WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BLSบล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

อดทนกับการปรับฐานอีกแค่ไม่กี่วัน คาดช่วงใกล้วันเฟดประชุมตลาดหุ้นจะเริ่มรีบาวด์
วันนี้คาด Consolidated ต่ออีก แนวรับ 1,544/1,540 จุด ต้าน 1,558 จุด
คาดหุ้นไทยขาลงรอบนี้น่าจะเป็นการปรับฐานย่อย คือปรับฐานลง 3-5% จากระดับสูงสุดเมื่อต้นปีบริเวณ 1,600 จุด คาด Downside 1,550 ถึง 1,520 จุด ซึ่งมองว่าการลงจากนี้ต่อไปน่าจะจำกัด พิจารณาจาก 1) ตลาดหุ้นไทยยังมี Earnings upward revision trend ที่ดีกว่าตลาดในแถบเดียวกัน 2) ผลตอบแทนหุ้นไทยไม่ได้สูงเกินภูมิภาคแล้ว คาดว่าแรงขายล็อกกำไรหุ้นไทย จะเริ่มมีจำกัดจากบริเวณนี้ไป (1,550-1,520 จุด)


กลยุทธ์ : แนะนำ เลือกซื้อรายตัวในกลุ่ม Reflation theme ซึ่งราคาหุ้นที่ลงแรงในกลุ่มนี้ คาดว่าจะรีบาวด์กลับเร็ว หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าตลาดคาดหนุน หุ้นส่งออก-ดูที่ Earning bottom out เช่น ยานยนต์ ส่งออกอาหาร (บาทอ่อน) และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (เงินเฟ้อขึ้น) ประกันชีวิต (Bond yield ขึ้นตามดอกเบี้ย)


ระยะสัปดาห์ : แนะนำเลือกซื้อหุ้นเมื่อราคาอ่อนตัว Buy on weakness โดยปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นความกังวล ประเด็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินคาดจากถ้อยแถลงสมาชิกเฟด ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เราเชื่อว่าหากมีความชัดเจนในการประชุมเฟดกลางเดือนนี้ ไม่ว่าจะขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสถูกซื้อกลับทันทีที่มีความชัดเจนหลังการประชุม
คาดกรอบดัชนีฯ ระยะเดือน 1,550-1,620 จุด (กรณีหลุดแนวรับ 1,550 จุด แนะชะลอการซื้อเพิ่ม เพื่อรอประเมินสถานการณ์บริเวณ Trend line 1,544/1,515 จุด) แนะเลือกลงทุน หุ้นที่ให้ผลตอบแทนเงินปันผลสูง, หุ้นที่มี Earnings Upward revision และเพิ่มหุ้น Reflation theme


หุ้นแนะนำวันนี้ : วันนี้แนะกลุ่ม Export oriented (บาทอ่อน-ส่งออก) แนะนำ GFPT แนวรับ 15.5 บ. ต้าน 16.1 บ. Stop loss 15 บ., ASAIN สะสมแนวรับ 5.10 บ. ต้านสั้น 5.5/5.6 บ. Stop loss 5 บ. / ส่วนหุ้น Weekly strategy เพิ่มหุ้น TOP GFPT BLA เข้าพอร์ต ดูรายงานวันนี้

 

รายงานวันนี้
(-) TRC คาดระยะสั้นราคาหุ้นจะโดนกดดันจากแนวโน้มกำไร 1Q17 คาดอ่อนตัวลงเพราะอัตรากำไรขั้นที่คาดจะลดลงสู่ระดับปกติ หลังจากที่ 4Q16 อัตรากำไรขั้นต้นพุ่งสูงขึ้นเพราะมีการปิดงาน 3 โครงการขนาดใหญ่ สำหรับโครงการโปแตช ผู้บริหารให้ข้อมูลในงาน Opportunity Day ที่ตลาดฯ เมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) ว่าตาม timeline ของ APOT กระทรวงการคลังจะใส่เงินเพิ่มทุนในเดือนนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ TRC สามารถลงนามในสัญญาก่อสร้าง Processing Plant ได้ อย่างไรก็ดีเรามองว่าตลาดจะยังไม่ให้มูลค่าจะกว่าจะมีการรับเซ็นรับงานเข้ามา เรายังคงมองว่าไม่ใช่จังหวะในการซื้อหุ้น และคงราคาเป้าหมายที่ 1.30 บาท (ไม่รวมโครงการโปแตส)


