- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 03 March 2017 17:30
- Hits: 3526
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET รีบาวด์มาพอควรแล้ว ต้องระวังเริ่มแกว่งลงใหม่ แต่ยังรอทยอยซื้อลบ
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ยังอยู่ระหว่างรีบาวด์ขึ้นแกว่งบวก เพื่อตอบรับความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับวงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ในการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคที่ ปธน.สหรัฐแถลงต่อสภาคองเกรส แต่เนื่องจากยังไม่ได้มีรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการประชุมเฟดกลางเดือนนี้(14-15 มี.ค.) ว่าอาจจะมีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐดูเหมือนจะเริ่มเป็นแรงกดดันมากขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียก็ขยับบวกในกรอบจำกัด SET จึงยังบวกแคบและแกว่งตัวตลอดทั้งวัน
แนวโน้มตลาดวันนี้ : ตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนนี้พลิกกลับมาปรับตัวลงแรงกว่า 100 จุดบ้าง หลังจากขยับขึ้นต่อเนื่องมากว่า 2 สัปดาห์และดีดขึ้นแรงวันก่อน จึงทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมากดดันอีกครั้ง โดยเฉพาะเริ่มมีกระแสคาดการณ์เพิ่มมากขึ้นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมกลางเดือนนี้ ซึ่งนักลงทุนบางส่วนคงต้องการรอติดตามการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานเฟดในช่วงค่ำที่ชิคาโกด้วย ส่งผลให้ทั้งตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนนี้และตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้รุนแรงเท่าสหรัฐ แต่ก็เป็นแรงกดดันต่อเนื่องถึงตลาดหุ้นไทยเช่นกัน ขณะที่ SET ก็รีบาวด์บวกกลับขึ้นมา 3 วันติดต่อกันแล้วด้วย นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงกว่า 2% ด้วย ทำให้ FSS ยังคงคาดว่า SET รีบาวด์แค่ระยะสั้นและกำลังจะแกว่งตัวลงต่ออีกครั้งตามคาด
กลยุทธ์ : ดังนั้นเรายังแนะนำให้รอเลือกหุ้นค่อยๆ ทยอยซื้อในช่วงลบต่อไป
แนวรับ 1568-1565 , 1562-1560 จุด
แนวต้าน 1572-1574 , 1576-1577 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : UTP, SCN, TVO(buy back)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคหนาแน่น US$724ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$600ล้าน และไต้หวัน US$103ล้าน ขณะที่ไหลออกไทย US$14ล้าน และฟิลิปปินส์ US$8ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางชะลอการไหลเข้า จับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของประธาน Fed ในคืนวันนี้ว่าจะส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.นี้หรือไม่
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) ตลาดคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ยเดือนนี้ ตลาดจับตาสุนทรพจน์ของนางเยนเลนคืนนี้ที่ Executives club of Chicago ตลาดคาดความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 90% จากวานนี้อยู่ที่ 80% การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดปลายปี 2016 SET ปรับลง 1% ใช้เวลา 4 วัน ส่วนปลายปี 2015 SET ปรับลง 3.7% ใช้เวลา 3 วัน การขึ้นดอกเบี้ยเป็น sentiment บวกกับกลุ่มแบงก์ แต่หากเฟดไม่ขึ้นดอกเบี้ยเดือนนี้ เงินทุนจะไหลกลับเอเชียทำให้ตลาดหุ้นเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง
(0) น้ำมันลงแรงกดดันกลุ่มพลังงาน เงินดอลลาร์แข็งค่า สต็อกน้ำดิบสหรัฐเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 520 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ก่อน และการผลิตน้ำมันของรัสเซียเดือน ก.พ. ที่ไม่ได้ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ราคาน้ำมันเมื่อคืนนี้ -2% กดดันกลุ่มพลังงาน แต่เป็นบวกกับ TASCO และ EPG
(-) กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ กำไรปกติของกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ใน 4Q16 +5% Q-Q, -4% Y-Y ไม่น่าตื่นเต้นและเป็นไปตามคาด ทำให้จบปี 2016 ด้วยกำไรที่หดตัว 4.7% Y-Y โดยมี KCE เพียงบริษัทเดียวที่กำไรโตถึง 34% Y-Y แม้ถูกกระทบจากทองแดงที่ปรับขึ้นจนทำให้กำไร 4Q16 แย่ลงก็ตาม สำหรับปี 2017 เราคาดกำไรฟื้นแรง +22% Y-Y จากฐานต่ำ เราไม่ชอบกลุ่มนี้เพราะราคาหุ้นตอบรับการฟื้นตัวไปแล้ว PE ปัจจุบันที่ 16 เท่า ไม่ถูก และมี Dividend yield เพียง 2-3% ขณะที่กำไรมี downside มากขึ้นจากทั้งราคาทองแดงสูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาหุ้นเกินเป้าของเราหมดแล้ว ยกเว้น KCE แต่มี upside ต่ำกว่า 10%
(-) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กำไรปกติ 4Q16 +50% Q-Q เพราะผู้ประกอบการต่างเร่งโอนก่อนสิ้นปี แต่ -9% Y-Y เพราะหมดมาตรการรัฐที่ทำให้ยอดโอนกระจุกใน 4Q15-2Q16 กำไรทั้งปี 2016 โตเพียง 2% Y-Y ความลำบากในปีก่อนคือกำลังซื้อในตลาดกลาง-ล่างที่หายไป ผู้ประกอบการไปแข่งกันที่ตลาดบนและพึ่งพาสินค้าแนวราบมากกว่าแนวสูง (ถูกกดดันอีกด้านจากที่ดินแพงขึ้น) สถานการณ์ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน บวกกับการขายโครงการใหม่ได้น้อยในปีก่อนทำให้ Backlog ที่จะโอนในปีนี้มีไม่มาก เราเลือกเพียง SPALI (ราคาเป้าหมาย 30 บาท) และ AP (ราคาเป้าหมาย 9 บาท) ที่กำไรโตดีกว่ากลุ่ม PE ถูกกว่า และ Dividend yield ดี
(0) CENTEL การเติบโตยังไม่น่าสนใจ เราคาดกำไรปกติปีนี้โตเพียง 4.3% Y-Y เพราะการแข่งขันของโรงแรมในมัลดีฟท์ที่สูง การปรับปรุงห้องพักของโรมแรมเซนทารา แกรนด์ฯ และการลงทุนที่ไม่ต่อเนื่อง ทำให้มีเพียง 1 โรงแรมที่จะเปิดในปีนี้ ขณะที่แนวโน้มกำไรใน 1Q17 ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่จากธุรกิจอาหารที่ยังถ่วง คงราคาพื้นฐาน 42 บาท ราคาหุ้นปรับลงจนมี upside กว่า 10% จึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อ จากเดิมถือ แต่เรายังชอบ MINT (ราคาพื้นฐาน 43 บาท) มากกว่า
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3 มี.ค. - จีน:Caixin China PMI Composite (ก.พ.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ก.พ.)
- สหรัฐ: Yellenกล่าวสุนทรพจน์ที่ Executives club of Chicago
7 มี.ค. - ยูโรโซน: 4Q16 GDP
8-มี.ค. - ญี่ปุ่น: 4Q16 GDP
- สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (ก.พ.)
9 มี.ค. - ยูโรโซน: ECBประชุม
- จีน:อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
- ฟิลิปปินส์:ธนาคารกลาง (BSP) ประชุม
10 มี.ค. - จีน:ดุลการค้า (ม.ค.)
- สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.พ.) (ตลาดคาด +1.75 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนที่ 2.27 แสนราย)
14-15 มี.ค. - สหรัฐ:FOMC Meeting
14 มี.ค. - จีน:ยอดค้าปลีก, Industrial Production (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนนี้ปิดลบ โดยมีแรงขายออกมาจากหุ้นกลุ่มพลังงานและการเงิน สาเหตุหลักจากการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
(-) ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเล็กน้อย โดยปริมาณการซื้อเบาบาง และมีแรงขายทำกำไรออกมาหลังวานก่อนตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเพราะมุมมองที่เป็นบวกต่อนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดลบ ตามภาวะตลาดโลก และนักลงทุนยังเฝ้าติดตามถ้อยแถลงของนางเยลเลน ในวันที่ 3 มี.ค.นี้
(0) ค่าเงินบาทล่าสุดแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00-35.05 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดลบ 1.22 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 52.61 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA ระบุสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ รายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 520.2 ล้านบาร์เรล/วัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับมีแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดลบ 17.10 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,232.90 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยได้แรงกดดันจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์เนื่องจากมีการคาดการณ์กันว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch