- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 24 May 2017 18:09
- Hits: 1471
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ผันผวน? คาดภาพรวมตลาดฯ กลับมีความผันผวน ตามตลาดภูมิภาค
เช้านี้ที่เคลื่อนไหวไร้ทิศทาง (+/-) แม้ได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯ ที่ล่าสุดมีความแข็งแกร่ง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ตามคาดการณ์ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะพิจารณาขยายระยะเวลาปรับลดปริมาณการผลิตออกไปอีก 6 –9 เดือน จากเดิมครบกำหนดในเดือนหน้า คาดอาจมีแรงขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มพลังงาน (sell on fact) หลังการประชุมของกลุ่ม Opec ในวันพรุ่งนี้ (25/5/60)
ขณะที่ในวันนี้เฟดจะมีการเปิดเผยรายงานการประชุม (เมื่อ 2 –3/5/60) คาดอาจมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในรอบการประชุม-มิ.ย. (13 –14/6/60) คาดเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับภาพรวมตลาดจนถึงวันประชุม
นอกจากนี้อาจได้รับปัจจัยกดดันบ้างจากประเด็นความไม่สงบในประเทศฟิลิปปินส์ และมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกบนเกาะมินดาเนา ระยะเวลา 60 วัน หลังมีความพยายามเข้ายึดเมืองมาราวีทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์
ส่วนประเด็นในประเทศ คาดได้รับปัจจัยหนุนจาก Fund Flow จากแรงซื้อสุทธิของต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา แม้มูลค่าอาจไม่มากนัก ขณะที่มีการประชุม กนง. บ่ายวันนี้ (24/5/60) คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปัจจุบัน 1.50%
นอกจากนี้ยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน หรือประมาณต้น 3Q/60 โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง ครม. เห็นชอบประเด็นการปรับร่างทีโออาร์ใหม่สำหรับรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และแนะให้จัดทำร่าง TOR ใหม่ เสร็จภายใน 3 เดือน คาดมีความเป็นไป ได้ที่จะเปิดประมูลในช่วง 2H/60
SET SET50 SET100
1,564.69 +6.96 990.69 +3.31 2,234.98 +9.28
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +43.08, NASDAQ +5.09, S&P +4.40, FTSE -11.05, CAC +25.28 และ DAX +39.69 ภายใต้ปัจจัยหนุน หลังรัฐบาลของ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ยื่นเสนองบประมาณประจำปี’61 (มีผลบังคับใช้ 1/10/60) วงเงิน 4.1 ล้านล้าน USD ต่อสภาคองเกรส เมื่อวานนี้ คาดงบประมาณดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัว 3%ต่อปี จากการใช้จ่ายของรัฐบาล และการปรับลดภาษี ขณะที่ปรับลดงบฯ ประมาณ 3.6 ล้านล้านUSDออกจากโครงการสวัสดิการต่างๆ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หรือประมาณ 8% รวมถึงการยกเลิก และทดแทนกฎหมายประกันสุขภาพโอบามาแคร์การยกเลิกการชดเชยเงินกู้เพื่อการศึกษา การตัดงบสำหรับแสตมป์อาหาร และสวัสดิการบำนาญสำหรับข้าราชการ เป็นต้น
ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (+) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นรวมภาคการผลิตและบริการ –
พ.ค. อยู่ที่ 53.9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน (-) ยอดขายบ้านใหม่ - เม.ย. ลดลง 11.4% MoM อยู่ที่ 569,000 ยูนิต มากกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 610,000 ยูนิต และ ดัชนีภาวะธุรกิจภาคบริการในภูมิภาคมิดแอตแลนติก – พ.ค. อยู่ที่ 25.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่พ.ย.’59
โดยการซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวังการซื้อขาย ก่อนที่เฟดจะเปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนพ.ค. ในวันนี้ (24/5/60) ซึ่งคาดว่าเฟดอาจจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน (13 –14/6/60)
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยบวกเพิ่มจาก (1) ดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น - พ.ค. ของฝรั่งเศส อยู่ที่ 58.0 ดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 56.8 และ (2) ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น - พ.ค. ของเยอรมนี อยู่ที่ 59.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 48 เดือน และดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 58.0
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
16.25 1.88 3.13
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 41,869.49
สถาบัน 1,445.02
บัญชีหลักทรัพย์ -1,463.94
ต่างประเทศ 1,718.05
ในประเทศ -1,699.13
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. +US$0.34 อยู่ที่US$51.47 ต่อบาร์เรล ยังได้รับปัจจัยบวก จากประเด็นที่โอเปกอาจพิจารณาขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีก 6 - 9 เดือน เมื่อข้อตกลงเดิมสิ้นสุดในเดือนมิ.ย.นี้ โดยโอเปกจะจัดการประชุมในวันที่ 25/5/60
อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นเป็นไปอย่างจำกัด หลังได้รับปัจจัยลบจากร่างแผนงบประมาณประจำปี’61 ของสหรัฐฯ ซึ่ง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอให้รัฐบาลสหรัฐฯ ทำการขายน้ำมัน SPR ออกครึ่งหนึ่งในช่วงปี’61 - 70 เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ 1.65 หมื่นล้านUSD ตั้งแต่ต.ค.’61 และยังได้เสนอให้มีการขุดเจาะ และผลิตน้ำมันมากขึ้นในอลาสกา
โดย SPR มีปริมาณน้ำมันอยู่ราว 688 ล้านบาร์เรล ซึ่งเพียงพอสำหรับความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกเป็นเวลา 1 สัปดาห์
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$5.9 อยู่ที่ US$ 1,255.5 ต่อออนซ์ หลังเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร และตัวเลขการผลิตของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ข้างต้น ส่งผลให้ นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +1,718 ล้านบาท สะสม YTD +8,754 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาทและ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 24 - 26 พ.ค. 2560
24/5/60 ไทย – ประชุม กนง. (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ล่าสุด 1.50%)
สหรัฐฯ เปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย.สต็อกน้ำมัน
25/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
26/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนเม.ย.
ประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP –1Q/60
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงท้ายเดือนพ.ค.และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCBเป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชน ที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
(6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ IRPC, TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น
(7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(8) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q/60 เช่น AOT
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.03 อยู่ที่ 2.29%(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.21 อยู่ที่ 10.72
หุ้นแนะนำ : UNIQ
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788