WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน


  ดัชนีฟื้นตัวต่อ โดยแรงหนุนของหุ้นโภคภัณฑ์ (PTT, PTTGC, TTA) และหุ้นรายตัวในกลุ่ม Real sector ที่มีกำไรเด่นงวด 4Q59 (WHA, AOT) แต่ดัชนีน่าจะติดแนวต้าน 1580-1585 จุด กลยุทธ์เลือกรายหุ้น รวมถึงหุ้นปันผล (ASK, SCCC, TCAP, LH, PTTGC) Top picks ยังชอบ SYNTEC([email protected]) และ TTA([email protected])

 

(+) ส่งออกไทยฟื้นอีกเดือน และ ครม. หนุนลงทุนเอกชนต่ออีกปี
  วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ เดือน ธ.ค. 2559 ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 กล่าวคือ ยอดส่งออก (X) เพิ่ม 6.2%yoy ต่อเนื่องจาก 10.1% ใน พ.ย. (เพิ่มจากสินค้าในหมวด ยางและผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า) ขณะที่ยอดนำเข้า (M) ช่วงเดียวกันเพิ่ม 10.3%yoy จาก 2.5% ในเดือน พ.ย. โดยรวมส่งออกและยอดนำเข้าทั้งปี 2559 0.45% บวกครั้งแรกในรอบ 4 ปี และยังติดลบ 3.9% ตามลำดับ (เทียบกับ ASPS คาดทั้งปี 2559 ที่ 0% และ -3.5% ตามลำดับ) โดยรวมยอดส่งออกในงวด 4Q59 ที่ดีขึ้นน่าจะช่วยหักล้างการบริโภคครัวเรือนที่ชะลอลงจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ ทำให้ GDP Growth ปี 2559 น่าจะใกล้เคียงกับที่ ASPS คาดที่ 3.2% มีโอกาสเป็นไปได้ (9M59 ที่ 3.3%)
  และที่ประชุม ครม. วานนี้ อนุมัติให้ต่ออายุมาตรการภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนออกไปอีก 1 ปี แต่ให้ปรับเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ 1) ให้ลดหย่อนภาษีจ่ายได้ 1.5 เท่า จากปี 2559 ที่ 2 เท่าในปี 2559 ของเงินลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือ ยานพาหนะ อาคารถาวร (ไม่รวมที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้อยู่อาศัย) การลงทุนต้องพร้อมใช้งานได้จริงภายใน 31 ธ.ค. 2560 ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนที่ไม่ได้ BOI คือ กลุ่มสื่อสาร ADVANC, DTAC กลุ่มค้าปลีก BJC, MAKRO, CPALL, ROBINS, HMPRO, TNP โรงพยาบาล BDMS, BH, BCH เป็นต้น (ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมวันพรุ่งนี้)
  โดยรวมน่าจะเร่งให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนที่พร้อมจะลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเริ่มต้นของภาคเอกชนก่อนที่จะเข้าสู่ แผนลงทุนภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา (ให้สิทธิทางภาษีเป็นเวลา 13 ปี จากเดิม 8 ปี) นอกเหนือจากกระตุ้นการลงทุนภาครัฐ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก อาทิ รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ น่าจะหนุนให้เศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป ขยายตัวใกล้เคียงที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ระดับ 3.5%

 

