- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 25 May 2017 18:11
- Hits: 1320
บล.ยูโอบีเคย์เฮียน : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ผันผวนในกรอบ 1560-1570 เฟสส่งสัญญาณลดการผ่อนคลาย เน้นเลือกลงทุนเป็นรายตัว
รายงานการประชุมเฟดเผยถึงแนวทางในการปรับลดขนาดของงบดุล โดยเฟดจะทยอยลดขนาดของงบดุลลงโดยการไม่นำเงินจากพันธบัตรที่ถึงกำหนดชำระไปลงทุนต่อ ในวงเงินหนึ่ง แต่หากมีส่วนที่เกินวงเงินดังกล่าวจะนำไปลงทุนต่อ ซึ่งการลดขนาดของงบดุลเฟด “เป็นลบ” กับหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นต่างประเทศตอบรับเป็นบวกระยะสั้นจาก 1) มองการดำเนินการดังกล่าวเป็นการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป 2) นักลงทุนบางส่วนมองว่าจะทำให้เฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 14 มิ.ย. และ 3) ตลาดยังคงคาดหวังเชิงบวกต่อการประชุมโอเปคคืนนี้
การคงดอกเบี้ยกนง.ยังเป็นปัจัจยบวกให้กับกลุ่มเช่าซื้อ (GCAP*, AMANAH*) ขณะที่การเร่งผลักดันเขตเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) ส่งผลบวกต่อการเก็งกำไร AMATA, WHA*, ROJNA*, EASTW* จิตวิทยาตลาดต่างประเทศอาจบวกต่อเนื่องก่อนประชุมเฟด โดยเฉพาะหากไม่มีเซอร์ไพรซ์จากโอเปค ทำให้ทางเทคนิค ตลาดมีโอกาสขึ้นทดสอบ 1580-1600 แต่จะผันผวนมากขึ้น การเก็งกำไรควรเลือกหุ้นที่ยัง Laggard และตั้งจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง // หุ้นแนะนำ AMATA, EASTW*, IRPC, SCB /เก็งกำไร TTA, VNG*, GCAP*, AMANAH*
ประเด็นสำคัญ
งบดุลของเฟดกับหุ้นโลก – งบดุลของเฟดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ เป็นต้นมา การใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินโดยการซื้อสินทรัพย์เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องสู่ตลาดด้วยการทำ QE ทำให้งบดุลเฟดเพิ่ม และเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสภาพคล่องให้กับสินทรัพย์เสี่ยงและหุ้นโลก ดังนั้นการลดขนาดงบดุลของเฟด “จึงเป็นลบ” กับหุ้นโลก แม้ในระยะสั้นตลาดอาจตอบรับเชิงบวกโดยมองว่าการส่งสัญญาณลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินดังกล่าว จะทำให้ความน่าจะเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยของการประชุม FOMC ในวันที่ 14 มิ.ย.60 ลดต่ำลงก็ตาม (ความน่าจะเป็นล่าสุดยังอยู่ที่ 100% - หรือ ตลาดมองขึ้นดอกเบี้ย)
โภคภัณฑ์ – ราคาน้ำมันปรับลดลงเล็กน้อยก่อนการประชุมโอเปค 25 พ.ค. ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯอ่อนลง อย่างไรก็ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ชะลอตัวรอดูการประชุมโอเปค และทิศทางการดำเนินงานของเฟดในการลดขนาดงบดุล ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอลง เป็นลบต่อโภคภัณฑ์กลุ่มโลหะ
หุ้น Laggard ใน SET100 - ที่เราคิดว่าน่าสนใจในการเก็งกำไรระยะสั้น ได้แก่ – SCN, TKN, PTG, GLOBAL, BANPU, TASCO, STPI, ICHI, LPN, BLA, BDMS, AMATA, TTA, TPIPL, CPF, BCH, SAMART, VNG, CHG, TMB
สำหรับปัจจัยติดตามที่สำคัญ: 25 พ.ค. – โอเปคประชุมเรื่องปรับลดกำลังการผลิต / 14 มิ.ย. – ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC meeting) / 22-23 มิ.ย. – ตลท.จัดงาน Thailand Big Strategic Move / ก.ค. – อนุมัติเงินกู้งวดใหม่ให้กรีซ
คำแนะนำทางกลยุทธ์: การกลับมายืนเหนือ 1560 จุด ทำให้ตลาดมีโอกาสทดสอบ 1580-1600 แต่ควรบริหารความเสี่ยงด้วยการเลือกหุ้นที่ยัง Laggard // ภาพระยะกลาง ยังมีความเสี่ยงในการลงทดสอบ 1460 จุด
แนวรับ 1560/แนวต้าน : 1570-1575 จุด สัดส่วนการลงทุน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH)