- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 15 August 2014 18:00
- Hits: 2078
บล.เคที ซีมิโก้ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ทดสอบแนวรับ รอลุ้นจีดีพีไทยสัปดาห์หน้า
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ จับตาตัวเลขจีดีพีไตรมาสสอง ประเทศในเอเชียที่เริ่มทยอยประกาศในวันนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA Industtrial Production ก.ค. คาด +6.5%m-m (Vs 7.2%) Empire State Survey ส.ค. คาด 20 (Vs 25.6) รายงาน 2Q57F GDP ของ มาเลเซีย ฮ่องกง คาด 5.5% 2.3%y-y (Vs 6.2% 2.5%y-y) UK:2Q57F GDP ครั้งที่ 2 คาดเท่าเดิม 0.8%q-q sa
- วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติ กลับมาขาย -575 ลบ. (จากซื้อ +3.68 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาขาย -1.98 พันลบ. (จากซื้อสะสม 2 วันรวม +3.07 ลบ.)
+ การเมือง คาดประชุมสนช.สัปดาห์นี้ พิจารณางบประมาณปี 58 /ลุ้นรายชื่อครม./กพช.ประชุมศุกร์นี้ จับตา แผนโซล่าร์ชุมชุน
คาดดัชนีฯ วันนี้ แกว่งตัวทดสอบแนวรับ 1535/1525 จุด โดยมีแนวต้าน 1545/1560จุด ปัจจัยภายนอกเรื่อง Geopolitical risk ผ่อนคลายลง และนักลงทุนคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากอีซีบี หลังเศรษฐกิจยุโรปไตรมาสสองไม่เติบโต ด้านปัจจัยในประเทศยังคงเป็นบวก ลุ้นนายกฯและครม.ใหม่ การผ่านพ.ร.บ.งบปี58 การประกาศจ่ายปันผลของบจ.
กลยุทธ์วันนี้ แนะนำ เก็งกำไรรายตัว และทยอยขายที่แนวต้าน 1560 จุด +/-10 จุด หลังจากรับข่าวดีไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่อาจวิตกต่อแรงขายของบางกองทริกเกอร์ฟันด์ ซึ่งอาจถึงเป้าหมายบริเวณดังกล่าว แนะนำ Trading Buy รายตัว (Earnings Play& Dividend Play) กลุ่มขนส่งทางเรือ กลุ่มรับเหมาฯ กลุ่มโซล่าร์ กลุ่มธนาคาร
หุ้นเด่นสัปดาห์นี้ KBANK SCB TMB GUNKUL DEMCO PSL TTA IVL SYNTEC CK PS LHBANK THCOM QH CPF เพิ่ม LH SIRI จากกำไรดีกว่าคาด
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ RCL NMG AKR SUTHA JUTHA AJP SOLAR IFEC SCP หุ้นที่ลงกว่า 5.0% ได้แก่ SLC ADAM BWG TH PACE AIE RASA SSI TTCL FOCUS
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ADVANC+225 BBL+224 BANPU+194 JAS +125 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ CPF-307 KTB-208 AOT-139
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 107 PTT 56
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ แกว่งตัวทดสอบแนวรับ 1535/1525 จุด นักลงทุนคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังยุโรปไตรมาสสองไม่เติบโต ส่วนปัจจัยในประเทศ รอลุ้นรายชื่อครม.และการผ่านร่างพ.ร.บ. งบฯ ปี58 การประกาศจ่ายปันผลของบจ. แนะนำ เก็งกำไรรายตัว และทยอยขายที่แนวต้าน
คาดดัชนีฯ วันนี้ ทดสอบแนวรับ 1535/1525 จุด หลังจากวานนี้ไม่ผ่านแนวต้าน 1560 จุด และอ่อนตัวลงมา โดยปัจจัยยังมีแรงหนุนจากภายนอกประเทศ ที่ความตึงเครียดจาก Geopolitical risk ผ่อนคลายลง และนักลงทุนคาดหวังมากขึ้นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากอีซีบี หลังเศรษฐกิจยุโรปไตรมาสสองอ่อนแอกว่าคาดส่วนจีดีพีไทยจะประกาศสัปดาห์หน้า คาดเติบโตเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก ขณะที่ค่าเงินบาทช่วงนี้กลับมาแข็งค่า แต่แรงซื้อต่างชาติไม่ต่อเนื่อง ด้าน รายงานผลกำไรบจ. เป็นประเด็นหนุนให้หุ้นรายตัวการเมืองลุ้นรายชื่อนายกฯ และคณะรัฐบาล รวมถึงการผ่านร่างงบประมาณฯ ปี 58 (คาดเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ 1 ต.ค. 57) แนะนำ Trading Buy กลุ่มธนาคาร กลุ่มธุรกิจโซล่าร์ กลุ่มขนส่งทางเรือ กลุ่มรับเหมาฯ
ปัจจัยต่างประเทศ ตัวเลขเศรษฐกิจวานนี้ ออกมาอ่อนแอกว่าคาด แต่ส่งผลดีความคาดหวังต่อมาตรการจากธนาคารกลาง โดยยุโรปประกาศจีดีพีไตรมาส 2/57 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเติบโต 0.1% ขณะที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างเยอรมนีหดตัว 0.2% ด้านความกังวล geopolitical risks ผ่อนคลายลง หลังรัสเซียมีท่าทีประนีประนอมมากขึ้นตามคำกล่าวของประธานาธิบดี ปูตินที่กล่าวว่าจะยุติความขัดแย้งในยูเครนโดยเร็ว
ปัจจัยในประเทศ คาดทิศทางค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่า ส่งผลบวกต่อกระแสเงินทุนต่างชาติในระยะต่อไปแม้ช่วงนี้จะยังไม่ต่อเนื่อง วันนี้รอฟังนโยบายด้านพลังงานทางเลือก เรื่องโซลาร์ชุมชน (แนะนำ GUNKUL DEMCO) ขณะที่ ลุ้นตัวเลขจีดีพีไตรมาสสองที่จะประกาศวันจันทร์ โดยคาดเติบโตเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เนื่องจากยังได้รับผลกระทบทางการเมือง
1. + กลุ่ม Cyclical Play อิงเศรษฐกิจโลก แนะนำ กลุ่มเรือเทกอง PSL และกลุ่มปิโตรเคมี เลือก IVL จากรายงานเศรษฐกิจจีน ที่แข็งแกร่ง (คาด 2H57F GDP เติบโตสูงกว่า 7.4%y-y)
2. + กลุ่ม Domestic Play แนะนำ สะสมเมื่ออ่อนตัว กลุ่มแบงก์ KBANK SCB TMB กลุ่มอสังหาฯ AP QH กลุ่มค้าปลีก CPALL ส่วนข่าวลบคือ 2Q57F GDP ไทย อาจไม่ดีมาก +0.6%y-y (ดีขึ้นจาก -0.1%y-y ใน 1Q57) ส่วนข่าวดี คือ การเตรียมผ่านร่างพ.ร.บ. งบปี 58 (สภาฯเริ่มพิจารณาสัปดาห์นี้) และรายชื่อคณะรัฐบาลใหม่ อาจส่งผลต่อการเก็งกำไร การยกเลิกกฎอัยการศึก ในอนาคต
3. +Dividend Play : คาดให้ยิลด์ปีนี้ สูงกว่า 5% แนะนำ SAMTEL MODERN TISCO BCP และสะสมเมื่ออ่อนตัว ADVANC DTAC BTS TTW LPN SPALI (ความเสี่ยงขาลงมีจำกัด)
4. + Earnings Play : เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่ากำไร 2Q57F เติบโตสูง/ดีกว่าคาด อาทิ TUF CSS ANAN JUBILE MINT THCOM AP QH LH SIRI หรือหลักทรัพย์ที่มี %Upward Revision สูงได้แก่ MJD CCET SYNTEC HANA AEONTS CK SEAFCO ในทางตรงกันข้าม ขายหลักทรัพย์ ที่มีการปรับลดประมาณการกำไรสูง ได้แก่ SITHAI ERW PFพอร์ตลงทุนหุ้นระยะยาว : เน้นลงทุนกลุ่ม Domestic Play หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB ADVANC SIRI PS CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL
ปัจจัยเทคนิค: ระยะสั้น ดัชนีฯยังคงแกว่งตัวในกรอบขาขึ้น 1475-1568 จุด โดยวานนี้ ยังไม่สามารถขึ้นไปทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 1560 จุด และอ่อนตัวลงมา คาดวันนี้จะเป็นการทดสอบแนวรับบริเวณ 1535/1525 จุด หากยืนได้จะวกกลับขึ้นมาที่แนวต้าน 1545/1560 อีกรอบ อย่างไรก็ดี หากไม่ผ่าน ยังมีโอกาสดัชนีอาจลงมาทดสอบแนวรับ 1500 จุดได้อีก
ประเด็นจับตา
1. +ประเด็นการเมือง: เข้าสู่โรดแมพระยะที่ 2 ประชุมสภาฯนัดแรก พิจารณาร่างงบประมาณปี 58
ประเด็นการเมือง (Update):
วันแรกแห่ชิงสปช. 72 คน ‘ปรีดา-ประมวล-เก่งกาจ-ผู้บริหารเดลินิวส์’ร่วมลุ้น มติ ป.ป.ช. ให้สนช. แจงทรัพย์สินภายใน 7 ก.ย. วันแรกแห่สมัครชิงเก้าอี้สปช.ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค 72 คน ครบทั้ง 11 ด้าน “ปรีดา เตียสุวรรณ์-ประมวล รุจนเสรี-เก่งกาจ จงใจพระ-ผู้บริหารเดลินิวส์” พร้อมตัวแทน 5 พรรคการเมืองร่วมลุ้น กกต.พอใจ คาด 5 วันสุดท้ายพรึ่บ “รสนา” เล็งสมัครสปช.ด้านพลังงาน มติ ป.ป.ช. ให้สนช. ยื่น บัญชีทรัพย์สินภายใน 30 วัน ก่อนเปิดเผยต่อสาธารณะไฟเขียวโครงสร้างพื้นฐานแสนล้าน “ประจิน” เคาะงบโครงสร้างพื้นฐานแสนล้าน ระยะเร่งด่วนเดินหน้าก่อสร้างรถไฟรางคู่ 2 เส้นทาง “จิระ-ขอนแก่น” และ “ประจวบฯ-ชุมพร” ขณะสศช.หวังเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้นจากการลงทุนภาครัฐ เตรียมนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวต่อคสช. เชื่อมโยงแผนพัฒนาฯ ฉบับ 12-13
'สุรชัย' คาดถกร่าง พ.ร.บ. งบปี 58 ศุกร์นี้ เบื้องต้นหากมีการโปรดเกล้าตำแหน่งประธานและ รองประธาน สนช. ลงมาภายในวันที่ 14 ส.ค. ก็จะนัดประชุมได้ในวันที่ 15 ส.ค. โดยมีเรื่องเร่งด่วนคือการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ซึ่งจะรับหลักการวาระแรกภายในวันเดียว พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา และเปิดให้ยื่นแปรญัตติภายใน 7 วัน
2. + กบข.-สถาบันแห่ลงทุนหุ้นไทย
