WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BLSบล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

รอบด้านตลาดหุ้น
ชิพลูกออกจากหลุมทราย
 คาดวันนี้ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มจะเริ่มยืนได้ ก่อนที่จะมีลุ้นรีบาวด์ (คาดอย่างช้ากลางสัปดาห์หน้า) รับ
แรงซื้อคืนหลังรู้ความชัดเจน ผลการประชุมเฟด วันนี้คาดแนวรับ 1,540 จุด แนวต้าน 1,555 จุด
เมื่อวานหุ้น SET50 ส่วนใหญ่ปรับขึ้นหนุนดัชนีฯ รีบาวด์ขึ้นจากแนวรับ และคาดว่า ราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง
แรง เมื่อวานนี้ต่อเนื่องเช้านี้ รับกระแสดอลล์แข็ง-เฟดขึ้นดอกเบี้ย คาดจะเป็นบวกต่อกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
กลุ่ม Mid-stream ได้แก่ โรงกลั่น-ปิโตรฯ ให้ปรับขึ้นหนุนดัชนีฯวันนี้ต่อ


  ขณะที่ราคา สินค้าเกษตร Soft commodity (น้ำตาล ยาง ปาล์ม) ลงแรงตามด้วยกระแสเดียวกัน แต่
รายงานการวิเคราะห์เชิงปริมาณ-เรามองเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นที่เชื่อมโยง Soft commodity อิงจาก
สัญญาณการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ดูรายงานวันนี้ (สำหรับหุ้นที่เราศึกษาในกลุ่มนี้ และคงคำแนะนำซื้อ (มี
เพียง) KSL BRR อิงแนวโน้มกำไรบริษัทฯที่คาดว่าจะเติบโตสูงในปี 2017-18 จากปัจจัยการเปลี่ยน
โครงสร้างราคาน้ำตาลในประเทศ)


  แนวโน้มดัชนีระยะสัปดาห์ คาดหุ้นไทยขาลงรอบนี้น่าจะเป็นการปรับฐานย่อย คือปรับฐานลง 3-5% จาก
ระดับสูงสุดเมื่อต้นปีบริเวณ 1,600 จุด คาด Downside 1,550 ถึง 1,520 จุด ซึ่งมองว่าการลงจากนี้ต่อไป
น่าจะจำกัด พิจารณาจาก 1) ตลาดหุ้นไทยยังมี Earnings upward revision trend ที่ดีกว่าตลาดในแถบ
เดียวกัน 2) ผลตอบแทนหุ้นไทยไม่ได้สูงเกินภูมิภาคแล้ว คาดว่าแรงขายล็อกกำไรหุ้นไทย จะเริ่มมีจำกัด
จากบริเวณนี้ไป


  กลยุทธ์ แนะนำ เลือกซื้อรายตัวในกลุ่ม Reflation theme ซึ่งราคาหุ้นที่ลงแรงในกลุ่มนี้ คาดว่าจะรีบาวด์
กลับเร็ว หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าตลาดคาดหนุน หุ้นส่งออก-ดูที่ Earning bottom out เช่น
ยานยนต์ ส่งออกอาหาร (บาทอ่อน) และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (เงินเฟ้อขึ้น) ประกันชีวิต (Bond yield ขึ้น
ตามดอกเบี้ย)


  สำหรับกรอบดัชนีฯ ระยะเดือน แนวรับ Trend line 1,544/1,515 จุด (ปรับลงตามโมเมนตั้ม หลังจากหลุด
1,550) แนวต้าน 1,580/1,600 จุด
  หุ้นแนะนำวันนี้ TOP (แนวรับ 75 บ. ต้าน 77 บ. Stop loss 73 บ.)

