WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AIRAบล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



ทิศทางตลาด
          คาดตลาดยังคงมีแนวโน้มแกว่งตัว (sideway) โดยตลาดได้รับปัจจัยบวกจากทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ในซีเรียและความไม่มั่นคงในคาบสมุทรเกาหลี ในขณะที่ท่าทีการส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่ค่อนข้างอ่อนลงเมื่อเทียบกับการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งก่อน ทำให้เราคาดว่ายังไม่เห็นการขึ้นดอกเบี้ยในรอบการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากการเข้าซื้อต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงแข็งค่า ล่าสุดมาอยู่ที่ 34.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
          ส่วนทางด้านประเด็นต่างประเทศ อยู่ระหว่างติดตามการโจมตีทางอากาศต่อซีเรียของสหรัฐฯ และท่าทีของรัฐเซีย ว่าประเด็นดังกล่าวจะลุกลามออกไปหรือไม่ และการประชุม FOMC ในช่วงวันที่ 2-3 พ.ค.นี้ รวมถึงการดำเนินงานนโยบายของปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งในเดือนนี้ร่างงบประมาณฯ จะต้องผ่านสภาคองเกรส เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานราชการของสหรัฐฯ "Shutdown" รวมถึงนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ ซึ่งก่อนหน้านี้มีความคาดหวังในเชิงบวกว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เช่น การปฏิรูปภาษี การผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงการใช้จ่ายโครงการสาธารณูปโภค ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.0 ล้านล้านUSD ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า
          ส่วนทางด้านยุโรป แนะติดตามการปรับลดวงเงิน QE ของ ECB จาก 80,000 ล้านยูโร/เดือน เป็น 60,000 ล้านยูโร/เดือน ตั้งแต่เมย. - ธ.ค.'60 รวมถึงการเลือกตั้งในยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศส (รอบแรก 23/4/60 รอบสอง 7/5/60) ซึ่งคาด Sentiment เป็นบวก คาดช่วยลดความกังวลโดยเฉพาะการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง ที่อาจเป็นการจุดกระแสความนิยมต่อนโยบายขวาจัด
          อย่างไรก็ตามแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
  ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง ครม. เห็นชอบประเด็นการปรับร่างทีโออาร์ใหม่สำหรับรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และแนะให้จัดทำร่าง TOR ใหม่ เสร็จภายใน 3 เดือน คาดมีความเป็นไปได้ที่จะเปิดประมูลในช่วง 2H/60
          
และยังแนะจับตา
          (1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
          (2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี '60 เช่น KBANK และ SCB เป็นต้น
          (3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
          (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
          (5) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากการเปิดขายโครงการในปี'60 ที่โดดเด่น เช่น ANAN และ SPALI เป็นต้น
          (6) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชนที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
          (7) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น และ BANPU ปรับตัวขึ้นตามราคาถ่านหิน
          (8) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK  
          (9) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจขนส่งทางเรือ เช่น PSL คาดได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเรือเทกอง 
          ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี  -0.06 อยู่ที่ 2.30%
          (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.'54) 
          ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.02 อยู่ที่ 15.07
          หุ้นแนะนำ : TOP

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
          (+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -6.72, NASDAQ -14.15, S&P -3.38, FTSE +16.56, CAC -5.59 และ DAX -61.17
          โดยที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงเล็กน้อย ในขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ โจมตีทางอากาศต่อรัฐบาลซีเรีย และท่าทีของรัสเซีย ตลอดจนเกาหลีเหนือ ซึ่งส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
          ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในซีเรียหลังจากที่ทูตถาวรของสหรัฐประจำ UN กล่าวว่า การโค่นล้มปธน. บาซาร์ อัล-อัสซาด ถือเป็นภารกิจหลักของปธน.ทรัมป์ 
          ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ค. +US$0.32 อยู่ที่US$53.40 ต่อบาร์เรล หลังจากมีข่าวว่าซอุดิอาระเบีย ต้องการให้กลุ่มโอเปกขยายมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตออกไปอีก 6 เดือน  ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก จะประชุมร่วมกันในช่วงปลายเดือนพ.ค. เพื่อทำการทบทวนข้อตกลงว่า ควรจะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตออกไปหรือไม่? ซึ่งข้อตกลงเดิมมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1/1/60 และมีกำหนดเป็นเวลา 6 เดือน โดยจะสิ้นสุดกลางปีนี้
          ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$20.3 อยู่ที่US$1,274.20 ต่อออนซ์ จากความกังวลทางการเมือง ต่อกรณีที่สหรัฐฯ เข้าโจมตีซีเรีย 
          (+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -759 ล้านบาท สะสม YTD +7,622 ล้านบาท (ปี'57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี'59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 12 - 14 เม.ย. 2560       
12/4/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
          (1) ราคานำเข้าและส่งออกเดือนมี.ค. 
          (2) สต็อกน้ำมัน
13/4/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
          (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
          (2) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค.
          (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงต้นเดือนเม.ย.
14/4/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
          (1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค.
          (2) ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.
          (3) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.พ.

นักวิเคราะห์ : ศักดิ์นรินทร์   ศศานนท์      โทร .02-684-8789

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!