WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  แรงขายรับงบงวด 4Q59 และต่างชาติที่กลับมาขายหุ้น เพื่อรอผลประชุม Fed ในค่ำคืนนี้ ซึ่งยังกดดัน SET ผันผวน 1580-1560 จุด กลยุทธ์ยังเลือกหุ้นที่มั่นใจกำไร และจ่ายเงินปันผลได้อย่างยั่งยืน (ASK, SCCC, TCAP, LH, PTTGC) Growth Stock (FSMART, COM7, WHA) และ Global (PTT, PTTEP, PTTGC) Top picks ยังเลือก PTTEP(FV@B116) และ COM7(FV@B14)

 

(-) ผลประชุม BOJ คงนโยบายการเงิน
  ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) 2 วันที่ผ่านมาเป็นไปตามที่ตลาดคาด คือยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และคงวงเงิน QE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ควบคู่กับดูแลอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล(Yield Curve) อายุ 10 ปี ให้อยู่ที่ระดับใกล้เคียง 0% ตามเดิม


แต่อย่างไรก็ตามการที่เงินเยน กลับมาแข็งค่าราว 4.56% นับจากกลางเดือน ธ.ค. จนถึงวานนี้ หลังจากที่อ่อนค่าราว 10% นับจากต้นเดือน พ.ย.59 ซึ่งเป็นช่วงที่นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งกล่าวได้ว่า ตลาดได้สะท้อนความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐในปี 2560 (ผลสำรวจคาดว่า Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3-4 ครั้งในปีนี้) นอกจากนี้เป็นผลจากการที่ ดัชนีเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เริ่มจากเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 0.3% ตามมาด้วยยอดส่งออก(X) ที่กลับมาบวก 2 เดือนติดต่อกัน และ ดัชนีชี้นำภาคการผลิตฟื้นตัวต่อเนื่อง คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ซึ่งทำให้ BOJ ปรับ GDP Growth ปี 2560-61 เพิ่มปีละ 0.2% อยู่ที่ระดับ 1.5% และ 1.1% ตามลำดับ และคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2560-61 ที่ 1.5% และ 1.7% ตามเดิม
  ขณะที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (31 ม.ค. 2560-1 ก.พ. 2560) ซึ่งจะทราบผลเช้าวันที่ 2 ม.ค. ตามเวลาในประเทศไทย ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยนโยบาย แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจทั้งฝั่งภาคการผลิตและภาคบริการยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน และเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 2.1% (สูงกว่าเป้าที่ Fed วางไว้) ซึ่งน่าจะหนุนให้ปี 2560 Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 4 ครั้ง ขณะที่ผลสำรวจของ Bloomberg ยังให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่งวด 2H60
  และ 2 ก.พ. การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% หลังจากได้ปรับลดลงไปเมื่อปลายปี 2559 เพราะกังวลต่อปัญหา Brexit

(0) OPEC ลดกำลังการผลิตได้ตามแผน หนุนราคาน้ำมัน กระทบสายการบิน
  วานนี้ราคาน้ำมันดิบโลกขยับขึ้นได้ โดยในระหว่างการซื้อขาย สามารถปรับขึ้นได้ถึงกว่า 1% ปัจจัยหนุนมาจากความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตน้ำมันกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC โดยผลสำรวจจาก Reuters ระบุว่า supply น้ำมันจาก 11 ชาติ OPEC ในเดือน ม.ค. เฉลี่ยอยู่ที่ 30.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจาก 31.17 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ธ.ค. 2559 นอกจากนี้ยังระบุว่ากลุ่ม OPEC แสดงถึงความร่วมมือกันสูงถึง 82% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ (เป้าหมายการตัดลดกำลังการผลิตอยู่ที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (OPEC ลด 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วน Non-OPEC ลด 6 แสนบาร์เรล) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ ม.ค.-มิ.ย. 2560) แม้ว่า แนวโน้มการผลิตน้ำมันของสหรัฐ จะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อมาหักลบกันสุทธิแล้ว supply น้ำมันลดลงมากกว่า จึงน่าจะทำให้ปัญหา oversupply น่าจะลดลงและเข้าสู่สมดุลได้ในช่วงกลางปีนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ (ล่าสุด Dollar Index อยู่ที่ 99.66) เนื่องจากความไม่มั่นใจต่อนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งการกีดกันทางการค้าต่อประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐ จึงน่าจะทำให้เงินดอลลาร์แกว่งตัวอ่อนค่าต่อเนื่อง
  แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยฝ่ายวิจัยกำหนดให้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2560 เท่ากับ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล และเพิ่มขึ้นเป็น 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในปี 2561 และหลังจากปี 2562 กำหนดให้เท่ากับ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในระยะยาว ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะหนุนการเติบโตของกำไรของหุ้นในกลุ่มน้ำมัน จึงยังคงแนะนำสะสม PTTEP (FV@B116) เมื่อราคาอ่อนตัว และ PTT (FV@B400) มีโอกาสปรับเพิ่ม Fair Value ขึ้น
  ในทางตรงข้ามกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นต้นทุนหลักจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสายการบิน แม้ว่าหุ้นสายการบินที่ฝ่ายวิจัยศึกษา คือ AAV([email protected]), BA([email protected]) และ THAI(FV@B21) จะมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงราคาล่วงหน้าปีนี้แล้ว แต่ก็เป็นเพียงบางส่วน คือ ราว 75% 40% และ 45% ของปริมาณใช้ตามลำดับ นอกจากนี้ การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินที่บินเส้นทางภายในประเทศเป็น 4 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันที่ 0.2 บาทต่อลิตร โดยให้มีผลทันที ส่งผลให้ต้นทุนทุกสายการบินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่าสายการบินจะสามารถผลักภาระมาให้ผู้โดยสารได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นยังมีการแข่งขันรุนแรง ประกอบกับสายการบินจะมีการขายตั๋วโดยสารล่วงหน้าราว 25-30% ซึ่งสายการบินต้องรับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นเอง จึงคาดว่าจะเป็นส่วนที่กดดันผลประกอบการระยะสั้น 3-6 เดือนข้างหน้ายังไม่สดใส ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินถึงปริมาณปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของสายการบินแต่ละแห่ง คือ ไทยแอร์เอเชีย BA และ THAI ต่อปี เท่ากับ 400, 160 และ 120 ล้านลิตร ส่งผลกระทบสายการบินไทยแอร์เอเชีย (นับเฉพาะส่วนของ AAV ที่ถือหุ้น 55%) BA และ THAI มีต้นทุนเพิ่ม 668, 486 และ 364 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นผลกระทบต่อมูลค่าพื้นฐาน 0.8,1.4 และ 0.2 บาท ตามลำดับ จึงปรับลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่มสายการบินเป็นน้อยกว่าตลาด และระยะสั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นสายการบินทุกแห่งไปก่อน

(-) เดือน ก.พ. คาด Fund Flow ยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง
  วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันยังคงหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันตรุษจีน (จะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันพรุ่งนี้) ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 361 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 293 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 30 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน), ฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายราว 34 ล้านเหรียญ หรือ 1.2 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิกว่า 2.1 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 7 วัน)
  สรุป Fund Flow ในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่าเงินทุนต่างชาติได้ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 3.59 พันล้านเหรียญ (คิดเป็นสัดส่วนเม็ดเงินกว่า 14.4% ของยอดซื้อสะสมของทั้งปี 2559) โดยมีเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียเท่านั้นที่ถูกขายสุทธิ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ อีก 4 แห่ง ยังคงถูกซื้อสุทธิ รายละเอียดดังสรุปในตารางด้านล่าง
  แม้ช่วงนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาจเผชิญกับแรงขายจากต่างชาติ เนื่องจากรอความชัดเจนของการประชุม Fed ที่จะสิ้นสุดลงในคืนนี้ อย่างไรก็ตามแนวโน้ม Fund Flow ในเดือน ก.พ. คาดว่ายังไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาค รวมถึงไทยได้ต่อเนื่อง สะท้อนจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี ที่ต่างชาติมักจะซื้อหุ้นไทยในเดือน ก.พ.เฉลี่ยกว่า 6.05 พันล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิถึง 6 ใน 10 ปี ยิ่งไปกว่านั้นเดือน ก.พ. ยังเป็นเดือนที่ SET Index มักปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ที่เหลือ โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 3.35% และยังปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 9 ใน 10 ปี

(0) Sell on fact รายหุ้น เลือกหุ้นปันผลเด่น : ASK, LH, SCC, TCAP และ PTTGC
  การประกาศงบงวด 4Q59 ของ Real sector ทยอยประกาศและคาดว่าจะเสร็จสิ้นปลายเดือน ก.พ. ซึ่งการรายงานงบฯ ดังกล่าว หากผลการดำเนินงานเป็นไปตามคาด หรือแย่กว่าคาด มักจะตามมาด้วย Sell on fact อย่างเช่นวานนี้ ราคาหุ้น DTAC ลดลงถึง 5.42% ผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาดมาก
  และหลังจากการรายงานงบฯ เสร็จสิ้นลง ก็จะเข้าสู่ช่วงการจ่ายเงินปันผล โดยบริษัทจะเริ่มทยอยขึ้น XD ตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค.- พ.ค. ทำให้หุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูง จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า หุ้นที่จ่ายปันผลปีละครั้ง หากซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 11.66% ด้วยความน่าจะเป็นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกกว่า 84% โดยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูง อาทิ THANI, IRPC, IFS, ASK, TK, SC, TISCO และ KTB ส่วนหุ้นที่จ่ายปันผลมากกว่าปีละครั้ง หากซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD เช่นเดียวกัน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 7.57% ด้วยความน่าจะเป็นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 79% เช่น BCP, SENA, MAJOR, INTUCH, MCS, ADVANC, HANA, TCAP เป็นต้น
  ทั้งนี้ การเลือกลงทุนใหนหุ้นปันผลสูง เมื่อนำมาประกอบกับข้อมูลในเชิงปัจจัยพื้นฐาน คือ มี Upside สูง, แนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่ง และราคามักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อน XD เสมอ โดยฝ่ายวิจัยจึงเลือก ASK, LH, SCC, TCAP และ PTTGC

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!