- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 13 March 2017 17:02
- Hits: 1811
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ผันผวน? มีโอกาสฟื้นตัวแต่คาดเป็นไปอย่างจำกัด หลังดัชนีปรับลดลงตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และภายใต้ที่ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ โดยคาดตลาดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอการประชุมเฟด(14 – 15/3/60) ซึ่งคาดมีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่เฟด จะพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดหมาย โดยผลประชุมทราบเช้า พฤ 16/3/60 ตามเวลาไทย และหากผลประชุมเป็นไปตามที่ตลาดคาด แนะติดตามค่าเงินสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งคาดส่งผลกระทบต่อ (1) ราคาสินค้า Commodity ที่มีการซื้อขายในรูปเงินสหรัฐฯ มีราคาลดลง (2) เงินทุนไหลออก จาก Emerging Market รวมถึงไทย และส่งผลต่อราคาหุ้นในกลุ่ม Blue Chip ที่เป็นเป้าหมายของนักลงทุนต่างชาติ
ขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ที่ปรับลดลงต่อเนื่อง และต่ำกว่า 50USD เป็นวันที่ 2 ของปีนี้ จากความกังวลภาวะอุปทานส่วนเกิน คาดยังเป็น Sentiment ลบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน
และในระยะกลาง มีการเลือกตั้งของหลายๆ ประเทศในยุโรป เช่น ฮอลแลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ตามลำดับ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองก็จะกดดันภาพรวมตลาดในระยะต่อไป
ทางด้านประเด็นในประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่คาดได้รับปัจจัยกดดันอยู่บ้างจากหุ้นในกลุ่ม Laeasing หลังมีความกังวลต่อประเด็นการปล่อยกู้ของ GL ให้กับบริษัทย่อย (จากรายงานของผู้สอบบัญชีประจำปี 2559) ซึ่งในวันนี้ครบกำหนดส่งคำชี้แจงต่อตลาดฯ
รวมถึง Fund Flow ที่ไหลออกต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ YTD มียอดขายสุทธิสะสมของต่างชาติ เพิ่มขึ้น สูงเกือบ 8,800 ล้านบาท (MTD ขายสุทธิสะสม 10,591 ล้านบาท) อย่างไรก็ตามได้รับการชดเชยเข้ามาบ้าง จากแรงซื้อสุทธิของสถาบันในประเทศ
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับปัจจัยหนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดดีขึ้นตามลำดับ ภายใต้ (1) การลงทุนของภาครัฐ ที่ได้แรงขับจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (2) รายได้เกษตรกรที่คาดปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และสถานการณ์ภัยแล้งที่ผ่อนคลายลง และ (3) การส่งออกปรับตัวดีขึ้นจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดย กกร. คาดส่งออกเติบโต 1.0 – 3.0% รวมถึงได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า
SET SET50 SET100
1,539.91 -9.33 972.88 -4.62 2,190.42 -11.47
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +44.79, NASDAQ +22.92, S&P +7.73, FTSE +28.12, CAC +11.81 และ DAX -15.21
โดยตลาดส่วนใหญ่ตอบรับในเชิงบวกต่อตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ – ก.พ. เพิ่มขึ้น 235,000 ตำแหน่ง (ดีกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่ง) ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.7%
อย่างไรก็ตามตัวเลขข้างต้น ทำให้เพิ่มคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนี้ (14 – 15/3/60) ซึ่ง CME Group เปิดเผยการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ พบว่า มีโอกาสสูงถึง 93% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ เพิ่มขึ้นจาก 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันเข้ามาบ้าง หลังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้หารือกันประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนยุติโครงการซื้อพันธบัตร โดย ECB ประกาศคงวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน ถึงสิ้นเดือนมี.ค. และปรับลดสู่ระดับ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน ตั้งแต่เดือนเม.ย. - ธ.ค.
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เม.ย. -US$0.79 อยู่ที่US$48.49ต่อบาร์เรล ยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐฯ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน
ขณะที่ คณะกรรมการตรวจสอบความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิต รวมถึงรัสเซีย จะพบปะกันในการประชุมที่คูเวตในวันที่ 25/3/60 ก่อนที่จะมีการประชุมกลุ่มโอเปก ในเดือนพ.ค.
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
16.97 1.89 3.08
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 39,569.57
สถาบัน 1,944.83
บัญชีหลักทรัพย์ -579.68
ต่างประเทศ -1,290.13
ในประเทศ -75.02
และ (4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวไทย ซึ่ง ททท. คาดว่าทั้งปี’ 60 อยู่ที่ 34 - 35 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 32.59 ล้านคน เมื่อปี’59 พร้อมคาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 10% จาก 1.64 ล้านบาทเมื่อปี’59
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ TKN เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCB เป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากการเปิดขายโครงการในปี’60 ที่โดดเด่น เช่น ANAN และ SPALI เป็นต้น
(6) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ และ UNIQ เป็นต้น
(7) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น และ BANPU ปรับตัวขึ้นตามราคาถ่านหิน
(8) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(9) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจขนส่งทางเรือ เช่น PSL คาดได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเรือเทกอง ขณะที่ดัชนีค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลัง YTD ลงไประดับต่ำสุดที่ 683 เมื่อกลางก.พ.’60 ล่าสุดอยู่ที่ 1,086 หรือเพิ่มขึ้น ประมาณ 59%
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.58%
(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.64 อยู่ที่ 11.66
หุ้นแนะนำ : PSL
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788