- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 March 2017 17:54
- Hits: 2043
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX วานนี้แกว่งในกรอบแคบ 1,575 จุด +/- แม้ว่า PTT จะขึ้น XD มูลค่า 10 บาท มีผลกระทบต่อ SET INDEX ราว 2.9 จุด ก็ตาม แต่ผลของการทำ Window Dressing ในหุ้นหลักอย่าง SCC / SCB/ TRUE/ BJC เป็นต้น ปิด ณ สิ้นวันที่ 1,574.97 จุด ลบ 1.75 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 36,902 ล้านบาท
ทั้งนี้ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นเป็นวันที่ 9 เพียง 157 ล้านบาท ซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 เท่ากับ 1,898 ล้านบาท แต่กลับมา Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 2,044 สัญญา
ปัจจัยสำคัญวันนี้
- กนง. คงอัตราดอกเบี้ย RP1 ตามคาดที่ 1.50%
- ธปท.ปรับ GDP ในปีนี้ขึ้นเป็น 3.4% จากเดิม 3.2% โดยปรับการส่งออกเป็นหลัก
- เม็ดเงินทุนต่างชาติเริ่มชะลอการสะสมในตลาดหุ้นและตลาดเงินขอไทย
- Window Dressing ยังคงทำงานอย่างแข็งแกร่ง
- อังกฤษยื่นเอกสารการขอถอนตัวออกจากอียูอย่างเป็นทางการแล้ว
- อียูห้ามนำเข้าเนื้อจาก 12 บริษัทในบราซิลแบบไม่มีกำหนด
มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลางถึงบวก (วันที่ 10)
SET INDEX วานนี้ปรับตัวลง 1.75 จุด เป็นผลจากการขึ้นเครื่องหมาย XD ของ PTT ราว 2.9 จุด หากตัดปัจจัยดังกล่าว ตลาดหุ้นไทยแกว่งในกรอบแคบ สอดคล้องกับภาพรวมของตลาดหุ้นในเอเชียวานนี้ ขณะที่หุ้นหลักใน SET100 บางหลักทรัพย์ขยับขึ้นเด่น จากประเด็น Window Dressing ซึ่งเราเชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวจะช่วยประคองภาพ SET INDEX ต่อเนื่องในช่วง 2 วันทำการของสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินทุนต่างชาติที่เริ่มชะลอการสะสมหุ้นไทย อาจทำให้แรงส่งในการไต่ระดับสู่ด่าน 1,585-1,590 จุดเป็นไปได้อย่างจำกัด อีกทั้งปัจจัยการลงทุนทั้งในและต่างประเทศขาดความโดดเด่น เพียงแต่ความเสี่ยงด้านการเมืองในสหรัฐฯ และขั้นตอนการ Brexit เริ่มต้นนับ 1 แล้วตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. เชื่อว่าเม็ดเงินทุนบางส่วนที่กระจายความเสี่ยงสู่ตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทย หาจังหวะการลงทุนเพิ่มเติม เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยจำกัด Downside risk ของตลาดหุ้นไทย
กลยุทธ์การลงทุน "ถือพอร์ตที่สะสมมาก่อนหน้านี้ และเก็งกำไรหุ้นรายตัวที่ผลการดำเนินงานใน 1Q60 เติบโตเด่น" เป็นทางเลือก และรอขายทำกำไรบริเวณ 1,590 จุด +/-
Daily Pick
1. สะสม BJC : ราคาปิด 47.50 บาท ราคาเหมาะสม 59.00 บาท
a) MBKET คาดว่าหุ้น BJC จะได้อานิสงค์จาก Window Dressing สิ้นสุด 1Q60 เนื่องจากเป็นหุ้นที่สถาบันในประเทศถือครองเป็นจำนวนมาก และ YTD หุ้น BJC -5.5% เคลื่อนไหว Underperform SET Index +2.1% และ SET COMMERCE -3.9%
b) คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติ 1Q60 จะเติบโตสูง yoy และขยายตัว qoq จากภาคบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัว ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) คาดว่าจะดีขึ้น qoq เนื่องจาก 4Q59 BIGC มีการปรับกลยุทธ์และล้างสต็อกสินค้าจึงทำให้ GPM ของ BIGC ลดลงต่ำผิดปกติ
c) คงมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของกำไรปี 2560 ที่คาดว่าจะเติบโตถึง +115% yoy เป็น 6,753 ล้านบาท จากการรวมงบ BIGC เต็มปี, การขยายกำลังการผลิตขวดแก้ว และ Synergy ด้านต้นทุน ส่งผลให้เกิดแรงผนึกและประหยัดต้นทุนด้าน Logistic, IT และการเงิน
d) ซื้อขายที่ระดับ PEG2560 เพียง 0.25 เท่า เทียบกับกลุ่มค้าปลีกที่ 1.6 เท่า ให้ BJC เป็น Top pick ของกลุ่มค้าปลีก
2. สะสม TMB : ราคาปิด 2.38 บาท ราคาเหมาะสม 2.50 บาท
a) MBKET คาดว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะตอบรับเชิงบวก เนื่องจากได้ประโยชน์โดยตรงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังวานนี้ กนง.ปรับเพิ่มการเติบโต GDP ปี 2560 ขึ้นเป็น 3.4% จากเดิมที่ 3.2%
b) สินเชื่อ 2M60 ขยายตัวโดดเด่น +1.5% YTD เทียบกับกลุ่มธนาคารที่ -0.3% YTD และธนาคารใหญ่ เช่น BBL -1.6%, KTB +0.2%, KBANK +0.9%, SCB +0.1%
c) คาดว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดใน เดือน เม.ย. จากแรงเก็งกำไรผลประกอบการ 1Q60 ที่คาดว่าจะขยายตัว yoy และเป็นหุ้นกลุ่มแรกที่จะรายงานผลประกอบการตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย.
d) คาดกำไรสุทธิปี 2560 เติบโต +27% yoy เป็น 10,447 ล้านบาท และ Valuation น่าสนใจที่ระดับ PER2560 เพียง 7.9 เท่า เทียบกับหุ้นกลุ่มธนาคารที่ 9.4 เท่า
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 อีก US$2 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$568 ล้าน
ทั้งนี้ PSE กลับมาถูกขายสุทธิหนาแน่น
Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติเริ่มชะลอในตลาดหุ้นไทย
นักลงทุนต่างชาติคงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 9 เพียง 157 ล้านบาท รวม 9 วันทำการซื้อสุทธิ 9,354 ล้านบาท ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิลดลงเป็น 4,088 ล้านบาท
SET50 Index futures นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมา Short สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 2,044 สัญญา เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้า Long สุทธิ 9,632 สัญญา คาดเป็นการกลับมาเปิดสถานะ Short อีกครั้ง ส่งผลให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิขยับเป็น 38,316 สัญญา โดยที่ S50H17 กลับมาปิดสูงกว่า SET50 Index เป็นวันแรกในรอบ 8 วันทำการ 0.37 จุด จากวันก่อนหน้าปิด Discount กว้างถึง 2.40 จุด ทั้งนี้ S50H17 จะซื้อขายวันนี้เป็นวันสุดท้าย
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนต่างชาติคงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 เท่ากับ 1,898 ล้านบาท ชะลอตัวจากวันก่อนหน้า รวม 3 วันทำการซื้อสุทธิ 13,548 ล้านบาท โดยที่ราคาพันธบัตรไทยฟื้นตัวเป็นวันที่ 3 ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ลดลงอีก 2.56bps จากวันก่อนหน้าลดลง 0.10bps ปิดที่ 2.772%
Short-Selling วานนี้
เท่ากับ 275 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 386 ล้านบาท ด้วยจำนวนหุ้น 43หลักทรัพย์ จากวันก่อนหน้า 44 หลักทรัพย์
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9 กลับมาเน้นกลุ่มธนาคารอีกครั้ง
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิอีก 794 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 544 ล้านบาท รวม 9 วันทำการซื้อสุทธิ 5,755 ล้านบาท โดย NVDR กลับมาสะสมกลุ่มธนาคารสูงสุดอีกครั้ง 302 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มปิโตรเคมี 181 ล้านบาท แต่ขายสุทธิกลุ่มอาหารสูงสุดต่อเนื่องอีก 61 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
Trump เปิดเผยแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้ว: ประธานาธิบดี Trump เปิดเผยแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า US$1.0 ล้านล้าน ตลอด 10 ปี และครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง, พลังงาน, น้ำ, บรอดแบนด์ และโรงพยาบาล นอกจากนี้ทางการจะให้ข้อเสนอแก่การลงทุนร่วมระหว่างเอกชนและรัฐ มากกว่าการลงทุนเอง
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นบวก
