- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 09 March 2017 17:10
- Hits: 1673
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Fund Flow ไหลออกตามความคาดหวัง Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน มี.ค. เพิ่มเป็น 100% ซึ่งกดดันดอกเบี้ยไทยอาจปรับขึ้นเร็วกว่าคาด กดดันดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัว กลยุทธ์การลงทุนเน้น หุ้นที่มี net gearing ต่ำๆ หรือมีเงินสดสุทธิ (ROBINS, MCS, AIT, TASCO) เลือก ROBINS (FV@B79) และ AIT ([email protected]) เป็น Top picks
(0) ยิ่งใกล้วันประชุม Fed โอกาสขึ้นดอกเบี้ยสูงขึ้น
วันนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) เชื่อว่ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0% และคงวงเงิน QE ที่ 8 หมื่นล้านยูโรตามเดิม เพื่อรองรับผลกระทบจากการออกจากยุโรปไม่เพียงแต่อังกฤษ และยังมีความเสี่ยงทางการเมือง หลังการเลือกตั้งในหลายประเทศในสหภาพยุโรป เริ่มจาก 15 มี.ค.60 เลือกตั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตามมาด้วย ฝรั่งเศส เลือกตั้งรอบแรก 23 เม.ย. และรอบที่สอง 7 พ.ค. และปลายปี 22 ต.ค. จะมีการ เลือกตั้งเยอรมนี ทั้งหมดนี้กระแสชาตินิยมของพรรคฝ่ายขวาที่เริ่มได้รับคะแนนนิยมมากขึ้น อาจเป็นชนวนให้ประเทศกลุ่มสมาชิกต้องการออกจากสหภาพยุโรป (EU) ดังเช่น Brexit 24 มิ.ย. 2559 และในอิตาลี 4 ธ.ค.2559
ขณะที่สหรัฐ ยิ่งเข้าใกล้วันประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ในสัปดาห์หน้า 14-15 มี.ค. ตลาดยิ่งคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg พบว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 100% จาก 96% ในวันก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง ล่าสุด รายงานยอดการจ้างงานภาคเอกชน (ADP Employment) เดือน ก.พ. ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดอยู่ที่ระดับ 2.98 แสนราย (เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3) เป็นการบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง และที่สำคัญ เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่ Fed คาดไว้ โดยอยู่ที่ 2.5% เดือน ม.ค. 60 (จาก 2.1% ธ.ค. และ 1.0% พ.ย.59) ทำให้เชื่อ Fed จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ได้ตามที่คาด 3 ครั้ง ราว 0.75% หนุนค่าเงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางแข็งค่า เป็นปัจจัยกดดันต่อสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำ และกดดัน Fund Flow ไหลออกจากภูมิภาค ทั้งนี้พิจารณาได้จากผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield อายุ 10 ปี) ในช่วง 1 สัปดาห์ พบว่าปรับเพิ่มขึ้นทุกประเทศ โดยฟิลิปปินส์เพิ่มมากสุด 10bps รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 8.8bps ไทย 5.8 bps ยกเว้น มาเลเซีย ที่ลดลง 3.2 bps
(-) ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 5% จากสต็อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นกว่าคาดมาก
วานนี้สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ดิ่งลงกว่า 5.38% มาอยู่ที่ 50.28 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ต่ำสุดในรอบ 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา) หลังจากสำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ สิ้นสุด 8 มี.ค. 60 เพิ่มขึ้น 8.209 ล้านบาร์เรล สูงกว่าคาดมาก (คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.967 ล้านบาร์เรล) ส่งผลให้ปริมาณสต็อกน้ำมันดิบขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งที่ 528.4 ล้านบาร์เรล (เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 9) ขณะเดียวกันพบว่าจํานวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 3 มี.ค.60 ยังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 โดยปริมาณแท่นขุดเจาะปรับเพิ่มขึ้น 7 แท่น มาอยู่ที่ 609 แท่น แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 58
นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบประเทศรัสเซีย เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 11.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แสดงให้ว่ารัสเซียไม่มีการปรับลดเพิ่มเติม จากเดือนก่อนหน้าที่เคยปรับลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน และยังต่ำกว่าปริมาณการผลิตที่ต้องปรับลดตามที่ตกลงกับผู้ผลิตกลุ่ม OPEC ราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในเดือน เม.ย. 60 นี้ อีกทั้ง Dollar Index ที่แข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 102.11 จุด ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนกดดันราคาน้ำมันดิบโลก รวมถึงหุ้นในกลุ่มน้ำมัน อย่าง PTTEP (FV@B116) และ PTT (FV@B460) ในระยะสั้น
อย่างไรก็ตามภาพรวมทิศทางน้ำมันในระยะยาวยังอยู่ในช่วงขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากข้อตกลงร่วมมือกันตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ว่าจะลดกำลังการผลิตลงมาอยู่ที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน คาดว่าหนุนราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วง 2 ปีนี้
(-) ต่างชาติยังคงขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทยติดต่อกันเป็นวันที่ 8
วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 176 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 140 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 47 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 18 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ถูกสลับมาขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับไทยที่ยังถูกขายสุทธิราว 24 ล้านเหรียญ หรือ 843 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8 โดยมียอดขายรวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ตั้นปีที่เคยทำจุดสูงสุดไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาท ในวันที่ 11 ม.ค. 60 ปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆจนล่าสุดมียอดขายสุทธิแล้วกว่า 6.3 พันล้านบาท (ytd) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 167 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 โดยมียอดซื้อรวมกว่า 8.7 พันล้านบาท)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.1 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 7.8 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8 โดยมียอดขายรวมกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
(-) ผลกระทบดอกเบี้ยขาขึ้นต่อสายการบิน และวัสดุก่อสร้าง
ต่อจากวานนี้ กับผลกระทบของดอกเบี้ยขาขึ้น ต่อตลาดหุ้นไทย หลังจากที่ได้กล่าวคือหลายกลุ่มทั้งที่ได้ และประโยชน์ต่อหุ้นธนาคารพาณิชย์ ลิสซิ่ง ประกันฯ ค้าปลีก และสื่อสาร วันนี้จะกล่าวถึงในกลุ่มเหลือเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่หุ้นที่มีการลงทุนสูง คือ สายการบินและวัสดุก่อสร้าง คือ
สายการบิน-สนามบิน ด้วยลักษณะของธุรกิจที่ต้องลงทุนในฝูงบิน ทำให้ภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยค่อนข้างสูง (แม้การกู้ยืมจะหนี้สินสัญญาเช่าเครื่องบิน หรือสัญญาเช่าทางการเงิน) โดยเฉพาะกรณีของ THAI ที่มี net gearing ratio 4.6 เท่า หากพิจารณารายละเอียดพบว่า เป็นการกู้ยืมกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีดอกเบี้ยลอยตัวราว 40% ของหนี้สินรวม 1.67 แสนล้านบาท ที่เหลือ 60% เป็นการหุ้นกู้ ซึ่งดอกเบี้ยคงที่ แต่ด้วยหนี้สินจำนวนมากภาระดอกเบี้ยจึงถือเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่อง
รองลงมาคือ AAV มี net gearing ratio 0.51 เท่า แต่ส่วนใหญ่หรือกว่า 90% ของหนี้สิน 1.54 ล้านบาท เป็นการออกหุ้นกู้ มีส่วนน้อยหรือราว 10% ที่กู้ยืมจากธนาคาร (ดอกเบี้ยลอยตัว)
ยกเว้น BA ([email protected]) มี net gearing ratio ต่ำมากเพียง 0.04 เท่า ปัจจุบันมีหนี้สินเพียง 4.15 พันล้านบาท (กู้ยืมจากธนาคาร) แต่ปัจจัยกดดันหุ้นระยะสั้นมาจากประเด็นอื่นๆ ที่กดดันภาพรวมอุตสาหกรรมคือ ต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมฯ จึงเชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว
ขณะที่ผู้ให้บริการสนามบิน คือ AOT ([email protected]) มีฐานะเป็น Net Cash แม้จะมีหนี้สิน 3.1 หมื่นล้านบาท และเป็นหนี้ที่มีกับสถาบันการเงิน แต่เป็นบริษัทที่มีเงินสดจากการดำเนินงานสูงกว่าปีละ 2.8 หมื่นล้านบาท (เทียบกับเงินลงทุนสร้างสนามบินปีละ 2.0 หมื่นล้านบาทนับจากนี้) จึงถือว่ามีสถานะการเงินแข็งแกร่งที่สุด แต่อย่างไรก็ตามในประเด็นเรื่องภาระค่าเช่าสนามบิน ที่เก็บเพิ่มเติมจากเดิมที่จัดเก็บจากส่วนแบ่งรายได้ต่อปี บวกเพิ่มตามร้อยละของสินทรัพย์สุทธิ ซึ่งล่าสุดทางกรมธนารักษ์จะคิดจาก สินทรัพย์เชิงพาณิชย์ จึงค่าภาวะค่าใช้จ่ายจากนี้จะเพิ่มไม่เกิน 5% ของกำไรสุทธิในปัจจุบัน หรือกระทบมูลค่าหุ้นราว 2-3 บาท หรือมูลค่าหุ้นใหม่อาจจะลดลงเหลือ 42 บาท) เมื่อเทียบกับราคาตลาดปัจจุบันจึงมี upside จำกัด อย่างไรก็ตามทางบริษัทจะเปิดเผยความชัดเจนในช่วง 3Q60
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ส่วนใหญ่มี Net Gearing Ratio ในระดับปานกลาง-สูง กล่าวคือ
SCC (FV@B610) แม้มี Net Gearing Ratio ที่ 0.64 เท่า โดยภาระหนี้สินที่เป็นดอกเบี้ยคงที่คิดเป็น 86% และดอกเบี้ยลอยตัวเพียง 14% ของหนี้สินทั้งหมด จึงไม่ต้องกังวลเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่เงินลงทุนนั้น SCC ตั้งงบฯ ปีนี้ไว้กว่า 6 - 7 หมื่นล้านบาท หลังจากปี 2559 ใช้เงินลงทุนไปเพียง 3.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากกระแสเงินสดในบริษัทที่มีสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท รวมทั้งการออกหุ้นกู้ ทำให้ SCC มีความพร้อมในการลงทุนมากที่สุด
SCCC (FV@B275) มี Net Gearing Ratio ค่อนข้างสูงที่ 1.13 เท่า เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการใช้เงินกู้ยืมสถาบันการเงินเพื่อใช้ลงทุนก่อสร้างโรงปูนและซื้อกิจการในต่างประเทศ และจะพบว่าภาระหนี้สินที่เป็นดอกเบี้ยคงที่คิดเป็น 36% และดอกเบี้ยลอยตัว 64% ของหนี้สินทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการเพิ่มทุนในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. นี้ จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาท จะทำให้ Net Gearing ลดลงมาอยู่ที่ 0.65 เท่า หลังจากนี้เชื่อว่า SCCC น่าจะจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านการออกหุ้นกู้มากขึ้น
TPIPL ([email protected]) มี Net Gearing Ratio ที่ 0.79 เท่า ลดลงหลังผ่านพ้นช่วงการลงทุนครั้งใหญ่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของโรงปูนสายการผลิตที่ 4 และโรงไฟฟ้าขยะ ใช้เงินรวมกันกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยภาระหนี้สินที่เป็นดอกเบี้ยคงที่คิดเป็น 68% และดอกเบี้ยลอยตัว 32% ของหนี้สินทั้งหมด ขณะที่การลงทุนช่วงต่อไปจะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นหลัก ประเมินว่าจะใช้งบลงทุนปีนี้ราว 1 หมื่นล้านบาท ผลกระทบต่อดอกเบี้ยขาขึ้นจึงไม่มากนัก
