WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  เชื่อว่าความกังวลเรื่อง FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ น่าจะถูกสะทัอนลงในราคาหุ้นไปมากแล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะเห็นการดีดตัวกลับในระยะสั้น กลยุทธ์การลงทุนควรเลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และอยู่ในฐานะที่จะได้เปรียบในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยกลับทิศเป็นขาขึ้นวันนี้ยังคง เลือก ROBINS (FV@B79) และ TASCO(FV@B30) เป็น Top picks

 

(0) ตลาดตอบรับ Fed ขึ้นดอกเบี้ย สะท้อน Dollar Index ที่แข็งค่ากว่า 2.4%
  ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้จะมีการประชุมธนาคารกลางของโลกหลายประเทศ แต่ตลาดน่าจะมุ่งไปที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่ 14-15 มี.ค. ซึ่งคาดหวังว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg ที่คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 100% ทั้งนี้เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง ล่าสุด รายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-farm payrolls) เดือน ก.พ. ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดอยู่ที่ระดับ 2.35 แสนราย หนุนให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.7% จาก 4.8% ในเดือน ม.ค.60 เป็นการบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง และที่สำคัญ คือ เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่ Fed คาดไว้ โดยอยู่ที่ 2.5% เดือน ม.ค. 60 (จาก 2.1% ธ.ค. และ 1.0% พ.ย.59) อย่างไรก็ตามเชื่อว่าตลาดน่าจะซึมซับประเด็นดังกล่าวไปแล้วระดับหนึ่งสะท้อนจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ากว่า 2.4% และในวันเดียวกัน 15 มี.ค.60 เลือกตั้งเนเธอร์แลนด์ 16 มี.ค.ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)และธนาคารอังกฤษ(BOE) ตลาดคาดยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ ติดลบ 0.1% และ 0.25% ตามลำดับ และในวันเดียวกันในสหรัฐ พิจารณาอนุมัติร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐ (Debt ceiling) ทั้งนี้ปัจจุบัน หนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 19.8 ล้านล้านดอลลาร์ (ใกล้แตะกรอบที่ 20 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 112% ของ GDP)

  ขณะที่ในประเทศ ปลายสัปดาห์ที่แล้ว ม.หอการค้าไทยเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น 1.7% mom มาอยู่ที่ระดับ 75.8 จุด (เพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนม.ค. 2559) เนื่องจากประชาชนยังเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม หลังจากยอดส่งออกกลับมาขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน และภาคการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามกำลังซื้อในภูมิภาคต่างๆยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เพราะว่าราคาพืชผลทางเกษตร ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะ ข้าว ทำให้โดยรวมยังคงคาดการ GDP Growth ปี 2560 ที่ 3.5-4% ตามเดิม ( เทียบ ASPS คาดที่ 3.5%) สภาพการณ์ดังกล่าวเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก ซึ่งเลือก ROBINS (FV@B79) เป็นหุ้นเด่น

 

(0) แม้ DTAC ได้ประโยชน์จากคลื่น 2300 MHz ของ TOT แต่ราคาก็เกิน Fair Value ไปแล้ว
  มีความคืบหน้าในเรื่องคลื่น 2300 MHz ของ TOT มากขึ้น หลังมีการเชิญชวนให้เอกชนมาเข้าร่วมประมูลคลื่นตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. และมีกำหนดให้เอกชนมายื่นข้อเสนอให้กับ TOT วันที่ 27 มี.ค. 60 หลังจากนั้น TOT จะใช้เวลาพิจารณา 2 เดือน ก่อนประกาศผู้ที่จะเข้าร่วมลงทุนด้วยเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ความคืบหน้าล่าสุด TOT กำลังจะเสนอให้ กสทช. เห็นชอบกับแผนนำคลื่นดังกล่าวไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในสัปดาห์นี้ (หากไม่นำเสนอแผนใช้คลื่น กสทช. มีสิทธิเรียกคืนคลื่นกลับไปประมูลภายใต้ระบบใบอนุญาตได้) คาดว่าจะเป็นการเปิดทางให้แผนร่วมลงทุนกับเอกชนที่เชิญชวนให้เดินหน้าต่อไปได้ ความคืบหน้าดังกล่าวคาดว่าจะส่ง Sentiment ต่อ DTAC ผู้ที่ต้องการคลื่นมากสุด เพื่อลดความเสี่ยงขาดแคลนคลื่นให้บริการ เมื่อคลื่นส่วนใหญ่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2561 อย่างไรก็ตาม ยังน่าจะต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการมือถือรายหลักอีก 2 เจ้า คือ ADVANC และ TRUE ที่น่าจะยื่นข้อเสนอให้ TOT เช่นกัน โดยคาด ADVANC อาจจะต้องการคลื่นเพื่อนำไปให้บริการฐานลูกค้าที่มีมากสุดให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วน TRUE อาจจะเป็นการกีดกัน DTAC ประกอบกับประเด็นบวกดังกล่าว เชื่อว่าได้สะท้อนในราคาหุ้น DTAC ปัจจุบันที่สูงเกิน Fair Value ไปแล้ว จึงยังให้ Switch

 

(-) ความกังวลต่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ยยังกดดันให้ Fund Flow ไหลออก
  วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 63 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) โดยมีเพียง 2 ประเทศที่ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 154 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 169 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ยังถูกขายสุทธิราว 37 ล้านเหรียญ หรือ 1.29 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 10) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 1.94 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ผลสำรวจจาก Bloomberg บ่งชี้ว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอย่างแน่นอนในการประชุมรอบ 14-15 มี.ค. นี้ กดดันให้ Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิหุ้นใทยในเดือน มี.ค. ทุกวัน โดยมียอดขายรวมกว่า 1.06 หมื่นล้านบาท (mtd) และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดตราสารหนี้ที่ถูกขายสุทธิทุกวันเช่นกัน โดยมียอดขายรวมกว่า 2.63 หมื่นล้านบาท (mtd)

 

(-) ดอกเบี้ยขาขึ้น กับผลกระทบหุ้นบันเทิง, โรงกลั่น-ปิโตรฯ และยานยนต์
วันนี้มา update ผลกระทบของดอกเบี้ยขาขึ้นต่อกลุ่มบันเทิง, โรงกลั่น-ปิโตรเคมี และ กลุ่มยานยนต์ ดังนี้
  กลุ่มบันเทิง ผู้ประกอบการกลุ่มบันเทิงที่ทำธุรกิจทีวี (ดิจิตอล และ ระบบสัมปทานเดิม) หลายราย ประสบปัญหาขาดทุนหรือกำไรชะลอตัวในปีที่ผ่านมา เนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาที่ไม่สามารถปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงจากภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง หลังจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจจำนวนมาก หลังการประมูล ขณะที่ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ตัดจ่ายในแต่ละปีสูงกว่ารูปแบบสัมปทานเดิมมาก เมื่อรวมกับผลกระทบจากเหตุการณ์ไว้อาลัย กดดันให้ผลประกอบการกลุ่มบันเทิงโดยรวมขาดทุนในงวด 4Q60 ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายบริษัทจึงต้องกู้ยืมเงิน ส่งผลให้ Net Gearing Ratio ณ สิ้นปี 2559 สูงขึ้นจากปี 2558 มาก โดยเฉพาะ BEC และ RS โดย BEC (FV@B18) มี Net Gearing Ratio เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว จาก 0.23 เท่า ในปี 2558 มาอยู่ที่ 0.48 เท่า ในปี 2559 และ RS ([email protected]) ที่เดิมในปี 2558 มีสถานะการเงินเป็น Net Cash แต่เปลี่ยนสถานะมาเป็น Net Gearing Ratio ที่ 0.32 เท่า ส่วน MAJOR (FV@B36) แม้จะมีผลการดำเนินการงานเป็นบวกได้ในงวดสุดท้ายของปี แต่อย่างไรก็ตาม Net Gearing Ratio ยังคงเพิ่มขึ้นจาก 0.6 เท่า ในปี 2558 มาอยู่ที่ระดับ 0.70 เท่า ในปี 2559 เนื่องจาก MAJOR มีการขยายโรงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก
  ทั้งนี้ยกเว้น WORK (FV@B64) ที่มีฐานะการเงินดีที่สุดโดย Net Gearing Ratio ลดลงจากระดับ 0.50 เท่า ในปี 2558 มาอยู่ที่ 0.38 เท่าในปี 2559 ขณะที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่ดีตามเรทติ้งที่ขยับขึ้นต่อเนื่อง ทำให้สามารถปรับขึ้นค่าโฆษณาได้สูงสุดในกลุ่มฯ คาดปี 2560 กำไรเติบโตถึง 1.8 เท่า ขณะที่ PLANB ([email protected]) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจโฆษณา มีสถานะการเงินเป็น Net Cash ส่วนผลการดำเนินงานคาดฟื้นตัวตั้งแต่ 1Q60 ก่อนจะเติบโตก้าวกระโดดตั้งแต่ 2Q60 หนุนทั้งปี 2560 กำไรเติบโต 59%
  ธุรกิจโรงกลั่น และ ปิโตรเคมี ส่วนใหญ่ Net Gearing Ratio อยู่ในระดับปานกลาง คือ น้อยกว่า 1 เท่า ยกเว้น IVL ที่สูง 1.09 เท่า เพราะนโยบายการลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะการซื้อกิจการหรือโรงงาน เพื่อขยายฐานการผลิตในต่างประเทศ โดย IRPC อยู่ที่ 0.75 เท่า ส่วน TOP และ PTTGC ต่ำเพียง 0.1 เท่า และ 0.38 เท่า ตามลำดับ และหากพิจารณาโครงสร้างสินเชื่อที่อิงกับดอกเบี้ยลอยตัวก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับดอกเบี้ยคงที่ ยกเว้น TOP และ PTTGC ที่มีดอกเบี้ยลอยตัวน้อย ยิ่งปลอดภัยในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
  ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการโรงไฟฟ้ามี Net Gearing ค่อนข้างต่ำ อย่างเช่น RATCH (FV@B65) มี Net Gearing ต่ำมากเพียง 0.08 เท่า แสดงถึงฐานะการเงินที่มั่นคง สามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอในอัตราสูง Dividend Yield สูงถึง 4.8% ขณะที่โครงการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต น่าจะสามารถลงทุนได้อย่างไม่มีปัญหา ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside สูงถึง 30% และ P/E ต่ำเพียง 11 เท่า
  เช่นเดียวกับ GLOW (FV@B88) มี Net Gearing อยู่ที่ 0.62 เท่า ทยอยลดลงต่อเนื่อง เพราะโรงไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมาเริ่มสร้างรายได้ซึ่งทยอยลดภาระหนี้สินลง อีกทั้งยังไม่มีโครงการลงทุนใหม่จากนี้ทำให้สามารถจ่ายปันผลได้ในระดับสูง Dividend Yield กว่า 6% ต่อปี ขณะที่ EGCO (FV@B230) มี net gearing 0.95 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ย เนื่องจากปัจุบันอยู่ในช่วงของการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จำนวนหลายโครงการ ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จต่อเนื่องทุกปีในช่วง 3 ปี ข้างหน้า จึงไม่น่ากังวลแต่อย่างใดกับทิศทางกำไรที่จะขึ้นทำ new high ได้นับจากนี้
  ถัดมาคือ กลุ่มยานยนต์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างการเงินปลอดภัย พิจารณาจากบริษัทภายใต้ Coverage ทั้ง 6 บริษัทฯ มีสถานะเป็น Net Cash รวม 3.5 พันล้านบาท โดยมี 3 บริษัท ปราศจากหนี้สิน มีแต่เงินสดในมือ ได้แก่ STANLY มี Cash มากถึง 4.6 พันล้นาบาท ตามด้วย IRC 1.3 พันล้านบาท และ PCSGH 1.06 พันล้านบาท ขณะที่อีก 3 บริษัทที่เหลือฯ อย่าง IHL, AH และ SAT แม้มีภาระหนี้สิน แต่ Net Gearing ยังอยู่ระดับต่ำที่ 0.86 , 0.34 และ 0.06 เท่าตามลำดับ
  ดังนั้นภายใต้ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น จึงไม่ส่งผลฯต่อการดำเนินงานของกลุ่มฯ แต่ในทางกลับกัน อาจมี Sentiment เชิงลบในแง่การตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่ เนื่องจากผู้บริโภคอาจมีภาระผ่อนรถยนต์สูงขึ้นในอนาคต หากมีการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งมีโอกาสส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศได้
  โดยสรุปเชื่อว่าแม้ Fed จะนำร่องขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ดังกล่าวข้างต้น และอาจส่งผลให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยกลับเป็นขาขึ้นหลังจากนี้ จึงกระทบต่อผู้ประกอบการบางรายที่พึ่งพาการกู้ยืม และมีต้นทุนการกู้ยืมมีสัดส่วนดอกเบี้ยลอยตัวสูง ขณะที่ผลตอบแทนหรือราคาขายปรับเพิ่มไม่ได้หรือได้น้อย ดังที่ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ อาทิ ธุรกิจการเงินรายย่อยในกลุ่ม leasing/hire perchase (ASK, THANI) ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง-เล็ก (BAY, TMB, KKP, TISCO) ผู้ประกอบการมือถือและโครงข่าย (DTAC, JAS) สายการบิน (THAI) รับเหมาก่อสร้าง (ITD)
  อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงภาพรวม จะเห็นได้ว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกลุ่ม Non-Bank ณ สิ้นงวด 2559 อยู่ที่เพียง 1.19 เท่า (อ้างอิงข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ) ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงมาก จึงเชื่อว่าผลกระทบโดยรวมน่าจะจำกัด ในทางตรงข้าม ยังมีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น คือ หุ้นที่มีภาระหนี้สินในระดับต่ำ มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวน้อย หรือเป็นบริษัทที่มีเงินสดสุทธิ (Net Cash) อาทิ กลุ่มค้าปลีก (ROBINS, HMPRO) กลุ่มประกัน (BLA) โรงพยาบาล (BDMS, BCH, LPH) รับเหมาฯ (STEC, SYNTEC) ICT (AIT) หรือแม้แต่ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็ยังมีหุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KTB)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!