- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 21 April 2017 16:54
- Hits: 2661
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,560-1,575 จุด ยังถูกกดดันจากแรงขายรับงบหุ้นธนาคารพาณิชย์ ที่รายงานเสร็จสิ้นแล้ว แต่ความผันผวนค่าเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยู่ที่ความคาดหวังการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสอาทิตย์นี้ จะมีผลให้ออกจากยุโรปเช่นเดียวอังกฤษหรือไม่ กลยุทธ์ให้เน้นรายหุ้นที่มี net cash (STEC), EPS Growth สูง (FSMART, PTTEP) upside สูง, P/E ต่ำ และ/หรือ เงินปันผลสูง (IRPC, LANNA) Top pick IRPC([email protected])
ค่าเงินโลกผันผวนฝรั่งเศสจะออกจากยูโร? อยู่ที่ผลเลือกตั้งสุดสัปดาห์นี้
ใกล้จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง 2 รอบ ในรอบแรกจะจัดขึ้นวันอาทิตย์ 23 เม.ย. นี้ และผู้ที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรก จะเข้าสู่การเลือกตั้งรอบที่ 2 ซึ่งจะมีขึ้นใน 7 พ.ค. ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่าชี้ชะตาของฝรั่งเศสว่าจะออกจากยุโรปเหมือนกับอังกฤษหรือไม่ เนื่องจากพรรคฝ่ายค้าน (นำโดยนาง Marine Le Pen) มีแนวคิดที่จะออกจากยุโรป ทั้งนี้ผลการสำรวจความนิยมของประชาชน ต่อ พรรครัฐบาล (นำโดย นาย Emmanuel Macron) กับฝ่ายค้านแกว่งตัวตลอดเวลา แต่ล่าสุด ผลสำรวจพบว่า คะแนนความนิยมเกือบทุกแห่ง ระบุว่าคะแนนนิยม นาย Emmanuel Macron (รัฐบาล) เพิ่มมากกว่า นาง Marine Le Pen (ฝ่ายค้าน) จากก่อนหน้าคะแนนความนิยมทั้ง 2 ฝ่ายใกล้เคียงกัน ประเด็นนี้ได้คลายความกังวลต่อตลาดฯ ซึ่งหนุนให้ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัว และ ค่าเงินยูโรวานแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่าอีกครั้งราว 0.94% ในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เคยอ่อนค่ากว่า 6% นับจาก Brexit กลางปี 2559
ขณะที่ค่าเงินเอเซียกลับมาอยู่ในทิศทางแข็งค่าในเดือน เม.ย. หลังอ่อนค่าในช่วง 1Q60 เชื่อว่าเป็นผลจากตลาดตอบรับนโยบายเศรษฐกิจของนายทรัมป์ไปมากแล้ว โดยรวมจากต้นปี 2560 -ปัจจุบัน (ytd) พบว่าเงินรูปีของอินเดียยังคงแข็งค่ามากสุด 5.04% ตามด้วยบาท แข็งค่า 4.08% ริงกิตแข็งค่า 2.02% และรูเปียอินโดนีเซียแข็งค่า 1.26% ยกเว้นเปโซของฟิลิปปินส์ทรงตัวแม้มีความผันผวนสูง โดยมีทิศทางอ่อนค่าในช่วง 1Q60 แต่ถูกหักล้างจากการแข็งค่าในเดือน เม.ย.
ทั้งนี้การที่เงินบาทแข็งแรงในระยะสั้น ๆ น่าจะเป็นผลจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้กว่า 1.12 แสนล้านบาท ytd (หักล้างแรงขายตลาดทุนที่มีเม็ดเงินน้อยกว่ามาก) และไทยยังเกินดุลการค้าต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามหากเงินบาทแข็งน่าจะมีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่าในสัปดาห์หน้า เพราะเชื่อว่าน่าจะมีแรงขายในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น หลังจากที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาพการเมืองในยุโรปน่าจะชัดเจนขึ้น และ เงินบาทที่ระดับใกล้เคียง 34 บาทต่อดอลลาร์ การส่งออกของไทยน่าจะเผชิญปัญหาการแข่งขันที่ยากขึ้นในตลาดโลก ท่ามกลางการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ยังขายไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 109 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิอีกกว่า 102 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 12 วัน) และเกาหลีใต้ 59 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทย 12 ล้านเหรียญ หรือ 412 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่งผลให้ยอดซื้อสะสมสุทธิในเดือน เม.ย. ลดลงมาเรื่อยๆจนกลับมาเป็นยอดขายสุทธิราว 761 ล้านบาท (mtd) ต่างกับสถาบันฯในประเทศที่วานนี้สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 170 ล้านบาท (หลังขายสุทธิติดต่อ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 3.23 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 1.6 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วัน)
หุ้น ธ.พ. ถูกแรงขายรับงบ ตามด้วยหุ้น DTAC เป็นไปตามคาด
วานนี้ ธ.พ. ใหญ่ทยอยรายงานงบ 1Q60 จนครบ โดย KBANK ([email protected]) กำไรสุทธิต่ำกว่าคาดโดยเพิ่มขึ้น 5.4%yoy แต่หดตัวเล็กน้อยราว 0.7% qoq แม้สินเชื่อสุทธิยังทรงตัว แต่เห็นการลดลงของ NIM มาอยู่ที่ 3.34% จาก 3.40% ในงวดก่อนหน้า ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นถึง 33%qoq (coverage ratio เพิ่มมาที่ 134.94% จาก 130.92%) โดย NPL ยังทรงตัวที่ 3.31% ของสินเชื่อรวม ขณะที่แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 2Q60 เติบโตสูงขึ้นจากงวด 1Q60 จากการเติบโตเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อ แบบค่อยเป็นค่อยไป และน่าจะดีขึ้นในงวด 2H60 โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 เติบโต 6.2% yoy (กำหนดสินเชื่อเติบโต 6%yoy และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น 12%)
