- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 07 March 2017 17:34
- Hits: 1606
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET ปรับตัวลงกว่าเดือน และเริ่มเปิด upside มากขึ้นแล้ว ดังนั้นทยอยซื้อ
ตลาดหุ้นวานนี้ : หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว SET มีจังหวะรีบาวด์ขึ้นช่วงสั้น โดยได้รับแรงหนุนจากการลุ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ แต่เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มกังวลกับโอกาสในการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐในการประชุมเฟดรอบนี้ (14-15 มี.ค.) ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัว จึงทำให้มีแรงขายกดดันให้ SET ปรับตัวลงอีกครั้งเมื่อวานนี้
แนวโน้มตลาดวันนี้ : บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศเช้านี้ไม่สดใสนัก หลังตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวลง จากความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมกลางสัปดาห์หน้า หลังประธานเฟดออกมาส่งสัญญาณสนับสนุนในการกล่าวสุนทรพจน์ท้ายสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ตึงเครียดด้านการเมืองจากข่าวเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธลงในเขตเศรษฐกิจพิเศษของญี่ปุ่นด้วย ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารในยุโรปยังถูกกดดันจากรายงานที่ว่าธนาคารดอยช์แบงก์ประกาศเพิ่มทุน 8 พันล้านยูโรอีก รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองในฝรั่งเศสก็ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปด้วย ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ยังแกว่งตัวไร้ทิศทาง ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET มีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวลงต่อได้
กลยุทธ์ : อย่างไรก็ตาม SET ได้แกว่งพักตัวลงมาตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. และเริ่มปรับตัวลงมาต่ำพอควร ขณะที่ FSS ยังประเมินระดับดัชนีพื้นฐานของปีนี้ไว้ที่ 1650 จุด ทำให้ upside เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น จึงแนะนำเลือกหุ้นทยอยซื้อถือได้
แนวรับ 1550-1546 , 1540-1530 จุด
แนวต้าน 1556-1558 , 1560-1563 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : TK, SAMTEL, STEC(short)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$203ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$290ล้าน ขณะที่ไหลออกจากประเทศไทย US$63ล้าน และไต้หวัน US$35ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางชะลอการลงทุนในภูมิภาคเพื่อรอความชัดเจนการประชุม FOMC ในช่วงกลางเดือนนี้ โดยตลาดต่างคาดการณ์กันมากขึ้นว่า Fed น่าจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในปีนี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ประเด็นดอกเบี้ยเฟดกดดันหุ้นทั่วโลก ตลาดประเมินความน่าจะเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมกลางเดือนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 96% จากเมื่อวานที่ 94% ขณะที่การประชุม ECB 9 มี.ค. น่าจะคงนโยบายตามเดิม (ความเสี่ยงทางการเมืองเพิ่มขึ้น) ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่า Flow เร่งการไหลออกตั้งแต่สัปดาห์ก่อนต่อเนื่องถึงวานนี้ ยอดสะสมของต่างชาติในตลาดหุ้นตั้งแต่ต้นปีเป็นขายสุทธิ 3 พันล้านบาท ส่วนตลาดพันธบัตรขายทุกวันตั้งแต่จันทร์ที่ผ่านมา (คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย) แนวโน้ม Flow ยังไหลออก กดดันหุ้น Big cap.
