- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 22 March 2017 18:03
- Hits: 2360
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับลดลงภายใต้ปัจจัยกดดันจาก (1) ความไม่แน่นอนในมาตรการของ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ และ (2) อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษ – ก.พ. อยู่ที่ 2.3 % ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่ก.ย.’56 และสูงกว่าเป้าหมายของ BOE ที่ 2.0 % ทำให้เกิดความกังวลว่า BOE อาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นการพิจารณา
ออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ ที่จะเริ่มกระบวนการอย่างเป็นทางการ ปลาย มี.ค. นี้
ขณะที่แนะติดตามการเลือกตั้งในยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศส (เม.ย. – พ.ค.) ซึ่งคาด Sentiment เป็นบวก หลังผลการเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ และผลสำรวจล่าสุดในช่วงการหาเสียงในฝรั่งเศส คาดช่วยลดความกังวลโดยเฉพาะการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง ที่อาจเป็นการจุดกระแสความนิยมต่อนโยบายขวาจัด
ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ (-) ประเด็นการยกเลิกทีโออาร์รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง เพื่อเสนอแนวทางที่เปิดกว้างให้มีการแข่งขันมากขึ้น คาดใช้เวลาอีก 5 – 6 เดือน ทำให้การประมูลล่าช้าออกไป (+) Fund Flow จากแรงซื้อสุทธิของต่างชาติ หลังค่าเงินสหรัฐฯ กลับมาอ่อนค่า ซึ่งคาดเงินทุนไหลเข้า Emerging Market รวมถึงไทย นอกจากนี้ยังมีประเด็น Window Dressing ซึ่งจะมีการปิดงบไตรมาส 1 ในวันที่ 31/3/60
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับปัจจัยหนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดดีขึ้นตามลำดับ ภายใต้ (1) การลงทุนของภาครัฐ ที่ได้แรงขับจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (2) รายได้เกษตรกรที่คาดปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และสถานการณ์ภัยแล้งที่ผ่อนคลายลง และ (3) การส่งออกปรับตัวดีขึ้นจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดย กกร. คาดส่งออกเติบโต 1.0 – 3.0% รวมถึงได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า และ (4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวไทย ซึ่ง ททท. คาดว่าทั้งปี’ 60 อยู่ที่ 34 - 35 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 32.59 ล้านคน เมื่อปี’59 พร้อมคาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 10% จาก 1.64 ล้านบาทเมื่อปี’59
SET SET50 SET100
1,568.78 +5.24 993.96 +4.43 2,237.88 +8.86
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -237.85, NASDAQ -107.70, S&P -29.45, FTSE -51.47, CAC -9.73 และ DAX -90.77
ภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค มูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านUSD แผนการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ แผนปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับชนชั้นกลาง และแผนการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับภาคธุรกิจ
ขณะที่อยู่ระหว่างรอการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานเฟดในวันพรุ่งนี้ตามเวลาสหรัฐฯ (23/3/60) ภายใต้หัวข้อ "Strong Foundations: The Economic Futures of Kids and Communities" เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในปีนี้
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยลบจากหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังดอยซ์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี ประกาศเพิ่มทุน 8 พันล้านยูโร (8.5 พันล้านUSD) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านเงินทุนของธนาคาร หลังได้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อยุติคดีความกับทางการสหรัฐฯและอังกฤษ อย่างไรก็ตามการปรับลดลงอยู่ในกรอบจำกัดหลังผลสำรวจระบุว่า นายเอมมานูเอล มาครอง มีคะแนนนำนางมารีน เลอ ในการโต้วาทีเพื่อชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีฝรั่งเศส วานนี้ โดยนางมารีน เลอเปน จากพรรค National Front (FN) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองชูนโยบายประชานิยมขวาจัดและสนับสนุนให้ฝรั่งเศสแยกตัวจากสหภาพยุโรป
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เม.ย. -US$0.88 อยู่ที่US$47.34 ต่อบาร์เรล ภายใต้คาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนจับตาดูว่านอกจากซาอุดิอาระเบียแล้ว จะมีประเทศสมาชิกรายอื่นๆ ของโอเปกที่ออกมาให้คำมั่นว่าจะขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่?
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
17.31 1.92 3.14
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 35,685.04
สถาบัน 74.66
บัญชีหลักทรัพย์ -536.22
ต่างประเทศ 1,532.57
ในประเทศ -1,071.01
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ TKN เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCB เป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากการเปิดขายโครงการในปี’60 ที่โดดเด่น เช่น ANAN และ SPALI เป็นต้น
(6) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ และ UNIQ เป็นต้น
(7) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น และ BANPU ปรับตัวขึ้นตามราคาถ่านหิน
(8) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(9) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจขนส่งทางเรือ เช่น PSL คาดได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเรือเทกอง
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.04 อยู่ที่ 2.44%
(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.13 อยู่ที่ 12.47
หุ้นแนะนำ : SPRC
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788