ตามด้วย BBL ([email protected]) กำไรสุทธิต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ทรงตัวทั้งจากงวดก่อนหน้าและงวดเดียวกันของปีก่อน (0.5%qoq และ -0.2%yoy) โดยสินเชื่อสุทธิทรงตัว แต่ NIM ลดลงเหลือ 2.18% จาก 2.24% ในงวด 4Q59 แต่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นมากถึง 61%qoq ตามการเพิ่มขึ้นของ NPL มาอยู่ที่ 3.5% จาก 3.2% ในงวด 4Q59 แม้ทำให้ coverage ratio ลดลงจาก 173.6% งวด4Q59 เป็น 160% แต่ยังอยู่ในระดับสูง จึงไม่กังวลประเด็นนี้เหมือนกับ TMB โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2560 เติบโต 7.8% yoy (กำหนดสินเชื่อเติบโต 4.9%yoy และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น 10%)
SCB (FV@B178) กำไรสุทธิงวด 1Q60 ต่ำกว่าคาด แม้เพิ่มขึ้น 13%yoy แต่ลดลง 6.3%qoq โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิทรงตัวเมื่อเทียบกับงวดก่อนหน้า ตามสินเชื่อสุทธิทรงตัว ขณะที่ NIM หดตัวลงจาก 3.28% ใน 4Q59 เหลือ 3.17% และ NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2.67% ใน 4Q59 เป็น 2.70% ของสินเชื่อรวม ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นมากกว่า 150% จากงวดก่อนหน้า (coverage ratio อยู่ที่ 133.4% ลดลงเล็กน้อยจาก 134.3% ในงวด 4Q59) แต่โดยรวมปี 2560 คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7.0% yoy (กำหนดสินเชื่อเติบโต 5%yoy และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง 11%)
ขณะที่ ธ.พ.ขนาดใหญ่ 2 แห่ง ที่รายงานไปแล้วก่อนหน้า คือ KTB ([email protected]) แม้ทำกำไรได้ตามคาด โดยเติบโตถึง 14.6% qoq และ 13.2% yoy แต่เป็นเพราะการตั้งสำรองที่ลดลงจากงวดก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อทรงตัว (0.5% qoq และ ลดลง 3.9% yoy) และ NIM ใกล้เคียงกับงวด 4Q59 และที่น่ากังวลคือ NPL เพิ่มขึ้นมาที่ 4.36% จาก 3.97% ของสินเชื่อรวม 4Q59 ทำให้มีโอกาสตัดลดกำไรลงได้จึงแนะนำ “ switch” และ TMB ([email protected]) กำไรต่ำกว่าคาดเล็กน้อย และแนวโน้ม 2Q60 คาดยังทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 1Q60 โดยปี 2560 คาดกำไรเติบโต 11.9%yoy สินเชื่อสุทธิเติบโต 8-10% yoy หลักๆ เน้นไปที่กลุ่มสินเชื่อ SME และรายย่อย แต่ด้วยราคาหุ้นขยับขึ้นมาจนเกิน Fair Value ไปแล้ว จึงแนะนำให้ switch
ส่วนธนาคารพาณิชย์รายย่อยที่รายงานไปก่อนหน้า คือ TCAP (FV@B53) รายงานกำไรสุทธิงวด 1Q60 เพิ่มขึ้น 18.6% yoy แต่ลดลง 5.4% qoq (ดีกว่าคาดเล็กน้อย) หลัก ๆ มาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง 37.3% qoq และ 51.8% yoy ช่วยชดเชย รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง และ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังค่อนข้างแผ่วตัว (สินเชื่อสุทธิที่หดตัว 1.3% qoq และ 2.5% yoy และ NIM ทรงตัว 3%) แต่มีข้อดีที่ NPL ลดลงเหลือ 2.32% ทำให้ NPL Coverage ratio เพิ่มขึ้นมาที่ 152.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์และเกินค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ 140% ทำให้คาดกำไรสุทธิงวด 2Q60 จะกลับมาเติบโตจากงวด 1Q60 โดยรวมปี 2560-61 จะเติบโต 17.0% yoy และ 12.0% yoy (การเติบโตสินเชื่อสุทธิ 3-5%yoy) ถือเป็นหุ้น top pick ในกลุ่มธนาคารรายย่อย มีเงินปันผลเฉลี่ยราว 5% p.a. และ TISCO ([email protected]) แม้กำไรสุทธิงวดนี้เติบโตดีแต่เป็นเพราะ ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ขณะที่การปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และ SME ยังไปได้ดี แต่ NIM อ่อนตัวเล็กน้อย ภาพรวมธุรกิจ 2Q60 แข็งแกร่งต่อเนื่องจาก 1Q60 แม้มี Div. Yield สูงถึงกว่า 5.6% แต่ราคาหุ้น upside จำกัด แนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ขณะที่กลุ่มสื่อสาร วานนี้มีการประกาศงบฯ ของ DTAC (FV@B30) ทำกำไรฯ 1Q60 ได้ตามคาด อยู่ที่ 229 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึง 663%qoq (จากฐานที่ต่ำมากในงวด 4Q59) แต่ลดลงหนักถึง 82%yoy จากรายได้ที่ลดลง ขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากการขยายโครงข่าย รวมทั้งมีการบันทึกค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้าง ขณะที่แนวโน้มกำไร 2Q60-3Q60 คาดลดลงจาก 1Q60 ตามฤดูกาล แต่จะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลใช้งานใน 4Q60 โดยรวมตลอดปี 2560 กำไรยังคงหดตัวแรง -63.8%yoy
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636