(-) แม้เงินบาทจะอ่อนค่า แต่ไม่ชอบกลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ กำไรปกติปี 2017 ของกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ที่เราคาดว่าจะฟื้น +22% Y-Y เป็นเพราะฟื้นจากฐานต่ำ ขณะที่ราคาหุ้นสะท้อนการฟื้นตัวแล้ว แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญความเสี่ยงใหม่คือราคาทองแดงยังทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องจากปลายปีก่อน ซึ่งอาจเป็น downside ต่อผลประกอบการที่คาด ราคาหุ้นเกินเป้าของเราหมดแล้ว ยกเว้น KCE แต่ upside ยังไม่คุ้มเสี่ยง
(-) Commodity ดูเสี่ยงในระยะนี้ นอกจากจะถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าแล้ว ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบเพิ่มต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 602 แท่นสูงสุดในรอบ 2 ปี และลุ้นว่าการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียจะลดลงตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากราคาน้ำมันปรับลง จะกดดัน commodity อื่นด้วยเช่นกันโดยเฉพาะยางพารา
(+) KSL ราคาน้ำตาลวานนี้ที่ปรับลงต่ำกว่า 20 เซนต์ต่อปอนด์ เชื่อเป็นระยะสั้น ภาวะ Supply shortage ทำให้ราคาน้ำตาลปีนี้ยังมีทิศทางขาขึ้น แต่กำไร 1Q17 (พ.ย. 16-ม.ค. 17) ยังไม่ดีเพราะราคาขายยังเป็นล๊อตเก่าที่มีราคาต่ำ ถ้าดูกำไรสุทธิเทียบ Q-Q จะลดลงแรงเพราะ 4Q16 (ส.ค.-ต.ค. 2016) มีกำไรพิเศษกว่า 1 พันล้านบาท ทำให้รายงานกำไรสุทธิ 811 ล้านบาท แต่ผลการดำเนินงานหลักขาดทุน 20 ล้านบาท KSL จะประกาศงบ 1Q17 กลางเดือนนี้ เราคาดกำไรปกติทั้งปี +126% Y-Y คงราคาพื้นฐาน 8.30 บาท แนะนำซื้อ
(-) GL รายงานผู้สอบบัญชีประจำปี 2016 ตั้งข้อสังเกตต่องบการเงินไว้หลายประเด็นที่เป็นสิ่งที่เรากังวลมาก่อนหน้านี้ เช่นการให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทย่อยในสิงคโปร์ 3.5 พันล้านบาท ซึ่งได้ให้บริษัทอื่นในกลุ่มยืมต่อ ซึ่งผู้กู้ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท นอกจากนี้ บริษัทมีลูกค้ารายย่อยจำนวนมากรายและรับรู้รรายได้อ่านระบบ IT เป็นหลัก จึงมีความเสี่ยงว่าบริษัทจะรับรู้รายได้ไม่ถูกต้องหรือในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ราคาหุ้นยังเกินมูลค่าเหมาะสมของเราที่ 48 บาท ยังคงแนะนำขาย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
7 มี.ค. - ยูโรโซน: 4Q16 GDP
8-มี.ค. - ญี่ปุ่น: 4Q16 GDP
- สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (ก.พ.)
9 มี.ค. - ยูโรโซน: ECBประชุม
- จีน:อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
- ฟิลิปปินส์:ธนาคารกลาง (BSP) ประชุม
10 มี.ค. - จีน:ดุลการค้า (ม.ค.)
- สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.พ.) (ตลาดคาด +1.75 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนที่ 2.27 แสนราย)
14-15 มี.ค. - สหรัฐ:FOMC Meeting
14 มี.ค. - จีน:ยอดค้าปลีก, Industrial Production (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.)
15 มี.ค. - สหรัฐ:ยอดค้าปลีก, อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
16 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJประชุม
- สหรัฐ: Housing starts & Building permits (ก.พ.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบจากความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ รวมถึงสถานการณ์ตึงเครียดด้านการเมืองในประเทศยังเป็นอีกปัจจัยกดดัน
(-) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบเช่นกันนำโดยกลุ่มธนาคารหลัง Deutsche Bank ประกาศเพิ่มทุน 8 พันล้านยูโร รวมถึงสถานการณ์การเมืองในฝรั่งเศสที่ยังมีความไม่แน่นอน
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในกรอบแคบจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใสนัก ขณะที่นักลงทุนจับตาดูนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียเช้านี้
(0) ค่าเงินบาทยังแกว่งทรงตัวในกรอบ 35-35.10 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.13 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 53.20 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง IEA มีคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิต Shale Oil มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2022 หากราคาน้ำมันยังอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์/บาร์เรล
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 1.00 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,225.50 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยยังคงถูกกดดันจากความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้จากถ้อยแถลงของประธาน FED
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch