- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 14 August 2014 17:17
- Hits: 2237
บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดได้รับ Sentiment เชิงบวก อังกฤษส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และยังให้ความสนใจหุ้นที่มีกำไรที่ดี โดยยังชอบ BTS(FV@B12) วันนี้เลือก RCL(FV@B12) เป็น Top pick หลังบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น ASP ปรับเพิ่มประมาณการ และเพิ่ม Fair Value ขึ้นจากเดิมเพียง 6.5 บาท
สถานการณ์ในยูเครน ผ่อนคลายลง
สถานการณ์ในพื้นที่พรมแดนยูเครน-รัสเซีย เริ่มลดความตึงเครียดลง หลังจากที่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการยูเครนได้ปฎิเสธความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากรัสเซียที่จะส่งรถบรรทุกกว่า 280 คัน เข้าประเทศเพื่อลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ อาทิ อาหารและยารักษาโรค โดยยูเครนกังวลว่า รัสเซีย อาจจะแอบแฝงนำทหารเข้าไปร่วมรบกับฝ่ายกบฏในยูเครน แต่อย่างไรก็ตามล่าสุด หลังจากที่ประชาชนชาวยูเครนที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบได้รับความเดือดร้อน ไม่มีน้ำประปา ไฟฟ้า และยารักษาโรคใช้มานานหลายวัน รัฐบาลยูเครนจึงได้ยอมรับความช่วยเหลือจากรัสเซียแล้ว แต่ได้ตั้งเงื่อนไข 3 ข้อ ในการรับความช่วยเหลือดังกล่าวเข้าประเทศ คือ 1) รถบรรทุกทั้งหมดของรัสเซียต้องผ่านการตรวจสอบโดยละเอียดที่ด่านชายแดนของทางการยูเครนเท่านั้น 2) ต้องมีเจ้าหน้าที่จากกาชาดสากลเข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในยูเครนทุกขั้นตอน 3) ต้องมีการแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนสิ่งของและอุปกรณ์ เส้นทางการเดินทาง และพื้นที่ของการให้ความช่วยเหลือ โดยสิ่งของทั้งหมดคาดว่าเดินทางถึงชายแดนยูเครนในวันนี้
ความกังวลในสถานการณ์ยูเครนน่าจะผ่อนคลายช่วงสั้นเท่านั้น เนื่องจากยูเครนและชาติตะวันตกต่างมีความกังวลว่ารัสเซียจะใช้การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อเป็นฉากหน้าการยึดครองภูมิภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งต้องติดตามดูท่าทีของรัสเซียว่าท้ายที่สุดแล้ว จะมีการแทรกแซงใดๆ หรือไม่ และท่าทีของสหรัฐและชาติตะวันตก หลังจากมีการคว่ำบาตรทางการค้าและการตอบโต้กันจนส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจไปเมื่อช่วงก่อนหน้านี้
อังกฤษส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย กังวลต่อเศรษฐกิจโลก
ปัญหาความขัดแย้งในยูเครน ได้ขยายตัวไปถึงการคว่ำบาตรทางการค้า ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อ เศรษฐกิจยุโรปในวงกว้าง ขณะที่ญี่ปุ่นประสบภาวะชะลอตัวจากการขึ้นภาษี sale tax จึงคาดว่าจะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งในปี 2557 IMF ได้ประมาณไว้ที่ 3.4% อาจจะสูงเกินไปเมื่อเทียบกับ World Bank คาดไว้ที่ 2.8% อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการปรับลดลงได้ในที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษส่งสัญญานชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญญานบวกต่อตลาดหุ้นในระยะสั้น ๆ
ยุโรป นอกจากต้องเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก จากการคว่ำบาตรทางการค้าจากรัสเซียแล้ว ปัญหาการฟื้นตัวที่ล่าช้า สะท้อนจากอัตราการว่างงาน ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง 11.5% และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ 0.4% ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป ในงวด 2Q57 อาจจะชะลอลงจากในงวดก่อนหน้า นำโดย เยอรมัน ประเทศยักษ์ใหญ่ในกลุ่ม ซึ่งพบว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงาน เดือน มิ.ย. ติดลบ 3.2%mom (ต่ำสุดตั้งแต่ 2554) ตามมาด้วย อิตาลี ที่ GDP Growth งวด 2Q57 ติดลบ 0.3%yoy แม้จะติดลบลดลงจาก 0.4%yoy จาก 1Q57 และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง 12.34% ในเดือน มิ.ย. (มากกว่าเฉลี่ย 12% ราว 15 เดือน) ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บลูมเบิร์ก คาดว่า เศรษฐกิจยุโรป ในงวด 2Q57 จะขยายตัว 0.9% (ทรงตัวจากงวด 1Q57) ซึ่งจะมีการรายงาน GDP Growth ของยุโรป ในวันนี้
ญี่ปุ่น หลังรายงาน GDP Growth งวด 2Q57 ต่ำกว่าคาด โดย ขยายตัวเพียง 0.03%yoy หรือหดตัว 1.7%qoq ซึ่งชะลอมากที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการหดตัวของจากการบริโภคและการลงทุน หลังจากการปรับขึ้นภาษีขาย 3% เทียบกับงวด 1Q57 ที่เติบโตสูงถึง 2.66%yoy (เป็นการเร่งการบริโภคในประเทศก่อนขึ้นภาษีขาย 3% ในเดือน เม.ย.) โดยงวด 1H57 GDP Growth อยู่ที่ราว 1.35%ขณะที่ตลอดปี 2557 IMF ประเมินไว้ที่ 1.4% อาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะในช่วงที่เหลือ 2 ไตรมาสต้องเติบโตไม่ต่ำกว่า 1.4%
อังกฤษ แม้สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแข็งแกร่ง โดยล่าสุดอัตราการว่างงานในงวด 2Q57 ลดลงที่ระดับ 6.4% (ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเบื้องต้นที่ 7% และต่ำกว่างวด 1Q57 ที่ 6.5%) แต่กลับพบว่า อัตราค่าจ้างในงวด 1Q57 หดตัว 0.2%yoy (ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ปี) ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่าเป้าหมายต่อไป แม้ล่าสุดในเดือน มิ.ย. เงินเฟ้ออยู่ที่ 1.9%yoy ใกล้เคียงกับเป้าหมาย 2% และเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ 0.6%ytd เท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังมีอยู่ จึงเริ่มให้น้ำหนักต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยน้อยลง และมีท่าทีผ่อนคลายเวลาในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นราว 1Q58 ตรงนี้จึงถือเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นโลก จากเดิมที่คาดว่าอังกฤษอาจจะขึ้นดอกเบี้ยแห่งแรกของโลก
ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นภูมิภาคอย่างหนัก ยกเว้นฟิลิปปินส์
วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 สูงถึงราว 789 ล้านเหรียญฯ (เทียบกับวันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 19 ล้านเหรียญฯ) ยอดซื้อส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 410 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยไต้หวันสลับมาซื้อสุทธิราว 235 ล้านเหรียญฯ (ขณะที่ขายสุทธิติดต่อกัน 4 วันก่อนหน้า) ขณะที่ไทยสลับมาซื้อสุทธิราว 115 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิ 2 วันก่อนหน้า) ส่วนอินโดนีเซียซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 ราว 34 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 6% จากวันก่อนหน้า) สวนทางกับฟิลิปปินส์ที่ขายสุทธิเล็กน้อยเป็นวันที่ 2 ราว 5 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 1 ล้านเหรียญฯ)
สำหรับตลาดหุ้นไทยวานนี้ พบว่ามีแรงซื้อจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ ราว 2.6 พันล้านบาท เชื่อว่ามาจากกองทุน Trigger Fund ที่ปิดการขายไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิอย่างหนักราว 3.7 พันล้านบาท ในทิศทางเดียวกับตลาดตราสารหนี้ที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหนักถึง 8.9 พันล้านบาท (ขายสุทธิ 6 วันก่อนหน้า รวม 8.9 พันล้านบาท) ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 31.94 บาทต่อเหรียญฯ หรือราว 1% ในช่วงสัปดาห์นี้
เป็นที่สังเกตว่าตลาดหุ้นไทยวานนี้ฟื้นตัวแรงถึง 1.57% และน่าจะสูงสุดในภูมิภาค ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นการปรับขึ้นตาม เพื่อนบ้านที่ปรับตัวขึ้นไปในช่วง 2 วันก่อนหน้า ซึ่งปรับขึ้นเฉลี่ยกว่า 1% ดังกล่าวไปวานนี้ โดยพบว่าตลาดเพื่อนบ้านปรับขึ้นเล็กน้อย เช่น อินเดีย (หลังจากที่าฟื้นตัวขึ้นถึง 2% ในช่วงก่อนหน้า) ตามมาด้วย อินโดนีเซียกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยและ ทำ new high ขณะที่ ฟิลิปปินส์ ทรงตัว (หลังจากขึ้นมาเฉลี่ย 1.9% และ 1.4% ในช่วง 2 วัน ตามลำดับ) ยกเว้นตลาดหุ้นจีนที่มีการปรับฐานอยู่ หลังจากที่ฟื้นตัวมาราว 10% นับจากจุดต่ำสุดในกลางบเดือน มิ.ย. 2557 อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ณ ระดับดัชนีหุ้นไทยในปัจจุบันมี current P/E 16 เท่า ทำให้โอกาสปรับฐานยังมีอยู่ กลยุทธ์การลงทุนจึงเน้นไปรายหุ้น ที่มีแนวโน้มผลกำไรที่ดีในงวด 2Q7 และ ที่เหลือของปีนี้ พร้อมกับ มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณกำไร และ Fair Value เช่น BTS, และ RCL ซึ่งกล่าวในย่อหน้าถัดไป
RCL ลดต้นทุนดีกว่าคาด จึงปรับเพิ่มประมาณการ และ Fair Value
RCL มีกำไรปกติงวด 2Q57 ที่ 269 ล้านบาท (เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีเช่นกัน) ทั้งนี้ แม้ปริมาณการขนส่งยังทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่เนื่องจาก RCL บริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ การปรับเส้นทางเดินเรือให้เหมาะสมและการคัดสรรสินค้าในการขนส่งอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ต้นทุนเดินเรือกลับลดลงถึง 13.3% qoq และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 4.5% qoq ขณะที่เดิมฝ่ายวิจัยประมาณการว่า RCL จะมีขาดทุนปกติปี 2557 ที่ 445 ล้านบาท ก่อนจะพลิกเป็นกำไรในปี 2558 ราว 225 ล้านบาท แต่ด้วยธุรกิจที่มีสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q57 เป็นต้นไป ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการปี 2557 และปี 2558 เป็นมีกำไรสุทธิ 667 ล้านบาท และ 1,062 ล้านบาท ตามลำดับ ภายใต้สมมติฐานกำไรปกติในช่วงที่เหลือของปีทรงตัวใกล้เคียงงวด 2Q57 และในปี 2558 กำหนดให้ปริมาณขนส่งเพิ่มขึ้น 5% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะรายได้ค่าระวางเรือเฉลี่ยต่อตู้ทรงตัวจากปีนี้ และเป็นผลให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานหุ้นจากเดิม 7.50 บาท (อิง PBV ที่ 0.70 เท่า) มาเป็น 12 บาท (อิง PBV ที่ 1 เท่า) ซึ่งมี Upside จากราคาปัจจุบันถึง 46.3% และคาด RCL จะกลับมาจ่ายเงินปันผลของปี 2557 อีกครั้งราว 0.40 บาท คิดเป็น Div yield 4.9% จึงขอปรับเพิ่มคำแนะนำจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ”
หุ้นที่แนะนำใน Market talk