 

รายงานวันนี้
  (+) BTS เรามองว่านักลงทุนในประเทศมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของบริษัทในระยะกลาง-ยาว ซึ่งจะ
หนุนโดยเครื่องยนตร์หลักทั้ง 3 ตัว จาก 3 ธุรกิจคือ ระบบขนส่งมวลชน, สื่อ และธุรกิจอสังหาฯ อีกทั้งนัก
ลงทุนยังมีมุมมองเชิงบวกต่อภาพการดำเนินงานของสายสีเหลืองมากกว่าสายสีชมพู เรายังเชื่อว่าธุรกิจ
ขนส่งมวลชนจะยังคงเป็นธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัท โครงการใหม่ที่คาดจะได้รับงาน
เพิ่มเติมในช่วงใกล้นี้มีทั้งส่วนต่อขยายสายเขียวใต้, ส่วนต่อขยายสายเขียวเหนือ, สายสีชมพูและสายสี
เหลือง สำหรับธุรกิจอื่นๆทั้ง สื่อและอสังหาฯ คาดจะได้รับอานิสงส์จากการขยายระบบสื่อสารมวลชนไป
ด้วย ซึ่งจะช่วนหนุน Media inventory ในมือของ VGI ให้มากขึ้น (ตู้โดยสารเพิ่มขึ้น 184 ตู้และ สถานี
เพิ่มขึ้น 78 สถานี) สุดท้ายธุรกิจอสังหาฯ นอกเหนือจากโครงการคอนโด 4 แห่งที่ JV กับ SIRI (มูลค่า 12
พันล้านบาท) ซึ่งจะเริ่มปส่อยออกมาในปีนี้ ยังมีอีก 13 โครงการ (มูลค่า 58 พันล้านบาท) ตั้งเป้าว่าจะ
ปล่อยออกมาในช่วง 3 ปีนี้ จากภาพการเติบโตข้างต้นเรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 10.50 บาท

  (0) BDMS แม้ valuation ปัจจุบันที่ PE 35 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จะเป็นจุดที่น่าเข้าซื้อ แต่
เรามองว่าในระยะสั้นจะยังไม่มีปัจจัยหนุนราคาหุ้น ประกอบกับมีความเสี่ยงที่ตลาดจะปรับลดประมาณการ
กำไรลง จากมาร์จิ้นในระยะสั้นที่คาดจะยังถูกกดดันอยู่ บริษัทประกาศโครงการใหม่จำนวน 100 เตียง ซึ่ง
เรามองว่าโครงการใหม่ต่างๆจะเป็นปัจจัยกดดันความสามารถในการทำกำไรในระยะกลางรวมถึงโครงการ
Wellness Center ที่จะมีการ delay ไปเป็นปลายปีนี้ จากเดิมกลางปีนี้ เราคงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย
22 บาท

  (+) BANPU เรามองว่าปัจจัยหนุนราคาหุ้นในระยะสั้นจะมาจาก กำไรใน 1Q17 คาดจะยังคงดีต่อเนื่องจาก
ปีที่แล้ว เพราะราคาขายเฉลี่ยคาดจะยังทรงตัวในระดับสูง และรายได้จากโซล่าร์ 70MW ในจีนที่ COD
ตั้งแต่ปี 2016 เป็นปัจจัยหนุนต่อเนื่อง เราศึกษา valuation อิงจากราคาถ่านหิน bull-to-bear case
scenario ได้มูลค่า BANPU ในช่วง 19.15-24.50 บาท/หุ้น เราจึงมองว่าราคาปัจจุบันมีอัพไซด์จากราคา
ถ่านหินที่ปรับตัวขึ้นได้ และมี downside ค่อนข้างจำกัด คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 22 บาท

