- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 03 May 2017 17:53
- Hits: 2534
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
Sideway? ภายใต้ที่ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ คาดการเคลื่อนไหวยังแกว่งตัวอยู่ในทิศทางเดียวกับวานนี้ โดยคาดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอ
(1) ผลประชุมเฟด (เช้า พฤ.ตามเวลาไทย) คาดครั้งนี้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่จับตาแถลงการณ์ของเฟดหลังประชุม โดยเฉพาะการ ส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ซึ่งคาดครั้งต่อไปเป็นรอบการประชุมในวันที่ 13 –14/6/60 และ (2) การเลือกตั้งรอบ 2 ในฝรั่งเศส (7/5/60) คาดช่วยลดความกังวลต่อประเด็นฝรั่งเศสจะถอนตัวออกจาก EU หลังผลสำรวจล่าสุด นายมาครอง ยังมีคะแนนนำ นางเลอเปน ที่มีแนวคิดขวาจัด
ส่วนประเด็นการปฏิรูปภาษีของ ปธน.ทรัมป์ โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลที่ปรับลดลงจาก 35 –39.6% เป็น 15% และลดขั้นบันไดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 7 ขั้น เหลือ 3 ขั้น คาดต้องใช้ระยะเวลาในการออกเป็นกฎหมาย ซึ่งต้องผ่านสภาคองเกรสพิจารณาต่อไป
ขณะที่ราคาน้ำมัน ปรับลดลงต่อเนื่อง ภายใต้ภาพรวมยังถูกกดดันจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ คาดยังส่งผลต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน
ส่วนประเด็นในประเทศ ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ ยังอยู่ในช่วงการทยอยประกาศผลการดำเนินงาน ที่คาดมีแรงเก็งกำไรจนถึงกลางเดือนพ.ค. ขณะที่คาดยังมีความกังวลอยู่บ้าง โดยเฉพาะต่อตัวเลข NPL ของกลุ่มธนาคารที่เพิ่มขึ้นและยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง ครม. เห็นชอบประเด็นการปรับร่างทีโออาร์ใหม่สำหรับรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และแนะให้จัดทำร่าง TOR ใหม่ เสร็จภายใน 3 เดือน คาดมีความเป็นไป ได้ที่จะเปิดประมูลในช่วง 2H/60
SET SET50 SET100
1,564.12 -2.20 992.82 -1.16 2,235.36 -2.60
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +36.43, NASDAQ +3.77, S&P +2.84, FTSE +46.11, CAC +36.82 และ DAX +69.89 ภายใต้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งและดีกว่าคาด เช่น บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์ และเมิร์ค แอนด์ โค อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ รวมถึง โคช ผู้ผลิตกระเป๋าแบรนด์ชื่อดัง
ขณะที่อยู่ระหว่างรอ (1) ผลการประชุมเฟด (เช้า พฤ.ตามเวลาไทย) โดยส่วนใหญ่คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ แต่อาจจะส่งสัญญาณความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. ในวันที่ 13 และ 14 (2) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร - เม.ย. ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ และ (3) การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบ 2 ของฝรั่งเศสในวันอาทิตย์นี้
ทางด้านตลาดยุโรป ได้รับปัจจัยบวก (1) กรีซและสหภาพยุโรป (EU) รวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้งวดใหม่แก่กรีซ และ (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตของยูโรโซน – เม.ย. อยู่ที่ 56.7 เพิ่มขึ้นจาก 56.2 เมื่อมี.ค. โดยดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิต
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
17.27 1.92 3.13
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 35,126.09
สถาบัน 585.96
บัญชีหลักทรัพย์ -171.56
ต่างประเทศ -208.06
ในประเทศ -206.34
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$1.18 อยู่ที่US$47.66 ต่อบาร์เรล ภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับปริมาณสต็อกน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แม้มีการคาดการณ์ว่ากลุ่มประเทศ ผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตถึงสิ้นปีนี้ก็ตาม โดยล่าสุดบริษัทน้ำมันแห่งชาติลิเบีย เปิดเผย การผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นเหนือระดับ 760,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับสูงสุดนับแต่เดือนธ.ค.’57
ขณะที่รัสเซียจะแสดงจุดยืนเกี่ยวกับการขยายเวลาในการปรับลดการผลิตน้ำมันในวันที่ 24 พ.ค. ก่อนที่โอเปกจะประชุมกันในวันที่ 25 พ.ค.
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$1.5 อยู่ที่ US$ 1,257.0 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร หลังราคาทองคำปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างรอผลประชุมเฟด(เช้า พฤ.ตามเวลาไทย)
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -208 ล้านบาท สะสม YTD +7,885 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาทและ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)
(+) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกไทยปี’60 จาก 1 –3% เป็น 2.0 - 3.5% หลัง 1Q/60 ส่งออกดีกว่าคาดทั้งปริมาณและมูลค่า และคาด 9 เดือนที่เหลือของปี ส่งออกจะยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณ
ประเด็นที่ต้องติดตาม 3 –5 พ.ค. 2560
3/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐเดือนเม.ย.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนเม.ย.
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนเม.ย.สต็อกน้ำมันเฟด ประกาศมติการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน
4/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนมี.ค.
ข้อมูลที่มีการปรับแก้ไขของประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 1/2017
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนมี.ค.
5/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCBเป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชน ที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
(6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น และ BANPU ปรับตัวขึ้นตามราคาถ่านหิน
(7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจขนส่งทางเรือ เช่น PSL คาดได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเรือเทกอง
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.03 อยู่ที่ 2.30% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.48 อยู่ที่ 10.59
หุ้นแนะนำ : CPN
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788