(-) ข่าวร้าย TPIPL กกพ.ยกเลิกตอบรับซื้อไฟฟ้า กระทบต่อแผน IPO ของ TPIPP
 ข้อมูลใน website ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) ระบุว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 100MW ของ TPIPP ถูกยกเลิกตอบรับซื้อไฟ (PPA 90MW) ส่งผลให้ราคาหุ้น TPIPL วานนี้ปรับตัวลงแรง ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการที่ TPIPP เลือกใช้ Code of Practice:CoP ในการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้า แทนวิธีปฏิบัติเดิมที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อประหยัดเวลา อย่างไรก็ตาม ผลสุ่มตรวจตัววัดด้านสิ่งแวดล้อมบางรายการที่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดในบางช่วง ทำให้ไม่เข้าหลักเกณฑ์การทำ CoP และจะต้องหันมาทำ EIA แทน เป็นเหตุให้ TPIPP ไม่สามารถเซ็นสัญญา PPA ได้ทันตามกำหนดในวันที่ 21 พ.ย. 59
  ทั้งนี้ TPIPP ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ กกพ. เพื่อขอขยายเวลาเซ็นสัญญา PPA ออกไปอีก 290 วัน โดย TPIPP คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการยื่น EIA ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ก่อนทำเรื่องสัญญาซื้อขายไฟกับ EGAT ใหม่อีกครั้ง ทำให้แผนนำหุ้น TPIPP เข้าตลาดต้องล่าช้าออกไป แต่คาดว่าน่าจะยังทันภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งทำให้แผนการนำเงินจากการขาย IPO หุ้น TPIPP เพื่อลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าอื่นๆ และชำระคืนหนี้ให้กับ TPIPL ยังมีความเป็นไปได้
  เพื่ออนุรักษ์นิยม ASPS กำหนดให้แผนรับซื้อไฟฟ้าตาม PPA ล่าช้าออกไป 1 ปี จะกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2560 ของฝ่ายวิจัย 875 ล้านบาท คิดเป็น 33% ของประมาณการกำไรทั้งปี และทำให้ FV ที่ประเมินด้วยวิธี Sum of the part ลดลงจาก 3.14 บาท เหลือ 3.06 บาท ฝ่ายวิจัยลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น Switch เพื่อรอความชัดเจนก่อน อีกทั้งแนวโน้มผลประกอบการ 4Q59 ของ TPIPL ยังไม่สดใส จากปัญหาค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นและการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจซีเมนต์

 

(-) ต่างชาติยังคงเลือกที่จะขายหุ้นในกลุ่ม TIP
  แม้วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 340 ล้านเหรียญ แต่แรงซื้อหลักๆ ยังคงอยู่ในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนีอ โดยเฉพาะไต้หวันที่ถูกซื้อสุทธิสูงถึง 330 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ที่ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 7 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ยกเว้นตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังคงถูกขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทย 24 ล้านเหรียญ หรือ 831 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 876 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.55 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 562 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)

 

(+) กลยุทธ์การลงทุนเลือกรายหุ้น : SCC, SYNTEC, TTA
  นอกจากแรงหนุนของหุ้นรายตัวที่คาดว่าจะมีกำไรโดดเด่น ซึ่งจากการทำ Earnings preview พบว่ามีหลายบริษัท เช่น
  หุ้นที่คาดว่างวด 4Q59 จะเติบโตทั้ง qoq และ yoy เช่น PTTGC (34%qoq, 77%yoy), AOT (18%qoq, 10%yoy), SAWAD (12%qoq, 54%yoy), SIRI (109%qoq, 26%yoy), HMPRO (32%qoq, 10%yoy), AMATA (156%qoq, 157%yoy), TMT (35%qoq, 670%yoy)
  ขณะที่หุ้น Turnaround คาดว่ามีอยู่หลายกลุ่มฯ เริ่มจากกลุ่มบันเทิง โดยเฉพาะกลุ่มทีวีดิจิทัล พบว่า RS ([email protected]) น่าจะมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนในงวด 1Q60 สะท้อนจากที่ RS เนื่องจากสามารถปรับชึ้นอัตราค่าโฆษณาช่อง 8 ได้ตั้งแต่ต้นปีในอัตราเฉลี่ยสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 35% และสามารถขายเวลาโฆษณาของช่อง 8 ได้แล้ว 50% ของเป้ารายได้ช่อง 8 ของปีนี้ที่ 1.9 พันล้านบาท นอกจากนี้ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ความงามของ RS คาดจะพลิกฟื้นกลับมามีกำไรเช่นกัน จากการรุกตลาดช่องทางเทเลเซล (call center) มากขึ้น โดยใช้สื่อช่อง 8 และช่อง 2 ทำรายการโปรโมทการขายสินค้ามากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มจำนวนคนให้บริการ Call Center เพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำให้ยอดขายผ่าน Call Center พุ่งจากปกติที่เฉลี่ยวันละ 4 แสนบาท เป็นวันละ 1 ล้านกว่าบาทแล้ว นอกจากนี้ยังทยอยเพิ่มร้านค้าช่องทางโมเดิร์นเทรดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และลดเป้าค่าใช้จ่ายการตลาดเหลือ 2 ล้านบาทในปีนี้ จากปีก่อนที่ 9 ล้านบาท ปัจจัยบวกดังกล่าวข้างต้น คาดจะทำให้ RS พลิกจากขาดทุนในปี 2559 ที่ราว 197 ล้านบาท เป็นกำไรในปีนี้ราว 211 ล้านบาท ขณะมูลค่าพื้นฐานปัจจุบันอยู่ที่ 10.40 บาท ยังมี Upside เกิน 12% RS จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในกลุ่มมีเดียส์
  ในส่วนของ กลุ่มพลังงาน ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดีตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลก โดยราคาน้ำมันดิบตลาด Dubai เฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7% จากสัปดาห์ก่อนหน้า ปัจจัยบวกยังคงมาจากการตัดลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ในเดือน ม.ค. ลงราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ใกล้เคียงเป้าหมาย 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน) แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ (Shale oil and Shale gas) กลับมาผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณ Supply น้ำมันของโลกยังลดลง หากพิจารณาการตัดลด กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ซึ่งยังมีปริมาณที่มากกว่าส่วนที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ โดยรวมทิศทางขาขึ้นของน้ำมันดิบ ทำให้ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อ PTT (FV@B400) แต่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว แนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว
  ส่วน ราคาถ่านหิน อ้างอิงดัชนี Barlow Jonker Index (BJI) สัปดาห์ล่าสุด (20 ม.ค.) เพิ่มขึ้น 1.24 เหรียญฯต่อตัน มาอยู่ที่ 83.80 เหรียญฯต่อตัน จากช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 82.56 เหรียญฯต่อตัน จากปริมาณความต้องการใช้ถ่านหินในจีนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากการปิดตัวของเหมืองถ่านหินที่ไม่มีคุณภาพหลายแห่งในประเทศตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้คาดความต้องการใช้ถ่านหินจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้งหลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในทิศทางขาขึ้น เป็น Sentiment บวกต่อ BANPU (FV@B24) คาดผลประกอบการ 4Q59 จะเติบโตถึง 1245%qoq และพลิกกลับมาจากขาดทุนในงวด 4Q58
  ตามด้วย ราคาสินแร่เหล็ก ยังคงทรงตัวได้ในระดับสูง โดยราคาสินแร่เหล็ก 62% Fe ที่ท่าเรือ Tianjin ต้นเดือน ม.ค. ยังยืนอยู่ได้ที่บริเวณ 80 เหรียญ/ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รองรับการฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ ในจีน และการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
  การฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ น่าจะทำให้ความต้องการใช้เรือเทกองขนส่งสินค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่หลังเทศกาลตรุษจีนเป็นต้นไป แม้ล่าสุด ดัชนีค่าระวางเรือ BDI ปรับตัวลดลง 3.06% อยู่ที่ 886 จุด โดยเป็นการปรับลดลงในทุกดัชนี คือ BCI (Capesize) ลดลง 7.16%, BSI (Supramax) และ BHSI (Handysize) (ซึ่งเป็นดัชนีค่าระวางเรือขนาดที่ TTA และ PSL ให้บริการ) ลดลง 0.84% และ 1.14% ตามลำดับ ยกเว้นดัชนี BPI ปรับเพิ่มขึ้น 0.2% โดยรวมการปรับลดลงของดัชนีค่าระวางเรือถือว่าเป็นปกติตามช่วงฤดูกาล เพราะใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีน (วันที่ 28 ม.ค. 2560) ซึ่งโรงงานในจีนส่วนใหญ่หยุดการดำเนินการในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อผ่านพ้นวันหยุดตรุษจีนไปแล้ว ดัชนี BDI จะปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการเรือเทกองที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยสนับสนุนมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
นอกจากนี้ 1Q60 เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวสาลีในออสเตรเลียและอาร์เจนตินาใน 1Q60 ช่วยหนุนความต้องการเรือเทกองดังกล่าว ฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ TTA ([email protected]) ที่มีความโดดเด่นสุดในกลุ่มเดินเรือ จากการกระจายรายได้หลายธุรกิจ ทั้งธุรกิจ บ.ย่อย เมอร์เมด (ถือหุ้น 57%) ซึ่งทำธุรกิจเรือขุดเจาะน้ำมันและเรือวิศวกรรมสำรวจใต้ทะเล ซึ่งคาดจะได้รับผลบวกจากราคาน้ำมัน ดิบในตลาดโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ธุรกิจ UMS (ถือหุ้น 48.46%) ได้รับผลบวกจากราคาถ่านหินฟื้นตัว และธุรกิจเรือเทกองมีแนวโน้มฟื้นตันดีขึ้นเป็นลำดับ จึงคาด TTA จะพลิกฟื้นกลับมามีกำไรในปี 2560 ได้

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!