- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 06 March 2017 17:07
- Hits: 2210
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สหรัฐมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยสูงขึ้นในการประชุม 14-15 มี.ค. นี้ ซึ่งน่าจะกดดันให้ดอกเบี้ยโลกขยับขึ้นตาม เช่น ไทยน่าจะเริ่มเห็นดอกเบี้ยขึ้นปลายปีนี้ ซึ่งน่าจะกดดันหุ้นที่มีหนี้สิน และดอกเบี้ยลอยตัวสัดส่วนสูง เช่น IFS, S11, LIT ตรงกันข้ามกับหุ้น ธ.พ. น่าจะได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้ เลือกหุ้น SCB(FV@B178) เป็น Top pick
(0) ตลาดให้น้ำหนัก Fed ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งกดดันไทยขึ้นตามภายในสิ้นปีนี้
การแถลงสุนทรพจน์ของนางเจเน็ต เยลเลน (ประธาน Fed) ที่ Executives Club of Chicago เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว มีใจความสำคัญคือ "การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 14-15 มี.ค.นี้ น่าจะมีความเหมาะสม” หากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัว โดยเฉพาะตลาดแรงงาน ซึ่งล่าสุดอัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 4.8% (ต่ำกว่าที่ Fed ตั้งเป้าหมายไม่เกิน 5%) และเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงกว่าที่ Fed คาด คืออยู่ที่ 2.5% เดือน ม.ค. 60 จาก 2.1% ธ.ค. และ 1.0% พ.ย.59 และน่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง รวม 0.75% ตามที่ Fed คาด
ขณะที่ผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg คาดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ มาที่ 94% จาก 90% ในวันก่อนหน้า และเพิ่มเป็น 94% ในการประชุมตั้งแต่รอบ พ.ค. เป็นต้นไป ทำให้ความคาดหวังต่อ dollar index แกว่งตัวในทิศทางแข็งค่ายังมีอยู่และดึงเงินทุนไหลออกจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องโดยรวมที่ตลาดกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลง และน่าจะกดดันให้มีการขึ้นดอกเบี้ยในลักษณะเดียวกัน
(0) ดอกเบี้ยขาขึ้นกระทบผู้ที่มี D/E และดอกเบี้ยลอยตัวสูง
ขณะที่เงินเฟ้อในไทยเดือน ก.พ. อยู่ที่ 1.44% เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอจาก 1.55% เดือน ม.ค. และ 1.13% ในเดือน ธ.ค. จากการฟื้นตัวของสินค้าหมวดโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำมัน ยาง น้ำตาล และหมวดไม่มีแอลกอฮอลล์ เป็นต้น เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ 1.5% ทำให้ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยฯกับเงินเฟ้อเริ่มลดลง และหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามกระแสโลกคาดว่าจะทำให้ กนง. อาจจะต้องกลับมาทบทวนการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งน่าจะกระทบต่อตลาดหุ้นโลก เพราะต้นทุนการเงินจะเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่พึ่งพาการกู้ยืม และมีสัดส่วนดอกเบี้ยลอยตัวสูง ขณะที่ผลตอบแทนหรือราคาขายปรับเพิ่มไม่ได้หรือได้น้อย เช่น บริษัทที่มี D/E สูงเกิน 1 เท่า และมีส่วนต่างของดอกเบี้ยสุทธิลอยตัวสูง (ดอกเบี้ยรับ-ดอกเบี้ยจ่าย) เช่นกลุ่ม leasing/Hi-perchase จึงได้รับผลกระทบมากสุดเรียงลำดับกระทบจากมากไปน้อยคือ IFS (ส่วนต่าง 96%), S11(77%), LIT (69%) ที่เหลือจะกระทบรองลงมาคือ ASK (35%), THANI(30%), SAWAD(28%), AEONTS (9%), TK(8%) ส่วน JMT เป็นผู้บริหารหนี้เสีย โดยไปรับซื้อหนี้รายย่อยจากสถาบันการเงินจึงน่าจะกระทบดอกเบี้ยขาขึ้นน้อย แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์นี้น่าจะหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มนี้ไปก่อน
สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทในกลุ่มฯ ณ สิ้น 9M59
ตรงกันข้ามกับกลุ่ม ธ.พ. ดอกเบี้ยขาขึ้นอาจจะเอื้อประโยชน์เพราะการปรับเพิ่มดอกเบี้ยรับหรือ สินเชื่อจะทำได้เร็วกว่าต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย คือ ต้นทุนเงินฝาก ซึ่งมีระยะเวลาของการฝากเงิน ทำให้ net interest margin หรือ NIM ของธนาคารน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อย BBL([email protected]), KTB([email protected]), SCB(FV@B178), KBANK ([email protected]) ขณะที่หุ้นเล็กได้ประโยชน์น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามหุ้นใหญ่บางแห่งขยับขึ้นมาแล้วทำให้มี upside จำกัด BBL เหลือ 8% KTB 3.5%, SCB 15% และ KBANK 20% สถานการณ์นี้จึงน่าจะมีหุ้นธนาคารเก็บไว้ในพอร์ตบ้าง โดยเลือก SCB และ KBANK เป็น Top picks
(-) Fund Flow ยังไหลออกจากเอเซีย หาก Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 224 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 3 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 144 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 18 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 59 ล้านเหรียญ หรือ 2.1 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 962 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
อย่างไรก็ตาม Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากภูมิภาคเอเซียต่อเนื่อง เนื่องจากประธาน Fed ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่าอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14 – 15 มี.ค. นี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวสอดคล้องกับคาดการณ์ของ Fed
(+) กลุ่มพลังงานทดแทน น่าจะได้รับ Sentiment บวก กลับมา
คาดว่าหุ้นพลังงานทดแทนน่าจะได้ Sentiment เชิงบวกให้กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง แม้ว่าในช่วงก่อนหน้านี้ กพช. จะมีการยกเลิกโครงการรับซื้อไฟฟ้าชีวมวล 400 เมกะวัตต์ แต่ที่จริงแล้ว กพช. ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนรูปแบบ Hybrid แทน โดยจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in-Tariff (FiT) จากผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) จำนวน 300 เมกะวัตต์ ซึ่งรูปแบบ Hybrid สามารถใช้เชื้อเพลิงได้มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ประเภท และสามารถใช้ระบบแบตเตอรี่ (Energy Storage) มาประกอบพัฒนาโครงการได้ โดยสัญญาจะต้องเป็นประเภท Firm กับ กฟผ.เท่านั้น (เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า 100% ในช่วง Peak และในช่วง Off-peak ไม่เกิน 65%) สำหรับการรับซื้อจะเป็นไปในลักษณะประมูลแข่งขัน หรือ Competitive Bidding (ราคาขั้นสูงที่รัฐกำหนด 3.66 บาท/หน่วย) ซึ่งคาดว่าจะประกาศรับซื้อได้ในช่วงปลายปีนี้ โดยกำหนดจ่ายไฟฟ้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ภายใน 2563 รายละเอียดดังแผนภาพด้านล่าง
ทั้งนี้ กพช. ยังสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าขนาดเล็กและเล็กมากในบางพื้นที่ คือ 1) พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส,ปัตตานี, ยะลา) ระยะที่ 1 อีก 18 เมกะวัตต์ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน และ 2) ทั่วประเทศยกเว้น 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in-Tariff (FiT) จากผู้ผลิตรายเล็กมาก (VSPP) จำนวน 289 เมกะวัตต์ ในรูปแบบ Semi-Firm (Firm 6 เดือนแรกของปี ที่เหลืออีก 6 เดือน เป็น Non-firm) ซึ่งคาดจะประกาศรับซื้อได้ในช่วงปลายปีนี้เช่นดียวกัน
โดยรวมแล้วถือเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มพลังงานทดแทน ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนไปที่ PSTC ([email protected]) ที่จะเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งชีวภาพและชีวมวลโครงการใหม่ที่แล้วเสร็จเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตรวม 16.5 MW รวมถึงโครงการเก่าราว 22 MW ที่จะรับรู้รายได้เต็มที่ตลอดทั้งปี 2560 เป็นปีแรก
และ GUNKUL ([email protected]) จากการทยอยรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าตาม backlog ทั้งลม และโซลาร์ รวมถึงการรับรู้รายได้จาก โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมซับพลู 1 & 2 และวายุ (60 MW), โรงไฟฟ้าโซลาร์รางเงิน (58.3 MW), โรงไฟฟ้าโซลาร์ BMP (8 MW) เต็มที่ทั้งปีเป็นปีแรก ซึ่งทั้ง PSTC และ GUNKUL ไม่ได้รับผลกระทบจากการเช่าพื้นที่ ส.ป.ก.
ขณะที่ TPIPL ([email protected]) ซึ่งมีการนำบริษัทย่อยเข้าตลาดฯ คือ TPIPP โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 100 MW (TPIPL ถือหุ้น 99.99%) ภายในเดือน เม.ย. 60 หลังส่งรายงาน EIA ให้สำนักงานและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณา (หลังจากเมื่อช่วงปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา EGAT ยกเลิกตอบรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ซึ่งเกิดจากการที่ TPIPP เลือกใช้ Code of Practice : CoP ที่ประกาศโดย กกพ. ในการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้า แทนวิธีปฏิบัติเดิมที่จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อประหยัดเวลา แต่การสุ่มตรวจตัววัดสิ่งแวดล้อมบางรายการที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตาม CoP ทำให้ TPIPP ไม่สามารถเซ็นสัญญา PPA ได้ทันตามกำหนดในวันที่ 21 พ.ย. 59) ทั้งนี้ TPIPL คาดจะสามารถขอ COD โรงไฟฟ้าต่อ กพช. ได้ภายใน ต.ค. 2560 นี้ น่าจะยังสร้างกระแสเก็งกำไรใน TPIPL ได้ต่อเนื่องอีกระยะ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์