  (+) กลุ่มยานยนตร์ ดัชนีหุ้นกลุ่มยานยนตร์ปรับตัวลงมากว่า 37% ไปที่ 399 จุดในช่วงเดือน ต.ค. 2016
จากจุดสูงสุดที่ 634 จุดในปี 2013 ตั้งแต่เริ่มมีมาตรการรถคันแรก ณ ตอนนี้เรามองว่าตลาดมีมุมมองเชิง
ลบมากเกินไปต่อกลุ่มยานยนตร์ทั้งๆที่ เราคาดจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของยอดขายและกำไรในปี 2017 เป็น
ต้นไป หลังจากได้ผ่านผลกระทบของทั้งยอดขายที่ตกลงจากมาตรการรถคันแรก, กำลังซื้อที่ชะลอตัวจาก
รายได้ภาคเกษตรกรรมที่ลดลงและการบริโภคที่ชะลอตัว เราคาดบริษัทที่จะเติบโตแข็งแกร่งที่สุด คือ
PCSGH (+64% YoY) จากการฟื้นตัวของการผลิต, SAT (+13% YoY), AH (+7% YoY) และ STANLY
(+4% YoY) สำหรับประเด็น EV มองว่าจะไม่ได้เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมยานยนตร์ไทยใน 5-6 ปี
เพราะยังมีประเด็นในด้านของ ราคาแพง, อุปสงค์ที่ยังไม่ชัดเจน และส่วนสนับสนุนการใช้ EV เช่น สถานี
ชาร์จ รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัย จากมุมมองการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานและราคาหุ้นของ
กลุ่มที่เทรดอยู่ในระดับที่น่าสนใจเราปรับคำแนะนำของกลุ่มจาก ถือ เป็น เก็งกำไร และชอบ AH และ
PCSGH ที่สุดในกลุ่ม

 

หุ้นมีข่าว/ประเด็น
  (+) ITEL-ILINK ร่วมรับงานจ้างเหมาตรวจซ่อมบำรุงเคเบิ้ลใยแก้วให้ กฟภ.รวม 124.58 ลบ. / รวม 12
เขต ระยะที่ 3 แบ่งเป็นของ ITEL มูลค่า 120.99 ล้านบาท และของ ILINK มูลค่า 3.58 ล้านบาท
ระยะเวลาให้บริการ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.60-22 ก.ค.63 (ที่มา ตลท.)
  (+) TRC แจกหุ้นปันผล 7:1 XD 4 พค. (ที่มา ตลท.)
  (*) หุ้นขึ้น XD: 9 มีค. [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] / 10 มีค. [email protected] (ที่มา
ตลท./ ASPEN)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
  (*) นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวปาฐกถาเรื่องทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐต่อ
สมาคมผู้บริหารชิคาโก เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจนในการประชุม
คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินเฟด วันที่ 14-15 มี.ค.นี้ โดยระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องที่
เหมาะสม หากเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวตามเป้าหมาย โดยยังอยู่ในทิศทางบวก ความเสี่ยงจากปัจจัย
ภายนอกได้ลดลง ขณะที่การจ้างงานเป็นไปตามเป้าหมาย และเงินเฟ้อกำลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง (ที่มา
โพสต์ทูเดย์)
  (-) เมื่อวาน จีนรายงานส่งออก เดือน กพ. +4.2% ต่ำคาดที่คาด +14 จาก +15.9% y-y.
(ที่มา Bloomberg)
  (0) พฤหัส US Import prices กพ. คาด +0.1% จาก +0.4% m-m. ประชุมธนาคารกลางยุโรป คาดคง
ดอกเบี้ย Refi rate 0% และ เงินฝาก -0.4% จีน รายงาน CPI กพ. คาด +1.8% จาก +2.5% y-y.
(ที่มา Bloomberg)
  (0) ศุกร์ US Nonfarm payrolls กพ. คาด 1.85 แสนรายจาก 2.27 แสนราย US Unemployment rate
กพ. คาด +4.7% จาก +4.8% UK Industrial production คาด -0.5% จาก +1.1% m-m. ฟิลิปปินส์
ส่งออกเดือน มค. คาด 16% จาก 4.5% y-y. (ที่มา Bloomberg)

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!