- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 01 February 2017 16:59
- Hits: 3014
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET เริ่มแกว่งตัวลง แม้อาจมีรีบาวด์สลับ แต่ยังแนะนำให้รอซื้อช่วงลบ
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET เริ่มปรับตัวลงแรงขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้พยายามทรงตัวใกล้จุดสูงสุด แต่ก็มีแรงขายกดดัน ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน ประกอบกับช่วงนี้นักลงทุนมีความกังวลว่าการใช้มาตรการระงับการเข้าสหรัฐของพลเมือง 7 ชาติมุสลิมจาก ปธน.สหรัฐอาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ รวมทั้งคาดว่าการขยับขึ้นมาเร็วของ SET ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนบางส่วนต้องการขายเพื่อรับรู้กำไรไว้ก่อนด้วย
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปส่วนใหญ่ยังปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากความวิตกเกี่ยวกับการลงนามคำสั่งเพื่อระงับการเข้าสหรัฐของพลเมืองจาก 7 ชาติมุสลิม รวมทั้งยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในสหรัฐ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่ปรับลดลงในเดือน ม.ค. นอกจากนี้นักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทส่งออกในยุโรปด้วย หลังจากสกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง FSS ยังแนะนำให้ระวังการแกว่งตัวลงต่อเนื่องของ SET ไว้ก่อนในระยะนี้ อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้หลายแห่งเริ่มมีจังหวะบวก คาดว่ามาจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก หลังการผลิตน้ำมันของโอเปกปรับตัวลงในเดือน ม.ค. ทำให้ SET อาจแกว่งทรงตัวและรีบาวด์เล็กน้อยก่อนลงต่อได้
กลยุทธ์ : หลังจากซื้อแล้วแนะนำเน้นถือไว้ก่อน แต่จะซื้อใหม่ยังรอลบดีกว่า
แนวรับ 1576-1573 , 1570-1565 จุด
แนวต้าน 1582-1584 , 1586-1588 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : KBS, JWD, AMATA(short)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกภูมิภาค US$361ล้าน โดยไหลออกเกาหลีใต้ US$293 ล้าน และไทย US$35 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคและน่าจะไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อรอดูผลการประชุม Fed ขณะเดียวกันตลาดมีความกังวลต่อการใช้มาตรการที่เด็ดขาดของทรัมป์ต่อการระงับผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานที่มาจากประเทศเหล่านี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) เศรษฐกิจไทยเดือน ธ.ค. ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นและการส่งออกฟื้น ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนดีขึ้น การท่องเที่ยวกลับมาขยายตัว เราคาด GDP 4Q16 +3.3% Y-Y ซึ่งเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง (สภาพัฒน์ฯ จะรายงาน GDP วันที่ 20 ก.พ.)
(0) นโยบายทรัมป์ทำดอลลาร์อ่อน การห้ามชาวมุสลิมและผู้ลี้ภัยเข้าประเทศถูกต่อต้าน อิรักและอิหร่านอาจยกเลิกคำสั่งซื้อโบอิ้ง ผลประกอบการของบจ.ในสหรัฐต่ำกว่าคาด ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ค่าเงินดอลลาร์จึงอ่อนค่า หาก Fed คงดอกเบี้ยและตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนคืนนี้ออกมาต่ำคาด ดอลลาร์จะอ่อนต่อเป็นบวกต่อ Commodity
(+) มุมมองตลาดหุ้นเดือน ก.พ. จากสถิติพบว่าตลาดหุ้นเดือน ก.พ. ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นเพราะเป็นช่วงประกาศผลประกอบการและเงินปันผล ทำให้มีแรงเก็งกำไรสลับกับ sell on fact วนไปเป็นรายตัว แต่ sell on fact ไม่รุนแรงเหมือนไตรมาสอื่นเพราะมีเงินปันผลรองรับ และกำไรมีโอกาสดีกว่าตลาดคาด ขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าต่อจากนโยบายทรัมป์ที่อาจสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการที่ Fed ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ทำให้กระแสเงินทุนไม่ไหลออกมากนัก อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของโฟลว์จึงยังมีอยู่ เดือนนี้แนะนำ BIG, ERW, GLOBAL, KKP, SPALI