(0) QH เราคาดปีนี้การเติบโตของกำไรหลักจะดูไม่น่าตื่นเต้นนัก จากแผนธุรกิจปีนี้ที่จะมีการโอนราว 1.96 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 10% สอดคล้องกับแผนของบริษัท และมีแผนเปิดตัวโครงการราว 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 27% จากฐานต่ำในปีที่แล้ว สำหรับประเด็นการลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย SG&A เรามองว่าอาจต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะเห็นพัฒนาการที่สำคัญ อย่างไรก็ดีประเด็นบวกที่รอคอยอยู่จะเป็นเรื่อง 1) เงินปันผลมีโอกาสมากกว่าคาด จากการปรับ payout ratio เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ yield เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่สูงอยู่แล้วที่ 6.9% และ 2) อาจมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการลดสัดส่วนใน LHBANK ลง ซึ่งดีลจะเสร็จสิ้นในช่วง 3Q17 คาดจะมีกำไรพิเศษราว 722 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัพไซด์ราว 21% ของประมาณการกำไรในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีพิจารณจากกำไรหลักที้ดูเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อนไป เราคงแนะนำ ถือ


(+) CK เรายังมองว่าบริษัทเหนือกว่าบริษัทรับเหมารายอื่นๆ จาก Flow ของโครงการใหม่ๆที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในระยะสั้นความชัดเจนของโครงการอาจจะยังไม่มากไม่ว่าจะเป็น 1) รถไฟรางคู่ (มูลค่า 1 แสนล้านบาท) ที่ต้องรอ Super Board 10 มี.ค. ในการแก้ TOR ซึ่งถ้าแก้เพียงบางส่วนคาดใช้เวลา 3 เดือน แต่ถ้าเริ่มใหม่คาดใช้เวลา 6 เดือน และ 2) MRT ที่มีรออยู่ 5 สาย (มูลค่า 3 แสนล้านบาท) เช่น ม่วงใต้, ส้มตะวันตก, เขียวต่อขยาย เป็นต้น ซึ่งคาดครึ่งหลังปีนี้จะเห็น เพียงจำนวนครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดที่จะออกประมูล แต่เร็วๆนี้คาดมีงานจากบริษัทลูกส่วนต่อขยายของ BEM (สายสีน้ำเงินมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท) ที่จะเข้ามา หนุนให้ Backlog ขึ้นแตะ 1 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีโครงการเขื่อนที่ลาว (มูลค่าโรงการราว 1.3-1.4 แสนล้านบาท ในขณะที่มูลค่าก่อสร้างที่คาด CK จะได้ที่ 1 แสนล้านบาท) ที่สามารถใช้ know-how และ learning curve จากการทำโครงการที่เขื่อนไชยะบุรีมาใช้ทำให้ช่วง Pre-construction ลดลงมาเหลือเพียง 2 ปี (จาก 5 ปีที่ไชยะบุรี) และระยะเวลาก่อสร้างก็คาดใช้เวลาน้อยกว่า 7 ปีที่ไชยะบุรีเช่นกัน อย่างไรก็ตามจาก Flow ของโครงการที่ชะลอลงเราปรับ PBV ลงมาที่ 2.8 เท่า (+2SD) จาก 2.5 เท่า (+1.5SD) และปรับราคาเป้าหมายลงมาจาก 37.50 บาท เป็น 33.25 บาท และยังคงคำแนะนำ ซื้อ

 

