WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asiawealthบล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook

 

การเมืองสหรัฐวุ่นอีกแล้ว : Trump VS FBl


       คาดหุ้นไทยขยับลงอีกตามหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวลงต่อเมื่อคืน โดยประธานาธิบดีสหรัฐ Donald Trump ต้องเผชิญกระแสต่อต้านจากวุฒิสมาชิกชั้นนำหลายคนกรณีปลดหัวหน้า FBI James Comey ในขณะที่รักษาการหัวหน้า FBI Andrew McCabe ประกาศเดินหน้าสืบสวนกรณีการหาเสียงเลือกตั้งของ Trump ที่ไปโยงใยกับรัสเซีย นอกจากจะทำให้ความเสี่ยงทางการเมืองสหรัฐสูงขึ้นแล้วยังอาจทาให้นโยบายปฏิรูปภาษีและการลงทุนขนาดใหญ่ของ Trump อาจยิ่งชะลอช้าออกไปอีก ล่าสุดความน่าจะเป็นของการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เดือนหน้ามีสูงมาก หลังตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้นและตลาดแรงงานตึงตัวขึ้นไปอีก ปัจจัยภายในประเทศวันนี้ไม่มีอะไรที่มีน้ำหนักมากนัก

 

หุ้นเด่นวันนี้ : TCAP (ราคาปิด 47.25 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมายปี 60 ของ AWS 55.00 บาท)
       บมจ.ทุนธนชาต เป็นหุ้นเด่นในวันนี้เนื่องจากการคาดการณ์ว่าสินเชื่อจะกลับมาฟื้นตัว คุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง และอัตราเงินปันผลตอบแทนที่น่าสนใจ หลังจากที่สินเชื่อของธนาคารหดตัวมา 3 ปีติดต่อกัน เราคาดว่าสินเชื่อของ TCAP ปีนี้จะกลับมาเติบโตที่ 5% เป็นไปตามเป้าของธนาคารที่ 3-5% ถึงแม้ว่าสินเชื่อไตรมาส 1/60 หดตัว 1.3% YTD แต่การหดตัวดังกล่าวเกิดจากกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ที่ลดการใช้เงินทุนหมุนเวียน ในขณะที่กลุ่มเช่าซื้อฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องมา 2 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว ธนาคารคาดสินเชื่อกลุ่มเช่าซื้อ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของพอร์ตทั้งหมด จะแสดงการปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่เหลือของปี หนุนโดยตลาดยานยนต์ที่เริ่มฟื้นตัวรวมถึงการออกโมเดลรถใหม่ นอกจากนี้ การเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐน่าจะช่วยหนุนความต้องการสินเชื่อในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่เช่นกัน ในแง่ของคุณภาพสินทรัพย์ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารลดลงติดต่อกันมา 11 ไตรมาสแล้วอยู่ที่ 2.32% ในไตรมาส 1/60 จาก 2.41% ณ สิ้นปี 59 ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage ratio) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 152.12% จาก 146.79% ในปี 59 นอกจากนั้นแล้ว TCAP อาจมีการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีที่เหลืออยู่เพื่อพัฒนาองค์กร เช่น ดิจิตอลแบงกิ้งและบุคลากร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ในแง่ของการประเมินมูลค่า หุ้น TCAP ปัจจุบันยังซื้อขายกันที่อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีที่ถูกที่ 0.9 เท่าและมีอัตราเงินปันผลตอบแทนที่น่าสนใจที่ 4.7% เราคาดการณ์กำไรสุทธิจะเติบโต 10.9% ในปี 60 และ 5.9% ในปี 61 Price Pattern ของ TCAP มียังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily & Monthly Buy Signal เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ TCAP ในระยะยาวพบว่าการที่ Price Pattern ของ TCAP สามารถ Break ด้วยการปิดตลาดเหนือเป้าหมายแรกที่ 40.25 บาทไปได้ ทำให้มีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 63.75 บาท ทั้งนี้ TCAP มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 46.50 บาท (Resistance: 47.50, 47.75, 48.25; Support: 47.00, 46.50, 46.25)

 

ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
      ก.พาณิชย์มองการขาดดุลการค้าของสหรัฐสมเหตุสมผล กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งรายงานให้สหรัฐจากการที่สหรัฐได้แสดงความกังวลในเรื่องการขาดดุลการค้ากับไทย โดยในรายงานกล่าวว่ามูลค่าที่ขาดดุลการค้านับว่าเป็นจำนวนที่ไม่มีนัยสำคัญเนื่องจากคิดเป็นเพียง 1.5% ของมูลค่าขาดดุลการค้าของสหรัฐทั้งหมด และมีการเน้นย้ำว่าการขาดดุลดังกล่าวเกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ไม่ได้เกิดจากนโยบายทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมแต่อย่างใด (Bangkok Post)


      แบงก์ชาติคุมหนี้ครัวเรือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสถาบันการเงิน จะร่วมกันแถลงออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน (เดลินิวส์) ความเห็น: เราคาดว่ามาตรการนี้จะทำให้คุณภาพสินเชื่อดีขึ้นมากกว่า โดยผลต่อการเติบโตของสินเชื่อและการใช้จ่ายของผู้บริโภคไม่น่ามากนัก


      ยอดขายมาสด้า เม.ย. โต22% มาสด้าเผยเศรษฐกิจขยับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ยอดขายรถเดือน เม.ย.ทะลุ 4,200 คัน โต 22% (ไทยโพสต์)ความเห็น: เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าตลาดรถยนต์มีการฟื้นตัวหนุนโดยยอดขายในประเทศ
    คาดสนใจลงทุนอีอีซีทะลุ 1.5 แสน ลบ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คาดมีโครงการขอลงทุนในอีอีซีปีนี้ไม่ต่ำกว่า 1.5 แสน ลบ. (สยามรัฐ)


ANAN (3.66 บาท) รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/60 ที่ 140 ล้านบาทลดลง -5.6% YoY ในขณะที่รายได้ของ บริษัท อยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท ลดลง 10.8% YoY บริษัท มีผลขาดทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 58 ล้านบาทลดลง 46.9% จาก เคยขาดทุน 108 ล้านบาทในไตรมาส 1/59 เนื่องจากมีส่วนแบ่งกำไรจากโครงการลงทุนของ Q จุฬาสามย่าน (SET) ความเห็น: ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 จะเป็นผลการดำเนินงานที่ต่ำที่สุดของปีสำหรับ ANAN ในขณะที่ บริษัท คาดว่าจะมีโครงการโอนย้าย 10 โครงการในปี 2560 เมื่อเทียบกับ 5 โครงการในปี 2559 รายได้และกำไรส่วนใหญ่จะมาตั้งแต่ปลายไตรมาส 2/60 จนถึงไตรมาส 4/60 คงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 7.5 บาทอิง 10 เท่าของปี 2560 ที่ EPS 0.75 บาท / หุ้น


QH (2.50 บาท; ราคาเป้าหมาย IAA consensus 3.45 บาท) รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/60 ที่ 653 ล้านบาท, -12% YoY ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ลดลง 36% YoY มาอยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท (1.1 พันล้านบาทจากโครงการบ้านและทาวเฮาส์ และอีก 615 ล้านบาทจากคอนโดมิเนียม) เนื่องจากไม่มีมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลโดยลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมการจดจำนองในไตรมาสนี้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลต่อผลประกอบการหุ้นไปในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลบังคับใช้ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. 2558-28 เม.ย. 2559 ขณะที่ยอด presales แข็งแกร่งขึ้นในไตรมาส 1/60 เป็น 3 พันล้านบาทจากเป้าหมายทั้งปีที่ 18,000 ล้านบาท + 17% YoY รายได้หลักจากการขายห้องชุดในไตรมาส 1/60 มาจาก Q สุขุมวิท ซึ่งมีมูลค่าโครงการรวม 10,000 ล้านบาท Take-up rate ในปัจจุบันอยู่ที่ 22% เพิ่มขึ้นจาก 4Q59 ที่ 18% (SET) ความเห็น: QH มีกำไรตรมาส 1/60 อ่อนตัวลงในระดับปานกลาง แต่ถือว่ายังดีกว่าหลายบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากการประชุมนักวิเคราะห์ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2560 เราเห็นว่า QH ยังมีมูลค่าต่ำกว่าพื้นฐานในแง่ (1) Q สุขุมวิทจะเป็นเรือธงหลักของ QH ในช่วงที่เหลือของปีราคาขายต่อ ตร.ม. เพิ่มขึ้นได้อีก ปัจจุบันอยู่มากกว่า 30 0,000 บาทต่อ ตร.ม.แล้ว เนื่องจากโครงการอื่น ในทำเลใกล้เคียงกัน เปิดราคาขายสูงกว่าของ Q สุขุมวิทมาก ส่วนใหญ่ก็เริ่มที่ 400,000 บาทต่อ ตร.ม.แล้ว เราคาดว่าอัตรา Take-up rate จะเร่งตัวเร็วขึ้นในปีนี้ (2) พอร์ตการลงทุนมีมูลค่าประมาณ 34 พันล้านบาท (3.17 บาทต่อหุ้น) โดยอิงจากราคาหุ้นปัจจุบันของ HMPRO (20%), LHBANK (21%), QHHR (31%) และ QHPF (26%) ดังนั้นมีมูลค่าแฝงที่น่าสนใจประกอบกับอัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะที่ IAA Consensus ก็คาดการณ์การเติบโตของ EPS 14% ในปี 2560 และ 10% ในปี 2561

