- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 30 January 2017 17:15
- Hits: 1466
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET ปรับลงแล้วยังมีแรงซื้อหนุน แต่น่าลุ้นลงต่ออีกมากกว่า...
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET เริ่มแกว่งตัวด้านลบเป็นหลักอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะยังมีกรอบการปรับตัวลงที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากตลาดหุ้นเอเชียหลายแห่งปิดทำการจากเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่ช่วงบ่ายดัชนียังค่อยๆ ไต่ระดับกลับขึ้นมาปิดเป็นลบเพียงเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าแรงขายยังคงกดดันต่อเนื่อง หลังจากในช่วงสัปดาห์ตลาดขยับบวกขึ้นมามากพอควร ในขณะที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม
แนวโน้มตลาดวันนี้ : คาด SET มีสิทธิแกว่งตัวลงอีกได้ หลังตลาดหุ้นเอเชียที่เปิดทำการเช้านี้ส่วนใหญ่ยังมีจังหวะอ่อนตัวลงเช่นกัน หลังตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปส่วนใหญ่ก็เริ่มอ่อนตัวลงอีกครั้ง จากรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 4/59 ของสหรัฐขยายตัวต่ำกว่าคาด รวมทั้งผลประกอบการของบริษัทเอกชนทั้งในสหรัฐและยุโรปที่ออกมาช่วงนี้ก็สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนพอควร นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอ่อนตัวลง หลังมีรายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการใช้งานในสหรัฐยังเพิ่มขึ้นอีกในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่ง FSS คาดว่า SET มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงอีกสักพัก ก่อนที่จะมีแรงซื้อกลับเข้าหนุนให้ SET กลับมาขยับบวกใหม่ในรอบหน้าได้ตามคาดต่อไป
กลยุทธ์ : ดังนั้น FSS ยังแนะนำให้รอเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วง SET ปรับลงดีกว่า เพื่อลุ้นถือต่อเนื่องรอตลาดพลิกกลับขึ้นหาระดับดัชนีตามพื้นฐานของปีนี้ที่เราประเมินไว้ที่ 1650 จุดต่อไป
แนวรับ 1588-1584 , 1580-1575 จุด
แนวต้าน 1592-1595 , 1598-1602 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : COMAN, AU, TKN(buy back)
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$0.02 หลายประเทศหยุดในเทศกาลตรุษจีน ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีเม็ดเงินไหลออกมากที่สุด US$30ล้าน ขณะที่ไหลเข้าอินโดนีเซีย US$28ล้าน และฟิลิปปินส์ US$1.5ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางชะลอการไหลเข้าเนื่องจากหลายประเทศยังปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) เก็งกำไรผลประกอบการรายตัว การปรับขึ้นของ SET สัปดาห์ที่ผ่านมาขับเคลื่อนด้วยกองทุนในประเทศซึ่งซื้อสุทธิ 4.9 พันล้านบาท ส่วนต่างชาติขาย 500 ล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่ outperform หุ้นขนาดกลาง-เล็ก กลุ่มที่ปรับขึ้นมากสุดคือ commodity ทั้งพลังงาน ปิโตรเคมี และเกษตร สัปดาห์นี้เงินทุนต่างชาติยังมีโอกาสไหลออกเพราะมีการประชุมธนาคารกลางหลายแห่งทั้ง FOMC, BOJ และ BOE มีตัวเลขการจ้างงานสหรัฐคืนวันศุกร์ และตลาดยังดูนโยบายรายวันของทรัมป์ แต่ตลาดหุ้นไทยน่าจะหันมาขับเคลื่อนด้วยหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่ถูกเก็งกำไรผลประกอบการ สำหรับวันนี้มี DTAC ที่กำไรอาจน้อยกว่าคาด
(+) KKP ผู้บริหารให้เป้าหมายทางการเงินปี 2017 ค่อนไปเชิงบวก ทำให้เราขยับประมาณการกำไรสุทธิปี 2017 ขึ้นเล็กน้อย 2% เป็น 5.5 พันล้านบาท ทรงตัว Y-Y เติบโตต่ำสุดในกลุ่มแบงก์ เพราะฐานกำไรที่สูงมากในปีก่อนที่โตถึง 67% Y-Y ความน่าสนใจของ KKP จึงไม่ใช่การเติบโตของกำไร แต่เป็นเงินปันผล 2H16 ที่คาดจ่ายถึง 3 บาท/หุ้น (yield 5%) และเงินกองทุนที่แข็งแกร่งมาก ยังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 71 บาท
