WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     SET Index ยังขาดประเด็นหนุนใหม่ๆ ขณะที่ยังย่อยข่าว ผลกระทบนโยบายกีดกันการค้าสหรัฐ และ ผลประกอบการงวด 4Q59 กลยุทธ์เน้นรายหุ้นที่มีผลกำไรต่อเนื่อง+มีปันผลสูง (ASK, PTTGC, SCCC, TCAP, LH) และ Turnaround (TASCO, TSTH) Top picks ยังชอบ SCB(FV@B178), TSTH([email protected]) วันนี้เพิ่ม TASCO(FV@B28) จาก Spread ที่ดีกว่าคาด

 

(-) ตลาดหุ้นโลกยังปรับฐาน ย่อยข่าวผลกระทบการกีดการค้าสหรัฐ
เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกอยู่ในช่วงปรับฐาน และยังคงแกว่งตัวออกด้านข้าง ยกเว้นตลาดหุ้นสหรัฐที่มีโอกาสขยับขึ้นทำ new high (DJIA, NASDAQ เพิ่มขึ้นกว่า 10% นับจากทรัมป์ฯ ได้รับชัยชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ 8 พ.ย. 2559 จนถึง 26 ม.ค. 2560) จากความคาดหวังผลบวกของการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการส่งเสริมการลงทุนและจ้างงานในประเทศ และลดภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ตรงกันข้าม ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐ สร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งจากฝั่งสหภาพยุโรป ที่ยังมีประเด็นเรื่อง Brexit รวมถึงอิตาลี หรือ ฝรั่งเศส ก็มีแนวคิดที่จะออกจากสหภาพยุโรป ยิ่งทำให้สหภาพยุโรปขาดเสาหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของในกลุ่มฯ
ล่าสุด ผลประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียให้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แม้เงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 2.2% (GDP Growth งวด 3Q59 1.8%yoy ชะลอตัวจาก 3.1% ในช่วง 2Q59) แต่กังวลต่อผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐ แม้ปัจจุบันสหรัฐได้ดุลการค้ากับออสเตรเลีย ประมาณ 14 ล้านล้านเหรียญ (8% ของการเกินดุลของสหรัฐทั้งหมด) โดยสินค้านำเข้าหลัก ๆ จากสหรัฐ จะเป็นสินค้าขั้นกลาง เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของออสเตรเลียไปสหรัฐ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ เคมีภัณฑ์และผลไม้ เป็นต้น
เป็นที่สังเกตว่า ค่าเงินโลกมีความผันผวนสูง กล่าวคือ ค่าเงินดอลลาร์ ช่วง 7 พ.ย. 2559 - 3 ม.ค. 2560 แข็งค่าขึ้น 5.5% ตรงข้ามกับค่าเงินในภูมิภาคเอเซียล้วนอ่อนค่า กล่าวคือ เงินบาทช่วง 7 พ.ย.- 22 ธ.ค. 2559 อ่อนค่าลง 2.9% รูเปียห์ อินโดนีเซีย ช่วง 7 พ.ย.- 1 ธ.ค. 2559 อ่อนค่าลงมากถึง 3.47% เปโซ ฟิลิปปินส์ ช่วง 7 พ.ย.- 15 ธ.ค. 2559 อ่อนค่าลง 2.56% และหยวน ช่วง 7 พ.ย. 2559- 3 ม.ค. 2560 อ่อนค่าลง 2.71%
อย่างไรก็ตามภายหลังจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นกับต่างประเทศ โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ 3 ม.ค. 2560 จนถึงปัจจุบันกว่า 2.65% ขณะที่ค่าเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเซียแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์ กล่าวคือ เงินบาท นับจาก 22 ธ.ค. 2559 แข็งค่า 2.72% รูเปียห์ อินโดนีเซีย นับจาก 1 ธ.ค. 2559 แข็งค่า 1.51% เปโซ ฟิลิปปินส์ นับจาก 15 ธ.ค. 2559 แกว่ง sideway แข็งค่าเล็กน้อยเพียง 0.23% และหยวน นับจาก 3 ม.ค. 2560 แข็งค่า 1.08%
แม้ว่ากระแสเงินจะไหลออกจากตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP สะท้อนจากเดือน ม.ค. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นอินโดนีเซียราว 73 ล้านเหรียญ และซื้อสุทธิไม่มากนักในตลาดหุ้นไทย ส่วนเดือน ก.พ. (mtd) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยไปแล้วกว่า 46 ล้านเหรียญ แต่จะเห็นได้ว่า ค่าเงินไม่ได้อ่อนค่าลง ตรงข้ามกลับแข็งค่าขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ จึงน่าจะเป็นตัวสะท้อนได้ว่า กระแสเงินไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ไหลจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย โดยในส่วนของเงินบาทนั้น น่าจะแกว่งตัวได้ในกรอบ 35-36 บาทต่อเหรียญ

(-) รัฐเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านภาคท่องเที่ยวต่อ
รัฐบาลเปิดเผยผลการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐปี 2560(G) พบว่าเกินเป้าที่วางไว้ คือ 4 เดือน (ต.ค.59-ม.ค.60) เบิกจ่าย 40%ของงบประมาณ (แบ่งเป็นรายจ่ายประจำเบิกจ่าย 45% สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 39% ส่วนรายจ่ายลงทุนเบิกจ่าย 24% ต่ำกว่าเป้าเล็กน้อย) โดยภาพรวมการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อาทิ รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า และมอเตอเวย์ที่จะเกิดขึ้นจริงในช่วง 2H59 น่าจะหนุน GDP Growth ปี 2560 ที่ ASPS คาดที่ 3.5% เป็นไปได้
และยังคงเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง โดยยืดมาตการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวเพิ่มอีก 6 เดือน (1ธ.ค.59- 28 ก.พ.60) จากเดิมในช่วง (1ธ.ค.59- 28 ก.พ.60) ดังนี้
1. ลดค่าธรรมเนียม นักท่องเที่ยวเพิ่มเติมจากเดิม 19 ประเทศ เป็น 21 ประเทศ โดยเพิ่ม ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะฟิจิ เป็นต้น โดยประเทศที่เคยลดในรอบที่ผ่านมาคือ จีน, อินเดียอันดอร์รา, บัลแกเรีย, ภูฏาน, ไซปรัส, เอธิโอเปีย, คาซัคสถาน, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มัลดีฟส์, มอลตา, มอริเชียส, โรมาเนีย, ซานมารีโน, ซาอุดีอาระเบีย, ไต้หวัน, ยูเครน, อุซเบกิสถาน,
2. ลดค่าธรรมเนียมวีซ่าที่ช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เหลือ 1,000 บาท/คน จากปกติ 2000 บาท/คน
ถือเป็นปัจจัยหนุนต่อธุรกิจนักท่องเที่ยวและอาหารของไทย เพราะนโยบายดังกล่าว ยังหนุนให้จีน ซึ่งเป็นฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีขนาดใหญ่สุดของไทย ราว 30% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด สะท้อนจาก ในช่วง 3 เดือนที่ออกมาตรการก่อนหน้า(1ธ.ค.59- 28 ก.พ.60) พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 12.4% เป็น 1.12 ล้านคน โดยภาพรวมน่าจะหนุนหุ้นกลุ่มโรงแรม อาทิ ERW CENTEL MINT และ ผู้ให้บริการสนามบิน อาทิ AOT ส่วนสายการบินอาจจะมีปัจจัยกดดันระยะสั้นในเรื่องต้นทุนน้ำมันที่กำลังขยับขึ้นแม้จะค่อยเป็นค่อยไป ต่อต้นทุนโดยรวมจะสูงกว่าปี 2559 แล้ว ยังเผชิญกับต้นทุนภาษีน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แม้จะสามารถผลักภาระไปให้ผู้โดยสาวทั้งหมด แต่ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงยังเป็นปัจจัยกดันในระยะยาว จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงสายการบินทุกแห่ง

(-) ต่างชาติมีโอกาส Switch การลงทุนจากหุ้นไปตราสารหนี้มากขึ้น
แรงซื้อหุ้นจากต่างชาติยังคงเป็นไปในลักษณะสลับซื้อสลับขายในแต่ละประเทศ โดยวานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 79 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 171 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 18 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) และฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 102 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทย 16 ล้านเหรียญ หรือ 538 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ทั้งนี้สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 117 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย สังเกตได้ว่า นักลงทุนต่างชาติซื้อตราสารหนี้ไทยต่อเนื่องถึง 8 วัน โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมกว่า 4.71 หมื่นล้านบาท หนุนให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี 60 (ytd) ขึ้นไปอยู่ที่ 7.20 หมื่นล้านบาท สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากนักลงทุนสลับเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินเอเชียอีกครั้ง (หลังจากที่ขายออกไปในช่วงปี 2558 และ 1H59 เป็นการตอบรับดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ) เพื่อรอความชัดเจนต่อการดำเนินนโยบายของทรัมป์นับจากนี้ และตลาดคาดหวังว่าจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐอย่างจริงจังในงวด 2H60 รวมไปถึงตราสารหนี้มีความเสี่ยงที่น้อยกว่า แต่กลับมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่จูงใจกว่า Upside ที่เหลือของ SET Index (ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 2.66%)

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ : ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!