WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AIRAบล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ทิศทางตลาด
  ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนต่อการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะสามารถทำได้ตามแผนที่ประกาศไว้หรือไม่? หลังอาจเกิดความขัดแย้งในสภาคองเกรส จากการปลด ผอ.FBI ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมตลาดมาโดยตลอดตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา 
ส่วนประเด็นในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ แต่คาดยังได้รับปัจจัยบวกจาก Fund Flow จากแรงซื้อของต่างชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง คาดทำให้มีแรงเก็งกำไรกลับเข้ามาในกลุ่มพลังงาน แต่แนะให้ระวังแรงขายทำกำไร (Sell on Fact) หลังช่วงการประกาศงบฯ ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ รวมถึงประเด็นความกังวล ต่อการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุม 13 – 14/6/60 หลังล่าสุดเจ้าหน้าที่เฟดอย่างน้อย 2 ราย ออกมาส่งสัญญาณอีกครั้ง และคาดเป็นปัจจัยที่กลับมากดดันภาพรวมตลาดอีกครั้งจนถึงการประชุมในเดือนมิ.ย. 
  และยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
  ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง ครม. เห็นชอบประเด็นการปรับร่างทีโออาร์ใหม่สำหรับรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และแนะให้จัดทำร่าง TOR ใหม่ เสร็จภายใน 3 เดือน คาดมีความเป็นไป ได้ที่จะเปิดประมูลในช่วง 2H/60

SET SET50 SET100
1,543.94     -6.33 983.37     -6.01 2,209.95     -12.73

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
  (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -22.81, NASDAQ +5.27, S&P -3.54,  FTSE +48.76, CAC +22.00 และ DAX +59.35
ภายใต้ความไม่แน่นอนว่าการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (การผ่อนคลายกฎระเบียบ ปฏิรูปภาษี และการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ) จะสามารถทำตามแผนของ ปธน.ทรัมป์ ได้หรือไม่? หลังปลดนายโคมีย์ – ผอ.FBI ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับสภาคองเกรส 
  ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) – เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.2%MoM สอดคล้องกับคาดการณ์ และ (2) ยอดค้าปลีก – เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.4% ดีขึ้นตามลำดับจากที่เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อมี.ค. และลดลง 0.3% เมื่อก.พ. อย่างไรก็ตามต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6%
   ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$0.01 อยู่ที่US$47.84 ต่อบาร์เรล ปรับขึ้นเล็กน้อย โดยยังได้รับปัจจัยหนุนจากประเด็นที่โอเปกกำลังพิจารณาที่จะขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีก 9 เดือน หรือมากกว่า จากกำหนดเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือน
มิ.ย.’60 เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวลงในช่วง 1Q/61 จากอุปสงค์ที่อ่อนแอซึ่งกลุ่มโอเปก และประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะประชุมกันในวันที่ 25/5/60 เพื่อหารือต่อประเด็นดังกล่าว

P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
16.47 1.90 3.17
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 54,837.66
สถาบัน  -3,041.68
บัญชีหลักทรัพย์  -258.15
ต่างประเทศ  +680.40
ในประเทศ  +2,619.42

  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$3.5 อยู่ที่ US$ 1,227.7 ต่อออนซ์ จากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่า หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะตัวเลขค้าปลีก
  (+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +680 ล้านบาท สะสม YTD +9,059 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 15 - 19 พ.ค. 2560 
  15/5/60   ไทย – เปิดเผยตัวเลข GDP – 1Q/60 คาด +1.2%qoq  และ +3.2%yoy
สหรัฐฯ เปิดเผย
   ดัชนีการผลิตของรัฐนิวยอร์คเดือนพ.ค.
   ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.
   ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนมี.ค. 
  16/5/60   สหรัฐฯ เปิดเผย
   ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง - เม.ย.
   ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนเม.ย. 
  17/5/60   สหรัฐฯ เปิดเผย
   สต็อกน้ำมัน
  18/5/60   สหรัฐฯ เปิดเผย
   ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
   ดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติก - พ.ค. 
   ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนเม.ย. 
  19/5/60   ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
  (2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCB เป็นต้น
  (3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
  (5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชนที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
  (6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ IRPC, TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น 
  (7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK  
  (8) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q/60 เช่น AAV, AOT

  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.07 อยู่ที่ 2.34%(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) 
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.20 อยู่ที่ 10.40

หุ้นแนะนำ : CPN
 นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์      โทร .02-684-8788


apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!