- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 29 May 2017 17:10
- Hits: 808
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Today’s Report : PDG
Our Portfolio May 17 : CPF, GLOBAL, SYNEX, TACC, THANI
ทยอยซื้อในช่วงอ่อนตัว
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ปิดลบเล็กน้อยและกรอบการเคลื่อนไหวค่อนข้างแคบ โดยหุ้นกลุ่มพลังงานถูกกดดันหลังจากที่ทราบผลการประชุม OPEC และไม่ได้มีการปรับลดเพดานการผลิตเพิ่มเติม ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายในตลาดหุ้นราว 750 ลบ. แต่ยังซื้อในตลาดฟิวเจอร์สเกือบ 1 พันลบ.และซื้อพันธบัตรถึง 9.5 พันลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET index จะปรับตัวในกรอบแคบและเรามองว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงของการพักตัว โดยปัจจุบันยังไร้ปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน ขณะที่การประชุม G7 ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจบลงด้วยความเห็นที่แตกต่างกันและทำให้เกิดความไม่แน่นอนในสถานการณ์การเมืองโลก ขณะที่อีกแรงกดดันมาจากการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือที่ตกลงในเขตเศรษฐกิจพิเศษของญี่ปุ่น ส่วนในด้านเทคนิคดัชนียังคงไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านบริเวณ 1570-1573 จุดได้และรูปแบบของแท่งเทียนเริ่มส่งสัญญาณเป็นลบมากขึ้น คาดว่าระยะสั้นมีโอกาสที่จะพักตัวลงไปทดสอบแนวรับต่างๆก่อนเช่นกัน
กลยุทธ์ : ระยะสั้น ซื้อเก็งกำไรในช่วงอ่อนตัว ระยะกลาง-ยาว ทยอยซื้อหุ้นพื้นฐานดีตามแนวรับ
แนวรับ 1566-1563 , 1560 จุด
แนวต้าน 1573-1575 , 1580 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : IVL, BCH, WHA (short)
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$227ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$141ล้าน และไต้หวัน US$105ล้าน ขณะที่ไหลออกไทย US$22ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคแต่อาจเบาบางลงหลังมีข่าวการยิงขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือ และมีหลายตลาดหลักทรัพย์สำคัญปิดทำการทั้งสหรัฐ อังกฤษและจีน
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) GDP สหรัฐงวด 1Q17 +1.2% ดีขึ้นจาก +0.7% ที่คาดการณ์ครั้งแรกและสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ +0.9% ประเด็นสำคัญจากฝั่งสหรัฐที่ต้องติดตามในการประชุม FOMC 14-15 มิ.ย. ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพราะตลาด priced in เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย.แล้ว แต่ต้องติดตามสัญญาณการลดขนาดงบดุลของเฟดซึ่งเราเชื่อว่าเฟดจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้กระทบตลาดและเศรษฐกิจสหรัฐ เรายังชอบสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย
(+) หนี้ครัวเรือนลดต่อเนื่อง สศช.เผย 1Q17 หนี้สินครัวเรือนชะลอลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารที่ขยายตัวชะลอจาก 4.9% ใน 4Q16 เป็น 4.6% ขณะที่การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปไม่น่าเป็นห่วง เป็นบวกต่อค้าปลีกในต่างจังหวัด เช่น GLOBAL, ROBINS เป็นต้น
(+) PDG ราคา PET ปรับลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ราว 7% จากจุดสูงสุดของปีที่ 42 บาท/กก.ในเดือน ก.พ. ปัจจุบันเหลือ 39 บาท/กก. ขณะที่กำลังการผลิตของ PDG จะเพิ่มขึ้นจากการกลับมาสั่งผลิตขวดน้ำผลไม้ของลูกค้ารายเดิมที่ชะลอไปใน 1Q17 แนวโน้มกำไร 2Q17 น่าจะขยายตัวได้ทั้ง Q-Q, Y-Y ส่วนความคืบหน้าผลิตหลอดพรีฟอร์มยังเป็นไปตามแผน คาดแล้วเสร็จใน 4Q17 และรับรู้รายได้ 1Q18 เรายังคงคาดกำไรปีนี้ +5% Y-Y แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 5.50 บาท
(0) EPG กำไร 4Q17 (ม.ค.-มี.ค. 2017) มีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดเดิม เพราะบรรยากาศการจับจ่ายในประเทศที่ยังฟื้นไม่เต็มที่กระทบยอดขายบรรจุภัณฑ์พลาดสติกซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 30% ของรายได้รวม บวกกับเงินบาทแข็งค่ามากกระทบรายได้ในต่างประเทศ เราคาดกำไรฟื้นเพียง 5% Q-Q แต่ -8% Y-Y ทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 2017 (สิ้นสุด มี.ค. 2017) เพิ่มเพียง 3.2% Y-Y เป็น 1.46 พันล้านบาท ต่ำกว่าเดิมที่คาด +8% Y-Y อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังแข็งแกร่งและมีศักยภาพเติบโตดี กระแสเงินสดมั่นคง ยังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 16 บาท
(-) SINGER ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมาไม่สอดคล้องกับคุณภาพหนี้ที่ยังไม่นิ่ง NPL ที่เกิดขึ้นจากอดีตมีมูลค่าราว 400 ล้านบาท แต่ตั้งสำรองฯเพียง 30% ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นใน 1Q17 ส่วนใหญ่มาจากการตั้งสำรองฯ และยังมีความเสี่ยงในการตั้งเพิ่ม แนะนำหลีกเลี่ยง
(-) STPI ศาลฎีกาสั่งให้จ่ายเงินค่าเสียหายคดียกเลิกสัญญากับคู่สัญญา US$8.4 ล้าน หรือ 292 ล้านบาท บริษัทตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สินแล้ว 180 ล้านบาทใน 4Q08 อีก 113 ล้านบาทจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายใน 2Q17 คดีนี้เป็นคดีตั้งแต่ปี 2005 แม้วันนี้จะมีความชัดเจนแล้วและกระทบกำไรเพียง 0.07 บาท/หุ้น แต่ปัญหาคือ STPI เหลืองานในมือน้อย ผลประกอบการ 1Q17 ขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 แนวโน้มกำไรปีนี้น่าจะลดลงอย่างมากจากปีก่อนที่กำไร 1.36 พันล้านบาท จุดแข็งมีเพียงฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ไม่มีหนี้เงินกู้ ปันผลสูง แต่เรายังไม่เห็นความน่าสนใจในการลงทุนใน STPI
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
31 พ.ค. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.
- จีน:Manufacturing PMI (เม.ย.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงาน (เม.ย.)
- สหรัฐ: Fed Beige Book
1 มิ.ย. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ค.),อัตราเงินเฟ้อ (พ.ค.)
-จีน: Caixin China PMI Manufacturing (พ.ค.)
- สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (พ.ค.)
2 มิ.ย. - เกาหลีใต้: 1Q17 GDP
- สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (พ.ค.)
5 มิ.ย. - จีน:Caixin China PMI Composite (พ.ค.)
6 มิ.ย. - ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (พ.ค.)
7 มิ.ย. - ยูโรโซน: 1Q17 GDP
8 มิ.ย. - ญี่ปุ่น: 1Q17 GDP
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดทรงตัวจากบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนข้างเงียบเหงาเนื่องจากใกล้วันหยุดยาวเนื่องในวัน Memorial Day
(-) ด้านตลาดหุ้นยุโรปยังปิดในแดนลบเป็นส่วนใหญ่โดยหุ้นในกลุ่มพลังงานยังคงถูกกดดันหลังผิดหวังผลการประชุม OPEC ที่ไม่ได้ลดเพดานการผลิตเพิ่มเติม
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ปรับตัวในกรอบแคบโดยได้รับแรงกดดันจากการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือซึ่งตกลงในเขตเศรษฐกิจพิเศษของญี่ปุ่น
(0) ค่าเงินบาทแกว่งทรวตัวหลังจากแข็งค่าค่อนข้างเร็วในช่วงก่อนหน้า ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 34-34.18 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ค. ฟื้นตัว 0.90 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 49.80 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาหลังจากที่ร่วงแรงในวันก่อนหน้าจากความผิดหวังที่การประชุม OPEC ไม่ได้มีการลดเพดานเพิ่มเติม
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 11.70 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,268.10 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเมืองในภูมิภาคต่างๆ ทำให้นักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
Contact person : Jitra Amorntham
Register : 014530 Tel: 02-646-9966
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: fss_research