมมติฐานของ ASPS คือ ราคาน้ำมันดิบดูไบ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ปี 2559 เฉลี่ย 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล) แต่เศรษฐกิจโลกที่เริ่มกระเตื้องขึ้น และ การควบคุมการผลิตยังมีอยู่
  2. ปัญหาน้ำท่วมหนัก 18 จังหวัดในภาคกลางตอนล่าง อาทิ อยุธยา สุโขทัย สระบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี เป็นต้น พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย ตั้งแต่ 24 พ.ค.–ปัจจุบัน แนวโน้มเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. น่าจะกลับมาขยายตัวอีกครั้งในช่วงสั้น
  โดยรวมเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้เชื่อว่า กนง.จะยังคงดอกเบี้ยฯ ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ขณะที่ IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ไทยในปี 2560 (ประเทศอื่นยังไม่มีออกรายงาน) กล่าวคือ ปรับเพิ่ม 0.2% มาอยู่ที่ระดับ 3.2%yoy (เทียบกับ Consensus คาดที่ 3.5%) เนื่องจากครั้งก่อนหน้าคาดการณ์ไว้ต่ำไป โดยสรุปทั้ง 2 ปัจจัยไม่น่าจะมีน้ำหนักกดดันตลาด

ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC เพิ่มขึ้นครั้งแรกในปีนี้
  ราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวลดลงต่อเนื่องหลังจากแตะระดับสูงสุด 52.96 เหรียญฯต่อบารเรล เมื่อ 25 พ.ค. 2560 จนปัจจุบัน หรือลดลงราว 7.2% ล่าสุดอยู่ที่ 48.36 เหรียญฯต่อบาร์เรล แม้วานนี้ทางสำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ สิ้นสุด ณ 24 พ.ค. 60 ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 8 กว่า 6.428 ล้านบาร์เรล ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลงเพียง 2.517 ล้านบาร์เรล
  ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบโลกอยู่ คือ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC ใน เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2560 โดยเพิ่มขึ้นอีกว่า 250,000 บาร์เรลต่อวัน ขึ้นไปแตะระดับ 32.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นผลมาจากสมาชิกที่ได้รับยกเว้นการควบคุมระดับการผลิตน้ำมันดิบ อย่างลิเบียและไนจีเรีย ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยในเดือน พ.ค. 60 ลิเบียได้มีการผลิตเพิ่มขึ้น 180,000 บาร์เรลต่อวันขึ้นไปแตะระดับ 730,000 บาร์เรลต่อวัน และไนจีเรียได้มีการผลิตเพิ่มขึ้น 130,000 บาร์เรลต่อวันขึ้น ไปแตะระดับ 1.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ลิเบียยังคงเดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นไปสู่ระดับ 827,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี หลังจากจากการกลับมาดำเนินการผลิตของแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara
  อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยฯเชื่อว่า ภาพรวมทิศทางน้ำมันในระยะยาวยังอยู่ในช่วงขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นกลยุทธ์ยังคงแนะนำให้ทยอยซื้อสะสมหุ้นน้ำมันอย่าง PTTEP(FV@B116) และ PTT (FV@B460) ยามที่ราคาอ่อนตัวลงมา

 

ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยในตลาดหุ้นภูมิภาค
  วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 11 ล้านเหรียญ (หลังจากขายยสุทธิเพียงวันเดียว) แม้ตลาดหุ้นในประเทศอินโดนิเซียหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันสำคัญของชาติ (Pancasila Day) โดยยังซื้อสุทธิต่อเนื่องคือ ไต้หวันราว 58 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) และฟิลิปปินส์ราว 4 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ยกเว้นเกาหลีใต้ยังขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ ต่อเนื่องวันที่ 2 และตลาดหุ้นไทยขายสุทธิราว 44 ล้านเหรียญหรือประมาณ 1.5 พันล้านบาท ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 เช่นกัน ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิราว 3.2 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.9 หมื่นล้านบาท สวนต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.8 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!