- ยอดขายบ้านรอปิดการขายเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 5.5% mom ดีกว่า Bloomberg consensus คาด +2.4% mom และฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้า -2.8% mom
ยุโรป
การเจรจา Brexit กับอียูจะต้องมีทั้งได้และเสีย: รมว.คลัง อังกฤษ ประเมินว่า อังกฤษจะต้องวางกรอบการเจรจากับอียู เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประเทศในการออกจากอียู แม้ว่าการเจรจาทุกๆ ประเด็นจะต้องมี "ได้" และ "เสีย" ก็ตาม แต่อังกฤษจะต้องเจรจาเพื่อสร้างความเข้าใจและรับถึงผลที่ดีที่สุดในแต่ละประเด็น
อังกฤษเริ่มนับหนึ่งกับขั้นตอน Brexit: นายกฯ อังกฤษ ได้ส่งเอกสารอย่างเป็นทางการแก่อียู เพื่อแสดงเจตจำนงค์ในการออกจากการเป็นสมาชิกในกลุ่มอียู (Brexit) โดยกรอบเวลาการเจรจาจะสิ้นสุดลงในปลายเดือนมี.ค. 2562 หรือ 2 ปี
อังกฤษเตรียมออกกฎหมายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศ: วันที่ 30 มี.ค. รัฐบาลอังกฤษจะปรับกฎหมายจากอียู เป็นกฎหมายอังกฤษ เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อภาคธุรกิจ แรงงาน และประชาชน ภายใต้กฎหมาย Great Repeal Bill
กรีซและเจ้าหนี้ตกลงร่วมกันในแผนปฎิรูปแรงงานและลดกองทุนบำเหน็จบำนาญ: การเจรจาระหว่างกรีซ และเจ้าหนี้คือ อียูและ IMF ได้ตกลงเบื้องต้นในการปฎิรูปพลังงาน, การลดค่าใช้จ่ายกองทุนบำเหน็จบำนาญมากถึง 1% ของ GDP ภายในปี 2562 และปฎิรูปโครงสร้างพลังงาน ทั้งนี้ประเด็นเหล่านี้จะมีการหารือในที่ประชุมรมว.คลัง อียูวันที่ 7 เม.ย.
อียูกระตุ้นให้มีการห้ามนำเข้าเนื้อจากบราซิล: เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียู ให้ความเห็นหลังเข้าตรวจสอบการผลิตเนื้อของบราซิล ศาลบราซิลสั่งให้มีการควบคุมด้านคุณภาพอย่างจริงจังในบางบริษัทที่ผลิตเนื้อ ล่าสุดอียูได้ห้ามการนำเข้าเนื้อจาก 21 บริษัทของเอกชน และทางการอียูคาดว่าจะไม่มีการยกเลิกคำสั่งห้ามในเร็วๆ นี้
อียูปฎิเสธการรวมตลาดหุ้นเยอรมันและอังกฤษ: European Competition Commissioner ได้ห้ามการรวมตลาด Deutsche Boerse และตลาด London Stock Exchange ซึ่งการรวมดังกล่าวจะทำให้ตลาดดังกล่าวมีขนาดใหญ่ที่สุดในอียู จากการรวมของ 2 ตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของแต่ละประเทศ
จีน
ไม่มี
เอเชียแปซิฟิก
สภาล่างของอินเดียผ่านร่างกฎหมายปฎิรูปภาษี: สภาล่างของอินเดียได้ผ่านการพิจารณาร่างกฎหมายปฎิรูปภาษี เพื่อปรับภาษีขายเป็น Goods and Services Tax (GST) เป็นการปรับภาษีขายเป็นอัตราภาษีเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าเริ่มในวันที่ 1 ก.ค.นี้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดอัตราภาษีดังก่าว เป็นเพียงการเสนอในกรอบกว้างระหว่าง 5-28% โดยที่อัตราภาษีมาตรฐานอยู่ระหว่าง 12-18%
ไทย
กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาด: คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือกนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี หลังประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อจากนี้ก็ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอีกมาก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากต่างประเทศ ดังนั้นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ จึงช่วยให้ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ผ่อนคลาย และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ธปท.ปรับประมาณการ GPD ปีนี้ขึ้นเป็น 3.4%: ธปท.ปรับเป้าจีดีพีปีนี้โต 3.4% จากเดิม 3.2% ส่วนปีหน้าโต 3.6% มีปัจจัยบวกจากการส่งออกที่ฟื้นตัว และการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เสถียรภาพการเงินของจีนและการเมืองในยุโรป
Strategist Team
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Krittapol Itthithumsakul Assistant Analyst