- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 22 February 2017 18:08
- Hits: 2521
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'เลือกหุ้นดีจังหวะอ่อนตัว'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : STPI (จากถือเป็น Fully Valued), SYNEX (จากซื้อเป็นถือ)
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นไทยร่วงแรงตามแรงขายหุ้น Big Cap ปิดตลาด SET Index -14.05 จุดที่ 1564.42 นักลงทุนต่างชาติ สถาบันในประเทศ พอร์ตบล. ขายสุทธิ ส่วนรายย่อยสวนซื้อสุทธิ สำหรับปัจจัยสำคัญในช่วงนี้ ได้แก่
/+ จับตาทรัมป์จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรส 28 ก.พ.นี้...อาจมีรายละเอียดมาตรการลดภาษี & ลงทุนในสาธารณูปโภค
/+ PMI ภาคผลิต&บริการเดือนก.พ.สหรัฐอ่อนลงแต่ยังเหนือ 50 ส่วนของยูโรโซนเพิ่มทำ New High ในรอบ 6 ปี
+ AJ คาดผลประกอบการ Turnaround ตั้งแต่ 4Q59 โดยแผ่นฟิล์ม BOPA & BOPP กลับสู่วัฎจักรขาขึ้น Spread เริ่มดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 59 และมีแนวโน้มเพิ่มต่อในปี 60-61 คาดกำไรปี 59 ไว้ 88 ล้านบาท ปี 60 กระโดดเป็น 400 ล้านบาท แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 16 บาท
+ TASCO กำไร 4Q59 +172%QoQ ฟื้นตัวแกร่งเพราะ GPM ดีขึ้น แนวโน้มปี 60 ไปได้ดี ราคาขายในตปท.สูงขึ้น & อุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นตามงบประมาณปี 60 แนะนำซื้อ ปรับเพิ่มราคาพื้นฐานเป็น 35 บาท (เดิม 28 บาท)
AOT สรุปกับธนารักษ์เก็บค่าเช่าสุวรรรณภูมิเป็น 1. พื้นที่ Aero คิดแบบ Revenue Sharing 2. พื้นที่ Non-Aero คิดแบบ ROA คาดค่าเช่าเพิ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท เริ่มใช้กับ FY61 (ต.ค.60-ก.ย.61) เป็นต้นไป คาดกระทบกำไรปี 61F ไม่เกิน 2% ราคาหุ้นอ่อนตัวเป็นจังหวะซื้อ
- STPI คาดผลประกอบการ 4Q59 จะอ่อนแอ เพราะเจรจาค่าเร่งงาน(ส่วนเพิ่ม)เสร็จไม่ทัน ส่วนงานใหม่ 1-2 หมื่นล้านบาทกำลังรอสรุปจากผู้รับเหมาหลัก แต่ถ้าได้งานมาก็ยังรับรู้ไม่ทันปีนี้ กำไรปี 60 จึงอาจลดลงเกินครึ่งจากปี 59 แนะนำเต็มมูลค่า ราคาพื้นฐาน 10.40 บาท
จัดพอร์ตบนความสมดุลของ Risk & Return (แบ่งเป็น 3 หมวด : หุ้นปันผล, หุ้นมั่นคง และหุ้นเติบโต) และทำ Re-balancing ต่อเนื่อง ทั้งนี้หุ้นไทยปี 60 น่าจะผันผวนขึ้นหลังปรับขึ้นมากในปีก่อน หุ้นกลยุทธ์แนะนำวันนี้เป็น TASCO
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพเป็นลบ ดัชนีหลุดฟิวเตอร์ 1575 เมื่อวานนี้ แนวรับอยู่ในพื้นที่ 1566+/- หรือ 1550 จุด การเด้งจากจุดนี้มีแนวต้าน 1570-1580, 1590-1600 จุด
สำหรับการ SCAN หุ้นที่ราคามีโอกาสทำ New High พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ PERM, GLOBAL ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TLUXE, PACE, ANAN, PTTGC, DTAC, M, TISCO, AMATA, PSL, LIT, UTP สำหรับหุ้นที่แนะนำไปแล้วและให้หาจังหวะ Take Profit -ไม่มี- หุ้นหลุด List -ไม่มี-
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]
Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ :
/+ ทรัมป์จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรส 28 ก.พ.นี้...อาจมีรายละเอียดมาตรการลดภาษี & ลงทุน
นักลงทุนจับตาประธานาธิบดีทรัมป์ที่จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสสหรัฐในวันที่ 28 ก.พ. ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ทรัมป์อาจจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และการใช้จ่ายงบประมาณโครงสร้างสาธารณูปโภคในวันดังกล่าว ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้การใช้จ่ายผู้บริโภคให้เติบโตดีต่อเนื่อง
สหรัฐ : ประธานเฟดอย่างน้อย 2 สาขาหนุนให้ขึ้นดอกเบี้ย
นางลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ ได้ออกมาสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงรักษาระดับการขยายตัวได้ดีเหมือนในปัจจุบัน ด้านนายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียกล่าวว่าเขาจะสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค.60
สหรัฐ : ดัชนี PMI ภาคผลิตและบริการเดือนก.พ.ลดลงแต่ยังเหนือ 50
มาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการ ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.3 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 55.8 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตลดลงเป็น 54.3 ในเดือนก.พ. ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน และลดจากเดือนม.ค.ที่ 55.0 ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการปรับตัวลงสู่ 53.9 ในเดือนก.พ. ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน และลดจากเดือนม.ค.ที่ 55.6
+ ยูโรโซน : PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนก.พ.ทำ New High ในรอบ 6 ปี
PMI ภาคผลิตและบริการเดือนก.พ.พุ่งแตะ 56.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2011 จากระดับ 54.4 ในเดือนม.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 54.3 และการจ้างงานยูโรโซนแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีครึ่ง ขณะที่คำสั่งซื้อ และความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดย PMI ภาคผลิตและบริการของเยอรมนี ฝรั่งเศส ปรับเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
นับได้ว่าเศรษฐกิจยุโรปมีการฟื้นตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตต่อเนื่อง และเป็นประเทศเดียวที่เริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินเข้มงวดด้วยการค่อยๆ ขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้น
+ ตลาดหุ้นสหรัฐ : ปรับขึ้นรับผลกำไรที่แข็งแกร่งของกลุ่มค้าปลีก & มาตรการลดภาษีของทรัมป์
ตลาดคาดการณ์ว่ามาตรการปรับลดอัตราภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายผู้บริโภค รวมทั้งผลประกอบการหุ้นค้าปลีกออกมาแข็งแกร่ง เช่น วอล-มาร์ท, เมซี่, โฮม ดีโปท์ เป็นต้น ปิดตลาดดัชนี DJIA อยู่ที่ 20,743.00 จุด +118.95 จุด หรือ +0.58% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,865.95 จุด +0.47% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,365.38 จุด +0.60%
+/ สัญญาน้ำมันดิบ : ปรับขึ้นราว 1%
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 66 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 54.06 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 48 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 56.66 ดอลลาร์/บาร์เรล ตอบรับความร่วมมือลดปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปก และมีการคาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันของประเทศในกลุ่ม OECD จะลดลงในปีนี้ ทางด้านซิตี้ กรุ๊ปออกรายงานคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันอาจแตะที่ระดับ 70 ดอลลาร์/บาร์เรลภายในปลายปี 60 โดยอุปสงค์และอุปทานปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า
สัญญาทองคำ : ทรงตัว
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 20 เซนต์ หรือ 0.09% ปิดที่ 1,238.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ :
AOT (ราคาปิด 39.25 บาท) : ธนารักษ์เปลี่ยนวิธีเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุสวุรรณภูมิเป็นแบบ ROA เฉพาะพื้นที่เชิงพาณิชย์
# อธิบดีกรมธนารักษ์เปิดเผยการหารือกับ AOT เมื่อวานนี้ว่า ค่าเช่าพื้นที่สุวรรณภูมิเก็บเป็น 2 ส่วน คือ 1. พื้นที่ที่ใช้ในกิจการการบิน (Aero) คิดรูปแบบ Revenue Sharing เหมือนเดิมที่อัตรา 5% และ 2. พื้นที่ที่ใช้ประโยขน์เชิงพาณิชย์ (Non-Aero) คิดรูปแบบ ROA ที่ 3-5% โดยเริ่มที่ 3% ก่อน ส่วนที่ดินยังไม่ได้พัฒนาทาง AOT ต้องไปจัดสรรว่าเป็นประเภทใดแล้วคิดเค่าเช่าตามนั้น ส่วนสนามบินที่เหลือคิดค่าเช่าแบบ Revenue Sharing เหมือนเดิม
# อธิบดีกรรมสรรพากรในฐานะประธานบอร์ด AOT เห็นว่า การเรียกเก็บค่าเช่าในแบบข้างต้นจะทำให้ค่าเช่าที่สุวรรณภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 500 ล้านบาท และสามารถผลักส่วนนี้ไปยังเอกชนได้
# กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT คาดว่าการจัดทำขอบเขตพื้นที่เชิงพาณิชย์และอัตราการเก็บแบบ ROA น่าจะแล้วเสร็จพร้อมกับการแก้ไขข้อตกลงการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุในไตรมาส 3 ของปี 60 ดังนั้นสำหรับผลประกอบการงวดปี 60 (ต.ค.59-ก.ย.60) AOT ยังคงจ่ายค่าเช่าพื้นที่ราชพัสดุของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบ Revenue Sharing ที่ 5% เหมือนกับปีก่อน
# ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : หากค่าเช่าที่สุวรรณภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 500 ล้านบาทขณะที่ค่าเช่าสนามบินอื่นๆ คิดในอัตราเดิมจะทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิ FY61 (สิ้นสุดก.ย.61) จะลดลงไม่เกิน 2% และกระทบต่อมูลค่าหุ้น AOT ไม่มากจากปัจจุบันที่ให้ราคาพื้นฐานไว้ที่ 45.50 บาท/หุ้น ยังคงคำแนะนำซื้อ
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]