(-) กลุ่มสายการบิน ครม.มีมติให้ปรับขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบินจาก 0.20 บาท/ลิตร เป็น 4 บาท/ลิตร เฉพาะเครื่องบินโดยสารในประเทศ มีผล 25 ม.ค. 2017 สายการบินที่ถูกกระทบมากที่สุดคือสายการบินที่มีสัดส่วนรายได้จากการบินในประเทศมากสุดซึ่งก็คือ BA (70%) และ AAV (63%) รองลงมาเป็น NOK และ THAI ในระยะแรกผู้ประกอบการทุกรายถูกกระทบเพราะขายตั๋วบางส่วนล่วงหน้าแล้วประมาณ 6 เดือน ก่อนจะค่อยๆส่งผ่านต้นทุนน้ำมันไปให้ผู้บริโภค เราประเมินเบื้องต้นว่ากำไรของกลุ่มสายการบินจะลดลง 8-12% ราคาพื้นฐานที่ปรับลงแล้วยังมี upside กว่า 10% ทำให้คำแนะนำยังเป็นซื้อ แต่ความชอบในกลุ่มนี้ลดลงเพราะทิศทางราคาน้ำมันที่เป็นขาขึ้นและการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มชะลอเพราะฐานใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นนี้ไม่กระทบ AOT และ BAFS
(-) AAV เราปรับประมาณการกำไรปี 2017 ลง 9% จากการปรับต้นทุนน้ำมันเครื่องบินเฉพาะในส่วนที่บินในประเทศเพิ่มขึ้น และปรับเพิ่มค่าโดยสารขึ้นเล็กน้อยจากการผลักภาระต้นทุนบางส่วน ทำให้กำไรปี 2017 โต 6.5% Y-Y ลดจากเดิมที่คาดโต 16% Y-Y ปรับราคาพื้นฐานลงเหลือ 7.10 บาท (เดิม 8 บาท) จากการปรับ PE ลง สำหรับกำไรปกติ 4Q16 คาดว่าไม่น่าตื่นเต้น -11% Q-Q (ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการรับมอบเครื่องบินเพิ่ม และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลด),+78% Y-Y ส่วนกำไรทั้งปี 2016 +99% Y-Y ถือว่าผ่านการเติบโตที่ดีที่สุดไปแล้ว แม้ upside จากเป้าใหม่จะเกิน 10% ทำให้คำแนะนำยังเป็นซื้อ แต่ระยะสั้นไม่น่าสนใจ ปัจจัยลบมีมากกว่าบวก
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
30 ม.ค. - ไทย:ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ธ.ค.)
- สหรัฐ: Pending home sales (ธ.ค.)
31 ม.ค. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ธ.ค.
- BOJประชุม
- ยูโรโซน: 4Q16 GDP
1 ก.พ. - สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (ม.ค.)
2 ก.พ. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค.)
- จีน: Manufacturing and Non-Manufacturing PMI (ม.ค.)
- สหรัฐ: FOMC Meeting
3 ก.พ. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (ม.ค.)
- ยูโรโซน:Markit Eurozone Composite PMI (ม.ค.)
6 ก.พ. - อินโดนีเซีย: 4Q16 GDP
7 ก.พ. - จีน: Caixin China PMI Composite (ม.ค.)
8 ก.พ. - ไทย:กนง.ประชุม (เราคาดคงดอกเบี้ยที่ 1.5%)
9 ก.พ. - ฟิลิปปินส์:ธนาคารกลางประชุม
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดผสมหลังตัวเลข GDP 4Q16 ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ภาพรวมทั้งสัปดาห์ยังสามารถปรับขึ้นได้ราว 1%
(-) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดในแดนลบโดยนักลงทุนจับตาดูการพบกันระหว่างทรัมป์และนางเทเรซ่า เมย์ที่ทำเนียบขาว
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ส่วนที่เปิดอยู่ปรับตัวในแดนลบตามภูมิภาคอื่นจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใสนัก
(0) ค่าเงินบาทแกว่งตัวออกข้าง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.16-35.30 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ลดลง 0.61 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 53.17 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งหดล้างไปกับการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ขยับลง 1.40 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,188.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ก่อนที่จะเริ่มปรับตัวขึ้นอีกครั้งเช้านี้จากค่าเงินดอลลาร์ทีอ่อนค่ารวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าคาดของสหรัฐฯ
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch