- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 19 May 2017 16:38
- Hits: 1242
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนียังคงพักฐานในช่วงที่เหลือของ พ.ค.แต่มี downside จำกัด หลังสะท้อนผลประกอบการงวด 1Q60 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และการลดดอกเบี้ยของธนาคารฯ กลยุทธ์ให้เน้นหุ้นที่คาดว่าจะฟื้นตัวในเดือน มิ.ย. ได้แก่หุ้น ธ.พ. ลิสซิ่ง และยานยนต์ หรือหุ้นที่มีผลกำไรที่ดีขึ้นในช่วงที่เหลือ หุ้น PER ต่ำ เงินปันผลสูง และยังชื่นชอบ AIT(FV@B 31.50) วันนี้เลือก MCS(FV@B19) เป็น Top pick ประเด็นที่จะซื้อหุ้นคืน และผลกำไรจะฟื้นตัวนับจาก 2Q60
การปรับฐาน SET ยังมีอยู่ในช่วงครึ่งหลังของ พ.ค. แต่มีจำกัด
ดังที่นำเสนอไปใน Market Talk วันก่อนหน้านี้ถึงแนวโน้มตลาดหุ้นในเดือน พ.ค. ยังอยู่ในภาวะปรับฐาน จาก 3 ปัจจัยกดดัน คือ
การรับรู้การรายงานบบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q60 ซึ่งมีทั้งดีกว่าคาด เช่น กลุ่มพลังงาน, ปิโตรเคมี, ค้าปลีก, วัสดุก่อสร้าง และแย่กว่าคาด เช่น กลุ่มรับเหมาฯ, โรงพยาบาล, ICT เป็นต้น
การประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล หลังรายงานงบเสร็จสิ้น การขึ้นเครื่องหมาย XD ซึ่งจะตกในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. 2560 และ
ต่างชาติมักขายหุ้นมากกว่าซื้อ จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ต่างชาติขายสุทธิเฉลี่ยหุ้นไทยในเดือนนี้สูงถึง 9.55 พันล้านบาท และเป็นการขายสุทธิถึง 4 ใน 5 ปี
และ แนวโน้มตลาดในช่วงครึ่งหลังของเดือน พ.ค. น่าจะยังมีอิทธิพลจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว ซึ่งทำให้ยังอยู่ในลักษณะซึมต่อ แต่ก็ไม่มากนัก สอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี ที่ SET Index มักปรับลง 3 ใน 5 ปี เฉลี่ยราว 0.5% โดยกลุ่มที่underperform กว่าตลาดฯ ในช่วงครึ่งแรกของเดือน จะกลับมา outperform ได้ดีกว่าในช่วงครึ่งเดือนหลัง เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มยานยนต์ กลุ่มโรงพยาบาล เป็นต้น (รายละเอียดดังภาพด้านล่าง)
ผลตอบแทนเฉลี่ยของ SET Index และกลุ่มฯ ครึ่งหลังของเดือน พ.ค. ย้อนหลัง 5 ปี
และหากมองข้ามไปในเดือน มิ.ย. เชื่อว่า SET Index น่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังจากที่ปรับฐานมาระยะหนึ่ง เพราะหากพิจารณาพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยโดยอิง EPS ตลาดปี 2560 ที่หุ้นละ 101.36 บาท พบว่า Expected P/E 15.3 เท่า ซึ่งต่ำสุดในภูมิภาค ยกเว้นเพียงตลาดจีนเท่านั้น ที่มี P/E เพียง 14 เท่า และเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วที่มี Expected P/E ค่อนข้างสูงที่ระดับ 16 – 18 เท่า จึงเห็นว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ถูกกว่า จุดนี้จึงน่าสะสม
ทั้งนี้สอดคล้องกับ จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี SET มักปรับตัวขึ้น 4 จาก 5 ปี เฉลี่ยราว 0.5% โดยกลุ่มฯ ที่มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดฯ คือ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ แม้ระยะสั้นยังถูกแรงกดดันจากการลดดอกเบี้ย แต่คาดว่าจะกระทบต่อกำไรกลุ่มไม่เกิน 2.5-3% ของประมาณการในปี 2560 เลือก SCB เป็น Top pick ในหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ เพราะได้นำร่องลดดอกเบี้ยทุกประเภทไปก่อนหน้าธนาคารอื่น ๆ ที่ปรับลดเฉพาะ MRR ตามใบสั่งของรัฐ (ยกเว้น BBL ที่ลดทั้ง MRR และ MOR), ส่วนธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก การเติบโตตามสินเชื่อรายย่อยยังโดดเด่น ตามสินเชื่อภาคครัวเรือน ทั้งรถยนต์ และ อุปโภคบริโภค แต่หากพิจารณาราคาหุ้นที่ยัง laggard ยังเลือก TCAP เท่านั้น
ตามมาด้วยกลุ่มลิสซิ่ง จะเห็นว่าหุ้นที่มีการเติบโตเด่น ราคาขยับขึ้นหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น SAWAD(FV@B57) ปัจจุบันมี PER 20.3 เท่า ขณะที่ราคาหุ้นมี upside เพียง 11.76% หรือ MTLS(FV@B35) มี PER 30.8 เท่า เหลือ upside 9.38% จึงแนะนำให้ Switch มาเข้าหุ้น JMT (FV@B33) PER 27.4 upside 46% ซึ่งเป็นผู้บริหารหนี้เสีย ที่มีทีมงานพร้อมประสบการณ์และฐานข้อมูลรายย่อยกว่า 3 ล้านราย น่าจะมีโอกาสรับงานต่อเนื่องจาก ที่ภาครัฐมีนโยบายแก้ไข NPL ของบัตรเครดิต โดยการให้ SAM เป็นผู้บริหารและจัดการหนี้เสียส่วนนี้ แต่ SAM มีความถนัดเฉพาะหนี้เสียที่มีหลักประกัน จึงน่าจะมีการส่งต่องานให้กับ JMT และ THANI([email protected]) PER 13 เท่า upside 17.8%
กลุ่มยานยนต์พบว่าการฟื้นตัวค่อย ๆ ชัดเจนขึ้นหลังจากผ่านพ้นปีที่ 5 ของรถยนต์คันแรก นำโดย SAT([email protected]) PER 10.3 เท่า upside 16.4% ขณะที่ AH([email protected]) PER 8.9 เท่า แต่upside 34%
และกลุ่มโรงพยาบาล อาจจะยังไม่ชัดมากนัก เพราะช่วงไตรมาส 2 อาจเป็นช่วง low season แต่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ก็ปรับตัวลดลงกว่า 14% นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบันจึงเชื่อว่าสะท้อนผลประกอบการไปแล้ว ขณะที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 ตามผลการดำเนินงานที่จะดีขึ้นตามฤดูกาล ราคาหุ้นที่ย่อตัวน่าจะเป็นโอกาสสะสม เริ่มจาก RJH (FV@B28) มีค่า PER 24.2 เท่า แต่ราคาหุ้นมี upside 39%, รองลงมา LPH(FV@B21) มีค่า PER 36.6 เท่า แต่ราคาหุ้นมี upside 22%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของ SET Index และกลุ่มฯ ของเดือน มิ.ย. ย้อนหลัง 5 ปี
MCS น่าจะให้ผลตอบแทนในช่วงสั้นจากแผนซื้อหุ้นคืน
ในช่วงตลาดปรับฐาน น่าจะเป็นโอกาสเลือกหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ทั้งนี้นอกเหนือจากหุ้นที่กล่าวข้างต้นวันนี้ขอเสนอ MCS(FV@B19) ซึ่งพบว่าราคาหุ้นนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบันปรับตัวลดลงกว่า 14% จากความกังวลต่อที่ไม่ดีนักในงวด 1Q60 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการส่งมอบงานเก่า และเป็นช่วงรอยต่อของการเริ่มงานใหม่ แต่ก็เชื่อว่าประเด็นนี้น่าจะผ่านพ้นไปแล้ว และคาดว่าผลประกอบการจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับตั้งแต่ 2Q60 ตามการส่งออกงานโครงการที่กลับมาเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องในงวด 2H60 (ผลประกอบการปีนี้จะหดตัว 30% จากปี 2559 เนื่องจากฐานกำไรสูงมาก)
นอกจากการฟื้นตัวรายไตรมาสดังกล่าวแล้ว ปัจจัยหนุนระยะสั้นคือ โครงการซื้อหุ้นคืนครั้งใหม่ โดยจะใช้เงินทุนของบริษัทฯ เอง เนื่องจากฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีสถานะ Net Cash และมีเงินสดสูง 1 พันล้านบาท โดยการซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ วงเงินไม่เกิน 380 ล้านบาท และจำนวนหุ้นซื้อคืนไม่เกิน 23 ล้านหุ้น (4.6% ของทุนเรียกชำระแล้ว) หากคำนวณเป็นราคาเฉลี่ยอย่างง่ายจะได้ที่ราว 16.52 บาทต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดเกือบ 12%
อย่างไรก็ตาม MCS มีข้อดีที่ราคาหุ้นถูกเมื่อพิจารณามูลค่าหุ้นปัจจุบันพบว่ามี Expected PER ปี 2560 ที่ 8.6 เท่า และยังมี Dividend Yield 6.8% แนะนำซื้อลงทุนช่วงสั้นและยาว
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
ทิศทาง Fund Flow ยังผันผวน และมีการซื้อสลับขายรายประเทศ โดยวานนี้สลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 142 ล้านเหรียญ แต่มีตลาดหุ้นอยู่ 2 แห่งที่ถูกซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 40 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 30 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ คือ ไต้หวัน 141 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานกว่า 8 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) และไทยสลับมาขายสุทธิกว่า 60 ล้านเหรียญ หรือ 2.1 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) จนทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมในเดือนนี้ (mtd) ที่เคยเป็นบวก พลิกกลับมาติดลบอยู่ประเทศเดียวในภูมิภาคราว 13 ล้านเหรียญ หรือ 428 ล้านบาท (ดังตารางทางด้านล่าง) ต่างกับสถาบันในประเทศที่วานนี้ซื้อสุทธิราว 216 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.29 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 255 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)