VNG ([email protected]) มี Net Gearing Ratio ที่ 0.46 เท่า โดยภาระหนี้สินเป็นดอกเบี้ยลอยตัวทั้งหมด ทำให้อาจได้รับผลกระทบบ้างหากดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น แต่ภาระหนี้ที่ไม่สูงนัก ภาระดอกเบี้ยจ่ายไม่ สูงนัก ขณะที่แผนลงทุนครั้งใหญ่ของ VNG จะเกิดขึ้นในปี 2560-2562 ด้วยงบลงทุนรวมกว่า 7 พันล้านบาท ประกอบด้วยโรง MDF แผ่นบาง โรงงาน OSB และโรงไฟฟ้าขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งน่าจะจัดหาแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืม โดยการออกหุ้นกู้
TASCO (FV@B30) มี Net Gearing Ratio ต่ำเพียง 0.11 เท่า แม้มีภาระหนี้สินเป็นดอกเบี้ยลอยตัวทั้งหมด แต่กระทบจากดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นจำกัด (ดอกเบี้ยในปีนี้ไม่สูงมากเพียง 120 ล้านบาทเท่านั้น) แม้เพิ่งผ่านการลงทุนด้วยการซื้อธุรกิจค้าปลีกยางมะตอยในอินโดนีเซียและเวียดนาม ด้วยภาระหนี้ที่ต่ำ ทำให้ TASCO พร้อมจะกู้หนี้ได้อีกมาก
DRT ([email protected]) มี Net Gearing Ratio ต่ำ 0.48 เท่า แต่ภาระหนี้สินที่เป็นดอกเบี้ย ลอยตัวสูง 89% ของหนี้สินทั้งหมด ทำให้อาจได้รับผลกระทบบ้างหากดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น แต่ภาระดอกเบี้ยในปีนี้ไม่สูงเพียง 22 ล้านบาทเท่านั้น โดยปี 2560 DRT ตั้งงบลงทุน 200 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการขยายกำลังการผลิต
DCC ([email protected]) มี Net Gearing Ratio 0.38 เท่า โดยภาระหนี้สินเป็นดอกเบี้ยลอยตัวทั้งหมด ทำให้อาจได้รับผลกระทบบ้างหากดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น แต่ภาระดอกเบี้ยในปีนี้ไม่สูงเพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนการลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นการขยายกำลังการผลิตซึ่งใช้เงินลงทุนราว 400 ล้านบาท
กลุ่มเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนส่วนใหญ่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง หรือมีฐานเป็นเงินสดสุทธิแทบทั้งนั้น เริ่มจาก MCS (FV@B19) เป็นบริษัท Net Cash สภาพคล่องส่วนเกินสูง แม้มีหนี้สินกับสถาบันการเงินและดอกเบี้ยลอยน้อย แต่เป็นจำนวนน้อยมาก มีเงินสดในมือที่สูง ถึง 1,068 ล้านบาท ทำให้ MCS สามารถจ่ายเงินปันผลได้ในระดับสูง หรือ Dividend Yield ถึง 6.2% และ มีโอกาสที่จะซื้อหุ้นคืนในช่วงเดือน เม.ย. นี้ (เพื่อให้ครบ 1 ปี หลังจากที่ซื้อหุ้นคืนครั้งสุดท้าย เมื่อ เม.ย. 2559) ส่วนด้านปัจจัยพื้นฐานมีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง แม้ปีนี้ผลการดำเนินงานอ่อนตัวลงเนื่องจากปี 2559 ที่มีฐานกำไรสูงผิดปกติ แต่ปี 2561 คาดจะกลับมาเติบโตถึง 32% ราคาหุ้นปัจจุบันมี expected P/E ต่ำเพียง 9.4 เท่า
ตามมาด้วย TMT แม้มี net gearing ratio 0.94 เท่า แต่ส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยคงที่จึงน่าจะกระทบน้อยเช่นกัน ขณะที่ TSTH, BSBM, SMIT ล้วนมีฐานะเป็น net cash ทุกราย ผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นจึงมีจำกัด
ทั้งนี้ TMT([email protected]) มีสภาพคล่องสูงเช่นกัน จึงทำให้มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอกว่า 6-7% ต่อปี แต่ผลกำไรปีนี้จะหดตัวจากปี 2559 เนื่องจากฐานกำไรที่สูง แต่จะกลับมาทรงตัวในปี 2561 ปัจจุบันราคาหุ้นมี expected P/E 11 เท่า แต่มี upside น้อย 8.5% เช่นเดียวกับ SMIT ([email protected]) จ่ายปันผลเฉลี่ยปีละ 6-7% และมี P/E ต่ำเพียง 10.7 เท่า โดยคาดปีนี้กำไรเติบโต 10% อย่างไรก็ตาม upside ไม่มากนักราว 10% แต่หุ้นมีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ ความน่าสนใจหุ้นทั้งสองจึงน้อยกว่า MCS
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์