- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 27 April 2017 17:53
- Hits: 3908
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
Sideway? ภายใต้การเคลื่อนไหวที่คาดยังคงมีความผันผวนตามตลาดภูมิภาค ที่มีไร้ทิศทาง หลัง ปธน.ทรัมป์ เปิดเผยมาตรการปฏิรูปภาษี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความคาดหมายของตลาดก่อนหน้านี้ ทั้งภาษีนิติบุคคลที่ปรับลดลงจาก 35 –39.6% เป็น 15% และลดขั้นบันไดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 7 ขั้น เหลือ 3 ขั้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดชัดเจนเพียงพอ และไม่มีการเปิดเผยภาษีการโอนกำไรธุรกิจในต่างประเทศกลับสู่สหรัฐ ที่ก่อนหน้านี้คาดว่าจะลดลงจาก 35% เป็น 10%รวมทั้งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการออกเป็นกฎหมาย ซึ่งต้องผ่านสภาคองเกรสพิจารณา ส่งผลให้ตลาดส่วนใหญ่ปรับลดลงหลังสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าวไปบ้างแล้ว
ขณะที่แนะติดตาม (1) การประชุม ECB วันนี้ แต่คาดไม่มีผลต่อตลาดฯ มากนัก และ (2) การเลือกตั้งรอบ 2 ในฝรั่งเศส (7/5/60) โดยผลสำรวจล่าสุด พบว่า นายมาครอง มีคะแนนนำ นางเลอเปน ซึ่งช่วยคลายความกังวลต่อประเด็นฝรั่งเศสจะถอนตัวออกจาก EU
ทางด้านราคาน้ำมัน ยังฟื้นตัวแต่เพียงเล็กน้อย คาดส่งผลดีบ้างต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน แต่อย่างไรก็ตาม คาดภาพรวมยังถูกกดดันจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ
ส่วนประเด็นในประเทศ ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ ยังอยู่ในช่วงการทยอยประกาศผลการดำเนินงาน ที่คาดมีแรงเก็งกำไรจนถึงกลางเดือนพ.ค. ขณะที่คาดยังมีความกังวลอยู่บ้าง โดยเฉพาะต่อตัวเลข NPL ของกลุ่มธนาคารที่เพิ่มขึ้น และยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง ครม. เห็นชอบประเด็นการปรับร่างทีโออาร์ใหม่สำหรับรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และแนะให้จัดทำร่าง TOR ใหม่ เสร็จภายใน 3 เดือน คาดมีความเป็นไป ได้ที่จะเปิดประมูลในช่วง 2H/60
SET SET50 SET100
1,567.47 +5.20 996.93 +3.54 2,242.91 +8.32
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -21.03, NASDAQ -0.26, S&P -1.16, FTSE +13.08, CAC +10.00 และ DAX +5.76 หลังเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปภาษี โดยระบุว่า จะมีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสู่ระดับ 15% จากปัจจุบันที่ 35% รวมทั้งปรับลดภาษีเงินได้ของธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งรวมถึงรายได้ส่วนบุคคลของเจ้าของธุรกิจ สู่ระดับ 15% จากปัจจุบันที่ 39.6% และยังปรับลดขั้นบันไดในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากปัจจุบัน 7 ขั้น เหลือเพียง 3 ขั้น โดยผู้มีรายได้ในขั้นสูงสุดจะเสียภาษีในอัตรา 35% ส่วนอีก 2 ขั้น เสียภาษีในอัตรา 25% และ 10% อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของวงเงินรายได้ของผู้เสียภาษีในแต่ละขั้น
ขณะที่นักลงทุนมองว่ามาตรการภาษีดังกล่าว ไม่ได้ลงรายละเอียดที่เพียงพอ โดยเฉพาะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับลดภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรที่บริษัทข้ามชาติส่งกลับสู่สหรัฐฯ ซึ่งก่อนหน้านี้คาดจะมีการปรับลดภาษีดังกล่าวสู่ระดับ 10% จากปัจจุบันที่ 35% และยังอยู่ระหว่างจับตาการเจรจาระหว่างตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ และสภาคองเกรส เกี่ยวกับการออกร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวที่จะช่วยให้สหรัฐหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์ โดยจะต้องบรรลุข้อตกลงกันก่อนเส้นตายในเวลาเที่ยงคืนของวันศุกร์นี้ตามเวลาสหรัฐฯ (28/4/60)
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวัง ก่อนคณะทำงานของ ปธน.ทรัมป์ จะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปภาษี โดยตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการก่อนการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$0.06 อยู่ที่US$49.62 ต่อบาร์เรล หลัง EIA เปิดเผย สต็อกน้ำมันดิบล่าสุดของสหรัฐฯ ลดลง 3.6 ล้านบาร์เรล (สูงกว่าที่คาดว่าจะลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล) อยู่ที่ 528.7 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สมาชิกโอเปกจะจัดการประชุมในวันที่ 25/5/60 เพื่อตัดสินใจว่าจะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตเกินเดือนมิ.ย.หรือไม่?
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
17.39 1.94 3.13
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 42,478.43
สถาบัน 1,221.77
บัญชีหลักทรัพย์ 288.1
ต่างประเทศ -1,074.69
ในประเทศ -435.18
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$3.0 อยู่ที่ US$ 1,264.2 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า
ขณะที่การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวัง ก่อนคณะทำงานของ ปธน.ทรัมป์ จะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปภาษี โดยตลาดทองคำปิดทำการก่อนการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,075 ล้านบาท สะสม YTD +5,010 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาทและ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)
(+) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดขายรถยนต์ภายในประเทศทั้งระบบ - มี.ค. อยู่ที่ 84,801 คัน +16.7%YoY และ +23.9%MoM จากการเปิดตัวรถยนต์นั่งใหม่หลายรุ่น รวมถึงยอดจองรถยนต์ในงาน Motor Show มากกว่า 30,000 คัน และยอดขายรถกระบะดีขึ้น หลังราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยคาดทั้งปี’60 อยู่ที่ 800,000 คัน เทียบกับ 769,000 คัน เมื่อปี’59
ประเด็นที่ต้องติดตาม 27 - 28 เม.ย. 2560
27/4/60 ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)สหรัฐฯ เปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค.ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค.
28/4/60 สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งแรก GDP –1Q/60
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนเม.ย.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงท้ายเดือนเม.ย.
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCBเป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชน ที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
(6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น และ BANPU ปรับตัวขึ้นตามราคาถ่านหิน
(7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจขนส่งทางเรือ เช่น PSL คาดได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเรือเทกอง
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.31%(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.09 อยู่ที่ 10.85
หุ้นแนะนำ : SQ
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788