นายแมน ชุติชูเดช ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนปี 2557 น่าจะสูงกว่าผลตอบแทนปีที่แล้วที่อยู่ที่ 4.4-4.5% และจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนระยะยาว 17 ปี ที่อยู่ที่ 6.9% เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีหุ้นไทยที่เริ่มปรับฐานขึ้นภายหลังสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศคลี่คลายสู่ทิศทางที่ดีขึ้นขณะเดียวกัน กบข.ได้ปรับน้ำหนักการลงทุนของตลาดหุ้นไทยจากเดิมที่ให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด (Underweight) เป็นเท่ากับตลาด (Neutral) เมื่อต้นไตรมาส 2/2557 ที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลาย ส่งผลให้สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยของกบข. อยู่ที่ 8-9% ส่วนตลาดหุ้นต่างประเทศอยู่ที่ 12-13%ในส่วนของการลงทุนไทยที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น กบข.ได้มุ่งเน้นไปในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจภายในประเทศ และกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังคงให้น้ำหนักเท่าเดิม และกลุ่มพลังงานที่จะไม่เพิ่มน้ำหนักการลงทุน
3. จับตาประธานเฟดแถลงในงานสัมนาวิชาการ Jackson Hole
ตลาดจับตาคำกล่าวเปิดงานของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ต่อสัญญานการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการดำเนินนโยบายเข้มงวดทางการเงิน (exit strategy) ทั้งนี้ จากผลสำรวจล่าสุดของรอยเตอร์ ที่ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ 74 รายในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจคาดว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นจนกว่าจะถึงไตรมาส 2/2015 และเฟดมีแนวโน้มสูงสุดที่จะปรับขึ้น ในเดือน มิ.ย.2015 ผลสำรวจนี้สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ในเดือน ก.ค. แต่แตกต่างเล็กน้อยจากผลสำรวจความเห็นบริษัทดีลเลอร์พันธบัตรชั้นนำ ในย่านวอลล์สตรีทในช่วงต้นเดือนนี้ โดยบริษัทดีลเลอร์ชั้นนำที่ติดต่อทำธุรกิจโดยตรงกับเฟดคาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วง ครึ่งหลังของปี 2015
4. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก MACY(13/8) Nordstrom Wal-mart(14/8) Estee(15/8)
5) +/-รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : ไฮไลท์อยู่ที่ รายงาน 2Q57F GDP ของ Japan, EUR
วันศุกร์ที่ 15 ส.ค.: USA Industtrial Production ก.ค. คาด +6.5%m-m (Vs 7.2%) Empire State Survey ส.ค. คาด 20 (Vs 25.6) รายงาน 2Q57F GDP ของ มาเลเซีย ฮ่องกง คาด 5.5% 2.3%y-y (Vs 6.2% 2.5% y-y) UK:2Q57F GDP ครั้งที่ 2 คาดเท่าเดิม 0.8%q-q sa
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ญี่ปุ่น เผยยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 3 เดือน ใน มิ.ย. สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลในวันนี้ว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 8.8% ในเดือน มิ.ย. โดยปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังร่วงลงหนักสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน พ.ค. อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเมื่อเทียบเป็นรายเดือนดังกล่าว ยังคงต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยของนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการ สำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 15.3% หลังจากดิ่งลง 19.5% ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2005
อินโดฯ เผยยอดขายรถยนต์ทรุดเกือบ 20% ในเดือน ก.ค. สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย (Gaikindo) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของอินโดนีเซียดิ่งลงอย่างหนักในเดือน ก.ค. ทั้งนี้ Gaikindo ระบุว่า ยอดขายร่วงลง 18.5% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบรายปี จากที่เพิ่มขึ้น 6.0% ในเดือน มิ.ย. แต่ทางสมาคมไม่ได้ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ยอดขายทรุดตัวลง เมื่อเทียบรายเดือน ยอดขายร่วงลง 17.3% ในเดือน ก.ค. เทียบกับที่พุ่งขึ้น 13.8% ในเดือน มิ.ย.