หุ้นมีข่าว/ประเด็น
(+) SCC เข้าซื้อกิจการโรงปูนเวียดนามตอนกลาง ใช้เงินลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท / โรงปูนมีกำลังการผลิต ราว 3 ล้านตัน และยังไม่มีกำไร...SCC ซื้อได้ในราคาค่อนข้างถูกที่ประมาณ $142 EV/ton ซึ่งเราคาดว่าจะให้เวลาราว 1 ปี ในการพลิกฟื้นให้โรงปูนแห่งนี้กลับมามีกำไร เรามองเป็นบวกในระยะยาว (ที่มา ตลท. BLS research)
(+) SCCC เข้าซื้อกิจการโรงปูนที่ เวียดนามใต้ กำลังการผลิตรวม 6.3 ล้านตัน (กำลังการผลิต 4.3 ล้านตันเป็นโรงบด) เรามีมุมมองเป็นบวกต่อดีลนี้ โดยเป็นโรงปูนที่มีกำไร และเป็นพื้นที่ ความต้องการใช้ ซีเมนต์มีอยู่สูงกว่า เวียดนามตอนกลาง และเหนือ (แต่ในระยะสั้นยังต้องพิจารณาเรื่องเงินลงทุนก่อนอาจมีไดลูทชั่น) ที่มา BLS Research/ ตลท.
(-) BEM เมื่อวาน ครม.ยังไม่เคาะงานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (ที่มา ข่าวหุ้น)
(+) SYMC กลุ่ม TIME dotcom Berhad จากมาเลเซียเข้าซื้อหุ้นจะทำคำเสนอซื้อหุ้น Tender offer ขั้นต่ำ 35% แต่ไม่เกิน 37% ที่ราคา 12.2 บ. หลังจากเทนเดอร์เรียบร้อย จะเพิ่มทุน 113.51 ล้านหุ้น ขายให้ ผถห.เดิม RO 2.86-2.92 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 8.8 บ. คาดภายใน 4Q17 (ที่มา ตลท.)


(+) WAVE แจกวอร์แรนต์ 10:1 ให้ ผถห.เดิม 42.12 ล้านหน่วย (ที่มา ตลท.)
(+) BTS ครม.เห็นชอบมหาดไทยปรับรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน-ประชาธิปก)-เร่งทำ EIA: รูปแบบการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ได้ออกแบบให้เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงหัวลำโพง - มหาชัย) บริเวณสถานีคลองสาน ระยะทาง 2.72 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี เปิดบริการ พ.ศ.2561 ปริมาณผู้โดยสาร 47,300 คนต่อวัน ระบบรถไฟฟ้า Automatic Guideway Transit (AGT) (ล้อยาง) การออกแบบโครงสร้างให้ใช้ผิวการจราจรน้อยที่สุด เพื่อลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรี มีการออกแบบรูปลักษณ์สถานีให้สอดคล้องกับกายภาพของถนนเจริญนคร โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการก่อสร้างระหว่างระบบขนส่งใต้ดินกับรูปแบบการยกระดับ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พ.ค.37
(*) หุ้นขึ้น XD: 8 มีค. [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] / 9 มีค. [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] / 10 มีค. [email protected] (ที่มา ตลท./ ASPEN)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(*) นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวปาฐกถาเรื่องทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐต่อสมาคมผู้บริหารชิคาโก เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจนในการประชุมคณะกรรมาธิการนโยบายการเงินเฟด วันที่ 14-15 มี.ค.นี้ โดยระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องที่เหมาะสม หากเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวตามเป้าหมาย โดยยังอยู่ในทิศทางบวก ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกได้ลดลง ขณะที่การจ้างงานเป็นไปตามเป้าหมาย และเงินเฟ้อกำลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง (ที่มา โพสต์ทูเดย์)
(+) พุธ US Nonfarm productivity 4Q16 คาด 1.5% จาก 1.3% q-q. เยอรมนี Industrial production มค.คาด +2.5% จาก -3% m-m. Spain industrial production เยอรมนี industrial production คาด 2.5% จาก -3% m-m จีน ส่งออก เดือน กพ. คาด +14 จาก +7.9% y-y. (ที่มา Bloomberg)
(0) พฤหัส US Import prices กพ. คาด +0.1% จาก +0.4% m-m. ประชุมธนาคารกลางยุโรป คาดคงดอกเบี้ย Refi rate 0% และ เงินฝาก -0.4% จีน รายงาน CPI กพ. คาด +1.8% จาก +2.5% y-y. (ที่มา Bloomberg)
(0) ศุกร์ US Nonfarm payrolls กพ. คาด 1.85 แสนรายจาก 2.27 แสนราย US Unemployment rate กพ. คาด +4.7% จาก +4.8% UK Industrial production คาด -0.5% จาก +1.1% m-m. ฟิลิปปินส์ ส่งออกเดือน มค. คาด 16% จาก 4.5% y-y. (ที่มา Bloomberg)

นักวิเคราะห์ : วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค


Thanya Joom Chaisena

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!