WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
 SET Index ได้รับแรงหนุนจากหุ้น ICT จากประเด็นบวกที่ TOT จะนำคลื่น 2300 MHz มาประมูลซึ่งถือว่าดีต่อ DTAC ขณะที่ตลาดยังให้น้ำหนักต่อนโยบายกีดกันการค้าสหรัฐ และผลประกอบการงวด 4Q59 กลยุทธ์เน้นรายหุ้นที่มีผลกำไรต่อเนื่อง+มีปันผลสูง (ASK, PTTGC, SCCC, TCAP, LH) และ Turnaround (TASCO, TSTH) Top picks SCB(FV@B178), TSTH([email protected]) และ TASCO(FV@B28)

 

(0) กนง. คงดอกเบี้ยฯ..กังวลต่อมาตรการกีดการค้าของสหรัฐ
  ผลการประชุม กนง. วานนี้เป็นไปตามคาด คือ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แม้เงินเฟ้อล่าสุดจะเพิ่มในอัตราเร่งจาก 1.1% ในเดือน ธ.ค.59 เป็น 1.55% เดือน ม.ค.60 และยังเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยปี 2560 โดยรวมยังขยายตัวได้ดี หลังจากยอดการส่งออก (X) เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน (+10.1% yoy พ.ย.59 และ +6.2% ธ.ค.59) และการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐเกินเป้าที่วางไว้ คือ 4 เดือน (ต.ค. 59-ม.ค. 60) เบิกจ่าย 40% ของงบประมาณสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 36% และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงในช่วง 2H59 จึงยังคงคาดการณ์ GDP Growth ปีนี้ไว้ที่ 3.2% ตามเดิม (ASPS คาดที่ 3.5%) แต่ กนง. ยังกังวลต่อนโยบายกีดกันทางการค้าของทรัมป์ฯ ที่คาดว่าจะมีความชัดเจนนับจากนี้ และปัญหาการเมืองและธนาคารพาณิชย์ในยุโรป (Brexit & Italexit) รวมถึงกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่าเกินไป ราว 8.3%ytd ซึ่ง ASPS ประเมินว่าน่าจะเกิดจากภาคส่งออกที่ดีขึ้น และ เงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเป็นผลจากนักลงทุนต่างชาติซื้อตราสารหนี้ไทยต่อเนื่อง 9 วัน โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมราว 4.71 หมื่นล้านบาท หนุนให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี ytd ราว 7.4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ASPS ประเมินว่าต้องติดตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไทยในเดือนต่อๆ ไป หากยังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในลักษณะเดียวกับเดือน ม.ค. และใกล้ 2% ก็อาจจะ ทำให้ กนง. ต้องเริ่มทบทวนนโยบายการเงินใหม่ ซึ่งน่าจะเริ่มมีการขยับขึ้นดอกเบี้ยช่วง 2H60 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed)จะขึ้นดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน

 

(+) TOT นำคลื่น 2300 MHz มาประมูล ดีต่อ DTAC มากที่สุด
  TOT เผยจะนำคลื่น 2300 MHz ที่มีอยู่ 60 MHz มาประมูล แต่อายุเหลือ 8 ปี คือสิ้นสุดปี 2568 (หลังจากนี้ต้องคืนให้ กสทช เพื่อนำไปประมูลครั้งถัดไป) โดยจะเปิดให้บริษัทที่สนใจ ยื่นซองในวันที่ 27 มี.ค. นี้ เงื่อนไขที่ใช้ประมูลคือ “บิวตี้ คอนเทส” คือ ดูภาพรวมข้อเสนอก่อน (แตกต่างจากที่ กสทช. ให้ประมูลแบบ Stimulus Ascending ซึ่งให้ความสำคัญราคาประมูล) แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ชนะประมูลต้องลงทุนโครงข่ายทั้งหมด และ ต้องแบ่งคลื่นความถี่ให้ TOT เช่า 40% ขอคลื่นที่ประมูลไปทั้งหมด
  ประเด็นนี้ถือว่าดีต่อ DTAC เพราะถือว่ามีความต้องการใช้คลื่นมากสุดในขณะนี้ เพราะคลื่นที่ DTAC มีอยู่นั้นส่วนใหญ่ราว 35 MHz จากที่มีคลื่นทั้งหมด 50 MHz (ปัจจุบันให้บริการ 3G, 4G 40% และ 50% ของคลื่นทั้งหมด) จะหมดอายุปี 2561 และเป็นคลี่นที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม (ต้นทุนจะสูงกว่าการขอใบอนุญาต) ขณะที่ ADVANC น่าจะมีความต้องการรองลงมาคือ แม้ปัจจุบันมีคลื่นทั้งหมด 55 MHz เท่ากับ TRUE แต่หากพิจารณาในด้านประสิทธิภาพการให้บริการ โดยนำคลื่นความถี่ทั้งหมดที่มีหารด้ายจำนวนลูกค้าทั้งหมด พบว่า ADVANC ให้บริการลูกค้าถึง 7.5 แสนราย ต่อ 1 MHz ซึ่งสูงกว่า TRUE ที่เพียง 4.0 แสนรายต่อ 1 MHz แต่เชื่อว่า TRUE ก็น่าจะเข้าประมูล เพื่อกีดกันคู่แข่งขัน
  ด้านต้นทุนของคลื่น 2300 MHz เชื่อว่าไม่น่าจะเกิน 4 หมื่นล้านบาท ทำไมถึงเชื่อแบบนั้น เพราะด้วยเงื่อนไขของบิวตี้ คอนเทส น่าป้องกันผู้เก็งกำไร (ไม่มีฐานลูกค้า) เข้ามาสร้างราคา เหมือนครั้งที่ประมูลคลื่น 900 MHz ภายใต้ระบบ 4G ในปี 2558 ซึ่งสร้างภาระต้นทุนที่แพงเกินไป และสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการทุกราย สะท้อนจากผลการดำเนินงานโดยรวมทั้งกลุ่มลดลงอย่างมากในปี 2559 และ ยังลดลงต่อเนื่องในปี 2560 ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่า TOT ไม่ควรใช้ราคาประมูล 4G รอบหลังสุดมาเป็นบรรทัดฐานในการประมูลรอบนี้ ทั้งนี้การคำนวณราคาประมูลดังกล่าวนั้น อ้างอิงจากการประมูล 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 15 MHz ที่ประมูลจบไปปี 2558 ที่ 2.2 พันล้านบาทต่อปี (ผู้ชนะประมูลคือ ADVANC, TRUE แห่งละ 15 MHz อายุ 18 ปี เท่ากัน ขณะที่การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ในปีเดียวกันผู้ชนะคือ TRUE และ JAS แห่งละ 10 MHz แต่ด้วยราคาประมูลที่สูงลิบลับคือ 7.62 หมื่นล้านบาท และ 7.56 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ) ภายใต้อายุการใช้งานที่เหลือ 8 ปี และ การใช้ได้เพียง 60% ของคลื่นทั้งหมด (ในความเห็นจริงคลื่น 2300 MHz จะสั้นกว่าคลื่น 900 MHz ที่ประมูลก่อนหน้าจึงมีโอกาสที่จะมีส่วนลดลงจากราคาข้างต้น)
  ด้วยเม็ดเงินประมูลนี้ ยังไม่รวมเงินลงทุนในโครงข่ายอีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท รวมๆ แล้วน่าจะอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท พิจารณาจากผู้ประกอบการในตลาดทั้ง 3 ราย โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดใน 5 ปีข้างหน้า เปรียบเทียบกับภาระที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน พบว่า
DTAC มีความพร้อมมากสุดคือ:
  DTAC (Switch:FV@B30) พิจารณากระแสเงินสดจากการดำเนินงานรวมราว 1.3 แสนล้านบาท แต่มี งบลงทุนเพียง 8.5 หมื่นล้านบาท (เพราะไม่มีภาระใบอนุญาตเหมือนอีก 2 บริษัท) และเงินปันผลจ่ายอีก 2 หมื่นล้านบาท จึงจะเหลือเงินอีกราว 2 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับเงินสดในมือ 1.8 หมื่นล้านบาท จะมีเงินสดรวมเกือบ 4 หมื่นล้านบาท ขณะที่มี net gearing 1.13 เท่า (ด้วยฐานทุน 4.2 หมื่นล้านบาท) การกู้ยืมเพื่อลงทุนโครงข่ายยังทำได้ง่าย
  ADVANC (ซื้อ:FV@B180) อาจจะเผชิญปัญหาสภาพคล่องบ้าง แต่ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะแม้จะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานรวม 3.2 แสนล้านบาท เทียบกับกระแสเงินสดจ่ายที่จะเกิดขึ้นราว 3.27 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุน 1.2 แสนล้านบาท ค่าใบอนุญาตค้างจ่าย (4G) 8.7 หมื่นล้านบาท และเงินปันผลจ่ายอีกปีละ 1.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมเงินสดในมืออีก 1 หมื่นล้านบาท จึงคาดว่าจะต้องกู้ยืมเพิ่ม แต่ปัจจุบันมี net gearing 1.8 เท่า จึงยังมีช่องว่างจะกู้ยืมเพิ่มเติมได้
  TRUE (switch: [email protected]) พิจารณาเงินสดจากการดำเนินงานรวม 1.5 แสนล้านบาท เทียบกับกระแสเงินสดจ่ายที่จะเกิดขึ้นราว 1.77 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น เงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาท ค่าใบอนุญาตค้างจ่าย (4G) 8.7 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมเงินสดในมืออีก 4.8 หมื่นล้านบาท (จากการเพิ่มทุน และ การก่อหนี้) และด้วย net gearing 0.23 เท่า (ฐานทุน 1.33) จึงสามารถกู้ยืมได้ไม่มีปัญหาเช่นกัน
แต่สถานการณ์นี้ช่วยให้ DTAC มองเห็นโอกาสหรือทางรอดของธุรกิจในระยะยาวที่ชัดเจนขึ้น จึงทำให้มีโอกาสปรับประมาณและ Fair Value ขึ้น หากชนะการประมูล อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น หากรวมคลื่นใหม่เข้ามา Fair Value จะปรับขึ้นไปที่ประมาณ 40 บาท หรือใกล้เคียงนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาดปัจจุบันแล้ว จึงแนะนำให้ switch ไป ADVANC ที่มีความพร้อมจะเติบโตไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแส Digital Life ซึ่ง ADVANC ได้เตรียมควาพร้อมดังต่อไปนี้ 1) ให้บริการอินเตอร์เนตมือถือและบ้าน ตอบสนองความต้องการเชื่อมต่อตลอดเวลา 2) ร่วมกับพันธมิตรต่างอุตสาหกรรพัฒนาดิจิทัล คอนเท้นท์ต่างๆ ที่คาดมีบทบาทกับชีวิตผู้บริโภคมากขึ้น อาทิ การร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมขายคอนเท้นท์รายการต่างๆ อาทิ GMM (ดูคอนเสิร์ตสดออนไลน์) ขณะที่ล่าสุดยังได้เปิดตัวพาร์ทเนอร์ระดับโลก อาทิ FOX และ HBO โดยโมเดลธุรกิจนี้ จะให้ลูกค้ารับชมผ่านทางมือถือและกล่อง AIS Playbox ที่ขายพ่วงบริการอินเตอร์เนต (เป็นระบบกล่องรับชมทีวีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต) โดยคาดว่าจะเรียกเก็บค่าบริการต่อการรับชมรายครั้ง ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันมากกว่า เจ้าของรายการเดิม คือ TRUE ที่เน้นการขายแบบเหมาทุกช่องและคิดค่าบริการรายเดือนให้ลูกค้าบอกรับสมาชิก นอกจากนี้ ADVANC ยังมีบริการทางการเงิน ภายใต้ชื่อ Mpay (Money Wallet) ส่วนตรงนี้ถือแหล่งรายได้ใหม่ที่มีศักยภาพช่วยต่อยอดการเติบโต และลดความเสี่ยงจากพึ่งรายได้เดิม (เสียง+ข้อมูล) ที่เผชิญการแข่งขันสูง

(0) ราคาน้ำมันยังขยับขึ้นแม้สต็อกเพิ่ม จากความคาดหวังต่อ Supply ที่ลดลง
  วานนี้สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ สิ้นสุด 3 ก.พ. เพิ่มขึ้น 13.8 ล้านบาร์เรล (มากกว่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 2.53 ล้านบาร์เรล) และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 เนื่องจากโรงกลั่นตัดลดกำลังการผลิต สวนทางกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลง คือ น้ำมันเบนซิน ลดลงมาอยู่ที่ 8.69 แสนบาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันดีเซลและ Heating Oil เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2.9 หมื่นบาร์เรล
  อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบโลกวานนี้ยังคงปรับขึ้นได้ ล่าสุด สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI และ สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า Brent อยู่ที่ 52.47 และ 55.19 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 53.45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยสนับสนุน ยังคงมาจากการร่วมมือกันตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา (ลดลงกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน) แม้ว่า Supply ที่มาจากสหรัฐจะยังคงเพิ่มขึ้น แต่ก็ถูกหักล้างไปด้วยการลดลงของ supply ที่มาจากกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ดังกล่าว โดยรวมแล้วคาดว่า oversupply น่าจะเข้าสู่สมดุลในช่วงกลางปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น เงินดอลลาร์ที่ยังคงแกว่งอยู่ในโซนอ่อนค่า (ล่าสุด Dollar Index อยู่ที่ 100.29) ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาน้ำมันให้มีทิศทางแกว่งตัวขึ้นใกล้เคียงกับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบของ ASPS ที่กำหนดไว้ในปี 2560 เท่ากับ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 และเพิ่มเป็น 65 เหรียญฯ นับจากปี 2562 เป็นต้นไป จึงยังคงแนะนำสะสม PTTEP (FV@B116) เมื่อราคาอ่อนตัว และ PTT (FV@B400) มีโอกาสปรับเพิ่ม Fair Value ขึ้นเป็น 460 บาท จากการที่ PTT ถือหุ้น 65.29% ใน PTTEP จึงแนะนำซื้อ PTT เช่นเดียวกัน

(+) ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย สวนทางกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค
  วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 382 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกสลับมาขายสุทธิราว 205 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 188 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 1.3 หมื่นเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 16 ล้านเหรียญ หรือ 541 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิราว 916 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิไปในวันก่อนหน้า)
และหากกลับมาพิจารณาแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติผ่าน NVDR ในวานนี้ พบว่า แรงซื้อส่วนใหญ่ยังคงอยู่กลุ่ม ธ.พ. โดยเฉพาะ KTB และ KBANK ถูกซื้อสุทธิผ่าน NVDR มากที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ของตลาดฯ ด้วยมูลค่ากว่า 315 ล้านบาท และ 247 ล้านบาท ตามลำดับ และมีอีกกลุ่ม คือ ICT ที่ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิอย่างเห็นได้ชัด อาทิ TRUE ถูกซื้อสุทธิ 130 ล้านบาท (อันดับ 3 ของตลาดฯ) และ ADVANC 21 ล้านบาท

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!