เยอรมนี เผยเศรษฐกิจหดตัวเกินคาดใน Q2 สำนักงานสถิติของรัฐบาลเยอรมนีระบุว่า เศรษฐกิจหดตัวลง 0.2% ระหว่างเดือน เม.ย. - มิ.ย. ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าจะชะงักงัน เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสเดือน ม.ค. - มี.ค. ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น สำนักงานสถิติได้ปรับลดตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกลงสู่ 0.7% จากการขยายตัวที่รายงานก่อนหน้านี้ที่ 0.8% ข้อมูลที่ยังไม่มีการปรับแก้ไขบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจขยายตัว 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาส 2 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในผลสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัว 1.5%
สหรัฐ เผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นเกินคาดสัปดาห์ก่อน กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ส.ค. เพิ่มขึ้น 21,000 ราย สู่ 311,000 ราย นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 295,000 ราย
ข้อมูลศก. ยุโรปอ่อนแอ สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสสองของปีนี้ ขยายตัวที่ 0% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 0.2% โดยสาเหตุหลักมาจากการที่เศรษฐกิจเยอรมนีหดตัว 0.2% เศรษฐกิจฝรั่งเศสไม่โตขึ้น และเศรษฐกิจอิตาลีหดตัว 0.2%
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี DJIA ปิดบวก 61.78 จุด หรือ 0.37% สู่ระดับ 16,713.58 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่ม 8.46 จุด หรือ 0.43% สู่ระดับ 1,955.18 จุด และ Nasdaq ปิดเพิ่ม 18.88 จุด หรือ 0.43% สู่ระดับ 4,453.00 จุด ด้วยแรงหนุนจากความเห็นในเชิงประนีประนอมของรัสเซียได้ช่วยคลายวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน และบดบังการเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง
+ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้น FTSE ปิดบวกขึ้น 28.58 จุด หรือ 0.43% สู่ 6,685.26 จุด ดัชนี CAC40 ปิดปรับขึ้น 10.64 จุด หรือ 0.25% สู่ 4,205.43 จุด และ DAX ปิดขยับขึ้น 26.22 จุด หรือ 0.29% สู่ 9,225.10 จุด โดยได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงในเชิงประนีประนอมของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย ขณะที่เดินทางเยือนไครเมีย และยังได้แรงหนุนจากคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษต่อไป แต่ตลาดหุ้นยุโรปปรับขึ้นได้ไม่มากนัก เพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของเยอรมนีและฝรั่งเศส
-ราคาน้ำมันดิบร่วงลงเล็กน้อย จากตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอ
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบเดือน ก.ย. ปิดร่วงลง 2.27 ดอลลาร์ สู่ 102.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ย. ปรับลดลง 2.01 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับ 95.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยุโรป บ่งชี้ถึงแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันอ่อนแอขณะที่มีผลผลิตน้ำมันปริมาณมากในตลาดโลก แม้มีความขัดแย้งในอิรักและลิเบียก็ตาม
+ราคาทองคำปรับเพิ่มเล็กน้อย
วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน ธ.ค. ปิดตลาดปรับขึ้น 0.1% สู่ 1,315.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นระดับทรงตัว ซึ่งได้แรงกดดันจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงาฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
+ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดบวก 71 จุด หรือ 8.15% มาที่ระดับ 942 จุด