(+) BIG เราปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 6.90 บาทจากเดิม 5.55 บาท จากการ re-rate PE ขึ้นเป็น 25 เท่า ใกล้เคียงกลุ่มค้าปลีกสินค้า IT และเมื่อคิดเป็น PEG ยังอยู่ที่ 1 เท่า ไม่แพงเกินไป สำหรับแนวโน้มกำไร 4Q16 เราคาด +99% Q-Q, +26% Y-Y ทำให้ทั้งปีโตถึง 58% Y-Y และคาดกำไรปีนี้โตต่อเนื่อง 35% Y-Y ยังคงแนะนำซื้อ
(+) ORI เราปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 15 บาทจากเดิม 12 บาทจากการ re-rate PE เป็น 15 เท่าจากเดิม 12 เท่า คิดเป็น PEG เพียง 0.2 เท่า จากการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งทั้งในปี 2017 คาด +72% Y-Y และปี 2018 คาด +32% Y-Y โตสูงสุดในกลุ่ม จาก Backlog ที่สูงถึง 1.3 หมื่นล้านบาท รับรู้ปีนี้ 35% หรือ 4.6 พันล้านบาทคิดเป็น 80% ของคาดการณ์รายได้ของเรา ยังคงแนะนำซื้อ
(+) BBL เราชอบ BBL มากขึ้นจาก Valuation ที่น่าสนใจ ราคาหุ้นต่ำกว่า Book value สิ้นปีนี้เกือบ 20% ขณะที่คาด Dividend yield 2.6% งวด 2H16 (4.50 บาท/หุ้น) งบดุลแข็งแกร่งมาก LTD ratio 90% เงินกองทุน 19% สูงสุดในกลุ่มแบงก์ใหญ่ เราปรับกำไรปีนี้ขึ้น 4% เป็นโต 8% Y-Y ปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 210 บาท จาก 200 บาท แนะนำซื้อ
(-) BAY ผู้บริหารให้เป้าทางการเงินปีนี้ใกล้เคียงที่เราประเมินไว้ คาดสินเชื่อโต 6-8% (ปีก่อน +11.2%) คาดส่วนต่างดอกเบี้ย 3.7% ใกล้เคียงปีก่อน แต่ความน่าสนใจลดลงเพราะการจ่ายปันผลที่น่าจะต่ำกว่า 30% ของกำไร (ปีก่อนจ่าย 32%) ทำให้ Dividend yield ต่ำเพียง 2% ราคาพื้นฐาน 42 บาท คงคำแนะนำถือ หรือ switch เป็น TMB แทน
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
31ม.ค.-1ก.พ. - สหรัฐ: FOMC Meeting
1 ก.พ. - สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (ม.ค.)
2 ก.พ. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.)
- จีน: Manufacturing and Non-Manufacturing PMI (ม.ค.)
- อังกฤษ: BOE Meeting
3 ก.พ. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (ม.ค.)
- ยูโรโซน:Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
6 ก.พ. - อินโดนีเซีย: 4Q16 GDP
7 ก.พ. - จีน: Caixin China PMI Composite (ม.ค.)
8 ก.พ. - ไทย:กนง.ประชุม (เราคาดคงดอกเบี้ยที่ 1.5%)
9 ก.พ. - ฟิลิปปินส์:ธนาคารกลางประชุม
10 ก.พ. - จีน:ดุลการค้า (ม.ค.)
13 ก.พ. - ญี่ปุ่น: 4Q16 GDP
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังปิดในแดนลบโดยนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับนโยบายที่ออกมาจากทรัมป์ นอกจากนี้ยังถูกกดดันจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อ่อนแอ
(-) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดลบต่อเนื่องเช่นกันแม้ตัวเลข GDP ยูโรโซนและเงินเฟ้อจะปรับตัวดีขึ้น โดยล่าสุดทางฝ่ายทรัมป์กล่าวว่าเยอรมนีกำลังใช้ยูโรที่อ่อนค่าเกินความเป็นจริงเพื่อให้ได้เปรียบต่อสหรัฐฯและคู่ค้าในสหภาพยุโรป
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวผสมทั้งบวกและลบจากบรรยากาศการลงทุนที่ยังไม่สดใสนักและยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้น
(+) ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.05-35.16 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ขยับขึ้น 0.18 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 52.81 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีข่าวว่าผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกได้ปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ รวมถึงแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. พุ่งขึ้น 15.40 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,211.40 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยนักลงทุนยังคงเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดทรัมป์ได้พูดถึงบางประเทศที่จงใจลดค่าเงิน
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch