- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 15 February 2017 19:08
- Hits: 3347
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ คาดให้น้ำหนักต่อถ้อยแถลงของประธานเฟดที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในเป้าหมายของเฟด ซึ่งคาดสามารถรองรับการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ อย่างไรก็ตามการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ทำให้เงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น แนะติดตาม (1) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ซื้อขายเป็นเงินสหรัฐฯ มีราคาลดลง และ (2) Fund Flow ไหลออกจาก Emerging Market รวมถึงไทย อย่างไรก็ตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง คาดยังเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก
นอกจากนี้คาดปัจจัยต่างประเทศยังได้รับปัจจัยบวกจากการส่งสัญญาณของ ปธน.สหรัฐฯ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าจะมีประกาศแผนการปรับลดภาษี ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็น 1 ในนโยบายหาเสียง เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน คาดในระยะสั้นช่วยชดเชยประเด็นความกังวลต่อนโยบายของปธน.สหรัฐฯ ที่ผ่านมา ที่สร้างความขัดแย้งในสหรัฐฯ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทางด้านราคาน้ำมัน คาดในระยะสั้นยังมีความผันผวนจาก (+) แผนการปรับลดปริมาณผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ทั้ง OPEC และ Non OPEC (-) ปริมาณผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ยังเพิ่มต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ยังคงมีความกังวลอุปทานส่วนเกิน อย่างไรก็ตาม คาดระดับราคาน้ำมันในปี’60 อยู่ในระดับที่สูงกว่าปี’59 ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 41 – 42USD ดังนั้นเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนเมื่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับลดลง
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาด Sentiment เป็นบวก โดยเฉพาะมุมมองของ ธปท. ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวชัดเจน และดีกว่าการประเมินก่อนหน้า ขณะที่ยังอยู่ในช่วงทยอยประกาศผลการดำเนินงานปี’59 คาดมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่องถึงก.พ.’60 รวมถึงเงินปันผล
อย่างไรก็ตามยังมีมุมมองที่ดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในปี’60 ภายใต้ (1) การลงทุนของภาครัฐ ที่ได้แรงขับจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (2) รายได้เกษตรกรที่คาดปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และสถานการณ์ภัยแล้งที่ผ่อนคลายลง และ (3) การส่งออกปรับตัวดีขึ้นจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดย กกร. คาดส่งออกเติบโต 1.0 – 3.0% รวมถึงได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า
SET SET50 SET100
1,572.24 -13.00 981.66 -10.70 2,217.40 -23.84
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +92.25 NASDAQ +9.33, S&P +18.62, FTSE -10.36, CAC +7.63 และ DAX -2.62
DJIA, NASDAQ และ S&P500 ทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ภายใต้ปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับขึ้นแข็งแกร่ง จากถ้อยแถลงของประธานเฟด ที่ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในการแถลงรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสวานนี้ (14/2/60) โดยระบุว่า การชะลอเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานเกินไปนั้น อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
พร้อมระบุว่าในการประชุมครั้งต่อๆ ไป คณะกรรมการเฟดจะประเมินการจ้างงานและเงินเฟ้อ หากสอดคล้องกับการคาดการณ์ของเฟด การปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่อไปก็จะมีความเหมาะสม
ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) – ม.ค. เพิ่มขึ้น 0.6%MoM สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 0.3% และเป็นการปรับตัวขึ้นมากสุดนับแต่ก.ย.’55 โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามยังจับตาถ้อยแถลงของประธานเฟด (วันที่ 2) ต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยลบเข้ามาจากตัวเลข GDP – 4Q/59 ของยูโรโซน ขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบรายไตรมาส โดยต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 0.5% เช่นเดียวกับ GDP – 4Q/59 ของเยอรมนี ขยายตัวเพียง 0.4% ต่ำกว่าคาดการณ์ อย่างไรก็ตามทั้งปี’59 ขยายตัว 1.9% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งสุดในรอบ 5 ปี
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
19.19 2.01 2.9
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 52,842.63
สถาบัน -2,081.58
บัญชีหลักทรัพย์ 354.87
ต่างประเทศ -1,783.49
ในประเทศ 3,510.20
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มี.ค. +US$0.27 อยู่ที่US$53.20ต่อบาร์เรล ภายใต้การผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกปรับตัวลดลงในเดือนม.ค. สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศสมาชิกโอเปกให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลง
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน เม.ย. -US$0.4 อยู่ที่ US$1,225.4ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าหลังประธานเฟด ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,783 ล้านบาท สะสม YTD +3,396 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 15 - 17 ก.พ. 2560
15/2/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค.
ดัชนีการผลิตของรัฐนิวยอร์คเดือนก.พ.
ยอดค้าปลีกเดือนม.ค.
สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนธ.ค.
ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนม.ค.
ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.พ.
สต็อกน้ำมันราย
เงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนธ.ค.
16/2/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนม.ค.
ผลสำรวจดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติก-ก.พ.
17/2/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนม.ค. และ (4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวไทย ซึ่ง ททท. คาดว่าทั้งปี’ 60 อยู่ที่ 34 - 35 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 32.59 ล้านคน เมื่อปี’59 พร้อมคาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 10% จาก 1.64 ล้านบาทเมื่อปี’59
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น SCC
(3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากการเปิดขายโครงการในปี 60 ที่โดดเด่น เช่น ANAN, SPALI และ SC ในขณะที่ CPN จะได้รับประโยชน์ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น STEC, SYNTEC และ UNIQ
(5) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น
(6) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(7) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจสนามบิน เช่น AOT จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.04 อยู่ที่ 2.47% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.33 อยู่ที่ 10.74
หุ้นแนะนำ : THANI
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788