 

ต่างประเทศ :

        อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเปลื่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อวันพฤหัส หลังแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนมี.ค. เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวลงกลบตัวเลข PPl ที่เพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. และการประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปีที่มีการตอบรับไม่ดีนัก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีลดลง 1 bps อยู่ที่ระดับ 2.408% ถอยจากที่ระดับ 2.423% ซึ่งใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ซึ่งอ่อนไหวต่อนโยบายเฟดใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบ 8 สัปดาห์ที่ 1.367% ก่อนปรับตัวลง 1 bps สู่ระดับ 1.347% (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเทียบกับเงินเยนแต่ยังมีแนวโน้มเป็นบวก ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วันเทียบกับเงินเยนเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากนักลงทุนได้กำไรจากช่วงที่ผ่านมา และมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการที่ทรัมป์ปลดผู้อำนวยการ FBl อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงสดใส หลังการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งเมื่อวันพฤหัสซึ่งหนุนการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า 0.4% เทียบกับเงินเยนสู่ระดับ 113.87 เยน ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปิดลบ 0.1%ที่ 99.625 (Reuters)

 

สหรัฐ :
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบเมื่อวันพฤหัส หลังจากรายงานผลประกอบการกลุ่มค้าปลีกที่อ่อนแอก่อให้เกิดการเทขายหุ้นกลุ่มห้างสรรพสินค้า รายงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือนเม.ย. ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันนี้เพื่อมองหาสัญญาณว่าผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายจากการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าไปเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์หรือไม่ หรือแค่ไม่จับจ่าย นักลงทุนยังเป็นกังวลเกี่ยวกับความคืบหน้าเกี่ยวกับการไล่ผู้อำนวยการ FBl ออกจากตำแหน่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Reuters)


เหตุผลที่ทรัมป์ปลดนายโคมีย์ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเผยว่าการตัดสินใจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่จะปลดนายเจมส์ โคมีย์ ผู้อำนวยการ FBl เมื่อวันอังคารได้พิจารณามาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว แต่จุดตัดสินใจเกิดขึ้นเมื่อนายโคมีย์ปฏิเสธที่จะตรวจสอบหลักฐานที่จะส่งให้วุฒิสภา ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อทรัมป์และผู้ช่วยของเขา (Reuters)


ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สหรัฐปรับตัวขึ้น 2.5% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนเม.ย. เป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับแต่เดือนก.พ. 55 หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนมี.ค. นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนี PPl ในเดือนเม.ย. จะเพิ่มขึ้น 0.2% MoM และปรับตัวขึ้น 2.2% YoY ตัวเลขดังกล่าวเป็นหลักฐานล่าสุดที่แสดงถึงเงินเฟ้อในประเทศกำลังเร่งปรับตัวขึ้นโดยตลาดแรงงานในประเทศตึงตัวและจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ตัวเลขดัชนีดังกล่าวหนุนความคาดหวังมากขึ้นว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. นี้ เทรดเดอร์มองว่ามีโอกาส 85% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า เพิ่มขึ้นจาก 83% เมื่อวันพุธ จากข้อมูลของ CME Group,s FedWatch (Reuters)ความเห็น: ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) และยอดค้าปลีกมีกำหนดเผยแพร่ในเวลา 12.30 GMT ของวันศุกร์อาจเสริมความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.


จำนวนขอรับสวัสดิการว่างงานลดลง 2,000 รายสู่ 236,000 รายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จากก่อนหน้านี้ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นสู่ 245,000 ราย ณ ขณะนี้ตัวเลขอยู่ต่ำกว่าระดับ 300,000 รายมาติดต่อกัน 114 สัปดาห์แล้ว นับว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2513 (Reuters)

 

ยุโรป :
หุ้นยุโรปปรับตัวลงเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากหุ้นบลูชิพสเปนร่วงในช่วงระหว่างวันสู่จุดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร ระหว่างที่ธนาคาร UniCredit เติบโตเด่นมากจากผลการดำเนินงานที่ออกมาแข็งแกร่ง (Reuters)

 

เอเชีย :
ผู้นำญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ตกลงกันในการประชุมสุดยอด: Shinzo Abe และประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ Moon Jae-in ได้ตกลงกันในวันพฤหัสบดีเพื่อทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการจัดการกับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือและจะจัดประชุมสุดยอดระดับทวิภาคี (Reuters)

 

เม็กซิโกเตือนสหรัฐถึงทางเลือกนโยบายการค้าโดยพุ่งเป้าไปที่จีน: เม็กซิโกส่งข้อความถึงประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมพ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมากล่าวว่า การเยือนจีนในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ทำให้เศรษฐกิจเม็กซิโก ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจของประเทศละตินอเมริกาที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ชัดเจนขึ้น "มีทางเลือกอื่น ๆ มากมาย" ท่ามกลางการเจรจาทางการค้าที่ตึงเครียด เม็กซิโกกำลังต่อสู้กับความต้องการของทรัมพ์ที่จะเจรจาต่อรอง NAFTA ซึ่งเป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐบาลเม็กซิโกพยายามกระจายการส่งออกออกไปจากสหรัฐฯซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วน 80% ของการส่งออกทั้งหมด (Reuters)

 

สินค้าโภคภัณฑ์ :
น้ำมันดิบบวกวันพฤหัสกว่า 1% หนุนโดยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐร่วงแรง และความร่วมมือที่มากขึ้นในการลดกำลังการผลิต เพิ่มความเชื่อมั่นว่าภาวะน้ำมันล้นที่ยากจะจัดการอาจจะลดลงในที่สุด น้ำมันดิบ Brent ล่วงหน้าบวก 69 เซนต์ (1.4%) ปิด 50.91 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังแตะจุดสูงสุดที่ 51.16 ดอลลาร์สหรัฐ น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าบวก 68 เซนต์ (1.4%) ปิด 48.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)
ทองคำบวกวันพฤหัส เพราะหุ้นสหรัฐและยุโปรถอยร่น แต่ก็เป็นบวกน้อยลงหลังข้อมูลต่อมาชี้ว่าตลาดแรงงานตึงตัวและเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นทำให้ดอลลาร์แข็งขึ้นและดึงผลตอบแทนพันธบัตรขึ้นจากจุดต่ำสุดก่อนหน้า ทองคำตลาดจรบวก 0.4% ปิด 1,223.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เป็นวันที่แปดที่ราคาไม่ไปไหนหรือลดลง ก่อนหน้านี้ได้ไต่ระดับมาที่ 1,227.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (Reuters)
ทองแดงบวกวันพฤหัส เพราะกองทุนลดการเก็งกำไรขาลง แต่จะบวกอย่างมั่นคงหรือไม่ขึ้นกับกิจกรรมทางอุตสาหกรรมและการลงทุนของจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุดที่ตัวเลขจะออกมาในสัปดาห์หน้า ทองแดงอ้างอิงตลาด LME บวก 0.8% ปิด 5,543 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หลังไปแตะ 5,627.50 ดอลลาร์สหรัฐ ใกล้จุดสูงสุดนับจาก 3 พ.ค. ในช่วงต้นวัน (Reuters)

 

Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 0-2680-5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 0-2680-5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 0-2680-5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 0-2680-5056
MISS. Veeraya Rattanaworatip (No.86645) Tel: 0-2680-5042

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!